- ระวังสับสนกับ สโมสรฟุตบอลกรุงเทพมหานคร ในลีกดิวิชัน 1
สโมสรฟุตบอลทรู แบงค็อก ยูไนเต็ด สโมสรฟุตบอลในประเทศไทย เคยชนะเลิศการแข่งขันไทยพรีเมียร์ลีก 1 สมัย ในปี 2549 และได้รับสิทธิไปร่วมเล่นใน เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก ในอดีตเคยใช้ชื่อ สโมสรฟุตบอลมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2552 มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้มีการร่วมเป็นพันธมิตรกับ กรุงเทพมหานคร ที่เข้ามาเป็นผู้สนับสนุน จึงมีการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น แบงค็อก ยูไนเต็ด มาจนถึงปัจจุบัน
ประวัติสโมสร[แก้]
ยุคแรก[แก้]
สโมสรทรู แบงค็อก ยูไนเต็ด ได้ถือกำเนิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2505 ซึ่งในขณะนั้นใช้ชื่อว่า สโมสรฟุตบอลมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จากปณิธานตั้งมั่นของผู้บริหารและคณาจารย์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่ต้องการสร้างสรรค์มหาวิทยาลัยให้เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีคุณภาพชั้นนำของประเทศ ซึ่งนอกเหนือจากมุ่งส่งเสริมด้านการเรียน เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพออกสู่สังคมแล้ว มหาวิทยาลัยยังให้ความสำคัญกับการสนับสนุนกิจกรรมการกีฬา โดยจัดให้มีศูนย์กีฬาและสนามกีฬาเพื่อให้บริการแก่นักศึกษา บุคลากรตลอดจนบุคคลภายนอก และได้ส่งทีมนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันตามคำเชิญของหน่วยงานและองค์กรต่างๆ อย่างต่อเนื่อง และฟุตบอลถือเป็นกีฬาหนึ่ง ที่มหาวิทยาลัยได้ส่งสโมสรฟุตบอลเข้าร่วมการแข่งขันเรื่อยมา
เข้าร่วมกับสมาคมฟุตบอล[แก้]
เมื่อเข้าสู่ปี พ.ศ. 2531 สโมสรฟุตบอลมหาวิทยาลัยกรุงเทพได้ร่วมเข้าเป็นสมาชิกของ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จนได้เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ง. ก่อนจะสามารถเลื่อนระดับชั้นสู่ถ้วยพระราชทานประเภท ค. ในปี พ.ศ. 2533 ก่อนจะไต่ลำดับขึ้นไปแข่งในถ้วยพระราชทานประเภท ข. ในปี พ.ศ. 2534 จากการบ่มเพาะฝึกฝนพัฒนาทักษะของทีมเรื่อยมา ปี พ.ศ. 2543 สโมสรฟุตบอลมหาวิทยาลัยกรุงเทพก็ได้รับตำแหน่งรองชนะเลิศถ้วยพระราชทานประเภท ข. ทำให้ได้รับสิทธิ์ให้เข้าร่วมการแข่งขันในไทยลีกดิวิชั่น 1 ฤดูกาล 2544/2545 และจบที่อันดับ 3
ไทยพรีเมียร์ลีก[แก้]
ในฤดูกาล 2545/2546 สโมสรคว้าแชมป์ไทยลีกดิวิชั่น 1 ได้สำเร็จ ทำให้ได้รับสิทธิ์เลื่อนชั้นขึ้นไปเล่นในไทยพรีเมียร์ลีก ซึ่งถือเป็นผลงานในระดับที่ดีที่สุดครั้งแรกของการก่อตั้งสโมสร และถือเป็นทีมสโมสรเดียวจากสถาบันการศึกษาที่สามารถเลื่อนชั้นขึ้นไปแข่งขันในระดับลีกสูงสุดของประเทศได้โดยที่มีนักกีฬาส่วนใหญ่มาจากนักศึกษาและศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัย จนมาถึงการเข้าร่วมแข่งขันในไทยพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2549 สโมสรฟุตบอลมหาวิทยาลัยกรุงเทพก็สามารถคว้าแชมป์ลีกสุงสุดของไทยได้สำเร็จ จากการร่วมแข่งขันทั้งหมด 16 ทีม ทำให้ได้สิทธิ์เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก และได้รับเชิญจากสมาคมฟุตบอลประเทศสิงคโปร์ให้เข้าร่วมการแข่งขัน ฟุตบอลสิงคโปร์คัพ 2007 ซึ่งทีมได้ผลงานกลับมาในอันดับ 3 และจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 4 ในไทยพรีเมียร์ลีก ส่วนผลแข่งขันจากรายการเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2008 จับฉลากได้อยู่ในสายเอฟ ซึ่งแข่งขันกับทีมคาวาซากิ ฟรอนตาเล่ จากญี่ปุ่น อาเรมามาลังจากอินโดนีเซีย และชุนนัม ดรากอนส์จากเกาหลีใต้ โดยมีการแข่งขันทั้งหมด 6 นัด ทีมมหาวิทยาลัยกรุงเทพเสมอ 3 และแพ้ 3 ตกรอบแบ่งกลุ่มของรายการนี้ แต่ก็ถือเป็นความภาคภูมิใจและเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาทีมสู่การแข่งขันอาชีพระดับนานาชาติ
เปลี่ยนชื่อเป็นแบงค็อก ยูไนเต็ด[แก้]
ปี พ.ศ. 2552 สโมสรฟุตบอลมหาวิทยาลัยกรุงเทพได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น แบงค็อก ยูไนเต็ด จากการร่วมเป็นพันธมิตรกับ กรุงเทพมหานคร ด้วยหลักการและเหตุผลที่ต้องการพัฒนาทีมของมหาวิทยาลัยให้เป็นทีมของชาวกรุงเทพฯ และเพื่อยกระดับมาตรฐานฟุตบอลอาชีพของไทยสู่ความเป็นมืออาชีพอย่างเต็มตัว ทำให้มีการปรับเปลี่ยนของสโมสรหลายอย่าง เช่น การเปลี่ยนตัวประธานสโมสรจากเรือโทหญิงสุธี บูรณธนิต เป็นนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน และเปลี่ยนสัญลักษณ์ตลอดจนสีชุดแข่งขันจากสีประจำมหาวิทยาลัยกรุงเทพเป็นสีประจำของกรุงเทพมหานคร รวมทั้งย้ายสนามแข่งขันจากสนามมหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต มาเป็นสนามศูนย์เยาวชนไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง และเมื่อเดือนต้นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553 กลุ่มทรู คอร์ปอเรชั่น ได้เข้าร่วมสนับสนุนโดยการถือหุ้นรายใหญ่ของสโมสรแบงค็อก ยูไนเต็ด ฟุตบอลคลับ เพื่อสร้างโอกาสเติบโตให้เกิดแก่วงการฟุตบอลไทย[1] รวมทั้งได้เริ่มจัดตั้ง สถาบันสอนฟุตบอลกรุงเทพมหานคร หรือ แบงค็อก ฟุตบอล อคาเดมี จากความร่วมมือของกรุงเทพมหานคร พร้อมกับสร้างปูทางสู่ระดับนานาชาติให้กับทีมด้วยการดึงนักเตะต่างชาติมาเข้าร่วมทีม ตลอดจนรวมพลนักเตะระดับชาติที่มีชื่อหลายคนมาเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับทีม ด้วยเป้าหมายสำคัญกับการขึ้นสู่อันดับ 1 ใน 5 ของไทยพรีเมียร์ลีก แต่สโมสรก็ทำผลงานได้อย่างน่าผิดหวังจนจบฤดูกาล 2552 และฤดูกาล 2553 ด้วยอันดับ 13 และ 15 ตามลำดับ ตกชั้นสู่ ไทยลีกดิวิชั่น 1 ในฤดูกาลต่อมา
ตกชั้น[แก้]
หลังจากตกชั้นลงสู่ไทยลีกดิวิชั่น 1 สโมสรก็ได้ตั้งเป้าหมายในการกลับขึ้นไปแข่งขันในไทยพรีเมียร์ลีกซึ่งเป็นลีกสูงสุดของประเทศอีกครั้ง ด้วยการเปลี่ยนแปลงทีมใหม่ทั้งหมดเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งและสร้างรากฐานให้มีความพร้อมในการเป็นสโมสรฟุตบอลชั้นนำของประเทศ โดยในฤดูกาล 2554 สโมสรจบการแข่งขันด้วยอันดับ 6 ของไทยลีก ดิวิชั่น 1 พลาดการเลื่อนชั้นสู่ไทยพรีเมียร์ลีกอย่างน่าเสียดาย สำหรับในฤดูกาล 2555 ภายใต้การนำของ สะสม พบประเสริฐ แม้จะออกสตาร์ทช่วงต้นฤดูกาลไม่ดีนัก แต่ด้วยความร่วมมือร่วมใจกันของทุกฝ่ายสโมสรจึงกลับมาทำผลงานได้ดีในช่วงครึ่งหลังของฤดูกาล ส่งผลให้จบฤดูกาลด้วยอันดับ 3 คว้าตั๋วใบสุดท้ายเลื่อนชั้นสู่ไทยพรีเมียร์ลีกได้ในที่สุด
ยุคใหม่และลุย ACL[แก้]
ปี พ.ศ. 2556 นายขจร เจียรวนนท์ ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งประธานสโมสรแบงค็อก ยูไนเต็ด คนใหม่ ต่อจากนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ซึ่งมีการปรับปรุงสโมสรให้มีความแข็งแกร่งขึ้นในหลายๆ ด้านเพื่อสู้ศึกไทยพรีเมียร์ลีก โดยในปีเดียวกัน ผู้สนับสนุนหลักอย่าง ทรูวิชั่นส์ ได้ทุ่มงบประมาณก้อนใหญ่กว่า 60 ล้านบาทเพื่อใช้สนับสนุนสโมสร พร้อมกับเปิดตัวนักเตะหน้าใหม่ที่สโมสรดึงเข้ามาร่วมทีมอาทิเช่น รณชัย รังสิโย, ปกาศิต แสนสุข, พงษ์พิพัฒน์ คำนวณ, โทนี่ คอสต้า และ มาริโอ ดาซิลวา เข้ามาผนึกกำลังร่วมกับนักเตะชุดเก่าเมื่อฤดูกาลที่แล้วซึ่งช่วยให้ศักยภาพของทีมโดยรวมดีขึ้น สำหรับเป้าหมายในฤดูกาล 2556 สะสม พบประเสริฐ หัวหน้าผู้ฝึกสอนตั้งเป้าที่จะพาทีมให้อยู่รอดในลีกสูงสุดของประเทศไทยให้ได้ ก่อนที่จะก้าวขึ้นสู่เป้าหมายที่สูงกว่าในอันดับต่อไป
สำหรับผลการแข่งขันในฤดูกาล 2556 สโมสรออกสตาร์ทได้ไม่ดีนักเก็บได้เพียง 1 คะแนนจากการแข่งขัน 7 นัดแรก ทำให้ถูกมองว่าเป็นทีมเต็งในปีนี้ที่ต้องตกชั้นไปเล่น ไทยลีกดิวิชั่น 1 แต่ด้วยกำลังใจจากกองเชียร์ ประกอบกับความมุ่งมั่นของทีมงานและนักเตะ ส่งผลให้สโมสรมีผลงานที่ดีขึ้นตามลำดับในช่วงครึ่งหลังของฤดูกาล จนสามารถจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 13 และรักษาสถานะสโมสรในลีกสูงสุดของประเทศไทยได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ก่อนจะไต่ขึ้นมาตามลำดับภายใต้การคุมทีมของ อาเลชังดรี ปอลกิง จนกระทั่งในฤดูกาล 2559 แข้งเทพ ก็ประสบความสำเร็จในการคว้าสิทธิ์ไปเล่นเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก 2017 หลังจากจบฤดูกาลด้วยรองแชมป์
ในการแข่งขันถ้วยสโมสรเอเชียของ แข้งเทพ ในปีนี้เริ่มต้นที่รอบเพลย์ออฟ ซึ่งพวกเขาเปิดบ้านเจอกับสโมสรฟุตบอลยะโฮร์ ดารุล ต๊ะซิม ทีมแชมป์มาเลเซียซูเปอร์ลีก แต่ แข้งเทพ กลับพลาดท่าดวลจุดโทษแพ้ไป 6-5 ตกรอบไปในที่สุด และถือเป็นการพ่ายแพ้ยะโฮร์ของทีมสโมสรจากไทยเป็นครั้งแรกอีกด้วย
สัญลักษณ์สโมสร[แก้]
สนามแข่งขัน[แก้]
แบงค็อก ยูไนเต็ด ย้ายจากสนามกีฬาศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร ไปใช้ สนามกีฬาธรรมศาสตร์ รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ซึ่งมีความจุผู้ชม 20,000 ที่นั่ง และได้มาตรฐานจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย เมื่อปี พ.ศ. 2559
ผู้เล่น[แก้]
ผู้เล่นชุดปัจจุบัน[แก้]
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
No. |
|
ตำแหน่ง |
ผู้เล่น |
18 |
 |
MF |
อาเลซันแดร์ ซีกฮาร์ท |
21 |
 |
DF |
สถาพร แดงศรี |
22 |
 |
FW |
การ์ลอส ซาลอม |
23 |
 |
FW |
สิทธิโชค กันหนู |
26 |
 |
GK |
วรุฒ วงศ์สมศักดิ์ |
29 |
 |
MF |
สรรวัชญ์ เดชมิตร |
30 |
 |
FW |
ร็อบสัน แฟร์นานเดส |
34 |
 |
GK |
วรุฒ เมฆมุสิก |
35 |
 |
DF |
สิริพงษ์ คงเจ้าป่า |
36 |
 |
MF |
เจษฎากรณ์ ขาวงาม |
37 |
 |
MF |
วิศรุต อิมอุระ |
38 |
 |
DF |
วรวุฒิ สถาพร |
44 |
 |
FW |
ณัฐวุฒิ สุขสุ่ม |
98 |
 |
GK |
สุเมธี โคกโพธิ์ |
|
ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว[แก้]
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
ทีมงาน[แก้]
ตำแหน่ง |
สัญชาติ |
ชื่อ |
ประธานสโมสร |
 |
ขจร เจียรวนนท์ |
ผู้อำนวยการสโมสร |
 |
เอิร์นส์ มิดเดนดอร์ป |
ผู้จัดการทีม |
 |
ชณิตา จันทรทรัพย์ |
หัวหน้าผู้ฝึกสอน |
 |
มาโน่ โพลกิ้ง |
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน |
 |
วสพล แก้วผลึก |
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน |
 |
ซารีฟ สายนุ้ย |
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน |
 |
ภานุพงศ์ วงศ์ษา |
โค้ชฟิตเนส |
 |
เปาโล อเล็กซานเดร |
ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู |
 |
ปาโวล ฮรันเคียลิก |
นักกายภาพบำบัด |
 |
แอนดี้ ชิลลิงเกอร์ |
นักกายภาพบำบัด |
 |
นรีภัทร ลิ้มเทียมรัตน์, มงคล แซ่ท้าว |
เจ้าหน้าที่ทีม |
 |
ปกป้อง พงศ์จันทรเสถียร, นคินทร์ สุวรรณหังกสุล, นิธินันท์ ศิริลดาจินดาเลิศ, |
|
|
ชัชชัย พึ่งทอง, สุวิทย์ พิมพ์สวรรค์ |
ทำเนียบผู้ฝึกสอน[แก้]
ผลงานที่ผ่านมา[แก้]
เกียรติประวัติ[แก้]
ผลงาน[แก้]
ฤดูกาล/พ.ศ. |
การแข่งขัน |
ผลงาน |
2545/2546
|
ไทยลีก ดิวิชั่น 1 |
ชนะเลิศ (เลื่อนชั้นสู่ไทยพรีเมียร์ลีก) |
2546/2547
|
ไทยพรีเมียร์ลีก |
อันดับ 4 |
2547/2548
|
ไทยพรีเมียร์ลีก |
อันดับ 7 |
2549
|
ไทยพรีเมียร์ลีก |
ชนะเลิศ |
2550
|
ไทยพรีเมียร์ลีก |
อันดับ 4 |
2551
|
ไทยพรีเมียร์ลีก |
อันดับ 10 |
2552
|
ไทยพรีเมียร์ลีก |
อันดับ 13 |
เอฟเอคัพ |
รอบก่อนรองชนะเลิศ |
2553
|
ไทยพรีเมียร์ลีก |
อันดับ 15 (ตกชั้นสู่ดิวิชัน 1) |
ลีกคัพ |
รอบก่อนรองชนะเลิศ |
เอฟเอคัพ |
รอบ 16 ทีม |
2554
|
ไทยลีก ดิวิชั่น 1 |
อันดับ 6 |
ลีกคัพ |
รอบ 64 ทีม |
เอฟเอคัพ |
รอบ 2 |
2555
|
ไทยลีก ดิวิชั่น 1 |
อันดับ 3 (เลื่อนชั้นสู่ไทยพรีเมียร์ลีก) |
ลีกคัพ |
รอบแรก |
เอฟเอคัพ |
รอบ 3 |
2556
|
ไทยพรีเมียร์ลีก |
อันดับ 13 |
ลีกคัพ |
รอบ 64 ทีม |
เอฟเอคัพ |
รอบ 16 ทีม |
2557
|
ไทยพรีเมียร์ลีก |
อันดับ 8 |
ลีกคัพ |
รอบ 64 ทีม |
เอฟเอคัพ |
รอบ 8 ทีม |
2558
|
ไทยพรีเมียร์ลีก |
อันดับ 5 |
ลีกคัพ |
รอบ 32 ทีม |
เอฟเอคัพ |
รอบ 64 ทีม |
2559
|
ไทยลีก |
อันดับ 2 |
ลีกคัพ |
รอบ 8 ทีม |
เอฟเอคัพ |
รอบ 64 ทีม |
ตารางคะแนน[แก้]
เลื่อนชั้น คงที่ ตกชั้น
ฤดูกาล/พ.ศ. |
การแข่งขัน |
อันดับ |
แข่ง |
ชนะ |
เสมอ |
แพ้ |
ประตูได้ |
ประตูเสีย |
ผลต่างประตู |
คะแนน |
2546/2547 |
ไทยพรีเมียร์ลีก |
4 |
18 |
9 |
4 |
5 |
26 |
22 |
+4 |
31 |
2547/2548 |
7 |
18 |
5 |
7 |
6 |
16 |
21 |
-5 |
22 |
2549 |
1 |
22 |
11 |
6 |
5 |
25 |
17 |
+8 |
39 |
2550 |
4 |
30 |
14 |
5 |
11 |
39 |
36 |
+3 |
47 |
2551 |
10 |
30 |
9 |
8 |
13 |
27 |
36 |
-9 |
35 |
2552 |
13 |
30 |
5 |
15 |
10 |
24 |
34 |
-10 |
30 |
2553 |
15 |
30 |
5 |
9 |
16 |
25 |
52 |
-27 |
24 |
2554 |
ไทยลีกดิวิชั่น 1 |
6 |
34 |
15 |
6 |
13 |
56 |
52 |
+4 |
51 |
2555 |
3 |
34 |
23 |
5 |
6 |
57 |
29 |
+28 |
74 |
2556 |
ไทยพรีเมียร์ลีก |
13 |
32 |
8 |
7 |
17 |
38 |
61 |
-23 |
31 |
2557 |
8 |
38 |
15 |
14 |
9 |
38 |
37 |
+1 |
54 |
2558 |
5 |
34 |
16 |
9 |
9 |
59 |
47 |
+12 |
57 |
2559 |
ไทยลีก |
2 |
31 |
23 |
6 |
2 |
71 |
36 |
+35 |
75 |
2560 |
3 |
34 |
21 |
3 |
10 |
97 |
57 |
+40 |
66 |
อ้างอิง[แก้]
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
สโมสรพันธมิตร[แก้]
|
|
|
|
ทีมชาติไทย |
|
|
|
ระบบลีก |
ชาย
|
|
|
หญิง
|
|
|
ฟุตซอลชาย
|
|
|
ฟุตซอลหญิง
|
|
|
|
ถ้วยในประเทศ |
|
|
ทีมสำรองและทีมสถาบันการศึกษา |
|
|
ถ้วยระดับทวีป |
|
|
แข่งกระชับมิตร |
|
|
รายชื่อ |
|
|
|
|