ข้ามไปเนื้อหา

นที ทองสุขแก้ว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นที ทองสุขแก้ว
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม นที ทองสุขแก้ว
วันเกิด (1966-12-09) 9 ธันวาคม ค.ศ. 1966 (58 ปี)
สถานที่เกิด จังหวัดอุตรดิตถ์ ประเทศไทย
ส่วนสูง 1.78 m (5 ft 10 in)
ตำแหน่ง เซ็นเตอร์แบ็ก
สโมสรเยาวชน
1981–1983 ทองทวีไทย
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
1983 ถาวรฟาร์ม 8 (0)
1984–1988 นครสวรรค์ 47 (0)
1989–1990 มัตซูชิตะ 11 (0)
1991–1999 ตำรวจ 245 (6)
รวม 311 (6)
ทีมชาติ
1985 ไทย อายุไม่เกิน 19 ปี 8 (0)
1986–1998 ไทย 87 (1)

ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
แผนก/สังกัดสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
ชั้นยศ พันตำรวจโท
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น

พันตำรวจโท นที ทองสุขแก้ว[1] (เกิด 8 ธันวาคม พ.ศ. 2509) เป็นอดีตนักฟุตบอลชาวไทย เกิดที่จังหวัดอุตรดิตถ์ เคยเป็นกัปตันทีมชาติไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2539 ถึง พ.ศ. 2541

ประวัติ

[แก้]

ในเริ่มแรก นที เล่นฟุตบอลให้กับโรงเรียนในจังหวัดอุตรดิตถ์ จนติดทีมชาติไทยครั้งแรกตั้งแต่อายุ 17 ปี ในชุดอายุไม่เกิน 19 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2528[2]

ทีมชาติ

[แก้]

นที ติดทีมชาติชุดใหญ่ตั้งแต่ พ.ศ. 2529 ซึ่งเขาอายุเพียง 20 ปี ก่อนจะลงเล่นทีมชาติไทยในการแข่งขันซีเกมส์ 1987, ซีเกมส์ 1989, ซีเกมส์ 1991, ซีเกมส์ 1993, ซีเกมส์ 1995 และ ซีเกมส์ 1997 โดยทีมชาติไทยได้เหรียญทองจากกีฬาฟุตบอลถึง 3 ครั้ง[3] ซึ่งเขาเคยเป็นกัปตันทีมชาติไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2539 ถึง พ.ศ. 2541 โดยมีการแข่งขันสำคัญคือเอเชียนคัพ 1996[4]

หลังเลิกเล่น

[แก้]

นที เล่นให้กับตำรวจ เป็นสโมสรสุดท้าย ก่อนจะตัดสินใจเลิกเล่นในปี พ.ศ. 2543 ด้วยอายุ 34 ปี และเข้ารับราชการตำรวจในเวลาถัดมา[5] ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่ง รองผู้กำกับการ ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดฉะเชิงเทรา กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 3 สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

ประตูในนามทีมชาติ

[แก้]
# วันที่ สถานที่ พบกับ ประตู ผลการแข่งขัน การแข่งขัน
1. 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1988 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ธงชาติบังกลาเทศ บังกลาเทศ 1–1 1–1 เอเชียนคัพ 1988 รอบคัดเลือก

อ้างอิง

[แก้]
  1. "จากหัวใจสู่หัวใจ "พ.ต.อ.รังสิมันต์ สงเคราะห์ธรรม" อีกหนึ่งกำลังสำคัญค้นหาทีมหมูป่า". เดลินิวส์. 28 มิถุนายน 2561. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  2. "จำเขาได้ไหม "นที ทองสุขแก้ว" นักเตะแผงหลังหัวใจทีมชาติไทย คว้าชัยสมัยรุ่นพ่อ". ไทยรัฐ. 14 มกราคม 2562. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  3. "ทีมรวมดาราตลอดกาลทีมชาติไทยชุดซีเกมส์". Football Tribe. 12 สิงหาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  4. "บทความ อาเซี่ยน คัพ 1996". ไทยรัฐ. 31 กรกฎาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  5. "ย้อนรอยเกียรติยศ "สโมสรเพื่อนตำรวจ"". ไทยพีบีเอส. 10 กุมภาพันธ์ 2559. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]