ฟุตบอลทีมชาติมาเก๊า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟุตบอลทีมชาติมาเก๊า
ฉายาเดอะกรีนส์
สมาคมสมาคมฟุตบอลมาเก๊า
สมาพันธ์ย่อยสหพันธ์ฟุตบอลเอเชียตะวันออก (EAFF)
สมาพันธ์สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (AFC)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนChan Hiu Ming
กัปตันCheang Cheng Ieong
ติดทีมชาติสูงสุดCheang Cheng Ieong (49)
ทำประตูสูงสุดChan Kin Seng (17)[1]
สนามเหย้าEstádio Campo Desportivo
รหัสฟีฟ่าMAC
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน186 Steady (15 มีนาคม ค.ศ. 2018)
อันดับสูงสุด156 (กันยายน ค.ศ. 1997)
อันดับต่ำสุด204 (กรกฎาคม ค.ศ. 2014)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
มาเก๊า มาเก๊า 1–5 เกาหลีใต้ ธงชาติเกาหลีใต้
(มาเก๊า; 25 มกราคม ค.ศ. 1949)[2]
ชนะสูงสุด
มาเก๊า มาเก๊า 6–1 หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา Flag of the Northern Mariana Islands
(โยนา, กวม; ค.ศ. 2009)
แพ้สูงสุด
มาเก๊า มาเก๊า 0–10 ญี่ปุ่น ธงชาติญี่ปุ่น
(มัสกัต, โอมาน; 25 มีนาคม ค.ศ. 1997)
ธงชาติญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 10–0 มาเก๊า มาเก๊า
(โตเกียว, ญี่ปุ่น; 22 มิถุนายน ค.ศ. 1997)
ฟุตบอลทีมชาติมาเก๊า
อักษรจีนตัวเต็ม澳門足球代表隊
อักษรจีนตัวย่อ澳门足球代表队

ฟุตบอลทีมชาติมาเก๊า (จีน: 澳門足球代表隊; โปรตุเกส: Selecção Macaense de Futebol) เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนของเขตบริหารพิเศษมาเก๊า อยู่ภายใต้การดูแลของสมาคมฟุตบอลมาเก๊า (จีน: 澳門足球總會; Portuguese: Associação de Futebol de Macau) และมีอันดับโลกฟีฟ่าในอันดับท้าย ๆ แม้ว่าทีมชาติจะรู้จักกันในชื่อ มาเก๊า แต่สหพันธ์ฟุตบอลเอเชียตะวันออกจะเรียกชื่อทีมว่า มาเก๊า, จีน

มาเก๊าไม่เคยผ่านรอบคัดเลือกของเอเชียนคัพและฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติเอเชียตะวันออก แต่ก็เคยผ่านรอบคัดเลือกของเอเอฟซีแชลเลนจ์คัพ 2006 ซึ่งมาเก๊าเสมอหนึ่งนัด และแพ้สองนัด

ทีมชาติมาเก๊าเริ่มแข่งขันในระดับนานาชาติตั้งแต่ก่อนปี ค.ศ. 1999 ซึ่งมาเก๊ายังคงเป็นดินแดนของโปรตุเกส ก่อนที่จะถูกคืนให้จีน ทีมชาติมาเก๊าถูกแยกออกจากทีมชาติจีนด้วยกฎหมายพื้นฐานมาเก๊า ซึ่งอนุญาตให้มาเก๊ามีทีมตัวแทนเป็นของตนเอง สำหรับในมาเก๊านั้น ทีมชาติของตนจะถูกเรียกว่า "ทีมมาเก๊า" (澳門隊) ในขณะที่ทีมชาติจีนจะถูกเรียกว่า "ทีมชาติ" (國家隊)

การถูกสั่งห้ามโดยฟีฟ่า[แก้]

มาเก๊าเคยถูกสั่งห้ามโดยฟีฟ่า ไม่ให้เข้าร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติเป็นบางครั้ง เนื่องจากอิทธิพลของการเมืองที่แทรกแซงสมาคมฟุตบอล แต่ต่อมา มาเก๊าได้ปรับปรุงตนเอง ทำให้โทษนี้ถูกยกเลิกไป[3][4]

สถิติการแข่งขัน[แก้]

ฟุตบอลโลก[แก้]

  • 19301978: ส่วนหนึ่งของโปรตุเกส
  • 19821986: ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
  • 1990: ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน
  • 19942022: ไม่ผ่านรอบคัดเลือก

เอเชียนคัพ[แก้]

  • 19561976: ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน
  • 1980: ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
  • 19841988: ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน
  • 19922004: ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
  • 2007: ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน
  • 20112023: ไม่ผ่านรอบคัดเลือก

ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติเอเชียตะวันออก[แก้]

  • 2003: ไม่ผ่านรอบคัดเลือก (อันดับที่ 3 ในรอบคัดเลือก)
  • 2005: ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน
  • 2008: ไม่ผ่านรอบคัดเลือก (อันดับที่ 4 ในรอบคัดเลือก)
  • 2010: ไม่ผ่านรอบคัดเลือก (อันดับที่ 3 ในรอบคัดเลือก)
  • 2013: ไม่ผ่านรอบคัดเลือก (อันดับที่ 2 ในรอบคัดเลือก)
  • 2015: ไม่ผ่านรอบคัดเลือก (อันดับที่ 2 ในรอบคัดเลือก)
  • 2017: ไม่ผ่านรอบคัดเลือก (อันดับที่ 3 ในรอบคัดเลือก)

เอเอฟซีแชลเลนจ์คัพ[แก้]

  • 2006: รอบแรก
  • 2008 to 2014: ไม่ผ่านรอบคัดเลือก

เอเอฟซีซอลิแดริตีคัพ[แก้]

  • 2016: รองชนะเลิศ

อ้างอิง[แก้]

  1. Mamrud, Roberto; Stokkermans, Karel. "Players with 100+ Caps and 30+ International Goals". RSSSF. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 June 2011. สืบค้นเมื่อ 4 February 2011.
  2. "Macao matches, ratings and points exchanged". World Football Elo Ratings: Macao. สืบค้นเมื่อ 17 September 2017.
  3. "Macau suspended by FIFA due to political interference". ESPN. 15 February 2005. สืบค้นเมื่อ 21 July 2014.
  4. "FIFA suspends the Macau Football Association". FIFA. 15 February 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-17. สืบค้นเมื่อ 21 July 2014.