ฟุตบอลทีมชาติซาอุดีอาระเบีย
Shirt badge/Association crest | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ฉายา | الأخضر ("สีเขียว") الصقور الخضر ("เหยี่ยวเขียว") الصقور العربية ("เหยี่ยวอาหรับ") เศรษฐีน้ำมัน (ในภาษาไทย) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สมาคม | สหพันธ์ฟุตบอลซาอุดีอาระเบีย | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สมาพันธ์ย่อย | ดับเบิลยูเอเอฟเอฟ (เอเชียตะวันตก) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สมาพันธ์ | เอเอฟซี (เอเชีย) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | แอร์เว เรอนาร์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
กัปตัน | ซัลมาน อัลฟะร็อจญ์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ติดทีมชาติสูงสุด | มุฮัมมัด อัดดะเอียะอ์ (178)[1] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ทำประตูสูงสุด | มาญิด อับดุลลอฮ์ (72)[2] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รหัสฟีฟ่า | KSA | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อันดับฟีฟ่า | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อันดับปัจจุบัน | 56 3 (20 มิถุนายน 2024)[3] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อันดับสูงสุด | 21 (กรกฎาคม ค.ศ. 2004) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อันดับต่ำสุด | 126 (ธันวาคม ค.ศ. 2012) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เลบานอน 1–1 ซาอุดีอาระเบีย (เบรุต ประเทศเลบานอน; 18 มกราคม ค.ศ. 1957) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชนะสูงสุด | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ติมอร์-เลสเต 0–10 ซาอุดีอาระเบีย (ดิลี ประเทศติมอร์ตะวันออก; 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 2015) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
แพ้สูงสุด | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สหสาธารณรัฐอาหรับ 13–0 ซาอุดีอาระเบีย (กาซาบล็องกา ประเทศโมร็อกโก; 3 กันยายน ค.ศ. 1961) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ฟุตบอลโลก | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เข้าร่วม | 6 (ครั้งแรกใน 1994) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผลงานดีที่สุด | รอบคัดเลือก 16 ทีม (1994) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เอเชียนคัพ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เข้าร่วม | 10 (ครั้งแรกใน 1984) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผลงานดีที่สุด | ชนะเลิศ (1984, 1988, 1996) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อาหรับคัพ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เข้าร่วม | 7 (ครั้งแรกใน 1985) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผลงานดีที่สุด | ชนะเลิศ (1998, 2002) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อาเรเบียนกัลฟ์คัพ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เข้าร่วม | 24 (ครั้งแรกใน 1970) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผลงานดีที่สุด | ชนะเลิศ (1994, 2002, 2003) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คอนเฟเดอเรชันส์คัพ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เข้าร่วม | 4 (ครั้งแรกใน 1992) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผลงานดีที่สุด | รองชนะเลิศ (1992) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เกียรติยศ
|
ฟุตบอลทีมชาติซาอุดีอาระเบีย (อาหรับ: المنتخب العربي السعودي لكرة القدم) เป็นทีมฟุตบอลประจำชาติของประเทศซาอุดีอาระเบียในการแข่งขันระหว่างประเทศ อยู่ภายใต้การดูแลของสหพันธ์ฟุตบอลซาอุดีอาระเบีย มีฉายาคือ อัลศอกรฺ (Al-Saqour) หรือภาษาอังกฤษคือ The Falcons (นกเหยี่ยว) และ อัลอัคฎอร (Al-Akhdar) หรือภาษาอังกฤษคือ The Green ซึ่งมาจากสีประจำทีมคือสีเขียว ซาอุดีอาระเบียได้ลงแข่งขันทั้งในรายการของสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ และสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย
ซาอุดีอาระเบียเป็นทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดทีมหนึ่งในทวีปเอเชีย[4][5] โดยชนะเลิศการแข่งขันเอเชียนคัพ 3 สมัย (ค.ศ. 1984, 1988 และ 1996) และเป็นหนึ่งในสองทีมที่เข้าชิงชนะเลิศรายการนี้มากที่สุด 6 ครั้ง และพวกเขายังคว้าเหรียญเงินในเอเชียนเกมส์ 1986 ซาอุดีอาระเบียเข้าร่วมฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย 6 ครั้ง และยังเป็นชาติแรกในเอเชียที่เข้าถึงรอบชิงชนะเลิศการแข่งขันของฟีฟ่าในนามทีมชาติชุดใหญ่ โดยเข้าชิงชนะเลิศรายการ คิงฟาฮัด คัพ ใน ค.ศ. 1992 ซึ่งปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ "ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ" โดยมีเพียงอีกสองชาติที่ทำสถิติดังกล่าวได้จนถึงปัจจุบัน ได้แก่ ออสเตรเลีย ใน ค.ศ. 1997 (ซึ่งลงแข่งขันในนามสมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนียในขณะนั้น) และญี่ปุ่นใน ค.ศ. 2001
ซาอุดีอาระเบียลงแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งแรกในฟุตบอลโลก 1994 โดยเอาชนะเบลเยียม และโมร็อกโกได้ในรอบแบ่งกลุ่ม ก่อนจะเข้าไปแพ้สวีเดนในรอบ 16 ทีมสุดท้าย ส่งผลให้พวกเขาเป็นทีมจากชาติอาหรับประเทศที่สองที่เข้ารอบ 16 ทีมสุดท้ายในฟุตบอลโลก ต่อจากโมร็อกโกในฟุตบอลโลก 1986 และเป็นหนึ่งในห้าทีมของเอเชียที่ทำได้ (ร่วมกับญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ออสเตรเลีย และเกาหลีเหนือ)
ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 ซาอุดีอาระเบียสร้างความประหลาดใจด้วยการเอาชนะทีมแชมป์อย่างอาร์เจนตินาในนัดแรกของรอบแบ่งกลุ่มด้วยผลประตู 2–1 ถือเป็นครั้งแรกที่อาร์เจนตินาแพ้ชาติจากทวีปเอเชียในฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย อย่างไรก็ตาม พวกเขาตกรอบแบ่งกลุ่มจากการแพ้อีกสองนัดถัดมาและจบอันดับสุดท้าย ซาอุดีอาระเบียจะเป็นเจ้าภาพการแข่งขันสองรายการสำคัญคือ เอเชียนคัพ 2027 และ ฟุตบอลโลก 2034 ถือเป็นครั้งแรกที่พวกเขาจะเป็นเจ้าภาพการแข่งขันสองรายการดังกล่าว
ประวัติ
[แก้]ฟุตบอลทีมชาติซาอุดีอาระเบียมีจุดเริ่มต้นใน ค.ศ. 1951 จากการรวมตัวของผู้เล่นจากสโมสรกีฬาอัล-เวห์ดา เมกกะ และ สโมสรฟุตบอลอัลอะฮ์ลี (ญิดดะฮ์) เพื่อลงแข่งขันเกมกระชับมิตรพบกับทีมจากกระทรวงสาธารณสุขจากประเทศอียิปต์ ในวันที่ 27 มิถุนายน ณ เมืองญิดดะฮ์ และทั้งสองทีมได้แข่งขันกันอีกครั้งในวันต่อมา โดยซาอุดีอาระเบียใช้ผู้เล่นของสโมสรฟุตบอลอัล อิติตฮัด และ สโมสรฟุตบอลอัลฮิลาล ต่อมาในเดือนสิงหาคม เจ้าชาย อับดุลลาห์ บิน ไฟซาล อัล ซาอุด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้จัดการแข่งขันกระชับมิตรกับอียิปต์เป็นครั้งที่สาม และถือเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดในการจัดตั้งทีมฟุตบอลเพื่อเป็นตัวแทนของประเทศ
ใน ค.ศ. 1953 ซาอุดีอาระเบียก็ได้ก่อตั้งทีมฟุตบอลขึ้น และได้เดินทางไปแข่งขันกระชับมิตรระหว่างประเทศเป็นครั้งแรก ณ กรุงดามัสกัส ประเทศซีเรีย ในวโรกาสที่สมเด็จพระราชาธิบดีซะอูด บิน อับดุลอะซีซ อาล ซะอูด เสด็จขึ้นครองราชย์[6] ต่อมาใน ค.ศ. 1957 ซาอุดีอาระเบียได้ร่วมแข่งขันรายการแพนอาหรับเกมส์ ที่เบรุต ประเทศเลบานอน โดยสมเด็จพระราชาธิบดีซะอูด บิน อับดุลอะซีซ อาล ซะอูด ได้รับเชิญให้เสด็จไปร่วมพิธีเปิด ณ สนาม คามิลล์ ชามูน สปอร์ตส์ ซิตี สเตเดียม ร่วมกับ คามิลล์ ชามูน ประธานาธิบดีเลบานอน และในนัดเปิดสนามเป็นการแข่งขันระหว่างซาอุดีอาระเบีย และเลบานอน โดยเสมอกันไป 1–1 และซาอุดีอาระเบียตกรอบแบ่งกลุ่ม
สหพันธ์ฟุตบอลซาอุดีอาระเบีย ได้ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1956 ทว่าหลังจากนั้น ซาอุดีอาระเบียไม่ได้ร่วมแข่งขันในรายการสำคัญใด ๆ จนกระทั่งเอเชียนคัพ 1984 ที่ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งพวกเขาคว้าแชมป์ได้เป็นสมัยแรก เอาชนะจีนในรอบชิงชนะเลิศ 2–0 และพวกเขากลายเป็นหนึ่งในทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดทีมหนึ่งในทวีปเอเชียนับตั้งแต่นั้น โดยเข้าชิงชนะเลิศเอเชียนคัพได้อีก 4 ครั้งติดต่อกัน และคว้าแชมป์เพิ่มได้อีกสองครั้งในปี 1988 (ชนะจุดโทษเกาหลีใต้) และ 1996 (ชนะจุดโทษสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) และได้ร่วมแข่งขันเอเชียนคัพทุกครั้งนับตั้งแต่นั้นจนถึงปัจจุบัน แต่ยังไม่สามารถคว้าแชมป์เพิ่มได้ โดยผลงานดีสุดคือการเข้าชิงชนะเลิศในเอเชียนคัพ 2007 แพ้อิรัก 0–1
พวกเขาเข้าร่วมฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายสมัยแรกในฟุตบอลโลก 1994 ภายใต้ผู้ฝึกสอนชาวอาร์เจนตินา ฆอร์เก โซลารี และผู้เล่นพรสวรรค์สูงอย่าง ซะอีด อัลอุวัยรอน และ ซามี อัลญาบิร พาทีมผ่านเข้าถึงรอบ 16 ทีมสุดท้ายก่อนจะแพ้สวีเดน 1–3 และพวกเขาเข้าร่วมฟุตบอลโลกในอีกสามครั้งถัดมา แต่ไม่สามารถชนะในรอบแบ่งกลุ่มแม้แต้นัดเดียว และไม่ได้เข้าไปเล่นในฟุตบอลโลก 2010 และ 2014 ก่อนจะกลับมาแข่งขันในฟุตบอลโลก 2018 แพ้เจ้าภาพอย่างรัสเซียในนัดเปิดสนามขาดลอย 0–5[7] ซึ่งถือเป็นการชนะด้วยผลประตูที่มากที่สุดเป็นอันดับสองตลอดกาลของชาติเจ้าภาพในฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย[8] นับตั้งแต่อิตาลีเจ้าภาพฟุตบอลโลก 1934 เอาชนะสหรัฐด้วยผลประตู 7–1[9] ซาอุดีอาระเบียตกรอบแรกอีกครั้งหลังจากแพ้อุรุกวัยไปอย่างสูสี 0–1[10] แม้พวกเขาจะเอาชนะอียิปต์ได้ในนัดสุดท้าย 2–1[11] ในครั้งนี้ซาอุดีอาระเบียมีผลงานในฟุตบอลโลกที่แย่ที่สุดนับตั้งแต่ฟุตบอลโลก 2002 ซึ่งพวกเขาแพ้เยอรมนี 0–8 และจบในอันดับ 32 ซึ่งเป็นอันดับสุดท้ายจากการจัดอันดับรวมเมื่อจบการแข่งขัน[12] อย่างไรก็ตาม พวกเขายังได้รับเสียงชื่นชมจากการชนะได้หนึ่งนัดในครั้งนี้ นับเป็นชัยชนะครั้งแรกนับตั้งแต่ฟุตบอลโลก 1994[13]
ซาอุดีอาระเบียลงแข่งขันเอเชียนคัพ 2019 ด้วยความคาดหวังว่าจะทำผลงานได้ดีขึ้น แต่พวกเขาจบอันดับสองของกลุ่ม หลังจากแพ้กาตาร์ในรอบสุดท้าย[14] ส่งผลให้พวกเขาต้องพบกับทีมใหญ่อย่างญี่ปุ่นและแพ้ไป 0–1 แม้พวกเขาจะเล่นได้ดีกว่าตลอดทั้งเกม
ในวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 2019 ซาอุดีอาระเบียได้แข่งขันกับปาเลสไตน์ ที่เวสต์แบงก์เป็นครั้งแรก โดยก่อนหน้านี้การแข่งขันระหว่างสองทีมจะจัดขึ้น ณ ประเทศที่สาม การแข่งขันดังกล่าวถูกมองว่าเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของซาอุดีอาระเบียและอิสราเอล ทว่าก็ได้รับการวิจารณ์จากองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ว่าจะเป็นการสนับสนุนอำนาจอธิปไตยในเขตเวสต์แบงก์[15] ทั้งสองทีมเสมอกันไป 0–0
ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย – รอบที่ 3 ซาอุดีอาระเบียอยู่ในกลุ่มบีร่วมกับญี่ปุ่น, ออสเตรเลีย, จีน, โอมาน และเวียดนาม พวกเขาสามารถผ่านเข้าไปเล่นในฟุตบอลโลก 2022 รอบสุดท้ายได้หลังจากที่ออสเตรเลียเปิดบ้านแพ้ญี่ปุ่น 0–2 โดยอยู่ร่วมกลุ่มกับอาร์เจนตินา โปแลนด์ และเม็กซิโก และตกรอบแรกจากผลงานชนะหนึ่งนัดและแพ้สองนัด แม้จะทำผลงานได้ยอดเยี่ยมในนัดแรกจากการชนะอาร์เจนตินา
คู่แข่ง
[แก้]อิหร่านถือเป็นคู่แข่งที่สำคัญที่สุดของซาอุดีอาระเบียด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์ และการแข่งขันได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา สืบเนื่องจากความขัดแย้งจากการแบ่งแยกลัทธิทางศาสนา ซาอุดีอาระเบียมีผลงานการพบกันที่เป็นรองเล็กน้อย โดยชนะ 4 ครั้ง เสมอ 6 ครั้ง และแพ้ 5 ครั้ง และการพบกันของทั้งสองชาติถือเป็นหนึ่งในสิบการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศซึ่งได้รับอิทธิพลจากการเมืองที่ดุเดือดที่สุด[16]
อิรักถือเป็นคู่แข่งที่สำคัญเช่นกัน โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากทศวรรษ 1970 จากเหตุการณ์สงครามอ่าว ซึ่งอิรักได้รุกรานพันธมิตรของซาอุดีอาระเบีย และนับแต่นั้นความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองชาติก็ไม่แน่นอนนัก โดยมีทั้งการพัฒนาความสัมพันธ์ในเชิงบวกสลับกับความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดจนถึงปัจจุบัน โดยอิรักเกือบจะถอนตัวจากการแข่งขัน กัลฟ์ คัพ ออฟ เนชั่นส์ ใน ค.ศ. 2013 หลังจากได้รับการปฏิเสธการเป็นเจ้าภาพ โดยอิรักเชื่อว่าซาอุดีอาระเบียเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง
คู่แข่งชาติอื่น ๆ ของซาอุดีอาระเบียได้แก่ กาตาร์, คูเวต และ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
สนาม
[แก้]ตั้งแต่อดีต ซาอุดีอาระเบียมักจะลงเล่นที่สนาม คิง ฟาฮัด อินเตอร์เนชันแนล สเตเดียม ตั้งอยู่ในกรุงรียาด เป็นหนึ่งในสนามกีฬาที่มีหลังคาขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และยังมีฉายาว่า "The Pearl" หรือ ไข่มุก โดยเป็นสยามเหย้าในการแข่งขันรายการสำคัญของทีมชาติซาอุดีอาระเบียทั้งในการแข่งขันระดับภูมิภาครวมถึงฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก
นับตั้งแต่ทศวรรษ 2000 เป็นต้นมา ซาอุดีอาระเบียมีการใช้สนามอื่น ๆ มากขึ้น ในฟุตบอลโลก 2002 รอบคัดเลือก พวกเขาลงเล่นที่ สนามปรินซ์ โมฮาเหม็ด บิน ฟาฮัด สเตเดียม ในอัดดัมมาน และในฟุตบอลโลก 2006 รอบคัดเลือก พวกเขาใช้สนาม ไฟซาล บิน ฟาฮัด และนับตั้งแต่ทศวรรษ 2010 ซาอุดีอาระเบียลงเล่นที่คิงอับดุลลอห์สปอร์ตซิตี ในรียาด ซึ่งเป็นสนามที่สร้างขึ้นใหม่ความจุกว่า 60,000 ทีนั่ง
ผลงาน
[แก้]- 1930 ถึง 1974 - ไม่ได้เข้าร่วม
- 1978 ถึง 1990 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
- 1994 - รอบสอง
- 1998 - รอบแรก
- 2002 - รอบแรก
- 2006 - รอบแรก
- 2010 ถึง 2014 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
- 2018 - รอบแรก
- 2022 - รอบแรก
- 1956 ถึง 1972 - ไม่ได้ร่วม
- 1976 - ถอนตัว
- 1980 - ไม่ได้ร่วม
- 1984 และ 1988 - ชนะเลิศ
- 1992 - รองชนะเลิศ
- 1996 - ชนะเลิศ
- 2000 - รองชนะเลิศ
- 2004 - รอบแรก
- 2007 - รองชนะเลิศ
- 2011 และ 2015- รอบแรก
- 2019 - รอบ 16 ทีมสุดท้าย
- 2023 - รอบ 16 ทีมสุดท้าย
นักเตะชุดปัจจุบัน
[แก้]รายชื่อผู้เล่น 26 คนที่ถูกเรียกตัวเพื่อลงแข่งขันรายการ เอเชียนคัพ 2023[17]ระหว่างวันที่ 16 – 25 มกราคม พ.ศ. 2567
- คู่แข่ง: โอมาน, คีร์กีซสถาน และ ไทย
- ข้อมูลการลงเล่นและการทำประตูนับถึงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 หลังจากการพบกับ จอร์แดน
# | ตำแหน่ง | ผู้เล่น | วันเกิด (อายุ) | ลงเล่น | ประตู | สโมสร |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | GK | เนาวาฟ อัลอะกีดี | 10 พฤษภาคม ค.ศ. 2000 | 4 | 0 | อันนัศร์ |
2 | DF | Fawaz Al-Sqoor | 23 เมษายน ค.ศ. 1996 | 4 | 0 | อัชชะบาบ |
3 | DF | Awn Al-Saluli | 2 กันยายน ค.ศ. 1998 | 2 | 0 | Al-Taawoun |
4 | DF | Ali Lajami | 24 เมษายน ค.ศ. 1996 | 4 | 0 | อันนัศร์ |
5 | DF | อะลี อาล บุลัยฮี | 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 1989 | 47 | 1 | อัลฮิลาล |
6 | MF | Eid Al-Muwallad | 14 ธันวาคม ค.ศ. 2001 | 1 | 0 | Al-Okhdood |
7 | MF | Mukhtar Ali | 30 ตุลาคม ค.ศ. 1997 | 6 | 0 | Al-Fateh |
8 | MF | อับดุลอิลาฮ์ อัลมาลกี | 11 ตุลาคม ค.ศ. 1994 | 32 | 0 | อัลฮิลาล |
9 | FW | ฟิรอส อัลบุร็อยกาน | 14 พฤษภาคม ค.ศ. 2000 | 36 | 6 | อัลอะฮ์ลี |
10 | MF | ซาลิม อัดเดาซะรี | 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 | 78 | 22 | อัลฮิลาล |
11 | FW | ศอเลียะห์ อัชชะฮ์รี | 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1993 | 29 | 15 | อัลฮิลาล |
12 | DF | Saud Abdulhamid | 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1999 | 31 | 1 | อัลฮิลาล |
13 | DF | Hassan Kadesh | 27 กันยายน ค.ศ. 1992 | 3 | 0 | อัลอิตติฮาด |
14 | MF | Abbas Al-Hassan | 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004 | 2 | 0 | Al-Fateh |
15 | MF | Abdullah Al-Khaibari | 16 สิงหาคม ค.ศ. 1996 | 18 | 0 | อันนัศร์ |
16 | MF | ซามี อันนัจญ์อี | 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1997 | 18 | 2 | อันนัศร์ |
17 | DF | ฮัสซาน อัตตัมบักตี | 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1999 | 26 | 0 | อัลฮิลาล |
18 | MF | Abdulrahman Ghareeb | 31 มีนาคม ค.ศ. 1997 | 21 | 2 | อันนัศร์ |
19 | MF | Fahad Al-Muwallad | 14 กันยายน ค.ศ. 1994 | 76 | 17 | อัชชะบาบ |
20 | FW | Abdullah Radif | 20 มกราคม ค.ศ. 2003 | 7 | 1 | Al-Shabab |
21 | GK | Raghed Al-Najjar | 20 ธันวาคม ค.ศ. 1996 | 0 | 0 | อันนัศร์ |
22 | GK | Ahmed Al-Kassar | 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1991 | 0 | 0 | Al-Fayha |
23 | MF | มุฮัมมัด กันนู | 22 กันยายน ค.ศ. 1994 | 47 | 2 | อัลฮิลาล |
24 | MF | นาศิร อัดเดาซะรี | 19 ธันวาคม ค.ศ. 1998 | 16 | 0 | อัลฮิลาล |
25 | MF | Ayman Yahya | 14 พฤษภาคม ค.ศ. 2001 | 10 | 0 | อันนัศร์ |
26 | MF | Faisal Al-Ghamdi | 13 สิงหาคม ค.ศ. 2001 | 4 | 0 | อัลอิตติฮาด |
ผู้ฝึกสอน
[แก้]ผู้ฝึกสอน | จาก | ถึง |
---|---|---|
อับดุลเราะห์มาน เฟาซี | 1957 | 1961 |
อะลี ชาอวช | 1967 | 1969 |
จอร์จ สกินเนอร์ | 1970 | 1970 |
โมฮัมเหม็ด เชตา | 1970 | 1972 |
ตาฮา อิสมาอิล | 1972 | 1974 |
Abdo Saleh El Wahsh | 1974 | 1974 |
เฟเรนซ์ ปุสกัส | 1975 | 1975 |
บิล แม็คแกร์รี | 1976 | 1977 |
แดนนี อัลลิสัน | 1978 | 1978 |
เดวิด วู้ดฟิลด์ | 1979 | 1979 |
รูเบนส์ มิเนลลี | 1980 | 1980 |
มาริโอ ซากัลโล | 1981 | 1984 |
เคาะห์ลีล อิบรอฮีม อัลซะยานี | 1984 | 1986 |
การ์ลูส ฌูแซร์ กัสติลโญ่ | 1986 | 1986 |
ออสวัลโด | 1987 | 1987 |
รอนนี อเลน | 1988 | 1988 |
การ์ลูส กัลเล็ตติ | 1988 | 1988 |
โอมาร์ บอร์ราส | 1988 | 1988 |
การ์ลูส อัลแบร์โต ปาร์เรย์รา | 1988 | 1990 |
เมติน ตูเรล | 1990 | 1990 |
เคลาดินโญ่ การ์เซีย | 1990 | 1992 |
เวโลโซ | 1992 | 1992 |
เนลสัน โรซา มาร์ตินส์ | 1992 | 1992 |
แคนดิญโญ่ | 1993 | 1993 |
ลีโอ บีนฮัคเคอร์ | 1993 | 1994 |
โมฮัมเหม็ด อัลเคาะห์ราชี | 1994 | 1994 |
อิโว เวิร์ทมันน์ | 1994 | 1994 |
ฆอร์เก โซลารี | 1994 | 1994 |
โมฮัมเหม็ด อัลเคาะห์ราชี | 1995 | 1995 |
เซ มาริโอ | 1995 | 1996 |
เนโล วินกาดา | 1996 | 1997 |
ฮันเซล วัลเดม | 1996 | 1997 |
อ็อตโต ฟิตส์เตอร์ | 1998 | 1998 |
การ์ลูส อัลแบร์โต ปาร์เรย์รา | 1998 | 1998 |
โมฮัมเหม็ด อัลเคาะห์ราชี | มิถุนายน 1998 | มิถุนายน 1998 |
อ็อตโต ฟิตส์เตอร์ | 1999 | กุมภาพันธ์ 1999 |
มิลาน มาคาลา | พฤษภาคม 1999 | 2000 |
นาศิร อัลโญฮัร | 2000 | 2000 |
สโลโบดัน ซานทรัช | สิงหาคม 2001 | สิงหาคม 2001 |
นาศิร อัลโญฮัร | สิงหาคม 2001 | กรกฎาคม 2002 |
เจอร์ราร์ด ฟาน เดอ เลม | สิงหาคม 2002 | สิงหาคม 2004 |
มาร์ติน คูปมัน | 2002 | 2002 |
นาศิร อัลโญฮัร | กันยายน 2004 | พฤศจิกายน 2004 |
กาเบรียล กัลเดรอน | พฤศจิกายน 2004 | ธันวาคม 2005 |
มาร์กอส ปาเกตา | 2006 | 2007 |
เอลิโอ ดอส อันฌูส | มีนาคม 2007 | มิถุนายน 2008 |
นาศิร อัลโญฮัร | มิถุยายน 2008 | กุมภาพันธ์ 2009 |
ฌูแซร์ เปเซโร | กุมภาพันธ์ 2009 | มกราคม 2011 |
นาศิร อัลโญฮัร | มกราคม 2011 | กุมภาพันธ์ 2011 |
โรเจริโอ รอเลนโซ | มิถุนายน 2011 | กรกฎาคม 2011 |
แฟรงก์ ไรจ์การ์ด | สิงหาคม 2011 | มกราคม 2013 |
ฆวน รามอน โลเปซ กาโร | มกราคม 2013 | ธันวาคม 2014 |
คอสมิน โอลาโรอู | ธันวาคม 2014 | มกราคม 2015 |
Faisal Al Baden | มีนาคม 2015 | สิงหาคม 2015 |
แบร์ต ฟัน มาร์ไวก์ | กันยายน 2015 | กันยายน 2017 |
Edgardo Bauza | กันยายน 2017 | พฤศจิกายน 2017 |
Juan Antonio Pizzi | พฤศจิกายน 2017 | 2019 |
Youssef Anbar | 2019 | 2019 |
แอร์เว เรอนาร์ | 2019 | 2023 |
Laurent Bonadéi | 2021 | 2021 |
Saad Al-Shehri | 2023 | 2023 |
โรแบร์โต มันชีนี | 2023 | 2024 |
แอร์เว เรอนาร์ | 2024 |
อดีตผู้เล่นคนสำคัญ
[แก้]- มะญีด อับดุลเลาะห์
- ซะอีด อัลโอไวรัน
- ซามี อัลญาบิร
- ฮุสเซ็น สุลัยมานี
- ยาซิร อัลเกาะห์ฏอนีย์
- มุฮัมมัด อัลญะวาด
- นาศิร อัชชัมรอนี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "FIFA Century Club" (PDF). Fifa.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 5 September 2015. สืบค้นเมื่อ 10 September 2016.
- ↑ "Majed Abdullah". RSSSF.
- ↑ "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 20 มิถุนายน 2024. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2024.
- ↑ "How Saudi Arabian football is thriving with two big targets in sight". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2021-10-28.
- ↑ "How Saudi Arabia got back to top of Asian football". Arab News (ภาษาอังกฤษ). 2021-10-18.
- ↑ "1953.. أول بعثة رياضية إلى الخارج". arriyadiyah.com (ภาษาอาหรับ).
- ↑ "Impressive Russia win World Cup opener". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-12-24.
- ↑ 161385360554578 (2018-06-20). "Are Saudi Arabia the worst team ever at a World Cup?". talkSPORT (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
{{cite web}}
: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์) - ↑ "History of the World Cup: 1934 – Italy wins for Il Duce - Sportsnet.ca". www.sportsnet.ca.
- ↑ "The climate of the UK - Atmosphere and climate - Edexcel - GCSE Geography Revision - Edexcel". BBC Bitesize (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
- ↑ https://digitalhub.fifa.com/m/3448065c375af8be/original/rsfgqnivvkgwkhlvrsah-pdf.pdf
- ↑ "BBC SPORT | WORLD CUP | Germany v Saudi Arabia | Germany savage Saudis". news.bbc.co.uk.
- ↑ "Salah scores but Egypt lose to Saudis". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-12-24.
- ↑ "AFC Asian Cup 2019: Saudi Arabia 0-2 Qatar in Abu Dhabi". iranpress.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ https://www.washingtonpost.com/world/middle_east/saudi-arabia-breaks-its-decades-long-boycott-to-play-soccer-in-the-west-bank/2019/10/14/9cd78ca0-eea2-11e9-bb7e-d2026ee0c199_story.html
- ↑ "Policy Goals: Soccer and the Saudi-Iranian Rivalry". www.csis.org (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "مانشيني يعلن قائمة الأخضر المشاركة في كأس آسيا 2023". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-01-21. สืบค้นเมื่อ 2024-01-09.