ข้ามไปเนื้อหา

สุรพันธ์ ชินวัตร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุรพันธ์ ชินวัตร
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
5 สิงหาคม พ.ศ. 2529 – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531
นายกรัฐมนตรีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด2 เมษายน พ.ศ. 2474
อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศสยาม
เสียชีวิต13 มิถุนายน พ.ศ. 2559 (85 ปี)
พรรคการเมืองชาติไทย (2517–2549)
คู่สมรสประเมิน (มีพานิช) ชินวัตร

สุรพันธ์ ชินวัตร นักการเมืองชาวไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ 6 สมัย

ประวัติ

[แก้]

สุรพันธ์ ชินวัตร เป็นบุตรของนายเชียง (คู ชุนเชียง) และนางแสง ชินวัตร ชาวไทยเชื้อสายจีนแคะอพยพจากจังหวัดจันทบุรี สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ ระดับปริญญาตรีด้านย้อมสีและพิมพ์ผ้าจาก ประเทศเยอรมนี ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับนางประเมิน (มีพานิช) ชินวัตร มีบุตร 6 คน หนึ่งในนั้นได้แก่ นายสุรวัตร ชินวัตร ผู้อำนวยการอาวุโส ผู้บริหารสูงสุด Customer Service ธนาคารไทยพาณิชย์ นางศรุดา ชินวัตร นายกสมาคมไหมไทย ต่อมาเขาป่วยด้วยโรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ ไม่มีความรับรู้เรื่องใดๆ[1] จนกระทั่งเสียชีวิตในวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2559

สุรพันธ์ ชินวัตร เป็นน้องชายของนายบุญเลิศ ชินวัตร บิดาของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย

งานการเมือง

[แก้]

สุรพันธ์ ชินวัตร ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ 6 สมัย คือ[2][3]

  • การเลือกตั้ง พ.ศ. 2518
  • การเลือกตั้ง พ.ศ. 2522
  • การเลือกตั้ง พ.ศ. 2526
  • การเลือกตั้ง พ.ศ. 2529[4]
  • การเลือกตั้ง พ.ศ. 2531
  • การเลือกตั้ง พ.ศ. 2538

ในปี 2539 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 สังกัดพรรคความหวังใหม่ ร่วมกับ ธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ และพงศ์ สุภาวสิทธิ์ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง มีเพียงธวัชวงศ์เพียงคนเดียวที่ได้เป็น ส.ส.ในครั้งนั้น[5]

การดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี

[แก้]

สุรพันธ์ ชินวัตร ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในปี พ.ศ. 2529 - พ.ศ. 2531 ในสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งการที่นายสุรพันธ์ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในครั้งนั้น บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการระบบ GSM900 และ GSM1800 ในปัจจุบัน ได้รับสัมปทานเครือข่ายโทรศัพท์มือถือเป็นรายแรก[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประกาศศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง เรื่อง ศาลมีคำสั่งให้ นายสุรพันธ์ ชินวัตร เป็นคนไร้ความสามารถ และให้อยู่ในความอนุบาลของ นางศุรดา ชินวัตร
  2. นักการเมืองท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า. 2551[ลิงก์เสีย]
  3. http://www.kpi.ac.th/media_kpiacth/pdf/M8_34.pdf
  4. รายงานวิจัยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2529. กรมการปกครอง. 2529
  5. "จากเว็บไซต์รายงานผลการเลือกตั้งกรมการปกครอง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-02-21. สืบค้นเมื่อ 2023-04-05.
  6. http://www.thaiswatch.com/#politician-info-pid-POL0000002536-info-history
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๒๙