ภิญโญ นิโรจน์
ภิญโญ นิโรจน์ | |
---|---|
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 – 25 กันยายน พ.ศ. 2543 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 22 เมษายน พ.ศ. 2494 อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ |
พรรคการเมือง | สามัคคีธรรม (2535) ชาติพัฒนา (2535–2547) ไทยรักไทย (2547–2550) ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน (2553–2561) พลังประชารัฐ (2561–2566) ภูมิใจไทย (2566–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | อมรา นิโรจน์ |
ภิญโญ นิโรจน์ (เกิด 22 เมษายน พ.ศ. 2494) เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ เขต 1 สังกัดพรรคพลังประชารัฐ เป็นอดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลชวน หลีกภัย ประธานสโมสรฟุตบอลจังหวัดนครสวรรค์ และเป็นที่ปรึกษาสมาคมนักวิทยุสมัครเล่นจังหวัดนครสวรรค์[1] ปัจจุบันสังกัดพรรคภูมิใจไทย
ประวัติ
[แก้]ภิญโญ นิโรจน์ เกิดเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2494 ที่ตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ เป็นบุตรของนายถาวร นิโรจน์ (เจ้าของถาวรฟาร์ม) กับนางสำเนาว์ นิโรจน์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา[2]
ด้านครอบครัวได้สมรสกับ นางอมรา นิโรจน์ อดีตผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบสัดส่วนกลุ่มที่ 2 พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา
งานการเมือง
[แก้]ภิญโญ นิโรจน์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครสวรรค์ ตั้งแต่การเลือกตั้ง พ.ศ. 2535 ในสังกัดพรรคสามัคคีธรรม ต่อมาได้ในสังกัดพรรคชาติพัฒนา ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในปี พ.ศ. 2538 ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 ได้ลงสมัครในนามพรรคชาติไทย และได้รับเลือกเป็นสมัยที่ 5
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 ได้ลงสมัครในระบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 6
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2554 ดร.ภิญโญ นิโรจน์ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครสวรรค์ เขต 1 สังกัดพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับนายสงกรานต์ จิตสุทธิภากร ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์[3]
พ.ศ. 2562 ดร.ภิญโญ ได้ย้ายสังกัดยังพรรคพลังประชารัฐ และลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ และได้รับการเลือกตั้งอีกเป็นสมัยที่ 7
ปัจจุบัน ได้ย้ายมาสังกัดพรรคภูมิใจไทย และลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 17
งานการศึกษา
[แก้]ภิญโญ นิโรจน์ ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555[4]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สมาคมนักวิทยุสมัครเล่น". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 2011-09-19.
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
- ↑ รายงานผลการเลือกตั้ง 2554[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ (จำนวน ๑๒ ราย ๑. นายภิญโญ นิโรจน์ ฯ)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2494
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอเมืองนครสวรรค์
- นักการเมืองไทย
- รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- นักการเมืองพรรคสามัคคีธรรม
- นักการเมืองพรรคชาติไทย
- นักการเมืองพรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2550)
- นักการเมืองพรรคพลังประชารัฐ
- นักการเมืองพรรคภูมิใจไทย
- นักวิทยุสมัครเล่นชาวไทย
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.