ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จินตหรา สุขพัฒน์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Rabbutter (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Socky SKY (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 535: บรรทัด 535:
| ''Teeใครทีมันส์'' || ช่อง 3 || ลินดา ||
| ''Teeใครทีมันส์'' || ช่อง 3 || ลินดา ||
|-
|-
| 2563 || ดั่งดวงหฤทัย || ช่อง 3 || ||
|}
|}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:09, 25 กุมภาพันธ์ 2563

จินตหรา สุขพัฒน์
เกิด22 มกราคม พ.ศ. 2508 (59 ปี)
จิตติมาฆ์ สุขพัฒน์
อาชีพนักแสดง ผู้จัดละคร นักธุรกิจ
ปีที่แสดง2527–ปัจจุบัน
ผลงานเด่นนางมา (มาลินี) -ผู้ใหญ่ลีกับนางมา (2528)
ตรินห์ - กูดมอร์นิงเวียดนาม (2531)
อังศุมาลิน - คู่กรรม (2531)
โมลี - บุญชู (2531 - 2553)
แม่พลอย - สี่แผ่นดิน (2534)
หุ่นยนต์สมศรี - สมศรี 422 อาร์ (2535 - 2538)
อำแดงเหมือน - อำแดงเหมือนกับนายริด (2537)
บัวศรี - โคกคูนตระกูลไข่ (2546 - 2550)
หญิงใหญ่ - บ้านทรายทอง (2543)
คุณเรียม - อาญารัก (2543)
ดาราราย - ราชินีหมอลำ (2548)
ครูปราณี - เด็กหอ (2549)
ลัดดามณี - เหยื่อมาร (2549)
อรดี - พระจันทร์สีรุ้ง (2552)
หวางลี่ผิง - กี่เพ้า (2555)
หม่อมบุหลัน - แค้นเสน่หา (2556)
สังกัดไฟว์สตาร์โปรดักชั่น (2527 - 2534)
พระสุรัสวดีนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2531 - คู่กรรม
พ.ศ. 2534 - เพียงเรามีเรา
พ.ศ. 2549 - เด็กหอ
นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2543 - สตางค์
สุพรรณหงส์ผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2529 - แรงหึง
พ.ศ. 2530 - เหยื่อ
พ.ศ. 2537 - อำแดงเหมือนกับนายริด
ชมรมวิจารณ์บันเทิงนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2533 - สอว. รุ่น 2 ห้อง 44
พ.ศ. 2535 - สมศรี 422 อาร์
พ.ศ. 2537 - อำแดงเหมือนกับนายริด
พ.ศ. 2543 - สตางค์
นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2549 - เด็กหอ
โทรทัศน์ทองคำนักแสดงนำหญิงดีเด่น
พ.ศ. 2534 - สี่แผ่นดิน
เมขลานักแสดงนำหญิงดีเด่น
พ.ศ. 2534 - สี่แผ่นดิน
คมชัดลึกนักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม สาขา ภาพยนตร์ไทย
พ.ศ. 2548 − เด็กหอ
นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม สาขา ละครโทรทัศน์
พ.ศ. 2548 − ราชินีหมอลำ
ฐานข้อมูล
IMDb
ThaiFilmDb

จินตหรา สุขพัฒน์ หรือ แหม่ม มีชื่อเดิมว่า จิตติมาฆ์ สุขพัฒน์ และชื่อจริงว่า จิตติ์ธนิษา สุขขะพัฒน์ เป็นนางเอกและนักแสดงชาวไทยที่ได้รับความนิยมสูงสุดระหว่าง พ.ศ. 2527 - 2543

ประวัติ

จินตหรา เกิดเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2508 ที่อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ในครอบครัว ชาวไทยเชื้อสายมอญ นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก [1] เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวนพี่น้อง 5 คน ที่เกิดจากนายปรีดีและนางสมจิตร สุขพัฒน์ [2]

การศึกษา

  • มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวาสุเทวี
  • ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) โรงเรียนกิตติพาณิชย์
  • ปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป เกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง จาก มหาวิทยาลัยเกริก
  • ปริญญาโท คณะรัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารภาครัฐ มหาวิทยาลัยเกริก

การทำงานและการเข้าสู่วงการบันเทิง

ขณะที่จินตหราเรียน ปวช.และทำงานพิเศษที่บริษัทโตโยต้า ทีมงานบริษัทเดนสึที่ทำโฆษณาให้โตโยต้าได้ชวนให้เธอไปทดสอบหน้ากล้องเพื่อถ่ายโฆษณาผ้าอนามัยลอริเอะ นางแบบคนแรกของลอริเอะ

เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับ ปวช. จินตหรา ได้ทำงานที่บริษัทอินเตอร์เนชั่นแนล คอสเมติกส์ แผนกพัฒนาการขายเพียซ และช่วงนั้นอำพล สุวรรณจิตร อาจารย์สอนแต่งหน้าสถาบันเอ็มทีไอ ก็ได้ชักชวนให้มาแสดงภาพยนตร์ของสักกะ จารุจินดา เรื่อง ผู้ใหญ่ลีกับนางมา คู่กับ ไพโรจน์ สังวริบุตร ถือว่าเป็นภาพยนตร์ที่แจ้งเกิดเธอ

จากนั้นจินตหราได้เซ็นสัญญาเป็นนักแสดงของค่ายไฟว์สตาร์ มีผลงานมาต่อเนื่องและทำให้จินตหรากลายเป็นนางเอกแถวหน้า อย่าง แก้วกลางดง แรงหึง คำมั่นสัญญา หวานมันส์ฉันคือเธอ สะพานรักสารสิน ภาพยนตร์ที่เป็นบทพิสูจน์ว่าจินตหราเป็นนางเอกที่โด่งดังและมีฝีมือทางการแสดงอย่าง คู่กรรม เหยื่อ ที่พลิกบทบาทการแสดงของจินตหรา ส.อ.ว.ห้อง 2 รุ่น 44

ภาพยนตร์ที่ทำให้จินตหราเป็นที่นิยมในหมู่แฟน ๆ ชาวไทยมากที่สุดคือเรื่อง บุญชู แสดงคู่กับ สันติสุข พรหมศิริ ที่สร้างติดต่อหลายภาค และเป็นที่รู้จักและชื่นชมไปทั่วโลกจากบทสาวชาวเวียดนามจากภาพยนตร์ฮอลลีวูด เรื่อง กูดมอร์นิงเวียดนาม ที่แสดงคู่กับ โรบิน วิลเลียมส์

หลังจากหมดสัญญากับไฟว์สตาร์ จินตหราซึ่งเป็นนางเอกภาพยนตร์อันดับหนึ่งของประเทศไทยในยุคนั้นได้สร้างความฮือฮาให้กับสังคมเมื่อก้าวสู่วงการละครโทรทัศน์ด้วยการแสดงละครโทรทัศน์ให้กับสถานีโทรทัศน์สองสถานีใหญ่พร้อมกันคือ เชลยศักดิ์ ทางช่อง 7 และ สี่แผ่นดิน ทางช่อง 3 ผลงานทั้งสองทำให้จินตหราเป็นที่นิยมเป็นอย่างมากโดยเฉพาะบทแม่พลอยในละครสี่แผ่นดินที่ถือว่าจินตหราได้ประสบความสำเร็จอย่างใหญ่หลวงในบทบาทนักแสดงละครโทรทัศน์[3]

จินตหรา สุขพัฒน์ ถือได้ว่าเป็นนางเอกภาพยนตร์ไทยหรือนางเอกจอเงินคนสุดท้าย ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 จินตหราได้รับเกียรติให้ประทับรอยมือและรอยเท้าบนลานดาราซึ่งเป็นลานเกียรติยศของดาราภาพยนตร์ไทย ที่หอภาพยนตร์ ในฐานะของนางเอกคนสุดท้ายผู้ปิดตำนานภาพยนตร์ไทย[4]

ผลงาน

ภาพยนตร์

ปี เรื่อง บทบาท คู่
2528 ผู้ใหญ่ลีกับนางมา มาลินี ไพโรจน์ สังวริบุตร
สองพี่น้อง ปิ่นแก้ว อำพล ลำพูน
แก้วกลางดง เมียวดี (เหมียว) ยุรนันท์ ภมรมนตรี
2529 คู่วุ่นวัยหวาน แจง อำพล ลำพูน
เมียแต่ง อรุณประไพ ยุรนันท์ ภมรมนตรี
พ่อจอมยวนแม่จอมยุ่ง เฟื่องฝน ธเนศ วรากุลนุเคราะห์
หัวใจเดียวกัน เอิน อำพล ลำพูน
แรงหึง มุนินทร์ จงสวัสดิ์ / มุตตา จงสวัสดิ์ (รับบทฝาแฝด) อำพล ลำพูน
ดวงใจกระซิบรัก ขิมทอง ชัยรัตน์ จิตธรรม
ปัญญาชนก้นครัว เอมิกา ไกรกำแหง (เอม) / ชะเอม จำเนียรเจรจา (ชะเอม) อำพล ลำพูน
ไปรษณีย์สื่อรัก น้ำทิพย์ ยุรนันท์ ภมรมนตรี
2530 ไฟเสน่หา ชิดสมัย อำพล ลำพูน
คำมั่นสัญญา ชลันดา (น้องดา) สันติสุข พรหมศิริ
หลังคาแดง อาลัย ธงไชย แมคอินไตย์
วงศาคณาญาติ เพมิลา ปานวดี (พริม) สันติสุข พรหมศิริ
หวานมันส์ ฉันคือเธอ นับเดือน สันติสุข พรหมศิริ
ด้วยเกล้า เสาแก้ว สันติสุข พรหมศิริ
รัก : ใคร่ ทับทิม สันติสุข พรหมศิริ
เหยื่อ? อีสาย ไพศาล หงษ์ไทย
รักจ๋ามาแล้วจ๊ะ กันตา สันติสุข พรหมศิริ
สะพานรักสารสิน อิ๋ว รอน บรรจงสร้าง
กูดมอร์นิงเวียดนาม ตรินห์ โรบิน วิลเลี่ยมส์
2531 กลิ่นสีและกาวแป้ง หญิงปิ๋ม รอน บรรจงสร้าง
เขาชื่อกานต์ หฤทัย วรุฒ วรธรรม
ความรัก วิศนี สุริยาทิตย์ สันติสุข พรหมศิริ
คู่กรรม อังศุมาลิน วรุฒ วรธรรม
2482 นักโทษประหาร (ไม่ได้ออกฉาย) สมสมัย สันติสุข พรหมศิริ
ตลาดพรหมจารี เปีย สันติสุข พรหมศิริ
บุญชู ผู้น่ารัก โมลี สันติสุข พรหมศิริ
พี่เลี้ยง เรไร (คุณเร) สันติสุข พรหมศิริ
หวานมันส์ ฉันคือเธอ 2 นับเดือน สันติสุข พรหมศิริ
2532 กลิ่นสีและกาวแป้ง 2 ตอนจีบสาวจิ๊จ๊ะ หญิงปิ๋ม รอน บรรจงสร้าง
คนทรงเจ้า นงพะงา สันติสุข พรหมศิริ
ครูไหวใจร้าย ครูไหว สันติสุข พรหมศิริ
ใช่แล้วหลุดเลย อุจจารี วรุฒ วรธรรม
เทวดาตกสวรรค์ ดอกแก้ว สถาพร นาควิลัย
บุญชู 2 น้องใหม่ โมลี สันติสุข พรหมศิริ
ยิ้มนิดคิดเท่าไหร่ วรรณทิพย์ สันติสุข พรหมศิริ
เศรษฐีใหม่ คนางค์ (คิ้ม) สันติสุข พรหมศิริ
ขอชื่อ สุธี สามสี่ชาติ(ชาติที่สอง) พัชรา อรุณ ภาวิไล
ดีดสีและตีเป่า เดือน ชูศักดิ์ มีถาวร
2533 กระท่อมใหม่ทะเลเดิม ขอบฟ้า สันติสุข พรหมศิริ
นางอาย อภิรดี (นาง) สันติสุข พรหมศิริ
บุญชู 5 เนื้อหอม โมลี สันติสุข พรหมศิริ
ส.อ.ว.ห้อง 2 รุ่น 44 ลำยง สันติสุข พรหมศิริ
2534 บุญชู 6 โลกนี้ดีออก สุดสวย น่ารักน่าอยู่ ถ้าหงุ่ย โมลี สันติสุข พรหมศิริ
โฮ่ง หมอแพท วรุฒ วรธรรม
ไอ้คุณผี จี สันติสุข พรหมศิริ
2535 ครั้งนี้โลกฉุดไม่อยู่ จินดาหรา (จิน) บิลลี่ โอแกน
เพียงเรามีเรา ดารณี (แหม่ม) สันติสุข พรหมศิริ
ครูจันทร์แรมประทีปแห่งแม่น้ำสาย ครูจันทร์แรม สันติสุข พรหมศิริ
จะกู่รักกอดน้องให้ก้องโลก ครูบุญพา สันติสุข พรหมศิริ
จะใหญ่จะย่อก็พ่อเรา นางไม้ สันติสุข พรหมศิริ
อนึ่งคิดถึงพอสังเขป แต้ว (วัยผู้ใหญ่:รับเชิญ)
สมศรี 422 R หุ่นยนต์สมศรี สันติสุข พรหมศิริ
หอ หึ หึ อาจารย์ลัดดา สันติสุข พรหมศิริ
2536 กอดคอกันแหวว ช้อย สันติสุข พรหมศิริ
บุญชู 7 รักเธอคนเดียวตลอดกาลใครอย่าแตะ โมลี สันติสุข พรหมศิริ
สมศรี 422 R โปรแกรม B ปีนี้ 2 ขวบ หุ่นยนต์สมศรี สันติสุข พรหมศิริ
2537 อำแดงเหมือนกับนายริด เหมือน สันติสุข พรหมศิริ
ม.6/2 ห้องครูวารี ครูวารี
2538 กาลครั้งหนึ่งเมื่อเช้านี้ อาภา สันติสุข พรหมศิริ
บุญชู 8 เพื่อเธอ โมลี สันติสุข พรหมศิริ
สมศรี 422 R โปรแกรม D ปีนี้มีน้อง หุ่นยนต์สมศรี สันติสุข พรหมศิริ
2539 ม.6/2 ห้องครูวารี เทอม 2 ครูวารี
2543 สตางค์ ขวัญตา ศรัณยู วงษ์กระจ่าง
2546 ฮวงจุ้ย ฟ้า-ดิน-คน ลิขิต หยก กรรชัย กำเนิดพลอย
ชื่อชอบชวนหาเรื่อง กลุ่มคนขี้เมา รอน บรรจงสร้าง
2549 เด็กหอ ครูปรานี ชาลี ไตรรัตน์
2551 บุญชู ไอ-เลิฟ-สระ-อู โมลี สันติสุข พรหมศิริ
หวานขม บิทเทอร์สวีท บอย ป๊อด เดอะ ชอต ฟิล์ม ตอน บทเรียน จินตหรา สุขพัฒน์ สุวิกรม อัมระนันทน์
2553 บุญชู จะอยู่ในใจเสมอ โมลี สันติสุข พรหมศิริ
2554 รักจัดหนัก ตอน ทอมแฮงค์ แม่

ละครโทรทัศน์

ละครโทรทัศน์เรื่องแรกที่จินตหรา สุขพัฒน์ แสดง คือ เชลยศักดิ์ (2534) ของสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 และมีผลงานละครต่อเนื่องอีกกว่า 80 เรื่องและตั้งแต่ปี 2541 ละครส่วนใหญ่ออกอากาศทางช่อง 3 ได้แก่

ปี เรื่อง ออกอากาศ บทบาท คู่
2534 เชลยศักดิ์ ช่อง 7 หม่อมราชวงศ์อลิสา สันตติวงศ์ (คุณหญิงอลิสา) ลิขิต เอกมงคล
สี่แผ่นดิน ช่อง 3 แม่พลอย ฉัตรชัย เปล่งพานิช
2535 สองฝั่งคลอง ช่อง 7 คุณทับทิม ยุรนันท์ ภมรมนตรี
2536 ฉุยฉาย ช่อง 3 ฉุยฉาย วรุฒ วรธรรม

นุติ เขมะโยธิน

2537 ผ้าทอง ช่อง 7 คุณหญิงอุมา (อุมา) สันติสุข พรหมศิริ
2538 เหมือนคนละฟากฟ้า ช่อง 3 โยทะกา อรุณชาติ (โย) วิลลี่ แมคอินทอช
ความรักสีดำ ช่อง 5 มายาวี ยุรนันท์ ภมรมนตรี
ลัดฟ้ามาหารัก ช่อง 5 ชลธิชา (น้ำ) สันติสุข พรหมศิริ
มโหสถชาดก ตอน แผนครองชมพูทวีป ช่อง 7 พระนางปัญจาลจันที
2539 ก้านกฤษณา ช่อง 3 กฤษณา (กิ๊ก / คริสซี่) ยุรนันท์ ภมรมนตรี
ร้อยรสบทละคร "40 กะรัต" ช่อง 3 อัญชนา
เบญจรงค์ห้าสี ช่อง 7 มนสินี (ยาย) ขจรศักดิ์ รัตนนิสสัย
บุญโทน คนหนุ่ม
เข็มซ่อนปลาย ช่อง 3 เยาวยอด บิลลี่ โอแกน
ร้อยรสบทละคร "สู้เพื่อฝัน" ช่อง 3 ครูรุ้ง
2540 คุณพ่อจอมซ่าส์ ช่อง 3 ทิพเกสร ดอนยายพลับ (ทิพ) สันติสุข พรหมศิริ
รุ้งสามสาย ช่อง 3 เจตนี ฉัตรชัย เปล่งพานิช
มอม ช่อง 5 นายผู้หญิง (หญิง) ฐาปกรณ์ ดิษยนันท์
ภูตคนอลเวง ช่อง 7 เวฬุรีย์ (หน่อย) สันติสุข พรหมศิริ
2541 นางสาวแสนแก้ว (คุณพ่อจอมซ่าส์ ภาค 2) ช่อง 3 ทิพเกสร ดอนยายพลับ (ทิพ) สันติสุข พรหมศิริ
2542 สี่ไม้คาน ช่อง 3 ผกา สันติสุข พรหมศิริ
2543 บ้านทรายทอง ช่อง 3 หม่อมราชวงศ์ ภารดีสว่างวัฒน์ สว่างวงศ์ (คุณหญิงใหญ่)
อาญารัก ช่อง 3 คุณเรียม ฉัตรชัย เปล่งพานิช
หัวใจยัง (อยาก) มีรัก ช่อง 3 พิ้งค์ ฉัตรชัย เปล่งพานิช
ดอกแก้วการะบุหนิง ช่อง 3 เจ้าหญิงกิระณา / องค์ราณี รอน บรรจงสร้าง
2544 ขมิ้นกับปูน ช่อง 3 ปีบ ธรรมคุณ สถาพร นาควิลัย
2545 แม่ยายที่รัก ช่อง 3 คุณนายติรกา (กระแต) สันติสุข พรหมศิริ
2546 ดงดอกเหมย ช่อง 3 เหมย พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง
นางโชว์ ช่อง 3 มาลิน รอน บรรจงสร้าง
2547 คู่กรรม ช่อง 3 แม่อร มนตรี เจนอักษร
คู่กรรม 2 ช่อง 3 มนตรี เจนอักษร
2548 ธรรมะติดปีก ช่อง 3 อนงค์
ธรรมะติดปีก 2 ช่อง 3
เลดี้เยาวราช ช่อง 3 อี๊เค็ง นิรุตติ์ ศิริจรรยา
ยอดคุณตูบ ช่อง 3 เตือนกมล เมทนี บุรณศิริ
ราชินีหมอลำ ช่อง 3 พิณ ศรีศิลา / ดาราราย ประกายเพชร (ดาว) สันติสุข พรหมศิริ
สาทร - ดอนเจดีย์ ช่อง 3 สมหมาย อนันต์ บุนนาค
2549 เหยื่อมาร ช่อง 3 ลัดดามณี อำมาตย์มนตรี ฉัตรชัย เปล่งพานิช
2550 แรมพิศวาส ช่อง 3 เพ็ญจันทร์ ธนากร โปษยานนท์
กรุงเทพราตรี ช่อง 3 รัมภา นุติ เขมะโยธิน
2551 ชมพู่แก้มแหม่ม ช่อง 3 คุณนายรำพึง ปีเตอร์ ธูนสตระ
ทางช้างเผือก ช่อง 3 คุณนายสมถวิล / คุณครูสมถวิล
รักซ่อนแค้น ช่อง 3 ดุจดาว สันติสุข พรหมศิริ
2552 แม่ค้าขนมหวาน ช่อง 3 แก้วขวัญ / น้าแก้ว สันติสุข พรหมศิริ
มนต์รักข้าวต้มมัด ช่อง 3 รื่นรมย์ พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง
สะใภ้ไกลปืนเที่ยง ช่อง 3 คุณหญิงเลอลักษณ์ ทรัพย์มหาศาล สมบัติ เมทะนี
พระจันทร์สีรุ้ง ช่อง 3 อรดี พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง
เสน่หาเงินตรา ช่อง 3 เนียนนิภา ศานติ สันติเวชชกุล
2553 คุณนายสามสลึง ช่อง 3 คุณนายน้ำเพชร พนมดุลยภาค ดิลก ทองวัฒนา
กุหลาบไร้หนาม ช่อง 3 นวลใจ วิปกรณ์
ธาราหิมาลัย ช่อง 3 สุพรรษา อดิศวร สันติสุข พรหมศิริ
ดวงใจอัคนี ช่อง 3
ปฐพีเล่ห์รัก ช่อง 3
วายุภัคมนตรา ช่อง 3
มนต์รักลูกทุ่ง ช่อง 3 ทับทิม อนันต์ บุนนาค
2554 กุหลาบร้ายกลายรัก ช่อง 3 เนื้อนวล สุรชัย สมบัติเจริญ
พิมมาลา ช่อง 3 ฟ้างาม
นายสุดซ่าส์ ข้าสุดแสบ ช่อง 3 คุณนายงามจิต จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์
2555 แม่แตงร่มใบ ช่อง 3 คุณนายทิพย์
หนุ่มบ้านไร่กับหวานใจไฮโซ ช่อง 3 อลิสา (น้าอะซ่า) ทูน หิรัญทรัพย์
กี่เพ้า ช่อง 3 หวางลี่ผิง (ผิง / คุณนายใหญ่) นิรุตติ์ ศิริจรรยา
2556 หลานสาวนายพล ช่อง 3 คุณหญิงบัวแก้ว อนันต์ บุนนาค
คุณชายธราธร ช่อง 3 หม่อมราชวงศ์อุบลวรรณ จุฑาเทพ
คุณชายรณพีร์ ช่อง 3
แค้นเสน่หา ช่อง 3 หม่อมบุหลัน รังสิยา ณ อยุธยา / จันทร์ ปัณณธร ฉัตรชัย เปล่งพานิช
ดาวเรือง ช่อง 3 บานชื่น (แม่บาน)
ต้นรักริมรั้ว ช่อง 3 กมลา เกียรติโยธา สันติสุข พรหมศิริ
2557 ไฟในวายุ ช่อง 3 ธรา ธนากูล สถาพร นาควิลัย
พ่อไก่แจ้ ช่อง 3 คุณนายจำเนียร หักฤทธิ์ศึกสงบ เมทนี บุรณศิริ
2558 กลกิโมโน ช่อง 3 มิกิ มิยาคาวะ
สุดแค้นแสนรัก ช่อง 3 อ่ำ ชื่นศรี อธิวัฒน์ สนิทวงศ์
ข้าบดินทร์ ช่อง 3 คุณหญิงชม จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์
2559 ปดิวรัดา ช่อง 3 คุณหญิงแก้ว นิติศาสตร์ธำรงค์
เพียงชายคนนี้ไม่ใช่ผู้วิเศษ ช่อง 3 คุณนายเสาวรส วินวิวัฒน์
บุษบาหน้าตลาด ช่อง 3 กรรณิกาแก้ว (แก้ว)
ประทีปรักแห่งใจ ช่อง 3 มัลลิกา ศรานุสรณ์ (มาลี, มอลลี่) สมมาตร ไพรหิรัญ
เจ้าจอม ช่อง 3 SD พุทธชาติ ธรรมสถิต สันติสุข พรหมศิริ
2560 เหมือนคนละฟากฟ้า ช่อง 3 กัญชลิการ์ อรุณชาติ / คุณหญิงกรรณิการ์ วริศรักษ์ สันติสุข พรหมศิริ
The Single Mom คุณแม่เลี้ยงเดี่ยวหัวใจฟรุ้งฟริ้ง ช่อง 3 ดวงใจ
2561 ชั่วโมงต้องมนต์ ช่อง 3 วรรณนา (น้าวรรณ) มนตรี เจนอักษร
เด็ดปีกนางฟ้า ช่อง 3 รัศมีดารา มนตรี เจนอักษร
หนึ่งด้าวฟ้าเดียว ช่อง 3 สมเด็จพระอัครมเหสี กรมขุนวิมลภักดี
2562 ทองเอก หมอยา ท่าโฉลง ช่อง 3 คุณนายสายหยุด จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์
วัยแสบสาแหรกขาด โครงการ 2 ช่อง 3 จุลมาส เอื้อนันทวัฒน์  เกรียงไกร อุณหะนันทน์
Teeใครทีมันส์ ช่อง 3 ลินดา
2563 ดั่งดวงหฤทัย ช่อง 3

ละครเทิดพระเกียรติ

ละครเทิดพระเกียรติต่างๆ ที่โดดเด่นที่สุดได้แก่

  • อัญมณีแห่งแผ่นดิน (2548) ทาง ททบ. 5
  • ชัยชนะของแม่ (2549) รับบท ครูจิต ทาง ททบ. 5
  • คือสายใยแห่งรัก (2550) พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะยังดำรงพระอิศริยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ที่พระองค์ท่านทรงเลือก "จินตหรา" มาแสดงเอง ทาง ททบ. 5

ซิตคอม

รับเชิญ

ละครเวที

พิธีกร

  • รายการดวงกับดาว ช่อง 3
  • รายการเสน่ห์แม่บ้าน ช่อง 9
  • รายการศิราณี ช่อง 3

โฆษณา

ผู้จัดละคร

  • 2540 เก็บใจไว้เพื่อรัก (บริษัท แพลนเน็ท เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด)
  • 2542 ภพรัก (บริษัท แพลนเน็ท เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด)
  • 2543 รักลอยลม ดอกฟ้าทะโมนกับโจรกระจอก (บริษัท แพลนเน็ท เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด)
  • 2544 สุดดวงใจ รักแท้ไม่มีหลอก (บริษัท แพลนเน็ท เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด)
  • 2547 เทพบุตรในฝัน (บริษัท แพลนเน็ท เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด)
  • 2548 ยอดคุณตูบ (บริษัท แพลนเน็ท เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด)
  • 2560 วิมานไฟ อยู่ระหว่างการเสนอชื่อนักแสดง

รางวัล

จินตหรา สุขพัฒน์ เป็นนักแสดงไทยที่ได้รับรางวัลเกียรติยศทางการแสดงมากที่สุด (ทั้งหญิงและชาย)[ต้องการอ้างอิง] นอกจากนี้ ในนิตยสาร Hamburger ฉบับที่ 39 ได้ระบุว่าจินตหรา สุขพัฒน์ ได้รางวัลทางการแสดงจากทุกสถาบันหลัก และได้รับรางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมถึง 4 ครั้งในรอบ 4 ปี รางวัลทางการแสดงจากสถาบันหลักต่าง ๆ ดังนี้

  • รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง แรงหึง (2529)
  • รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง เหยื่อ (2530)
  • รางวัลพระสุรัสวดี สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง คู่กรรม (2531)
  • รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง ส.อ.ว. ห้อง 2 รุ่น 44 (2533)
  • รางวัลพระสุรัสวดี สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง เพียงเรามีเรา (2534)
  • รางวัลโทรทัศน์ทองคำ สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม จากละครเรื่อง สี่แผ่นดิน (2534)
  • รางวัลเมขลา ในสาขา "นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม" จากละครเรื่อง สี่แผ่นดิน (2534)
  • รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง 2535 สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง สมศรี 422 อาร์ ในบทหุ่นยนต์คนใช้ (2535)
  • รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง อำแดงเหมือนกับนายริด (2537)
  • รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง อำแดงเหมือนกับนายริด (2537)
  • รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง สตางค์ (2543)
  • รางวัลพระสุรัสวดี สาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง สตางค์ (2543)
  • คมชัดลึก อวอร์ด สาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม จากละครเรื่อง ราชินีหมอลำ (2548)
  • ท็อปอวอร์ด สาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม จากละครเรื่อง ราชินีหมอลำ (2548)
  • สตาร์ส์เอนเตอร์เทนเม้นท์ อวอร์ดส์สาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม จากละครเรื่อง ราชินีหมอลำ (2548)
  • เฉลิมไทย อวอร์ด สาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม จากละครเรื่อง ราชินีหมอลำ (2548)
  • รางวัลพระสุรัสวดี สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง เด็กหอ (2549)
  • คมชัดลึก อวอร์ด สาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง เด็กหอ (2548)
  • รางวัลสตาร์พิคส์ สาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง เด็กหอ (2548)
  • รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง สาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง เด็กหอ (2548)
  • เฉลิมไทย อวอร์ด สาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง เด็กหอ (2548)
  • สตาร์ส์เอนเตอร์เทนเม้นท์ อวอร์ดส์ สาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง เด็กหอ (2549)
  • มูวีแมกซ์อวอร์ด ครั้งที่ 3 สาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง เด็กหอ (2550)
  • รางวัลเกียรติคุณทางการแสดง ครั้งที่ 4 สาขานักแสดงหญิงยอดเยี่ยมในบทสมทบ จากภาพยนตร์เรื่อง เด็กหอ (2549)
  • รางวัลเทพทอง สาขาผู้ดำเนินรายการดีเด่น จากรายการ เสน่ห์แม่บ้าน (2547)
  • รางวัลบุคคลที่ถูกยกย่องให้เป็น ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ในวันเป็น "ภาษาไทยแห่งชาติ" (2550 )
  • รางวัลทีวีพูลทูไนท์ สาขาเจ้าแม่ละครพีเรียด (2550)
  • รางวัลผู้หญิงโดดเด่นที่สุดในช่วงทศวรรษ 2531-2541 "นางเอกคู่ขวัญหนังไทย" จากนิตยสารขวัญเรือน (2552)
  • รางวัลทีวีพูล สาขาดาราบทคุณแม่ขวัญใจประชาชน (2552)
  • รางวัลแฟชั่น มิสทิค อ๊อฟ เอเชีย 2010 สาขา Divtne Glamourous Awards (2552)
  • รางวัลสุดยอดคนดังประเภท ดาวค้างฟ้าในชื่อภาษาไทย ในการมอบ โอเค! อวอร์ด 2010
  • รางวัลไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ด 2015 สาขาเกียรติยศพระราชทาน บันเทิงเทิดธรรม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น