ข้ามไปเนื้อหา

ด้วยเกล้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ด้วยเกล้า
ใบปิดภาพยนตร์ ฉบับฉายใหม่ พ.ศ. 2549
กำกับบัณฑิต ฤทธิ์ถกล
เขียนบทบัณฑิต ฤทธิ์ถกล
บทภาพยนตร์บัณฑิต ฤทธิ์ถกล
อำนวยการสร้างเจริญ เอี่ยมพึ่งพร
นักแสดงนำสันติสุข พรหมศิริ
ชาย เมืองสิงห์
จรัล มโนเพ็ชร
ศรเพชร ศรสุพรรณ
จินตหรา สุขพัฒน์
กฤษณ์ ศุกระมงคล
ไกรลาศ เกรียงไกร
นฤมล นิลวรรณ
โรม อิศรา
กำกับภาพพิพัฒน์ พยัคฆะ
ตัดต่อพูนศักดิ์ อุทัยพันธ์
ดนตรีประกอบปราจีน ทรงเผ่า
ผู้จัดจำหน่ายไฟว์สตาร์โปรดักชั่น
วันฉาย3 ตุลาคม พ.ศ. 2530
9 กันยายน พ.ศ. 2549
ความยาว110 นาที
ประเทศไทย
ภาษาไทย
ข้อมูลจากสยามโซน

ด้วยเกล้า เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2530 กำกับและเขียนบทโดย บัณฑิต ฤทธิ์ถกล เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 40 ปี ในปี พ.ศ. 2529 และพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐ นำแสดงโดย สันติสุข พรหมศิริ , ชาย เมืองสิงห์ , ศรเพชร ศรสุพรรณ , จรัล มโนเพ็ชร , จินตหรา สุขพัฒน์ ได้รับรางวัลภาพยนตร์เกียรติยศแนวสร้างสรรค์ยอดเยี่ยม ประจำปี พ.ศ. 2530 และรางวัลเพลงนำภาพยนตร์ยอดเยี่ยม พ.ศ. 2530

ในปี พ.ศ. 2549 สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย ร่วมกับ บริษัทไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น จำกัด ได้นำภาพยนตร์เรื่อง “ด้วยเกล้า” กลับมาฉายอีกครั้งในโรงภาพยนตร์ โดยได้ปรับปรุงคุณภาพเสียงเป็นระบบดอลบี ดิจิตอล 5.1 และบันทึกเสียงใหม่บางส่วน การจัดฉายภาพยนตร์ครั้งนี้เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี พุทธศักราช ๒๕๔๙ ตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2549 โดยรายได้ในสัปดาห์แรกทั้งหมด นำสมทบทุนมูลนิธิชัยพัฒนา

เรื่องย่อ

[แก้]

เสาคำ (จรัล มโนเพ็ชร) ชาวนาจากภาคเหนือเก็บเมล็ดข้าวพระราชทานได้ไป 1 กำเล็กๆ จากพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญในวันพืชมงคล ที่ท้องสนามหลวง ในปีแรกที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ พระราชทานข้าวเปลือกจากแปลงทดลองในวังสวนจิตรลดา (ในเหตุการณ์จริง ปีแรกที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ พระราชทานเมล็ดพันธุ์ข้าว อยู่ในช่วงประมาณ พ.ศ. 2505-2507)

ด้วยความรักเทิดทูนและศรัทธาใน “ข้าวของพ่อ” เขาหว่านข้าวเหล่านั้นลงในผืนดินที่แห้งแล้ง ท่ามกลางความดูหมิ่นจากคนในครอบครัว ธรรมชาติที่โหดร้าย และความไร้น้ำใจของนายทุน

ด้วย ฝนหลวง ซึ่งเปรียบเสมือน “น้ำพระทัยของในหลวง” เสาคำกลับมายืนหยัดได้ด้วยผลผลิตที่งดงาม ดวงตาที่เปี่ยมประกายความสุข และรวงข้าวสุกอร่ามเต็มอ้อมแขน

นักแสดง

[แก้]
  • สันติสุข พรหมศิริ รับบท คำนึง น้องชายของคำปั๋น เป็นตำรวจตระเวนชายแดน และชอบพอกับเสาแก้ว
  • จินตหรา สุขพัฒน์ รับบท เสาแก้ว ลูกสาวคนรองของเสาคำ
  • จรัล มโนเพ็ชร รับบท เสาคำ
  • วิศิษฎ์ เผ่าสุวรรณ รับบท สะอาด ลูกชายคนโตของเสาคำ
  • กฤษณ์ ศุกระมงคล รับบท อ้าง ลูกชายคนรองของเสาคำ ได้ทุนในหลวงไปเรียนการเกษตรที่เมืองนอก และกลับมาทำงานโครงการหลวง
  • ชาย เมืองสิงห์ รับบท สมหมาย
  • ศรเพชร ศรสุพรรณ รับบท ผู้ร้าย
  • โรม อิศรา รับบท สำอาง ลูกชายคนสุดท้องของเสาคำ หนีออกจากบ้านไปคบค้ากับชาวดอย คนขายฝิ่น ลูกน้องขุนส่า
  • ไกรลาศ เกรียงไกร รับบท คำปั๋น เพื่อนบ้านของเสาคำ
  • ศศิวิมล ศรีสง่า รับบท ติ๊บ เมียคำปั๋น
  • นฤมล นิลวรรณ รับบท แม่เลี้ยงบัวเรียน นายทุนเงินกู้ เจ้าของบ่อน้ำประจำหมู่บ้าน
  • ต่อลาภ กำพุศิริ รับบท ประสิทธิ์ ลูกชายคนเดียวของแม่เลี้ยง และชอบพอกับเสาแก้ว
  • จิราภัทร์ สารภีเพชร รับบท นาจา สาวชาวเขา แฟนสาวของสำอาง
  • ชาลี อินทรวิจิตร
  • อนุชาต สุวรรณเนตร
  • วิศิษฏ์ เผ่าสุวรรณ
  • เรืองฤทธิ์ บัวลอย

ดนตรีประกอบ

[แก้]

ภาพยนตร์เรื่องนี้ เป็นภาพยนตร์ไทยเพียงเรื่องเดียวที่ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเพลงพระราชนิพนธ์ จำนวน 9 เพลงมาใช้ในเรื่องคือ

เพลงพระราชนิพนธ์ในเรื่อง เรียบเสียงประสานโดย พระเจนดุริยางค์, หม่อมหลวงอัศนี ปราโมช และปราจีน ทรงเผ่า ดนตรีประกอบ แต่งโดย ดำรงค์ ธรรมพิทักษ์

รางวัล

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]