สองฝั่งคลอง
สองฝั่งคลอง | |
---|---|
ประเภท | ดราม่า, พีเรียด |
สร้างโดย | พ.ศ. 2535 บริษัท ดาราวิดีโอ จำกัด |
เขียนโดย | บทประพันธ์ : ว.วินิจฉัยกุล บทโทรทัศน์ : พ.ศ. 2535 จิตราภา |
กำกับโดย | พ.ศ. 2535 สยาม สังวริบุตร |
แสดงนำ | พ.ศ. 2535 ยุรนันท์ ภมรมนตรี จินตหรา สุขพัฒน์ เมทนี บุรณศิริ ชไมพร จตุรภุช สุรางคณา สุนทรพนาเวศ |
ผู้ประพันธ์ดนตรีแก่นเรื่อง | พ.ศ. 2535 คำร้อง/ทำนอง สุทธิพงษ์ วัฒนจัง เรียบเรียง โดม ทิวทอง |
ดนตรีแก่นเรื่องเปิด | พ.ศ. 2535 สองฝั่งคลอง ขับร้องโดย ยุรนันท์ ภมรมนตรี |
ดนตรีแก่นเรื่องปิด | พ.ศ. 2535 สองฝั่งคลอง ขับร้องโดย ยุรนันท์ ภมรมนตรี |
ภาษาต้นฉบับ | ไทย |
จำนวนตอน | พ.ศ. 2535 36 ตอน |
การผลิต | |
ผู้อำนวยการสร้าง | พ.ศ. 2535 สุรางค์ เปรมปรีดิ์ |
ความยาวตอน | |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | พ.ศ. 2535 สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 |
ออกอากาศ | พ.ศ. 2535 23 ตุลาคม พ.ศ. 2535 - 10 มกราคม พ.ศ. 2536 |
สองฝั่งคลอง เป็นนวนิยายอิงประวัติศาสตร์เล่มที่ 3 ของ ว.วินิจฉัยกุล ว่าด้วยเรื่องชีวิตของสตรีในสมัยร.6-ร.8 ว่าต้องมีสิ่งสำคัญในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงคือ คุณธรรม และความรู้ เพื่อฝ่ามรสุมแห่งชีวิตได้อย่างปลอดภัย ผ่านเรื่องราวของทับทิม หญิงสาวผู้ฝักใฝ่ในการศึกษา ยึดมั่นในคุณธรรมและอดทนต่อความยากลำบาก
นวนิยายเรื่อง "สองฝั่งคลอง" เริ่มเหตุการณ์ตั้งแต่ พ.ศ. 2468 ปีสุดท้ายในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จนถึงพ.ศ. 2489 หนึ่งปีหลังสงครามมหาเอเชียบูรพา ปีสุดท้ายในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ช่วงเวลา 21 ปีดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทยประสบความเปลี่ยนแปลงผันผวนทางสังคมยิ่งกว่าช่วงเวลาใดๆของสมัยรัตนโกสินทร์ นับตั้งแต่การเปลี่ยนรัชกาลถึง 3 รัชกาลด้วยกัน การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 สงครามโลกครั้งที่สองและสงครามมหาเอเชียบูรพา พ.ศ. 2484-2488 คนไทยเป็นจำนวนมากที่มีชีวิตอยู่ในยุคสมัยที่ว่ามา ได้รับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวค่อนข้างรุนแรง แม้ว่าพวกเขาเองมิได้เป็นต้นเหตุ หรือมีโอกาสได้รู้เห็นล่วงหน้าถึงความกระทบกระเทือนที่พวกเขาได้รับเลยก็ตาม
บทประพันธ์เรื่อง สองฝั่งคลอง ได้นำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์เมื่อ พ.ศ. 2535 โดย สุรางค์ เปรมปรีดิ์ ผู้ถือลิขสิทธิ์นวนิยายเรื่อง สองฝั่งคลอง มอบหมายทาง ดาราวิดีโอ เป็นผู้ผลิต
ออกอากาศทางช่อง 7
ละครเรื่องนี้เป็นสต๊อก ใช้เวลาทำยาวนาน
ช่วงปี 2524 จนถึงปี 2541 คือยุคการบริหารด้านละครของคุณแดง หลังจากนั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันผ่านบอร์ดคณะกรรมการพิจารณาอนุมัติ
เนื้อเรื่อง
[แก้]สองฝั่งคลองเล่าถึงเรื่องราวชีวิตตั้งแต่สาวรุ่นจนถึงวัยกลางคนของ “ทับทิม" หญิงสาวลูกผู้ดีแห่งบ้านคลองสาน คุณทับทิมเป็นบุตรของคุณพระทัดและเป็นหลานปู่เพียงคนเดียวของเจ้าคุณทหาร ซึ่งท่านเจ้าคุณทหารมีหลานตาที่เกิดจากบุตรสาวคือคุณยี่สุ่น 3 คน คือ คุณสาคร คุณเฟื่อง และคุณโกเมน คุณทับทิมได้รับการเลี้ยงดูจากปู่และย่าเนื่องด้วยสูญเสียมารดาไปตั้งแต่กำเนิดได้ 7 วันทั้งบิดายังละเลยไม่สนใจ ถึงกระนั้นคุณทับทิมก็ได้รับการบ่มเพาะด้านคุณธรรม และปลูกฝั่งให้ใฝ่ในการศึกษา และมียายเสมพี่เลี้ยงที่ดูแลอย่างใกล้ชิดและจริงใจ ทับทิมเป็นคนเรียบร้อยแต่มีความดื้อรั้นไม่ยอมคนจึงไม่เป็นที่รักใคร่ของครอบครัวคุณยี่สุ่น ช่วงเป็นสาวรุ่นทับทิมไม่มีชายมาติดพัน มีเพียงคุณลานที่สนใจทับทิมด้วยความคิดความอ่านและความตั้งใจ และมีทับทิมเป็นแรงบันดาลใจให้พยายามเพื่อให้ตนก้าวหน้าด้วยการศึกษา เพราะทับทิมเป็นผู้หญิงที่ไม่สวยจัดทั้งยังไม่ชอบแต่งตัว ตรงข้ามกับคุณเฟื่องที่มีความงามล่ำลือหรือคุณสาครสาวสังคมจัด ทั้งสองต่างมองข้ามการศึกษาต่อและมุ่งหมายหาคู่ครองที่คู่ควร
ทับทิมที่มุ่งหมายจะศึกษาต่อและหางานเลี้ยงตนเอง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นความต้องการของปู่และย่าเพราะเป็นห่วงความเป็นอยู่ของทับทิมหลังจากทั้งสองสิ้นบุญ ทับทิมได้สอบเข้าเรียนคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้สำเร็จ แต่ไม่ทันที่ทับทิมจะสำเร็จการศึกษาปู่ ย่าและพ่อของทับทิมได้สิ้นบุญก่อน ป้าของทับทิมก็ไม่ดูแลและจัดการค่าใช้จ่ายของทับทิมตามที่สัญญา ทำให้ทับทิมต้องเอาสมบัติของแม่มาขายเพื่อเป็นค่าเล่าเรียนจนเรียนจบและบรรจุเข้าเป็นอาจารย์ ทับทิมย้ายออกมากับยายเสม ในขณะที่บ้านคลองสานวุ่นวาย คุณเฟื่องได้สามีที่ไม่มีคุณสมบัติดีใดๆ ส่วนคุณสาครได้สามีตระหนี่และหมายแต่สมบัติของตระกูลคุณสาคร ส่วนคุณลานก็ได้ติดตามทับทิมมาโดยตลอดเพื่อพิสูจน์ความจริงใจ เมื่อเรียนจบจึงได้ตัดสินใจขอทับทิมแต่งงาน
คุณลานและทับทิมแต่งงานและได้ย้ายไปอยู่บ้านของคุณลาน ซึ่งประกอบไปด้วยเจ้าคุณยุติธรรมพ่อของคุณลาน คุณหญิงแม่เลี้ยงใจร้าย และอรทัยน้องสาวต่างมารดาผู้เอาแต่ใจ คุณหญิงทำร้ายและกดดันทัมทิมด้วยการพูดและการกระทำ แม้จะอดทนแต่สุดท้ายทับทิมหมดสิ้นความอดทน คุณลานจึงพาทับทิมกลับไปที่คลองสานที่บ้านของพ่อทับทิม แต่ด้วยความชิงชังของบรรดาลูกๆคุณยี่สุ่นจึงให้คุณยี่สุ่นไล่ทับทิมไปอยู่อีกฝั่ง คุณลานกับทัมทิมอยู่ด้วยกันเป็นสามีภรรยาที่มีความสุขตรงข้ามกับคุณเฟื่อง หลายครั้งที่ทับทิมต้องกระทบกระทั่งกับคนอีกฝั่งจนพลั่งไปว่ากล่าวคุณเฟื่องสร้างความเจ็บใจแก่คุณยี่สุ่น จนทำให้ทับทิมประสบปัญหาไร้ที่อยู่จนกว่าจะหาทางออกได้ ทั้งที่ทับทิควรจะมีส่วนในมรดกแต่คุณยี่สุ่นกลับไม่แบ่งสมบัติส่วนที่ทับทิมควรจะได้แต่กลับให้ลูกของตนใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่าย จนสุดท้ายสมบัติมากมายก็ลดน้อยถอยลง ลูกๆของคุณยี่สุ่นก็ต่างแก่งแย่งสมบัติกันเอง ทับทิมได้มองภาพของบ้านที่เคยเป็นสุขที่กำลังจะหายจากอีกฝั่งหนึ่ง
คุณลานและทับทิมแม้จะอยู่ด้วยกันอย่างเป็นสุขแต่ต้องพบปัญหามาเป็นระยะๆ ที่ต้องใช้ทั้งคุณธรรม ความอดทนและพยายามเพื่อให้ข้ามสู่อีกฝั่งคลองของชีวิต
รายชื่อนักแสดง
[แก้]ปี | พ.ศ. 2535 | |
---|---|---|
สถานีออกอากาศ | ช่อง 7 | |
ผู้จัดละคร | ดาราวิดีโอ | |
บทโทรทัศน์ | จิตรตาภา | |
ผู้กำกับการแสดง | สยาม สังวริบุตร | |
บทบาท | นักแสดงหลัก | |
คุณลาน | ยุรนันท์ ภมรมนตรี | |
คุณทับทิม | จินตหรา สุขพัฒน์ | |
คุณเฟื่อง | ชไมพร จตุรภุช | |
ฉัตร | เมทนี บุรณศิริ | |
รำพึง | วรรณิศา ศรีวิเชียร | |
คุณสาคร | วัชรารัศมี สุนทรพนาเวช | |
บทบาท | นักแสดงสมทบ | |
ท่านเจ้าคุณทหาร | มานพ อัศวเทพ | |
คุณหญิงย่า | รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง | |
คุณยี่สุ่น | จารุวรรณ ปัญโญภาส | |
คุญหญิงอิ่ม | พิราวรรณ ประสพศาสตร์ | |
ท่านเจ้าคุณยุติธรรม | ไพโรจน์ ใจสิงห์ | |
ท่านเจ้าคุณพระเจริญ | วิทยา สุขดำรงค์ | |
เจ้าคุณเทพปลัดฉลอง | ทม วิศวชาติ | |
เจิม | ปทุมวดี โสภาพรรณ | |
แดง | ศิริวรรณ ทองแสง | |
ยายเสม | น้ำเงิน บุญหนัก | |
แม่ปลื้ม | สุดารัตน์ เดชากุล | |
ขันเงิน | ประวิทย์ เปรื่องอักษร | |
อรทัย | รุ้งทอง ร่วมทอง | |
ผล | วุฒิ คงคาเขตร | |
คุณกลีบ | เฉลา ประสพศาสตร์ | |
บุญส่ง ดวงดารา | ||
กฤตย์ อัทธเสรี | ||
ผ่อง | วัชระ บุระ | |
ประพันธ์ | สุธี ศิริเจริญ | |
หลวงพ่อ | จำนง บำเพ็ญทรัพย์ | |
หมอหลวง | สรนันท์ ร.เอกวัฒน์ | |
โกเมน | เฉลิมพร เกิดสกุล | |
คุณพระทัศน์ | แรม วรธรรม | |
นังชั้น | แน่งน้อย แสงสุวิมล |
ลำดับรายการโทรทัศน์
[แก้]สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7: ละครวันศุกร์–อาทิตย์ 21.00 - 22.15 | ||
---|---|---|
ก่อนหน้า | สองฝั่งคลอง | ถัดไป |
พรพรหมอลเวง | ผยอง |