เมตตา รุ่งรัตน์
เมตตา รุ่งรัตน์ | |
![]() |
|
ชื่อเกิด | ดาราวดี ดวงดารา |
ชื่อเล่น | เหน่ง |
เกิด | 15 ธันวาคม พ.ศ. 2485 (75 ปี) |
คู่สมรส | พลตรี อำนวย กิจสุวรรณ (เสียชีวิต) |
อาชีพ | นักแสดง |
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2503 - ปัจจุบัน |
รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี | |
---|---|
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม พ.ศ. 2505 - วัยรุ่นวัยคะนอง |
|
รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ | |
นักแสดงประกอบหญิงยอดเยี่ยม พ.ศ. 2521 - รอยลิขิต (เข้าชิง) |
|
รางวัลโทรทัศน์ทองคำ | |
พ.ศ. 2550 - รางวัลเกียรติยศคนทีวี | |
ข้อมูลบนเว็บ IMDb | |
ฐานข้อมูลภาพยนตร์ไทย (ThaiFilmDb) |
เมตตา รุ่งรัตน์ มีชื่อจริง ดาราวดี ดวงดารา นักแสดงหญิงอาวุโส ฉายา "ไข่มุกดำแห่งเอเซีย" [1] เป็นดารานักแสดงที่มีใบหน้าสวยหวานและคมเข้ม เจ้าของรางวัลตุ๊กตาทอง สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม จากเรื่อง วัยรุ่นวัยคะนอง ประจำปี พ.ศ. 2505
เนื้อหา
ประวัติ[แก้]
เป็นบุตรสาวของ บุญส่ง ดวงดารา ศิลปินละครเวทีผู้มีชื่อเสียงในอดีต (เคยรับบทกำนันใน เป็ดน้อย ,2511) เริ่มฉายแววศิลปินตั้งแต่ยังเป็นนักเรียนฝึกนาฏศิลป์ไทย ที่โรงเรียนเฉลิมศาสตรศึกษา จนกระทั่ง จำนง รังสิกุล แห่งไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม ซึ่งมักสืบเสาะเยาวชนที่มีความสามารถตามโรงเรียนต่างๆ ที่มีวิชานาฏศิลป์เพื่อแสดงละครรำออกอากาศสดเดือนละครั้ง รุ่นเดียวกับ สุดา ชื่นบาน [2]
ช่วงแรกๆ ประชันบทกับ อรสา อิศรางกูร ณ อยุธยา และ ชนะ ศรีอุบล ใน จอมใจเวียงฟ้า (2505 ) เมื่อได้รับรางวัลตุ๊กตาทองดารานำหญิงจาก วัยรุ่นวัยคะนอง ในปีนั้น ได้แสดงนำคู่กับ สมบัติ เมทะนี เรื่อง น้ำตาลไม่หวาน (2506 ) ,สามมงกุฏ (2508 ) ก่อนเริ่มเปลี่ยนมารับบทหลากหลายมากขึ้น
บนจอเงิน ส่วนใหญ่มักได้รับบทเด็กสาวเปรี้ยวจอมแก่น เพื่อนหรือผู้ช่วยนางเอก นางอิจฉา ตั้งแต่ยุคทองของภาพยนตร์ไทย 16 มม.จนถึงยุคแรกของภาพยนตร์ไทย 35 มม.สโคป สี/เสียงในฟิล์ม มีผลงานการแสดงที่โดดเด่นเป็นพิเศษ เช่น
- ผู้ชนะสิบทิศ (2509-2510) กำกับโดย ครูเนรมิต แสดงฝีมือรำดาบกับประลองฝีมือกับคู่ต่อสู้อย่างสวยงามมีชั้นเชิง และต้องแสดงอารมณ์หลายแบบตลอดสามภาค โดยเฉพาะบทเศร้าสะเทือนใจในตอนจบ
- เรารักกันไม่ได้ (2513) กำกับโดย ภาณุพันธ์ (พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล) ครั้งแรกและครั้งเดียวที่แสดงฉากรักกึ่งเปลือยส่วนบนในยุคที่ภาพยนตร์ไทยมักใช้นักแสดงแนวยั่วยวนรับบทโดยตรง
ร่วมแสดงในภาพยนตร์ทำเงินอีกหลายเรื่อง ได้แก่ เกาะสวาทหาดสวรรค์ ,เมืองแม่หม้าย ,ลมเหนือ ,เรือมนุษย์ ,จอมโจรมเหศวร ,แก้วขนเหล็ก ,สุภาพบุรุษเสือใบ ,เขยตีนโต ,แว่วเสียงซึง ,จอมเมฆินทร์ ,แคนลำโขง ฯลฯ
พ.ศ. 2509 ใช้ชื่อ Chitra Ratana แสดงภาพยนตร์ต่างประเทศสองเรื่อง ได้แก่ จอมมหากาฬทับทิมดำ (The Secret Of The Black Ruby) ร่วมสร้างโดยอิตาลี-เยอรมัน-ฝรั่งเศส-ไทย (ภาพยนตร์ไทยไตรมิตร) ถ่ายทำในเมืองไทย (ฉายที่เฉลิมเขตร์ [3]พ.ศ. 2509)[4] กับหนังอิตาลี-เยอรมัน เรื่อง Das Geheimnis der drei Dschunken ถ่ายทำที่ฮ่องกง[5]และชื่อ Metta Rungrat ในหนังของวอร์เนอร์ บราเธอร์ส เรื่อง ฮ๊อตโปเตโต้ (Hot Potato) ถ่ายทำที่เชียงใหม่ พ.ศ. 2519[6]
นอกจากนี้ยังเคยกำกับภาพยนตร์ สาวใช้เจ้าเอ๊ย (2522) และละครโทรทัศน์ รวมทั้งมีผลงานแสดงอย่างต่อเนื่อง
ปัจจุบันได้ตัดสินใจงดรับงานในวงการด้วยวัยและสุขภาพ ที่ป่วยด้วยโรคประจำตัวตามวัย
ผลงาน[แก้]
ภาพยนตร์[แก้]
|
|
|
ละครโทรทัศน์[แก้]
|
|
มิวสิกวีดีโอ[แก้]
- เพลง "แสบ" ของ ดา เอ็นโดรฟิน
รางวัลเกียรติยศ[แก้]
- พ.ศ. 2505 รางวัลตุ๊กตาทองนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม วัยรุ่นวัยคะนอง
- พ.ศ. 2550 รางวัลโทรทัศน์ทองคำ "เกียรติยศคนทีวี"
อ้างอิง[แก้]
- ↑ http://www.thaifilm.com/forumDetail.asp?topicID=2925
- ↑ อารีย์ นักดนตรี ,โลกมายาของอารีย์ ,กายมารุต 2546 หน้า 101 ISBN 974-91018-4-7
- ↑ www.imdb.com
- ↑ กระทู้ ดาราวดี ดวงดารา หญิงผู้เกิดมาเพื่อเป็นดาว...เมตตา รุ่งรัตน์ ,มูลนิธิหนังไทย ,Thaifilm.com
- ↑ www.imdb.com
- ↑ Hot Potato ,IMdb.com
แหล่งข้อมุลอื่น[แก้]
|