ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ยุคก่อนประวัติศาสตร์ของประเทศไทย อาจย้อนกลับไปได้ถึง 1,000,000 ปีก่อน ตามหลักฐานฟอสซิลและเครื่องมือหินในภาคเหนือและภาคตะวันตกของประเทศ นอกจากนี้ยังมีการค้นพบฟอสซิลของโฮโมอิเร็กตัสหรือมนุษย์ลำปางซึ่งมีอายุราว 1,000,000 ถึง 500,000 ปีในแหล่งโบราณคดีแห่งหนึ่งที่จังหวัดลำปาง ภาพวาดผนังถ้ำอายุราว 10,000 ปีและเครื่องมือหินจำนวนมากยังถูกพบในกาญจนบุรี อุบลราชธานี นครศรีธรรมราช และ ลพบุรีเช่นกัน[ต้องการอ้างอิง]

2,500,000 - 10,000 ปีก่อน: ยุคหินเก่า[แก้]

ยุคหินตอนต้น[แก้]

เป็นยุคแรกสุดของยุคหินเก่าซึ่งเริ่มเมื่อราว 2.5 ล้านปีก่อน เมื่อมีหลักฐานที่บ่งบอกการใช้เครื่องมือเป็นครั้งแรกหินครั้งแรกโดยโฮมินิด จนสิ้นสุดลงราว 120,000 ปีก่อน เมื่อการเปลี่ยนแปลงทางวิวัฒนาการและเทคโนโลยีที่สำคัญเริ่มต้นขึ้นในยุคหินเก่าตอนกลาง

สปีชีส์ในตอนต้น[แก้]

ฟอสซิลมนุษย์ลำปางชี้ให้เห็นว่าเคยมีโฮโมอิเร็กตัสดำรงชีวิตอยู่ในช่วง 1,000,000 ถึง 500,000 ปีก่อน[1]

โฮโมอิเรกตัสอพยพจากแอฟริกามายังเอเชียเมื่อประมาณ 1,000,000 ปีก่อน การใช้ไฟเป็นเครื่องมือสำคัญในการเอาตัวรอดของนักหาของป่าล่าสัตว์ กะโหลกศีรษะของโฮโมอิเรกตัสมีขนาดเล็กและหนากว่าเมื่อเทียบกับมนุษย์สมัยใหม่ พวกเขาอาศัยอยู่ตามปากถ้ำใกล้แหล่งน้ำ ศัตรูตามธรรมชาติที่สำคัญได้แก่ ไฮยีนายักษ์ Hyaena sinesis เสือเขี้ยวดาบ อุรังอุตัง และ แพนด้ายักษ์[ต้องการอ้างอิง][โปรดขยายความ]

ในปี พ.ศ. 2542 สมศักดิ์ ประมาณกิจอ้างว่าพบชิ้นส่วนกะโหลกศีรษะของ โฮโมอีเรกตัสที่เกาะคาจังหวัดลำปาง แม้ว่านักวิชาการส่วนใหญ่ไม่ยอมรับว่าการค้นพบเหล่านี้น่าเชื่อถือก็ตาม [2] ฟอสซิลกะโหลกนี้เทียบได้กับฟอสซิลกะโหลกศีรษะของมนุษย์ Sangiran II ที่พบในเกาะชวา(มนุษย์ชวา) ซึ่งมีอายุ 400,000 - 800,000 ปี เช่นเดียวกับมนุษย์ปักกิ่ง[ ต้องการอ้างอิง ] นอกจากนี้ก็ยังมีการค้นพบเครื่องมือหินที่มีอายุราว 40,000 ปีถูกค้นพบที่เพิงผาถ้ำลอดในจังหวัดแม่ฮ่องสอน

ความเกี่ยวข้องกับคนไทยสมัยใหม่[แก้]

หลักฐานทางพันธุกรรมยืนยันว่าคนไทยในปัจจุบันไม่ได้สืบสายเลือดต่อมาจากมนุษย์ลำปาง นอกจากนี้นักพันธุศาสตร์ก็ยังได้พิสูจน์อีกว่าไม่มีการผสมข้ามระหว่างโฮโมอิเรกตัสกับมนุษย์ยุคใหม่ที่อพยพมายังเอเชียอาคเนย์ [3] ซึ่งสอดคล้องกับ "ทฤษฎีกำเนิดมนุษย์ปัจจุบันเร็วๆ นี้จากแอฟริกา" (Recent African origin of modern humans) ที่ระบุว่ามนุษย์สมัยใหม่รวมถึงคนไทยสืบเชื้อสายมาจากแอฟริกา[4]

10,000 - 4,000 ปีก่อน: ยุคหินใหม่[แก้]

ยุคหินใหม่ เป็นช่วงเวลาซึ่งแต่เดิมถือเป็นส่วนสุดท้ายของยุคหิน มันเริ่มต้นด้วยการแพร่กระจายของการเพาะปลูกซึ่งทำให้เกิดการปฏิวัติยุคหินใหม่ และจบลงเมื่อเครื่องมือโลหะแพร่หลายในยุคสำริดหรือไม่ก็พัฒนาข้ามไปสู่ยุคเหล็กโดยตรง ตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ของแต่ละพื้นที่ นอกจากนี้นักโบราณคดียังพบการเปลี่ยนแปลงของอาหารการกินซึ่งตามมาด้วยการเลี้ยงสัตว์ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเล [5]

การขุดค้นทางโบราณคดีเมื่อไม่นานมานี้ชี้ให้เห็นว่าการปลูกข้าวเข้าสู่ตอนกลางของประเทศไทยโดยการย้ายถิ่นฐานของสังคมเกษตรกรรมที่ปลูกข้าวเมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อน [6]

วัฒนธรรมยุคหินใหม่ปรากฏในหลายพื้นที่ของประเทศไทยเช่น แม่ฮ่องสอน กาญจนบุรี นครราชสีมา อุบลราชธานี เมื่อประมาณ 9,000 ปีก่อนคริสตศักราช พวกเขาเริ่มจากการหาของป่า ซึ่งจะพัฒนาไปสู่การทำเกษตรกรรม หลักฐานจากตอนใต้ของประเทศไทยแสดงให้เห็นว่ามีการทำนาข้าวตั้งแต่ 2500 - 2200 ปีก่อน [7] อย่างไรก็ตามนักวิชาการได้หารือกันเมื่อเร็วๆ นี้ถึงความเป็นไปได้ของการทำนาข้าวในคาบสมุทรภาคใต้ของประเทศไทย [8]

เกษตรกรรมในยุคหินใหม่ในยุคแรกถูกจำกัดอยู่เพียงพืชผลและสัตว์ไม่กี่ชนิดทั้งในพืชป่าและพืชบ้าน ซึ่งรวมถึงพลู ถั่ว พริกไทย แตงกวา [9] ตลอดจนการเลี้ยงวัวและหมู มีการใช้เครื่องปั้นดินเผา การตั้งถิ่นฐานของผู้อยู่อาศัยทั้งถาวรและชั่วคราวเริ่มต้นขึ้น

การปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์เกิดขึ้นแยกกันในหลายส่วนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นำไปสู่วัฒนธรรมยุคหินใหม่ที่มีความโดดเด่นในระดับภูมิภาค ซึ่งเกิดขึ้นโดยอิสระต่อแหล่งวัฒนธรรมอื่นๆ ในโลก[ต้องการอ้างอิง]

การตั้งถิ่นฐานยุคหินใหม่ในประเทศไทย[แก้]

ถาพถ่ายบริเวณแม่น้ำแควน้อย .
  • ถ้ำผีแมน

ถ้ำผีแมนเป็นแหล่งโบราณคดีใน อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นที่อยู่อาศัยของนักหาของป่าล่าสัตว์ชาวหัวบิเนียน (Hoabinhian) จาก เวียดนามเหนือ ในช่วง 9000 - 5500 ปีก่อนคริสตศักราช พื้นที่นี้อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 650 เมตร บนเนินเขามองเห็นแม่น้ำสาละวิน

  • ถ้ำแล่งกำนัน

ถ้ำแล่งกำนันเป็นแหล่งโบราณคดีในอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี อยู่บนที่สูงหินปูน หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 110 เมตร และอยู่ห่างจากแม่น้ำแควน้อย 4 กิโลเมตร จากการวิเคราะห์ซากสัตว์ในถ้ำ เชื่อกันว่าถ้ำแห่งนี้เป็นหนึ่งในที่พักชั่วคราวหลายแห่งของนักหาของป่าล่าสัตว์ที่แวะเวียนมาตามฤดูกาล มันใช้ตั้งแต่ปลายสมัยไพลสโตซีนจนถึงยุคโฮโลซีนตอนต้น [10]

  • วังโพธิ์

วังโพธิเป็นแหล่งโบราณคดีใน อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ทางตะวันตกของประเทศไทย มีอายุตั้งแต่ 4,500 ถึง 3,000 ปีก่อนคริสตศักราช มีการค้นพบเครื่องมือหินจำนวนมากในถ้ำและตามแม่น้ำในภูมิภาคนี้ตั้งแต่ สงครามโลกครั้งที่ 2

  • บ้านเชียง
บ้านเชียง. ยุคก่อนประวัติศาสตร์

บ้านเชียงเป็นแหล่งโบราณคดีใน อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี การระบุอายุของโบราณวัตถุโดยใช้เทคนิคเทอร์โมลูมิเนสเซนส์ พบว่าถูกสร้างขึ้นเมื่อราว 4,420-3,400 ปีก่อนคริสตศักราช หลุมศพที่เก่าแก่ที่สุดที่ค้นพบไม่ปรากฏการมีอยู่ของทองสัมฤทธิ์ จึงสรุปได้ว่าถูกสร้างขึ้นในยุคหินใหม่ ส่วนหลุมศพที่พึ่งค้นพบนั้นถูกสร้างขึ้นในยุคเหล็ก [11]

  • โคกพนมดี

โคกพนมดีตั้งอยู่ทางตะวันออกของประเทศไทยใกล้กับที่ราบน้ำท่วมถึงแม่น้ำบางปะกงในจังหวัดชลบุรี พื้นที่นี้ถูกใช้อยู่อาศัยตั้งแต่ 2000 - 1500 ปีก่อนคริสตศักราช การขุดค้นพบว่ามีการฝังศพเกิดขึ้น 7 ระยะ รวมหลุมศพ 154 หลุม ซึ่งพบซากทางโบราณคดีมากมาย เช่น ปลา ปู เตาไฟ หลุมศพ และศพของผู้ใหญ่กับทารก [12]

จากการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติในการเก็บศพและไอโซโทปของสตรอนเซียม คาร์บอน และออกซิเจนที่พบในซากฟัน นักโบราณคดีได้ตรวจสอบความเป็นไปได้ของการควบรวมระหว่างวัฒนธรรมเกษตรกรรมที่ดอนกับวิถีชีวิตนักหาของป่าล่าสัตว์ของโคกพนมดี [13] การศึกษาไอโซโทปแสดงให้เห็นว่าในระยะก่อนหน้านี้ ผู้หญิงที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวอพยพมาจากทั้งพื้นที่ทางบกและชายฝั่ง ในขณะที่ผู้ชายถูกเลี้ยงและเติบโตขึ้นในบริเวณดังกล่าวตั้งแต่แรก การปรับตัวเข้าท้องถิ่นของผู้อพยพเกิดขึ้นในช่วงระยะที่ 4 เป็นต้นไป โดยมีการปลูกข้าวเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน [13] : 301–314 

  • เขารักเกียรติ

เขารักเกียรติ อยู่ในอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ภาคใต้ของประเทศไทย ถ้ำแห่งนี้ถูกขุดขึ้นมาโดยกรมศิลปากรเมื่อปี พ.ศ. 2529 และเผยให้เห็นเซรามิกยุคหินใหม่ เครื่องมือหิน และซากโครงกระดูกมนุษย์ [8]

2,500 ปีที่แล้ว: ยุคสำริด[แก้]

เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงใน พิพิธภัณฑ์ für Indische Kunst เบอร์ลิน-ดาห์เลม
ควายดินเผา จาก ลพบุรี 2300 ปีก่อนคริสตศักราช

ยุคทองแดงและสำริด[แก้]

ยุคสำริด เป็นช่วงเวลาที่งานโลหะที่ทันสมัยที่สุดมีเพียงเทคนิคในการถลุงทองแดงและดีบุกที่โผล่ขึ้นมาตามผิวโลก จากนั้นจึงผสมโลหะเหล่านั้นเพื่อหล่อสัมฤทธิ์ นอกจากนี้ยังมีการกล่าวอ้างว่าสัมฤทธิ์ปรากฏขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่ช่วง 5000 ปีก่อนคริสตกาล

การตั้งถิ่นฐานในยุคสำริดในประเทศไทย[แก้]

  • บ้านเชียง

ในบ้านเชียงมีการค้นพบวัตถุสำริดที่ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ 2100 ปีก่อนคริสตกาล หลุมฝังศพที่เก่าแก่ที่สุดมีอายุประมาณ 2100 ปีก่อนคริสตกาล ที่ใหม่ที่สุดประมาณ 200 คริสตศักราช ยังมีการค้นพบเบ้าหลอมและเศษทองสัมฤทธิ์ในบริเวณนี้ วัตถุสัมฤทธิ์นี้รวมไปถึง เครื่องประดับ หัวหอก ขวาน จอบ ตะขอ ใบมีด และกระดิ่งเล็กๆ [11]

1,700 ปีที่แล้ว: ยุคเหล็ก[แก้]

ยุคเหล็กเป็นยุคที่เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆถูกสร้างขึ้นด้วยเหล็กเป็นส่วนใหญ่ การทำเครื่องมือจากเหล็กสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอื่นๆ บางแห่ง เช่น วิธีการเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์ ความเชื่อทางศาสนา หรือศิลปะ อย่างไรก็ตามสังคมบางแห่งไม่ได้เป็นเช่นนี้เสมอไป

แหล่งโบราณคดีในประเทศไทยเช่น โนนนกทา ศูนย์การทหารปืนใหญ่ลพบุรี ถ้ำองบะ และบ้านดอนตาเพชร แสดงให้เห็นถึงรูปแบบการใช้เหล็กในช่วง 3,400 ถึง 1,700 ปีก่อน

การตั้งถิ่นฐานในยุคเหล็กในประเทศไทย[แก้]

  • โนนนกทา

โนนนกทาเป็นแหล่งโบราณคดีในอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีอายุตั้งแต่ 1420 ถึง 50 ปีก่อนคริสตศักราช

  • ศูนย์การทหารปืนใหญ่ลพบุรี

ศูนย์การทหารปืนใหญ่ลพบุรีเป็นแหล่งโบราณคดีในอำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีอายุตั้งแต่ 1225 ถึง 700 ปีก่อนคริสตศักราช

  • ถ้ำองบะ

ถ้ำองบะเป็นแหล่งโบราณคดีในอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี ทางตะวันตกของประเทศไทย มีอายุตั้งแต่ 310 ถึง 150 ปีก่อนคริสตศักราช

  • บ้านดอนตาเพชร

บ้านดอนตาเพชรเป็นโบราณสถานใน อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ทางตะวันตกของประเทศไทย มีอายุตั้งแต่ 24 ปีก่อนคริสตศักราช ถึงค.ศ. 276 โบราณวัตถุจำนวนมากที่พบในสุสานสมัยคริสตศตวรรษที่ 4 ถูกนำมาจากอินเดีย เวียดนามและฟิลิปปินส์ โดยการติดต่อค้าขาย สิ่งประดิษฐ์ดังกล่าว ได้แก่ เครื่องประดับทรงหกเหลี่ยมแบน รูปปั้นหินรูปสิงโตและเสือขนาดเล็ก และภาชนะโลหะต่างๆ [14]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Early Man Of Our Land". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). 2016.
  2. Marwick, Ben (June 2009). "Biogeography of Middle Pleistocene hominins in mainland Southeast Asia: A review of current evidence". Quaternary International. 202 (1–2): 51–58. doi:10.1016/j.quaint.2008.01.012.
  3. Mapping human history p.130-131.
  4. Multiregional or single origin.
  5. Marwick, Ben; Van Vlack, Hannah G.; Conrad, Cyler; Shoocongdej, Rasmi; Thongcharoenchaikit, Cholawit; Kwak, Seungki. "Adaptations to sea level change and transitions to agriculture at Khao Toh Chong rockshelter, Peninsular Thailand". Journal of Archaeological Science. 77: 94–108. doi:10.1016/j.jas.2016.10.010.
  6. Higham, C.F.W. and T. Higham. 2009. A New chronological framework for prehistoric Southeast Asia based on a Bayesian model from Ban Non Wat. Antiquity 83: 125-144.
  7. Stargardt, J. 1983. Satingpra I: The Environmental and Economic Archaeology of South Thailand. Oxford: British Archaeological Reports (BAR) in association with ISEAS, Singapore
  8. 8.0 8.1 Lekenvall, Henrik (2012). "Late Stone Age Communities in the Thai-Malay Peninsula". Journal of Indo-Pacific Archaeology. 32: 78–86.
  9. Gorman C. (1971) The Hoabinhian and After: Subsistence Patterns in Southeast Asia during the Late Pleistocene and Early Recent Periods. World Archaeology 2: 300-320
  10. Shoocongdej, R. 2010. Subsistence-Settlement Organisation During the Late Pleistocene - Early Holocene: the Case of Lang Kamnan Cave, Western Thailand. In: B Bellina, EA Bacus and TO Pryce (eds). 50 Years of Archaeology in Southeast Asia: Essays in Honour of Ian Glover. River Book, Bangkok. pp.51-66.
  11. 11.0 11.1 Charles Higham (archaeologist)|Higham, Charles, Prehistoric Thailand, ISBN 974-8225-30-5, pp.84-88.
  12. Halcrow, S., Tayles, N., Inglis, R., Higham, C., Carver, M. (2012). Newborn twins from prehistoric mainland Southeast Asia: birth, death and personhood.Antiquity, 86(333).
  13. 13.0 13.1 Bentley, R.A.; Tayles, N.; Higham, C.; Macpherson, C.; Atkinson, T.C. (2007). "Shifting Gender Relations at Khok Phanom Di, Thailand" (PDF). Current Anthropology. 48 (2). doi:10.1086/512987.
  14. Glover, I. C., & Bellina, B. (2011). Ban Don Ta Phet and Khao Sam Kaeo: The Earliest Indian Contacts Re-assessed. Early Interactions Between South and Southeast Asia: Reflections on Cross-cultural Exchange, 2, 17.

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]