วงศ์ลิงใหญ่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โฮมินิด)
วงศ์ลิงใหญ่[1]
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 17–0Ma สมัยไมโอซีนถึงปัจจุบัน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
โดเมน: Eukaryota
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Primates
อันดับย่อย: Haplorrhini
อันดับฐาน: Simiiformes
อนุอันดับ: Catarrhini
วงศ์ใหญ่: Hominoidea
วงศ์: Hominidae
Gray, 1825
สกุลต้นแบบ
Homo
Linnaeus, 1758
Subfamilies

sister: Hylobatidae

กระจายพันธุ์ของวงศ์ลิงใหญ่
ชื่อพ้อง
  • Pongidae Elliot, 1913
  • Gorillidae Frechkop, 1943
  • Panidae Ciochon, 1983

วงศ์ลิงใหญ่[3] หรือ โฮมินิด (อังกฤษ: Hominid, Great ape) เป็นวงศ์หนึ่งในทางอนุกรมวิธานของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับวานร (Primates) จำพวกเอป หรือลิงไม่มีหาง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hominidae

ซึ่งในปัจจุบันนี้มีดำรงเผ่าพันธุ์อยู่เพียง 4 สกุล คือ Pan, Gorilla, Homo และPongo [1]

ลักษณะสำคัญของวงศ์นี้ คือ มีฟันเขี้ยวขนาดเล็กและอยู่ในระดับเดียวกับฟันอื่น ๆ เดินด้วยขาหลัง 2 ขา เนื่องจากเปลี่ยนวิถีชีวิตจากบนต้นไม้มาสู่พื้นดิน เดิมเคยเชื่อว่าในวงศ์นี้ ประกอบไปด้วยสกุล 3 สกุล คือ Ramapithecus, Australopithecus และ Homo แต่จากการศึกษาเพิ่มเติมพบว่า Ramapithecus มีลักษณะคล้ายลิงอุรังอุตังมากกว่า Australopithecus และHomo จึงจัดให้อยู่ในวงศ์ย่อย Ponginae ของลิงอุรังอุตัง[4]

ในวงศ์นี้ ชนิดที่ทราบว่าสูญพันธุ์ไปแล้วจำนวนหนึ่งถูกจัดกลุ่มกับมนุษย์ในวงศ์ย่อย Homininae ส่วนชนิดอื่น ๆ ถูกจัดในวงศ์ย่อย Ponginae กับลิงอุรังอุตัง บรรพบุรุษร่วมกันหลังสุดของลิงใหญ่เคยมีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 14 ล้านปีก่อน[5] เมื่อบรรพบุรุษของลิงอุรังอุตังวิวัฒนามาจากบรรพบุรุษของอีก 3 ชนิดที่เหลือ[6] บรรพบุรุษของวงศ์ลิงใหญ่ได้วิวัฒนาแยกทางจากวงศ์ Hylobatidae หรือ ชะนี แล้วก่อนหน้านั้น อาจเป็นเมื่อ 15-20 ล้านปีก่อน[6][7]

การจำแนกชั้น[แก้]

นักวิทยาศาสตร์มีความเห็นไม่ตรงกันในการการจำแนกชั้นของสัตว์ในวงศ์ลิงใหญ่[8] แผนผังด้านล่างแสดงการจำแนกชั้นแบบหนึ่งของไพรเมต/วงศ์ลิงใหญ่ที่ยังมีชีวิตอยู่ เป็นการจำแนกชั้นที่ให้ความสำคัญกับความใกล้เคียงกันทางกรรมพันธุ์ของมนุษย์และลิงชิมแปนซี[9][10][11] โดยมีชื่อตามอนุกรมวิธาน

Hominoidea (ลิงไม่มีหาง)

Hylobatidae (ชะนี)


Hominidae (วงศ์ลิงใหญ่)
Ponginae
Pongo (อุรังอุตัง)

Pongo abelii




Pongo tapanuliensis



Pongo pygmaeus





Homininae (วงศ์ย่อยเอปแอฟริกา)
Gorillini
Gorilla (กอริลลา)

Gorilla gorilla



Gorilla beringei




Hominini (เผ่าลิงใหญ่)
Panina
Pan (ชิมแปนซี)

Pan troglodytes



Pan paniscus





Hominina (มนุษย์)

Homo sapiens (มนุษย์)







วิวัฒนาการชาติพันธุ์[แก้]

ด้านล่างนี้เป็นสายพันธุ์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ระบุไว้ประมาณล้านปีที่แล้ว (Mya) clades ที่แตกต่างกันไป

Hominidae (18)
Ponginae (14)

Kenyapithecus (†13 Mya)



Sivapithecus (†9)



Crown Ponginae



Ankarapithecus (†9)



Gigantopithecus (†0.1)



Khoratpithecus (†7)



(13)
(12)

Pierolapithecus (†11)



Hispanopithecus (†10)




Lufengpithecus (†7)



Homininae

Ouranopithecus (†8)


Crown Homininae (10)
Hominini (7)

Australopithecus (รวม. Homo)



Pan



Gorillini

Crown Gorillini



Chororapithecus (†)





Nakalipithecus (†10)



Samburupithecus (†9)





ส่วนการจำแนกชั้นมีดังต่อไปนี้ มีการรวมเอาสายพันธุ์มนุษย์ที่สูญพันธุ์ไว้ด้วย ชื่อแรกเป็นชื่อตามอนุกรมวิธาน ชื่อในวงเล็บเป็นชื่อทั่วไป


ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Groves, C. (2005-11-16). Wilson, D. E.; Reeder, D. M. (บ.ก.). Mammal Species of the World (3rd ed.). Johns Hopkins University Press. pp. 181–184. ISBN 0-801-88221-4.
  2. Cameron, D.W. 1997: A revised systematic scheme for the Eurasian Miocene fossil Hominidae. Journal of human evolution, 33: 449–477.
  3. หน้า 175, สัตว์สวยป่างาม (สิงหาคม, 2518) โดย ชมรมนิเวศวิทยามหาวิทยาลัยมหิดล
  4. วิวัฒนาการของมนุษย์
  5. Andrew Hill & Steven Ward (1988). "Origin of the Hominidae: The Record of African Large Hominoid Evolution Between 14 My and 4 My". Yearbook of Physical Anthropology. 31 (59): 49–83. doi:10.1002/ajpa.1330310505.
  6. 6.0 6.1 Dawkins R (2004) The Ancestor's Tale.
  7. "Query: Hominidae/Hylobatidae". Time Tree. 2009. สืบค้นเมื่อ December 2010. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. Potts, Richard B. (2006), "Human Evolution", Microsoft Encarta 2006
  9. Wood, Bernard; Richmond, Brian G. (2000). "Human evolution: taxonomy and paleobiology". Journal of Anatomy. 197 (1): 19–60. doi:10.1046/j.1469-7580.2000.19710019.x. PMC 1468107. PMID 10999270.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) Full PDFPDF (1.1 MB)
  10. Cartmill, M.; Smith, F. He (2011). The Human Lineage. John Wiley & Sons. ISBN 978-1-118-21145-8.[ลิงก์เสีย]
  11. Groves, C. P. (2001). Primate Taxonomy. Smithsonian Institution Press. ISBN 1-56098-872-X.
  12. Fuss, J; Spassov, N; Begun, DR; Böhme, M (2017). "Potential hominin affinities of Graecopithecus from the Late Miocene of Europe". PLoS ONE. 12 (5): 5. Bibcode:2017PLoSO..1277127F. doi:10.1371/journal.pone.0177127. PMC 5439669. PMID 28531170.
  13. "Paleodb". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-27. สืบค้นเมื่อ 2020-09-23.
  14. Barras, Colin (14 March 2012). "Chinese human fossils unlike any known species". New Scientist. สืบค้นเมื่อ 15 March 2012.
  15. "National Geographic". National Geographic Society. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-16. สืบค้นเมื่อ 25 July 2009.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]