ข้ามไปเนื้อหา

การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2231

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2231

กองทหารสยามปิดล้อมป้อมวิชเยนทร์ซึ่งทหารฝรั่งเศสยึดไว้เป็นที่มั่น ระหว่างการปฏิวัติภายใต้การนำของพระเพทราชาในปี พ.ศ. 2231
วันที่11 กรกฎาคม 2231 (2231-07-11)
สถานที่
ผล การสถาปนาราชวงศ์บ้านพลูหลวง
การขับไล่กองทหารฝรั่งเศสออกไปจากเมืองบางกอก
คู่สงคราม

พระเพทราชาและกลุ่มขุนนางชาวสยาม
สนับสนุนโดย:
สาธารณรัฐดัตช์[1]

ราชวงศ์ปราสาททอง
ราชอาณาจักรฝรั่งเศส ราชอาณาจักรฝรั่งเศส

ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
พระเพทราชา
หลวงสรศักดิ์
กรมหลวงโยธาเทพ

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

เจ้าพระยาวิชเยนทร์ โทษประหารชีวิต
นายพลเดฟาร์ฌ

มิสเตอร์ เดอ แวร์เตอซาล
เชอวาเลียร์ เดอ โบเรการ์ด  (เชลย)

การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2231 หรือ การปฏิวัติสยามครั้งที่หนึ่ง เป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของราชอาณาจักรอยุธยา ให้พ้นอิทธิพลการปกครองของชาวยุโรป เมื่อพระเพทราชา หนึ่งในขุนนางฝ่ายทหารที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชไว้วางพระราชหฤทัย ถือโอกาสในช่วงที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชกำลังประชวรหนัก จับพระปีย์ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้มีสิทธิ์สืบราชสมบัติสำเร็จโทษ พร้อมกับประหารชีวิตคอนสแตนติน ฟอลคอน หรือ เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ขุนนางคนสนิทของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นอกจากนี้เมื่อพระเพทราชาได้ทรงกระทำการปราบดาภิเษกแล้ว พระองค์ยังได้ทรงสถาปนาเจ้าฟ้าสุดาวดี กรมหลวงโยธาเทพ พระราชธิดาพระองค์เดียวในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ขึ้นเป็นพระอัครมเหสีฝ่ายซ้าย สมเด็จพระเพทราชาได้ทรงพยายามขับไล่กองทหารฝรั่งเศสออกจากสยาม ซึ่งหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญนั้นคือ การล้อมบางกอก กองทัพสยามจำนวนหลายหมื่นคนใช้เวลาสี่เดือนในการล้อมป้อมปราการของฝรั่งเศสภายในเมือง อันเป็นผลสืบเนื่องจากการปฏิวัติของพระองค์ ผลลัพธ์จากการปฏิวัติครั้งนั้นทำให้สยามตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับบรรดาชาติตะวันตกเกือบสิ้นเชิง กว่าจะมีการฟื้นฟูความสัมพันธ์ขึ้นอีกครั้งก็ต้องรอถึงช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 24

นโยบายการต่างประเทศของสมเด็จพระนารายณ์

[แก้]
ภาพวาดสมเด็จพระนารายณ์แห่งสยามในทัศนะของชาวฝรั่งเศส

รัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นช่วงที่มีการต้อนรับคณะทูตต่างประเทศและส่งคณะทูตไปยังต่างประเทศเป็นจำนวนมาก โดยมีประเทศสำคัญ ได้แก่ ฝรั่งเศส อังกฤษ และวาติกัน นอกจากนี้ยังมีการสานความสัมพันธ์ทางการทูตต่อเปอร์เซีย อินเดีย และจีน ตลอดจนบรรดาอาณาจักรรอบข้างอีกด้วย สิ่งสำคัญอย่างยิ่งอีกประการหนึ่งในรัชสมัยของพระองค์ ได้แก่ อิทธิพลของชาวต่างชาติภายในราชสำนักสยาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการก้าวขึ้นสู่อำนาจของเจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) นักผจญภัยชาวกรีกผู้ดำรงตำแหน่งว่าที่สมุหนายก อัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือน ซึ่งเทียบเท่ากับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสมัยปัจจุบัน

สมเด็จพระนารายณ์ทรงพยายามเจริญสัมพันธไมตรีกับราชอาณาจักรฝรั่งเศสมากเป็นพิเศษ เพื่อถ่วงดุลอำนาจของชาวโปรตุเกสและชาวฮอลันดาที่มีต่อราชอาณาจักรของพระองค์ และทรงปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าพระยาวิชเยนทร์ผู้เป็นอัครมหาเสนาบดี[2] ทั้งนี้ ปรากฏหลักฐานว่าทั้งสองฝ่ายมีการส่งคณะทูตแลกเปลี่ยนกันหลายครั้ง[3][4]

กระแสชาตินิยมที่เพิ่มขึ้น

[แก้]
ทิวทัศน์บ้านเมือง ในสมัยอาณาจักรอยุธยา (ภาพพิมพ์คริสต์ศตวรรษที่ 17)

ฝรั่งเศสพยายามจะชักจูงให้สมเด็จพระนารายณ์เข้ารีตในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกและสถาปนากำลังรบของตนขึ้นในสยาม เมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตจากสมเด็จพระนารายณ์แล้ว ป้อมปราการซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของกองทหารฝรั่งเศสจึงได้มีการก่อสร้างขึ้นที่เมืองมะริดและบางกอก เพื่อยืนยันสนธิสัญญาทางการค้าในปี พ.ศ. 2228 เพื่อถ่วงดุลอำนาจของดัตช์ (หรือฮอลันดา) ในภูมิภาคนี้ และเพื่อต่อต้านการปล้นสะดมจากกลุ่มโจรสลัด[5] การยกพลขึ้นบกของฝรั่งเศสเช่นนี้ได้นำไปสู่ความเคลื่อนไหวในเชิงชาตินิยมอย่างรุนแรงในสยาม เมื่อถึงปี พ.ศ. 2231 ความรู้สึกต่อต้านต่างชาติซึ่งส่วนใหญ่มุ่งไปที่ฝรั่งเศสและเจ้าพระยาวิชเยนทร์ได้ทะยานขึ้นถึงขีดสุด บรรดาขุนนางชาวสยามต่างชิงชังต่ออิทธิพลในการบริหารราชการแผ่นดินของเจ้าพระยาวิชเยนทร์ โดยรวมไปถึงมารีอา กียูมาร์ ดึ ปีญา ภรรยาผู้มีเชื้อสายโปรตุเกส-ญี่ปุ่น และวิถีชีวิตแบบชาวยุโรปอีกด้วย ในขณะที่พระสงฆ์ในศาสนาพุทธต่างก็พากันอึดอัดใจกับนักบวชคณะเยซูอิตของฝรั่งเศสที่มีบทบาทสำคัญมากขึ้น ในที่สุดบรรดาข้าราชบริพารจึงได้รวมตัวกันเป็นขั้วอำนาจฝ่ายต่อต้านชาวต่างชาติ ส่วนชาวต่างชาติซึ่งเข้ามาตั้งรกรากยังกรุงศรีอยุธยาก่อนชาวฝรั่งเศส โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้นับถือลัทธิโปรเตสแตนท์ชาวฮอลันดาและชาวอังกฤษ รวมถึงชาวมุสลิมเปอร์เซีย ต่างก็ไม่พอใจต่อการปรากฏตัวของฝรั่งเศสเช่นกัน โดยต่างก็เห็นว่าเป็นการละเมิดสนธิสัญญาทอร์เดสซิลลาส อิทธิพลของฝรั่งเศสที่เพิ่มขึ้นไม่เพียงเป็นการเพิ่มการแข่งขัน แต่ยังเป็นการย้ำเตือนอย่างไม่พึงปรารถนาต่อการเสื่อมอิทธิพลของชาวโปรตุเกสอีกด้วย

แผนผังเมืองหลวงแห่งลพบุรีของสมเด็จพระนารายณ์ ("Louvo" ในภาษาฝรั่งเศส)

เมื่อสมเด็จพระนารายณ์ทรงพระประชวรหนักในเดือนมีนาคมปี พ.ศ. 2231 บรรดาผู้สมรู้ร่วมคิดจึงฉวยโอกาสยึดอำนาจจากพระองค์เสีย ในเดือนเมษายน เจ้าพระยาวิชเยนทร์ได้ขอความช่วยเหลือทางทหารจากฝรั่งเศสเพื่อต่อต้านแผนการดังกล่าว นายพลเดฟาร์ฌได้นำกำลังทหาร 80 นาย พร้อมด้วยนายทหารอีก 10 นาย ออกจากบางกอก เดินไปยังพระราชวังเมืองลพบุรี[6] อย่างไรก็ตามเขาได้ยับยั้งกำลังพลทั้งหมดอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา และได้ตัดสินใจล้มเลิกแผนการและถอนตัวกลับไปยังบางกอก ด้วยเกรงว่าจะถูกซุ่มโจมตีจากกลุ่มกบฏชาวสยามและได้รับข่าวลือเท็จต่าง ๆ ซึ่งส่วนหนึ่งได้มาจากนายเวเรต์ (Monsieur Véret) ผู้อำนวยการบริษัทอินเดียตะวันออกของฝรั่งเศส อันรวมไปถึงข่าวลือที่ว่าสมเด็จพระนารายณ์เสด็จสวรรคตแล้ว[7]

วิกฤติการณ์การสืบราชสมบัติ

[แก้]
กรมหลวงโยธาเทพ พระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2231

ในวันที่ 10 พฤษภาคม สมเด็จพระนารายณ์ซึ่งมีพระอาการประชวรเพียบหนักและใกล้เสด็จสวรรคต ทรงตระหนักถึงปัญหาการสืบราชสมบัติที่ใกล้จะเกิดขึ้น จึงทรงเรียกบุคคลผู้ใกล้ชิดในพระองค์ ซึ่งได้แก่ เจ้าพระยาวิชเยนทร์ อัครมหาเสนาบดีชาวกรีก, พระเพทราชา พี่น้องร่วมพระนมและจางวางกรมพระคชบาล, และพระปีย์ พระราชโอรสบุญธรรม ให้เข้าเฝ้าฯ เฉพาะเบื้องพระพักตร์ ทรงมีพระราชดำริที่จะยกให้กรมหลวงโยธาเทพ พระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวของพระองค์ ขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ และให้บุคคลทั้งสามทำหน้าที่ว่าราชการแทนจนกว่าพระราชธิดาจะทรงตัดสินพระทัยว่าจะทรงเลือกอภิเษกสมรสกับพระปีย์หรือพระเพทราชาเป็นพระราชสวามี[8]

การตัดสินพระทัยของสมเด็จพระนารายณ์ทำให้พระเพทราชาต้องเร่งตัดสินใจลงมือโดยเร็ว จากการที่สมเด็จพระนารายณ์ทรงพระประชวรเพียบหนัก พระเพทราชาจึงได้ดำเนินการทำรัฐประหารตามที่ได้วางแผนไว้มานาน โดยได้รับการสนับสนุนจากบรรดาข้าราชบริพารและพระสงฆ์ในศาสนาพุทธ กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติสยามในปี พ.ศ. 2231 สมเด็จพระนารายณ์ทรงถูกกักบริเวณควบคุมพระองค์เมื่อวันที่ 17-18 พฤษภาคม พ.ศ. 2231 และในวันที่ 5 มิถุนายน ฟอลคอนหรือเจ้าพระยาวิชเยนทร์ ก็ได้ถูกจับกุมด้วยข้อหากบฏและถูกสำเร็จโทษด้วยการตัดศีรษะในภายหลัง พระปีย์ถูกฆ่า พระญาติวงศ์หลายพระองค์ของสมเด็จพระนารายณ์ถูกลอบสังหาร พระอนุชาทั้งสองพระองค์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิ์ในราชสมบัติโดยชอบธรรมต่างถูกปลงพระชนม์ในวันที่ 9 กรกฎาคม[9][10] สมเด็จพระนารายณ์เสด็จสวรรคตระหว่างทรงถูกกักบริเวณเมื่อวันที่ 10-11 กรกฎาคม โดยที่การสวรรคตของพระองค์อาจถูกเร่งให้เร็วขึ้นด้วยการวางยาพิษ พระเพทราชาได้ทรงกระทำการปราบดาภิเษกเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม[11] ออกพระวิสุทธสุนทร (ปาน) ราชทูตผู้เดินทางไปยังฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2229 และเป็นฝ่ายสนับสนุนพระเพทราชา ได้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกำกับกรมพระคลังและกรมท่า ดูแลด้านการค้าและการต่างประเทศ[12]

สุดท้ายแล้ว กรมหลวงโยธาเทพได้ทรงอภิเษกสมรสกับพระเพทราชา และทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระอัครมเหสี

การขับไล่กองทหารฝรั่งเศส

[แก้]
การโจมตีของชาวสยามที่ ดู บูร์ยองส์ ในทวาย ซึ่งเชอวาเลียร์ เดอ โบเรการ์ด และ เยซู ปิแอร์ เดสปาญัก ถูกจับโดยเป็นทาส[13]

การโจมตีขนาดใหญ่เกิดขึ้นที่ป้อมปราการฝรั่งเศสสองแห่งในสยาม เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2231 ฝรั่งเศสภายใต้การดูแลของ ดู บูร์ยองส์ (du Bruant) และ เชอวาเลียร์ เดอ โบเรการ์ด (Chevalier de Beauregard) ต้องละทิ้งกองทหารที่เมืองมะริด[11] ดู บูร์ยองส์ หนีรอดจากกองไฟและมีผู้บาดเจ็บล้มตายจำนวนมากโดยการยึดเรือรบสยามที่เมืองมะริด เขาและทหารติดอยู่บนเกาะร้างเป็นเวลาสี่เดือนก่อนที่จะถูกจับโดยเรือรบอังกฤษในที่สุดพวกเขาก็กลับมาที่พอนดิเชอร์รีโดยทางเรือสินค้า

ในการล้อมบางกอกเพทราชาได้ล้อมป้อมปราการฝรั่งเศสในบางกอก ด้วยกำลังพล 40,000 นายและปืนใหญ่กว่าร้อยกระบอก เป็นระยะเวลาสี่เดือน เห็นได้ชัดว่ากองทหารสยามได้รับการสนับสนุนจากชาวดัตช์ในการต่อสู้กับฝรั่งเศส[14] เมื่อวันที่ 9 กันยายน เรือรบฝรั่งเศสออริเฟลม บรรทุกทหาร 200 นาย และได้รับคำสั่งจาก ดู ลิ'พรีสลิลต์ (de l'Estrilles) มาถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยาแต่ไม่สามารถเทียบท่าที่ป้อมปราการบางกอก เนื่องจากเป็นทางเข้าแม่น้ำถูกชาวสยามปิดกั้น[15]

มารีอา กียูมาร์ ดึ ปีญา ชาวสยามเชื้อสายญี่ปุ่น-โปรตุเกส ภริยาของฟอลคอน[16] ซึ่งได้รับคำสัญญาว่าจะให้ความคุ้มครองโดยเป็นเคานท์เตสแห่งฝรั่งเศส ลี้ภัยไปพร้อมกับกองทหารฝรั่งเศสในบางกอก แต่เดฟาร์ฌ ส่งเธอกลับคืนสู่สยามโดยได้รับแรงกดดันจากเพทราชาในวันที่ 18 ตุลาคม[17] แม้จะมีคำสัญญาเกี่ยวกับความปลอดภัยของเธอ แต่เธอก็ถูกประณามให้เป็นทาสตลอดไปในครัวของเพทราชา[18] ในที่สุด เดฟาร์ฌ ก็ได้เจรจาเพื่อกลับไปพร้อมกับคนของเขาที่พอนดิเชอร์รีในวันที่ 13 พฤศจิกายน บนเรือออริเฟลมและเรือสยามสองลำ ได้แก่สยามและหลุยส์ ลาโนจัดหาโดยเพทราชา[11][19]

กองทหารฝรั่งเศสบางส่วนยังคงอยู่ในพอนดิเชอร์รีเพื่อสนับสนุนการมีอยู่ของฝรั่งเศสที่นั่น แต่ส่วนใหญ่ออกเดินทางไปฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2232 บนกองทัพเรือฝรั่งเศสนอร์มันและบริษัทฝรั่งเศสโคลส์ โดยมีวิศวกร โวแลน เดอ วีคาร์นอินส์ (Vollant des Verquains) และ เยซูอิต เลอ บลอง (Jesuit Le Blanc) อยู่ในบนเรือรบ เรือทั้งสองลำถูกจับโดยชาวดัตช์ที่เดอะเคป เนื่องจากสงครามแห่งเอาก์สบวร์กลีก (Augsburg League) ได้เริ่มต้นขึ้นหลังจากหนึ่งเดือนควบคุมนักโทษถูกส่งไปยังเซลันด์ ซึ่งพวกเขาถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำมิดเดิลบืร์ค ในที่สุดพวกเขาก็สามารถกลับไปฝรั่งเศสผ่านการแลกเปลี่ยนนักโทษทั่วไป[20]

เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2232 นาย เดฟาร์ฌ ชาวฝรั่งเศสซึ่งยังคงอยู่ในพอนดิเชอร์รีได้นำคณะสำรวจเพื่อยึดเกาะภูเก็ตเพื่อพยายามฟื้นฟูการควบคุมของฝรั่งเศสในสยาม[21][22] การยึดครองเกาะนี้ไม่มีผลประโยชน์เลย และ เดฟาร์ฌ กลับไปที่พอนดิเชอร์รีในเดือนมกราคม พ.ศ. 2233[23] ระลึกถึงฝรั่งเศสเขาทิ้งทหาร 108 นาย ในพอนดิเชอร์รีเพื่อหนุนการป้องกัน และทิ้งไว้กับกองทหารที่เหลืออยู่บนเรือรบออริเฟลม และ บริษัทจัดส่ง ลอนเร (Lonré) และ เซนต์-นิโคลัส (Saint-Nicholas) เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2233[24] เดฟาร์ฌ เสียชีวิตระหว่างทางกลับไปโดยพยายามไปถึงมาร์ตินีก และ เรือรบออริเฟลมไม่นานหลังจากนั้นเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2234 โดยกองทหารฝรั่งเศสที่เหลืออยู่ส่วนใหญ่นอกชายฝั่งปัตตานี[25]

กบฏที่ก่อตัวเป็นสยามซึ่งนำโดยธรรมเถียรได้ก่อกบฏขึ้นในปี พ.ศ. 2333 เพื่อต่อต้านการปกครองของเพทราชา แต่ถูกปราบปรามโดยเหล่าขุนนางตามหัวเมืองในภูมิภาคต่าง ๆ ก็ปฏิเสธที่จะยอมรับการปกครองของเพทราชาและยืนหยัดในการกบฏจนถึง พ.ศ. 2234 รัชสมัยของเพทราชาครองราชย์ไปจนถึงปี พ.ศ. 2346 เมื่อสิ้นพระชนม์และสืบราชบัลลังก์โดยบุตรชายคนโตหลวงสรศักดิ์ ขึ้นครองราชย์สมบัติต่อมา

วิศวกรชาวฝรั่งเศสชื่อ ฌอง โวล็องต์ เดอ แวร์ควนส์ (Jean Vollant des Verquains) ผู้ร่วมสมัยที่เข้าร่วมงานเขียนถึงความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2234 กล่าวว่า "การปฏิวัติที่เกิดขึ้นในอาณาจักรสยามในปี พ.ศ. 2231 เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่มีชื่อเสียงที่สุดในยุคของเราไม่ว่าจะเป็นโดยพิจารณาจากมุมมองของการเมืองหรือศาสนา”[26]

ผลกระทบที่ตามมา

[แก้]
พระวิสุทธสุนธร (ปาน) อดีตราชทูตสยามผู้เดินทางไปยังประเทศฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2228 ได้เป็นเสนาบดีกำกับกรมพระคลังและกรมท่าภายหลังการปราบดาภิเษกของสมเด็จพระเพทราชา

ฝรั่งเศสไม่สามารถกลับเข้ามาหรือจัดการโต้ตอบสยามได้แต่อย่างใด เนื่องจากขณะนั้นฝรั่งเศสติดพันกับเหตุขัดแย้งครั้งใหญ่ในทวีปยุโรป อันได้แก่สงครามสหพันธ์ออกสบูร์ก (ระหว่างปี ค.ศ. 1688-1697) และต่อเนื่องไปยังสงครามสืบราชสมบัติสเปน (ระหว่างปี ค.ศ. 1701 – 1713/14)[22]

ทางฝ่ายสยามนั้น สมเด็จพระเพทราชาได้ทรงดำเนินการขับไล่ชาวฝรั่งเศสส่วนมากออกไปจากพระราชอาณาจักร แต่สำหรับคณะมิชชันนารีนั้น หลังจากได้มีการลงโทษจำคุกเป็นระยะเวลาสั้น ๆ คณะมิชชันนารีก็ได้รับอนุญาตให้ดำเนินศาสนกิจของตนในกรุงศรีอยุธยาต่อไปแม้ว่าจะต้องอยู่ภายใต้ข้อบังคับบางประการ บาทหลวงหลุยส์ ลาโน (Louis Laneau) บาทหลวงแห่งอยุธยา ได้พ้นพระราชอาญาจำคุกเมื่อ พ.ศ. 2234 ชาวฝรั่งเศสส่วนจำนวนหนึ่งซึ่งอยู่ในฐานะของข้าราชการในพระเจ้ากรุงศรีอยุธยา เช่น เรอเน ชาร์บองโน (René Charbonneau) อดีตเจ้าเมืองภูเก็ต ก็ยังคงได้รับอนุญาตให้อยู่ในกรุงศรีอยุธยาต่อไป[22]

อย่างไรก็ตาม ฝ่ายสยามก็ไม่ได้ตัดขาดการติดต่อกับชาวต่างชาติไปเสียสิ้นเชิง ในวันที่ 14 พฤศจิกายน หลังจากฝรั่งเศสถอนตัวออกไปจากกรุงสยามได้ไม่นาน ก็ได้มีการทบทวนสนธิสัญญาและข้อตกลงทางพันธไมตรีระหว่างสยามกับบริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ มีเนื้อหารับรองให้ชาวฮอลันดามีสิทธิผูกขาดการส่งออกหนังกวางแต่เพียงฝ่ายเดียวดังเช่นที่เคยมีข้อตกลงกันมาก่อนในอดีต และอนุญาตให้ชาวฮอลันดาสามารถทำการค้าที่ท่าเรือต่าง ๆ ของสยามได้โดยอิสระ นอกจากนี้ยังให้สิทธิในการผูกขาดการส่งออกแร่ดีบุกจากเมืองนครศรีธรรมราชอีกด้วย (เดิมได้รับพระบรมราชานุมัติจากสมเด็จพระนารายณ์มาก่อนแล้ว ตั้งแต่ พ.ศ. 2217)[27] นอกจากนี้ยังคงมีการส่งหัวหน้าสถานีการค้าของฮอลันดา (Opperhoofden) มาประจำการที่กรุงศรีอยุธยาเช่นกัน เช่น ปีเตอร์ ฟาน เดน ฮูร์น (Pieter van den Hoorn, ระหว่างปี 1688–1691) และโทมัส ฟาน ซัน (Thomas van Son, ระหว่างปี 1692–1697) เป็นต้น[28] แม้กระนั้นความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับชาติตะวันตกก็ยังคงมีอยู่เพียงประปราย และจะไม่กลับไปอยู่ในระดับเดียวกับที่เกิดขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์จนกว่าจะถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 25[29]

นอกเหนือจากการติดต่อกับชาติตะวันตกแล้ว การค้าขายกับบรรดาชาติในทวีปเอเชียด้วยกันก็ยังคงเฟื่องฟูอยู่ต่อไปจากการที่สยามยังคงเกี่ยวข้องในการค้าขายระหว่างจีน-สยาม-ญี่ปุ่น ในรัชสมัยของสมเด็จพระเพทราชา ปรากฏบันทึกว่ามีเรือสำเภาจีนเข้ามาค้าขายที่กรุงศรีอยุธยา 50 ลำ และในระยะเดียวกันนั้นก็มีเรือสำเภาถึง 30 ลำ เดินทางจากกรุงศรีอยุธยาไปยังเมืองท่านางาซากิ ประเทศญี่ปุ่น[30]

ความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการระหว่างสยามกับบรรดาชาติตะวันตกได้ฟื้นฟูขึ้นอีกครั้งด้วยการสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีและการพาณิชย์กับสหราชอาณาจักร (ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "สนธิสัญญาเบอร์นี") ในปี พ.ศ. 2369 เริ่มมีการแลกเปลี่ยนทางการทูตกับสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2376[31] ส่วนฝรั่งเศสนั้นกว่าจะกลับมาเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการก็ต้องรอจนถึงปี พ.ศ. 2399 เมื่อจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ทรงส่งคณะทูตภายใต้การนำของชาร์ล เดอ มองติญี (Charles de Montigny) มาเจริญพระราชไมตรียังพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการลงนามสนธิสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศสในวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2399 เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการค้า รับรองเสรีภาพทางศาสนา และอนุญาตให้เรือรบฝรั่งเศสเข้ามาจอดที่กรุงเทพมหานครได้ ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2404 สยามจึงได้ส่งคณะทูตซึ่งนำโดยพระยาศรีพิพัฒน์ (แพ บุนนาค) จางวางกรมพระคลังสินค้า โดยสารไปกับเรือรบฝรั่งเศส เพื่อไปเจริญพระราชไมตรียังประเทศฝรั่งเศสเป็นการตอบแทน[32]

อ้างอิง

[แก้]
เชิงอรรถ
  1. De la Touche, in Smithies 2002, p. 66–71
  2. Wills, p. 87
  3. "Thai Ministry of Foreign Affairs". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2002-10-15. สืบค้นเมื่อ 2018-04-01.
  4. Mission Made Impossible: The Second French Embassy to Siam, 1687, by Michael Smithies, Claude Céberet, Guy Tachard, Simon de La Loubère (2002) Silkworm Books, Thailand ISBN 974-7551-61-6 , p. 182
  5. Wills, p. 89
  6. Vollant des Verquains, in Smithies 2002, p.110
  7. Desfarges, in Smithies 2002, p.18
  8. Cruysse, Dirk van der. Siam and the West. p. 444.
  9. Wills, p. 92
  10. Desfarges, in Smithies 2002, p.46
  11. 11.0 11.1 11.2 Smithies 2002, p.184
  12. Desfarges, in Smithies 2002, p.35
  13. Smithies 2002, p.80
  14. De la Touche, in Smithies 2002, p.76
  15. Desfarges, in Smithies 2002, p.49
  16. Vollant des Verquains, in Smithies 2002, p.100
  17. Smithies 2002, p.11/p.184
  18. Smithies 2002, p.51, note 101
  19. De la Touche, in Smithies 2002, p.73
  20. Smithies 2002, p.19
  21. A History of South-east Asia p. 350, by Daniel George Edward Hall (1964) St. Martin's Press
  22. 22.0 22.1 22.2 Dhivarat na Pombejra in Reid, p.267
  23. Smithies 2002, p.185
  24. Smithies 2002, p.179
  25. Smithies 2002, p.16/p.185
  26. Jean Vollant des Verquains, History of the revolution in Siam in the year 1688, in Smithies 2002, p. 98
  27. Dhivarat na Pombejra in Reid, p.265
  28. Dhiravat na Pombejra, in Reid p.265-266
  29. Background Note: Thailand, US Department of State: Bureau of East Asian and Pacific Affairs, March 2008
  30. Dhiravat na Pombejra in Reid, p.266
  31. US Department of State
  32. "Thai Ministry of Foreign Affairs". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2002-12-28. สืบค้นเมื่อ 2019-01-03.
บรรณานุกรม
  • Hall, Daniel George Edward (1964) A History of South-east Asia St. Martin's Press
  • Reid, Anthony (Editor), Southeast Asia in the Early Modern Era, Cornell University Press, 1993, ISBN 0-8014-8093-0
  • Smithies, Michael (1999), A Siamese embassy lost in Africa 1686, Silkworm Books, Bangkok, ISBN 974-7100-95-9
  • Smithies, Michael (2002), Three military accounts of the 1688 "Revolution" in Siam, Itineria Asiatica, Orchid Press, Bangkok, ISBN 974-524-005-2
  • Stearn, Duncan. Chronology of South-East Asian History: 1400-1996. Dee Why: Mitraphab Centre, 1997. p49.
  • John E. Wills, Jr. (2002). 1688: A Global History. W. W. Norton & Company. ISBN 978-0-393-32278-1.