นครรัฐแพร่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นครรัฐแพร่
พ.ศ. 1371–1986
สถานะนครรัฐ
เมืองหลวงเมืองพลนคร หรือ เวียงแพร่
ศาสนา
ศาสนาพุทธ (เถรวาท)
การปกครองราชาธิปไตย
เจ้าผู้ครองนคร 
• พ.ศ. 1371 – 1719
ราชวงศ์ขุนหลวงพล
• พ.ศ. 1825 - 2101
เวียงโกศัย
ประวัติศาสตร์ 
• สถาปนา
พ.ศ. 1371
• ถูกผนวกเข้ากับล้านนา
1986
ถัดไป
อาณาจักรล้านนา
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ

นครรัฐแพร่ หรือ นครแพร่ เป็นนครรัฐอิสระขนาดเล็กในอดีตรัฐหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำยม เดิมเรียกว่า “เมืองพล” นครพล, หรือพลนคร, “เวียงโกศัย” หรือโกศัยนคร, “เมืองแพล” มีชื่อเต็มว่า โกเสยุยธชุชพลวิชยแพร่แก้วเมืองมุร

จนกระทั่ง พ.ศ. 1655 - พ.ศ. 1773 พวกขอมมีอำนาจในแถบนี้เมืองแพร่จึงตกอยู่ภายใต้อำนาจของขอม ซึ่งภายหลังพวกขอมได้ถูกกองทัพของพ่อขุนบางกลางหาว และพ่อขุนผาเมืองขับไล่ออกไป แล้วตั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี อิทธิพลของขอมจึงหมดไปจากดินแดนแถบนี้[1]

ประวัติ[แก้]

การสถาปนา[แก้]

นครรัฐแพร่ เริ่มตั้งแต่สร้างเมือง พ.ศ. 1307 - 1445 (หลักฐานจากหนังสือ ประวัติการสร้างวัดหลวง หรือวัดหลวงสมเด็จ) ปีพ.ศ. 1371 พญาพลราชนัดดาแห่งกษัตริย์น่านเจ้า ได้อพยพคนไทยลื้อ ไทยเขิน ส่วนหนึ่งจากเมืองเชียงแสน ไชยบุรี และเวียงพางคำ ลงมาสร้างเมืองบนที่ราบฝั่งแม่น้ำยมขนานนามว่า "เมืองพลนคร" พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดแพร่เริ่มขึ้นหลังจากชุมชนเมืองแพร่มีขนาดใหญ่ขึ้นจนก่อตั้งเป็นเมือง มีการสร้างคูเมือง กำแพงเมืองอย่างแน่นหนา สามารถป้องกันศัตรูภายนอก และป้องกันน้ำจากแม่น้ำยมเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มในเมือง ความโดดเดี่ยวจากสภาพภูมิศาสตร์ที่มีภูเขาสลับซับซ้อนรอบทุกทิศทำให้เมืองแพร่ระยะแรกเป็นนครรัฐอิสระที่ยากจะมีเมืองใดในยุคนั้นมารุกราน

นครรัฐแพร่ ชุมชนโบราณเมืองแพร่ได้เริ่มพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ด้วยการเป็นนครรัฐอิสระเช่นเดียวกับเมืองที่กล่าวข้างต้น ผู้มีบทบาทสำคัญในฐานนะผู้นำของเมืองคือ เจ้าผู้ครองนคร เป็นผู้มีอำนาจสิทธิ์ขาดในการปกครอง และเป็นที่เคารพนับถือของชาวเมือง ผู้นำของเมืองสืบเชื้อสายปกครองเมืองต่อกันมา ตำนานวัดหลวง ตำบลในเวียง ระบุนามเจ้าเมืองแพร่ในยุคที่เป็นนครรัฐ ได้แก่ พ่อขุนหลวงพล ท้าวพหุสิงห์ ขุนพนมสิงห์ ขุนวังสุพล พญาพรหมวงศ์หรือพญาพรหมวังโส และหญาพีระไชยวงศ์ ระยะช่วงนี้ประมาณ 348 ปี จนกระทั่งพวกขอมมีอำนาจในแถบนี้เมืองแพร่จึงตกอยู่ภายใต้อำนาจของขอม ซึ่งภายหลังพวกขอมได้ถูกกองทัพของพ่อขุนบางกลางหาว และพ่อขุนผาเมืองขับไล่ออกไป แล้วตั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี อิทธิพลของขอมจึงหมดไปจากดินแดนแถบนี้[2]

การล่มสลาย[แก้]

ราวพุทธศตวรรษที่ 21 นครรัฐแพร่ก็ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นล้านนา ภายใต้การนำของพระเจ้าติโลกราช ผู้ทรงทำสงครามกับสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยานั้นต้องผ่านนครรัฐแพร่

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ[แก้]

นครรัฐแพร่มีความสัมพันธ์กับกษัตริย์สุโขทัย โดยเฉพาะพระมหาธรรมราชาที่ 1[3] และเมืองนครลำปาง จากตำนานเมืองเหนือฉบับใบลาน พ.ศ. 1824 กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า เจ้าเมืองลำปางได้ส่งคนมาติดต่อเจ้านครพลให้ไปร่วมงานนมัสการ และฉลองวัดพระธาตุลำปางหลวง

รายพระนามเจ้าผู้ครองนครรัฐแพร่[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. แอ่วแป้แห่ระเบิด. ประวัติเมืองแพร่.แอ่วเมืองแป้ (แห่ระเบิด): ประวัติเมืองแพร่
  2. เจ้าเมืองแพร่ตอน1.หมู่บ้าน วังฟอน .เจ้าเมืองแพร่ตอนที่ ๑ - หมู่บ้าน วัง ฟ่อน
  3. มูลนิธิเล็ก ประไพ วิริยะพันธุ์. นครแพร่ จากอดีตสู่ปัจจุบัน.ลิงค์[ลิงก์เสีย]