ข้ามไปเนื้อหา

ปตานี

พิกัด: 6°45′N 100°25′E / 6.750°N 100.417°E / 6.750; 100.417
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปตานี
มัสยิดกรือเซะ มัสยิดโบราณแห่งหนึ่งในภูมิภาคปตานี
มัสยิดกรือเซะ มัสยิดโบราณแห่งหนึ่งในภูมิภาคปตานี
แผนที่ภูมิภาคปตานีในความหมายอย่างแคบ
แผนที่ภูมิภาคปตานีในความหมายอย่างแคบ
ประเทศไทย, มาเลเซีย

ปตานี (มลายู: Patani; ڤطاني) หรือเรียก ปตานีรายา (Patani Raya) หรือ ปตานีเบอซาร์ (Patani Besar "ปตานีใหญ่") เป็นภูมิภาคประวัติศาสตร์ในส่วนเหนือของคาบสมุทรมลายู กินอาณาบริเวณจังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสงขลาบางส่วน

ภูมิภาคปตานีมีความสัมพันธ์ในอดีตกับซิงกอรา (สงขลา) ลิกอร์ (นครศรีธรรมราช) ลิกอร์ (ใกล้สุราษฎร์ธานี) และกลันตัน ย้อนไปถึงเมื่ออาณาจักรปัตตานีเป็นรัฐสุลต่านมลายูกึ่งเอกราชที่ถวายบรรณาการแก่ราชอาณาจักรสุโขทัยและอยุธยาของไทย รัฐสุลต่านปตานีได้รับเอกราชช่วงสั้น ๆ หลังกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในปี 2310 แต่กลับมาอยู่ใต้การควบคุมของไทยอีกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

ในช่วงปีหลังมีขบวนการแบ่งแยกซึ่งมุ่งตั้งรัฐอิสลามมลายู ชื่อ ปาตานีดารุสซาลาม (Patani Darussalam, ڤطاني د ارالسلام) ซึ่งกินอาณาบริเวณสามจังหวัดภาคใต้ของไทย การรณรงค์เกิดความรุนแรงหลังปี 2544 ทำให้เกิดปัญหาการก่อความไม่สงบยืดเยื้อและการใช้กฎอัยการศึก

ชื่อ

[แก้]

ตำนานก่อตั้งเมือง

[แก้]

ตามตำนาน ผู้ก่อตั้งปตานีเป็นรายาจากโกตามะลิฆา (Kota Malikha) นามพญาตูนักปา อินทิรา(Phaya Tunakpa Inthira) วันหนึ่งขณะที่พญาตูนักปาล่าสัตว์นั้น พระองค์ทอดพระเนตรกระจงเผือกที่สวยงามขนาดเท่าแพะวิ่งหนีหายไป พระองค์ทรงถามราษฎรว่าสัตว์ตัวนั้นหายไปไหน พวกเขาตอบว่า: "ปาตา นี ละฮ์!" ("หาดนี้แหละ!" ในภาษามลายูปัตตานี) พวกเขาค้นหากระจงแต่กลับพบชายชาวประมงวัยชราที่ระบุตนเองเป็น เจ๊ะตานี (Che' Tani) ชายชราพูดว่าตนถูกส่งโดยพระอัยกาของรายาเพื่อสร้างเมืองใหม่ที่อยู่ไกล แต่กลับป่วยระหว่างทาง เนื่องจากไปต่อไม่ได้ จึงหยุดอยู่ที่นี่ ภายหลังรายาสั่งให้สร้างเมืองในบริเวณที่กระจงหายตัวไป เมืองนั้นภายหลังเป็นปตานี ซึ่งเชื่อว่าตั้งชื่อตาม "หาดแห่งนี้" ที่กระจงหายตัวไป หรือตามชายชรานาม ปะตานี หมายถึง "พ่อตานี"[1]

ปตานี, ปัตตานี

[แก้]

ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย อักขรวิธีปัตตานี ปตานี และปาตานีกลายเป็นคำที่มีความขัดแย้งที่ใช้เรียกพื้นที่ที่ครอบคลุมจังหวัดปัตตานี , ยะลา, นราธิวาส และสงขลาบางส่วน โดยปตานีหรือปาตานีในภาษามลายูเขียนด้วยอักษร "t" ตัวเดียว แต่ในข้อมูลไทยเขียนตัว "t" สองตัว[2] เมื่อเขียนเป็นภาษาไทย "ปตานี" (Patani) จึงออกเสียงต่างจาก "ปัตตานี" (Pattani) ส่วน "P'tani" เป็นศัพท์ภาษามลายูดั้งเดิมที่ใช้เรียกภูมิภาคนี้ โดยมีการใช้งานเป็นเวลานาน และมักไม่เขียนในภาษาไทย ดังนั้น ในขณะที่ "Patani" ในทางวิชาการเป็นคำเดียวกับ "P'tani" แต่ "Patani" ที่มี "t" ตัวเดียว มีความหมายแฝงทางการเมืองบางส่วน[3]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Wyatt, David K. (December 1967). "A Thai Version of Newbold's "Hikayat Patani"". Journal of the Malaysian Branch of the Royal Asiatic Society. 40 (2 (212)): 16–37. JSTOR 41491922.
  2. Anthony Reid (30 August 2013). Patrick Jory (บ.ก.). Ghosts of the Past in Southern Thailand: Essays on the History and Historiography of Patani. NUS Press. p. 20. ISBN 978-9971696351.
  3. Kummetha, Thaweeporn (2015-09-20). "Pattani with two t's or one? The politics of naming". Pratchathai English. สืบค้นเมื่อ 20 September 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

6°45′N 100°25′E / 6.750°N 100.417°E / 6.750; 100.417