ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{กล่องข้อมูล กฎหมาย
| ชื่อ = {{small|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย<br>พุทธศักราช 2560}}
| ภาพ =
| ขนาดภาพ = 350px
| บรรยายภาพ = พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560 ณ [[พระที่นั่งอนันตสมาคม]]
| ผู้ตรา = [[รัฐบาลไทย]]
| ผู้ลงนาม = [[พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว]]
| ผู้ลงนามรับรอง = [[ประยุทธ์ จันทร์โอชา|พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา]]<br><small>(นายกรัฐมนตรี)</small>
| ชื่อร่าง = ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
| ผู้ยกร่าง = คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ
| วันลงนาม = 6 เมษายน พ.ศ. 2560
| วันลงนามรับรอง = 6 เมษายน พ.ศ. 2560
| วันประกาศ = 6 เมษายน พ.ศ. 2560 <br> <small> ([[ราชกิจจานุเบกษา]] [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF เล่ม 134/ตอน 40 ก/หน้า 1/6 เมษายน 2560])</small>
| วันเริ่มใช้ = 6 เมษายน พ.ศ. 2560
| ท้องที่ใช้ = {{flag|ประเทศไทย}}
| การแก้ไขเพิ่มเติม = [[:s:รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2564|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2564]]
| กฎหมายที่เกี่ยวข้อง = [[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557]] และที่แก้ไขเพิ่มเติม
}}

'''รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560''' เป็น[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย]] ฉบับที่ 20 มีที่มาจากการตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2558 เพื่อจัดทำร่างฯ ฉบับใหม่ ประกอบด้วยสมาชิก 21 คน มี[[มีชัย ฤชุพันธุ์]] เป็นประธาน<ref name="Laws15"/> เมื่อร่างเสร็จแล้ว มี[[การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2559|การลงประชามติ]]ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559 ซึ่งผู้มาใช้สิทธิร้อยละ 61.35 เห็นชอบ [[พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ทรงลงพระปรมาภิไธยในร่างรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560 หลังมีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับผ่านประชามติตามพระบรมราชวินิจฉัย

รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถูกวิจารณ์ว่าเป็นการสืบทอดอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 250 คนที่มาจากการแต่งตั้งหรือคัดเลือกโดย คสช. ทั้งหมด การรณรงค์ให้ความรู้และให้ลงมติคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญถูกปิดกั้น และคำถามพ่วงในประชามติมีความซับซ้อนเข้าใจยาก ซึ่งมีผลให้สมาชิกวุฒิสภามีอำนาจร่วมลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีได้เช่นเดียวกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ส่วนเนื้อหาอื่น เช่น การแก้ไขให้ "สิทธิ" หลายประการของประชาชนกลายเป็น "หน้าที่" ของรัฐ ตลอดจนบทเฉพาะกาลที่รับรองบรรดาประกาศและคำสั่งของ คสช.

ในช่วง[[การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563]] มีข้อเรียกร้องให้ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ ในเดือนกันยายน 2563 มีการเสนอญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญรวม 6 ญัตติ และในวันที่ 24 กันยายน 2563 รัฐสภามีมติตั้งคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อนรับหลักการ

== ประวัติ ==
== ประวัติ ==



รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:57, 6 มีนาคม 2565

ประวัติ

คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เกิดรัฐประหาร โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) คณะรัฐประหารมีคำสั่งยกเลิก[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550] ต่อมาในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ซึ่งกำหนดให้มี คยร. ประกอบด้วยสมาชิก 36 คน สรรหามาจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.), สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.), คณะรัฐมนตรี (ครม.), และ คสช. เพื่อร่างรัฐธรรมนูญถาวรฉบับใหม่ วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 เทียนฉาย กีระนันทน์ ประธาน สปช. ลงนามคำสั่งแต่งตั้ง กยร. ซึ่งมีบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธาน[1]

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ กยร. เดิมมี 315 มาตรา หลังจากได้รับข้อเสนอของ สปช. แล้ว กยร. ได้ปรับแก้เนื้อหาให้เหลือ 285 มาตรา[2] แต่ในวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2558 สปช. มีมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญของ กยร.[3] ส่งผลให้ สปช. และ กยร. สิ้นสุดลงในวันนั้น

คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญชั่วคราว แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2558 กำหนดให้ คสช. ตั้ง กรธ. ขึ้นแทน กยร. ชุดเดิม[4] วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2558 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. จึงแต่งตั้ง กรธ. โดยมีมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน[5]

สมาชิกคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ มีดังนี้

กรธ. ชุดนี้พ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2561[6][7]

เนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญ

29 มกราคม พ.ศ. 2559 กรธ. ได้เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญเบื้องต้นผ่านเว็บไซต์ของรัฐสภา[8]

30 มีนาคม พ.ศ. 2559 หนังสือพิมพ์ สเตรดไทมส์ เขียนว่า ร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวจะให้คณะผู้ยึดอำนาจการปกครองมีอำนาจในรัฐสภาอีกห้าปี โดยจะได้แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ทั้ง 250 คน โดยสงวนหกที่นั่งไว้ให้ผู้บัญชาการทหารและตำรวจ นอกจากนี้ ในกรณีที่เกิดวิกฤตการณ์ ยังมีบทเฉพาะกาลให้สภาผู้แทนราษฎรเลือกนายกรัฐมนตรีที่มิได้มาจากการเลือกตั้ง[9]

10 เมษายน พ.ศ. 2559 หนังสือพิมพ์ ประชาไท ลงว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวตัดสิทธิของบุคคลได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐ "อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ" แต่กำหนดให้เป็น "หน้าที่ของรัฐ"[10]

เนื้อหาในรัฐธรรมนูญชุดนี้ที่เปลี่ยนไป มีการตัดมาตรา 5 องค์กรแก้วิกฤต แก้ไขมาตรา 12 คุณสมบัติองคมนตรีที่ต้องไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) หรือดำรงตำแหน่งทางการเมือง มาตรา 15 อำนาจการแต่งตั้งและการให้ข้าราชการในพระองค์พ้นจากตำแหน่งขึ้นอยู่กับพระราชอัธยาศัย มาตรา 16 มาตรา 17 การตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์หรือไม่ก็ได้ เมื่อพระมหากษัตริย์จะไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักร มาตรา 19 ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ซึ่งเคยได้รับการแต่งตั้งและปฏิญาณตนมาแล้ว ไม่ต้องปฏิญาณตนที่รัฐสภาอีก และมาตรา 182 เกี่ยวกับเรื่องผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ[11] รวมทั้งการเพิ่ม มาตรา 65 ที่บัญญัติให้มีการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ[12]

การลงประชามติและประกาศใช้

26 มีนาคม พ.ศ. 2559 โฆษก กรธ. แถลงว่า กรธ. พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ต่อมาวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2559 สนช. พิจารณาร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. .... วาระ 2 และ 3 ตามที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีเนื้อหาห้ามรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ[13] 9 เมษายน พ.ศ. 2559 สนช. เห็นชอบเป็นเอกฉันท์ให้เพิ่มคำถามประชามติให้สมาชิกวุฒิสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีอำนาจลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีด้วยหรือไม่[14]

19 เมษายน พ.ศ. 2559 คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำหนดให้วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เป็นวันออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ[15]

แถบผลคะแนนจากการออกเสียงประชามติในประเด็นร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
เห็นชอบ :
61.35 (16,820,402)
ไม่เห็นชอบ :
38.65 (10,598,037)
แถบผลคะแนนจากการออกเสียงประชามติในประเด็นเพิ่มเติมว่าด้วยบทเฉพาะกาลในร่างรัฐธรรมนูญ
เห็นชอบ :
58.07 (15,132,050)
ไม่เห็นชอบ :
41.93 (10,926,648)

7 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ในการออกเสียงประชามติ ผลปรากฏว่า ร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วงเรื่องอำนาจลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีของสมาชิกวุฒิสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ได้รับความเห็นชอบด้วยคะแนนข้างมากของผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง จากนั้น กรธ. นำร่างรัฐธรรมนูญไปปรับปรุงในบางมาตราและในบทเฉพาะกาลเพื่อให้เข้ากับคำถามพ่วงเป็นเวลา 30 วัน หลังจากนั้น ส่งร่างคืนนายกรัฐมนตรีให้นำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อให้ทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป

วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวประทับพระราชอาสน์หน้าพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์เพื่อลงพระปรมาภิไธยในร่างรัฐธรรมนูญและประทับตราพระราชลัญจกร นับเป็นพระราชพิธีประกาศใช้รัฐธรรมนูญครั้งแรกในรอบเกือบ 50 ปี[16]

อนึ่ง ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 นั้น ได้ทรงมอบ "ข้อสังเกตพระราชทาน" และให้รัฐบาลแก้ไขให้เป็นไปตามข้อสังเกตดังกล่าว[17] ได้แก่ มาตรา 5, 17 และ 182[18] ใจความสำคัญคือ 1) ตัดข้อความที่ให้ศาลรัฐธรรมนูญเรียกประชุมประมุขสามอำนาจเพื่อแก้ไขวิกฤตการเมือง, 2) พระมหากษัตริย์ไม่จำเป็นต้องแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และ 3) ผู้รับสนองกฎหมาย พระบรมราชโองการและประกาศพ้นจากความรับผิดชอบ[19] เป็นการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญตามพระราชประสงค์หลังจากมีประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญแล้ว

ข้อวิจารณ์

ไทเรล ฮาเบอร์คอร์น จากภาควิชาการเมืองและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ของมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย ซึ่งมีผลงานเขียนเกี่ยวกับประเทศไทยในหลายประเด็น วิจารณ์เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญชุดนี้ในทำนองว่า "ทำให้ทหารมีที่ยืนอย่างถาวรในรัฐบาล เพื่อให้การแทรกแซงกลายเป็นเรื่องปกติ"[20] รวมไปถึง ส.ว. มาจากการคัดเลือกของ คสช. และมีวาระ 5 ปี ซึ่งนานกว่าชุดอื่น ทั้งยังมีอำนาจร่วมออกเสียงเลือกนายกรัฐมนตรี และมีอำนาจกำกับดูแลให้รัฐบาลชุดใหม่ต้องทำตามยุทธศาสตร์ที่ คสช. จัดทำขึ้น[21] สวนดุสิตโพลเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน 1,164 คน ระหว่างวันที่ 6-9 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญที่ประกาศใช้ใหม่ โดยส่วนใหญ่มองว่า เป็นฉบับปราบโกง เน้นป้องกันทุจริต แต่จุดอ่อนเป็นการสืบทอดอำนาจของ คสช.[22]

ระบบการเลือกตั้งแบบใหม่

รัฐธรรมนูญดังกล่าวกำหนดการเลือกตั้ง ส.ส. เป็นแบบจัดสรรปันส่วนผสม บัตรเลือกตั้งสามารถเลือกได้เพียงตัวเลือกเดียวเพื่อเลือกทั้งผู้สมัครและพรรคการเมือง มีการแถลงความมุ่งหมายของระบบดังกล่าวไว้ว่า เพื่อให้พรรคการเมืองส่งผู้สมัครที่ดีที่สุด ไม่ใช่ส่ง "เสาโทรเลข" อย่างไรก็ตาม ความมุ่งหมายแฝงเร้น คือ ป้องกันพรรคการเมืองขนาดใหญ่เกินกึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร ดังนั้น ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จึงเกิดยุทธศาสตร์ "พรรคแบงก์ย่อย" ซึ่งพรรคการเมืองพันธมิตรของทักษิณ ชินวัตร มีการตั้งพรรคการเมืองหลายพรรคแล้วส่งผู้สมัครแบบแบ่งเขตและบัญชีรายชื่อแยกกัน[23] นอกจากนี้ ยังมีปรากฏการณ์ครึกโครมที่พรรคพลังประชารัฐดึงตัวผู้สมัครในช่วงปี พ.ศ. 2561[24]

นอกจากนี้ แม้รัฐธรรมนูญกำหนดให้พรรคการเมืองเปิดเผยชื่อบุคคลที่จะเสนอเป็นนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 88 แต่มาตรา 272 เปิดช่องให้รัฐสภาพิจารณาบุคคลนอกบัญชีที่พรรคการเมืองเสนอมาได้ อีกทั้ง ส.ว. ชุดแรกซึ่งมีวาระ 5 ปียังมีอำนาจลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 272 ได้ หมายความว่า ส.ว. ดังกล่าวจะมีอำนาจลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีได้ 2 คน (หากคิดวาระคนละ 4 ปี)[24]

ยุทธศาสตร์ชาติ

การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้แผนระยะยาวและมีสภาพบังคับทางกฎหมายเป็นครั้งแรกที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในรัฐธรรมนูญฉบับใดถูกกล่าวหาว่าเป็นเครื่องมือในการสืบทอดอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์พบว่า[25] ตัวยุทธศาสตร์ชาติต้องการแก้ปัญหาความไม่ต่อเนื่องของนโยบายของรัฐอันมีสาเหตุจากการที่รัฐบาลมักจะอยู่วาระไม่ครบเทอม แต่การแก้ปัญหาด้วยวิธีการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติดังกล่าวเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ถูกจุดเนื่องจากปัญหาทางการเมืองไทยล้วนเกิดจากการแทรกแซงจากกองทัพและชนขั้นนำ และในทางทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองย่อมหมายถึงการเปลี่ยนแปลงเจตจำนงแห่งรัฐที่ประชาชนแสดงความต้องการเปลี่ยนไปในแต่ละห้วงเวลา ในทางกลับกัน การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติจึงเป็นผลสะท้อนจากความไม่เข้าใจในหน้าที่ของตัวเองของข้าราชการประจำที่มีบทบาทในการสร้างความต่อเนื่องในตัวนโยบาย ขณะที่บทบาทของข้าราชการการเมืองคือการพัฒนานโยบายให้ทันต่อความต้องการของประชาชนอยู่เสมอ

ความพยายามการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ

การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นข้อเรียกร้องของผู้ประท้วงในการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563 ตั้งต่อข้อเรียกร้องสามประการที่เสนอต่อรัฐบาลในวันที่ 18 กรกฎาคม 2563 มีการเสนอญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจำนวน 6 ญัตติทั้งจากรัฐบาลผสมและพรรคร่วมฝ่ายค้าน มีการอภิปรายร่วมของรัฐสภาและลงมติในวันที่ 24 กันยายน 2563 ในวันดังกล่าว รัฐสภามีมติตั้งคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อนรับหลักการ อันเป็นผลให้เลื่อนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญออกไปอย่างน้อย 1 เดือน[26] หลังจากนั้นมีการลงมติรับร่างรัฐธรรมนูญในวาระหนึ่ง ซึ่งเป็นร่างของพรรคเพื่อไทยและพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งจะไม่แก้ไขรัฐธรรมูญหมวด 1 และหมวด 2 และไม่ยุ่งเกี่ยวกับอำนาจของสมาชิกวุฒิสภาในการร่วมเลือกตั้งนายกรัฐมนตรี ส่วนร่างที่ไอลอว์รวบรวมรายชื่อกว่า 1 แสนรายชื่อถูกตีตก

""ขออวยพรให้ท่านอายุยืนเพียงพอที่จะเห็นความพยายามของท่านล่มสลายไม่มีชิ้นดี เห็นความต้องการของท่านถูกบดขยี้ด้วยกงล้อของเวลาที่เดินหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง และได้มีโอกาสรับรู้ด้วยตา ด้วยหู ของท่านเอง ว่าผู้คนและยุคสมัยจะตราหน้าพวกท่าน ว่าอย่างไรไว้ในประวัติศาสตร์ของชาติเรา""
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์[27]

ในเดือนมีนาคม 2564 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะต้องผ่านการลงประชามติ 2 ครั้ง เพื่อให้ความเห็นชอบว่าจะให้มีการแก้ไข และให้ความเห็นชอบต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่เสนอ[28] หลังจากนั้น รัฐสภาลงมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญในวาระสาม (ซึ่งมีเรื่องการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ)[29]

ในวันที่ 24 มิถุนายน 2564 รัฐสภาลงมติรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเฉพาะของพรรคประชาธิปัตย์ที่จะแก้ไขเรื่องบัตรเลือกตั้งจากใบเดียวเป็นสองใบเท่านั้น โดยไม่สนใจได้แก้ไขเรื่องอำนาจของสมาชิกวุฒิสภา ก่อนหน้านี้ ชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ไม่บรรจุร่างรัฐธรรมนูญของพรรคเพื่อไทยที่มีเนื้อหาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญโดยอ้างว่าศาลรัฐธรรมนูญได้เคยวินิจฉัยเรื่องนี้ไว้แล้ว[30]

ในเดือนกันยายน 2564 รัฐสภาพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญอีกครั้ง และได้รับร่างแก้ไขเพิ่มเติมที่เสนอโดยพรรคประชาธิปัตย์ ที่จะกลับมาใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ, สัดส่วน สส. แบ่งเขต 400 คน กับ สส. บัญชีรายชื่อ 100 คน, และใช้สูตรเลือกตั้งแบบรัฐธรรมนูญปี 2540 อีกครั้ง และผ่านวาระ 3 เมื่อวันที่ 10 กันยายน ทั้งนี้พรรคก้าวไกลกับภูมิใจไทยงดออกเสียง พรรคพลังประชารัฐ ประชาธิปัตย์ และเพื่อไทย ลงมติเห็นชอบ เช่นเดียวกับสมาชิกวุฒิสภาเกินกึ่งหนึ่ง[31]

การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ

แก้ไขเพิ่มเติมให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต 400 คนและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ 100 คน[32]

อ้างอิง

  1. ประกาศสภาปฏิรูปแห่งชาติ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ, ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 30 มกราคม 2559
  2. ดู:
  3. มติ "สปช." 135 เสียงคว่ำร่างรธน. - ยุบ กมธ.ชุด "บวรศักดิ์", ข่าวสด, 6 ตุลาคม 2558
  4. ราชกิจจานุเบกษา, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2558, เล่ม 132, ตอนที่ 64 ก, หน้า 1. [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อ: 12 ธันวาคม 2559
  5. ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ, ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 6 ตุลาคม 2558
  6. ""มีชัย"เปิดใจหลังยุบ กรธ.พ้นตำแหน่ง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-19. สืบค้นเมื่อ 2018-09-18.
  7. เปิดใจภารกิจสุดท้ายมือกฎหมาย มีชัย ฤชุพันธุ์
  8. เนื้อหาสาระร่างรัฐธรรมนูญ (ฉบับปราบโกง) เบื้องต้น 270 มาตรา, ไทยรัฐ, สืบค้นวันที่ 30 มกราคม 2559
  9. Thailand's new draft Constitution unveiled. The Strait Times.
  10. ร่างรัฐธรรมนูญ 2559: ตัดข้อความ “สิทธิเสมอกัน” ในการรับบริการสาธารณสุข “ที่ได้มาตรฐาน”
  11. รัฐธรรมนูญ 2560 แก้ 8 มาตราจากร่างฯประชามติ-ตัดองค์กรแก้วิกฤต-เพิ่มส.ว.ร่วมเลือกนายกฯ
  12. อภิชาติ คุณวัฒน์บัณฑิต.“ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติของประเทศไทย.” วิทยานิพนธ์ศิลปศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2561.
  13. สนช.ลงมติผ่านร่าง พ.ร.บ.ประชามติ รุมค้าน ก.ม.ห้ามชวนโหวตโน ละเมิดสิทธิ์ปชช. ไทยรัฐ
  14. สนช.เคาะตั้งคำถามพ่วงประชามติให้รัฐสภาฯโหวตเลือกนายกฯ โพสต์ทูเดย์.
  15. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง กำหนดวันออกเสียงประชามติ ราชกิจจานุเบกษา.
  16. พิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญ ธรรมเนียมปฏิบัติ 3 รัชกาล
  17. รัฐบาลแก้ไข รธน. ตามข้อสังเกตพระราชทานเสร็จแล้ว
  18. 5-17-182 รธน.ใหม่ ก่อนนายกฯสั่งแก้ให้เป็นไปตามพระราชกระแสรับสั่ง
  19. First Look at Major Changes to the New Thai Constitution
  20. รัฐธรรมนูญใหม่ กับ ความไม่แน่นอนใหม่
  21. 7 เรื่องต้องรู้: อ่าน “รัฐธรรมนูญ 2560” ฉบับเร่งรัด
  22. โพลชี้รธน.ปี60เป็นฉบับปราบโกง แต่มองจุดอ่อนสืบทอดอำนาจ
  23. สุเทพ แฉกลยุทธ์ทักษิณ แตกแบงก์พันเป็นแบงก์ร้อย หวั่นเพื่อไทยได้ ส.ส.เกิน 300
  24. 24.0 24.1 2 ปีประกาศใช้ รธน. : สำรวจสิ่งที่ กรธ. คิด กับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในสนามเลือกตั้ง 2562
  25. อภิชาติ คุณวัฒน์บัณฑิต.“ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติของประเทศไทย.” วิทยานิพนธ์ศิลปศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2561.
  26. "รัฐสภายืด "เปิดสวิตช์แก้ รธน."". BBC ไทย. สืบค้นเมื่อ 25 September 2020.
  27. ""พิธา" ปลุกปิดสวิตช์ ส.ว.รื้อระบอบ "บิ๊กตู่" ชี้ นักการเมืองแค่เด็กขี่ม้า เจ้าของสั่งได้ทุกเมื่อ". ผู้จัดการ (ภาษาอังกฤษ). 24 June 2021. สืบค้นเมื่อ 25 June 2021.
  28. "ศาลรัฐธรรมนูญชี้สภามีอำนาจร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่ต้องทำประชามติ". BBC ไทย. สืบค้นเมื่อ 25 June 2021.
  29. "มติรัฐสภาโหวตคว่ำร่างแก้ไข รธน. วาระ 3". BBC ไทย. สืบค้นเมื่อ 25 June 2021.
  30. "รัฐสภาโหวตรับร่างเดียว จาก 13 ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ". BBC ไทย. สืบค้นเมื่อ 25 June 2021.
  31. "รัฐธรรมนูญ วาระ 3 "ผ่านฉลุย" ส.ว. ทหารสาย 3 ป. ไม่แตกแถว". ประชาชาติธุรกิจ. 10 September 2021. สืบค้นเมื่อ 11 September 2021.
  32. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑) พุทธศักราช ๒๕๖๔

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ถัดไป
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(ฉบับชั่วคราว)

(22 กรกฎาคม 2557 - 6 เมษายน 2560)
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(6 เมษายน พ.ศ. 2560 – ปัจจุบัน)
ยังไม่มี