ประพันธ์ นัยโกวิท
ประพันธ์ นัยโกวิท ม.ป.ช., ม.ว.ม., ต.ภ. | |
---|---|
![]() | |
กรรมการการเลือกตั้ง | |
ดำรงตำแหน่ง 20 กันยายน 2549 – 19 กันยายน 2556 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 |
ประพันธ์ นัยโกวิท (เกิด 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490) กรรมการในคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ยกร่าง พ.ศ. 2558) อดีตรองอัยการสูงสุด อดีตกรรมการการเลือกตั้ง รับผิดชอบงานด้านการบริหารการเลือกตั้ง ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
ประวัติการศึกษา[แก้]
- โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย
- นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- เนติบัณฑิตไทย
- Master of Laws, Tulane University, ประเทศสหรัฐอเมริกา
การอบรมพิเศษ
- หลักสูตรอัยการจังหวัด รุ่นที่ 1
- หลักสูตร The Prevention of Crime and the Treatment of Offenders จากสถาบัน UNAFEI ประเทศญี่ปุ่น
- หลักสูตรนักบริหารงานยุติธรรมระดับสูง รุ่นที่ 1 สำนักงานอัยการสูงสุด
- หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 38
- หลักสูตรสถาบันพระปกเกล้า รุ่นที่ 5
ประวัติการทำงาน[แก้]
- 2514 อัยการผู้ช่วย กองคดี กรมอัยการ
- 2515 อัยการจังหวัดผู้ช่วย จังหวัดอุบลราชธานี
- 2524 อัยการจังหวัดประจำศาลแขวงอุบลราชธานี
- 2525 อัยการจังหวัดกาฬสินธุ์
- 2526 อัยการจังหวัดนครราชสีมา
- 2528 อัยการพิเศษประจำกรม กองที่ปรึกษา
- 2538 อธิบดีอัยการฝ่ายคณะกรรมการอัยการ และเลขานุการ ก.อ.
- 2540 อธิบดีอัยการฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร
- 2541 อธิบดีอัยการฝ่ายคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
- 2542 อธิบดีอัยการฝ่ายต่างประเทศ
- 2543 อธิบดีอัยการฝ่ายคดีอัยการสูงสุด
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2540 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[1]
- พ.ศ. 2535 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[2]
- พ.ศ. 2560 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 3 ตติยดิเรกคุณาภรณ์ (ต.ภ.)[3]
- พ.ศ. 2539 –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[4]
- พ.ศ. 2551 –
เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[5]
ราชการพิเศษ[แก้]
- กรรมการ และประธานกรรมการตรวจสอบการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
- กรรมการ และกรรมการตรวจสอบบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน)
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
- กรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
- กรรมการ เนติบัณฑิตยสภา
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๗, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๖, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๖๘๖, ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๑, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๖, ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๒
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- http://www.ago.go.th/html/boss2.html เก็บถาวร 2006-08-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
หมวดหมู่:
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2490
- กรรมการการเลือกตั้งไทย
- ข้าราชการฝ่ายอัยการชาวไทย
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- สามัญสมาชิกเนติบัณฑิตยสภา
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.ภ.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา