ข้ามไปเนื้อหา

สนธิ บุญยรัตกลิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สนธิ บุญยรัตกลิน
สนธิใน พ.ศ. 2552
ผู้ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรี
ในฐานะหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ดำรงตำแหน่ง
19 กันยายน พ.ศ. 2549 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549
(0 ปี 12 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ก่อนหน้าทักษิณ ชินวัตร
(นายกรัฐมนตรี)
ถัดไปสุรยุทธ์ จุลานนท์
(นายกรัฐมนตรี)
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 – 28 มกราคม พ.ศ. 2551
(0 ปี 119 วัน)
นายกรัฐมนตรีสุรยุทธ์ จุลานนท์
ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550
(1 ปี 0 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ก่อนหน้าตนเอง
(ในฐานะหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข)
ถัดไปพลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข
(รักษาการ)
ผู้บัญชาการทหารบก
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2548 – 30 กันยายน พ.ศ. 2550
(1 ปี 364 วัน)
ก่อนหน้าพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ
ถัดไปพลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด2 ตุลาคม พ.ศ. 2489 (78 ปี)
จังหวัดปทุมธานี ประเทศไทย
ศาสนาอิสลาม
พรรคการเมืองมาตุภูมิ (2551–2561)
ชาติไทยพัฒนา (2561–ปัจจุบัน)
คู่สมรส
  • สุกัญญา บุญยรัตกลิน
  • ปิยะดา บุญยรัตกลิน
  • วรรณา บุญยรัตกลิน
บุตร
  • นิธิ
  • นิรินทร์
  • สุทธิเวท
  • สุธาวิทย์
  • เอกรินทร์
  • ศศิภา
บุพการี
  • สนั่น บุญยรัตกลิน (บิดา)
  • มณี บุญยรัตกลิน (มารดา)
ศิษย์เก่าโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
สถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร[1]
มหาวิทยาลัยรามคำแหง (Ph.D.)[2]
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัดกองทัพบกไทย
ประจำการพ.ศ. 2512–2550
ยศ พลเอก
บังคับบัญชากองทัพบก
ผ่านศึก

พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน (เกิด 2 ตุลาคม พ.ศ. 2489) ชื่อเล่น บัง เป็นทหารบกและนักการเมืองชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ หัวหน้าพรรคมาตุภูมิ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (ชุดที่ 24) ผู้บัญชาการทหารบก หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งก่อรัฐประหาร ใน พ.ศ. 2549 และประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ

ประวัติ

[แก้]

ชีวิส่วนตัว

[แก้]

พลเอก สนธิ เกิดเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2489 เป็นบุตรของ พันเอก สนั่น (นามสกุลเดิม อหะหมัดจุฬา)[3]และนางมณี บุญยรัตกลิน ชาวไทยเชื้อสายมอญ เป็นบุตรชายคนโตในบรรดาพี่น้องทั้งหมด 6 คน เติบโตในครอบครัวมุสลิม ที่นับถือนิกายชีอะห์ ในจังหวัดปทุมธานี (บิดานับถือนิกายชีอะห์) แต่ตนเองนับถือศาสนาอิสลาม นิกายซุนนีย์ (มารดานับถือนิกายซุนนีย์)[4] ต้นตระกูลเฉกอะหมัด นามสกุล "บุญยรัตกลิน" (อ่านว่า บุน-ยะ-รัด-กะ-ลิน) เป็นนามสกุลพระราชทานจากรัชกาลที่ 6 มีที่มาจากการที่หนึ่งในสาแหรกฝั่งย่าเป็นทหารเรือ สังกัดพรรคกลิน คือหลวงพินิจกลไก (บุญรอด)[5] พลเอก สนธิ มีชื่อทางมุสลิมว่า "อับดุลเลาะห์ อหะหมัดจุฬา" ได้ฉายาจากสื่อมวลชนทั่วไปว่า "บิ๊กบัง"

พลเอก สนธิ มีภรรยาทั้งหมด 3 คน ภรรยาคนแรกชื่อ สุกัญญา จดทะเบียนสมรสขณะที่ พลเอก สนธิ ยังเป็นพลโทภรรยาคนที่สองชื่อ ปิยะดา จดทะเบียนสมรสเมื่อเป็นนายพล ภรรยาคนที่สามชื่อ วรรณา[6] ปัจจุบันอาศัยอยู่กันทั้งหมดแม้ว่าการมีภรรยาสี่คนจะเป็นเรื่องผิดกฎหมายในประเทศไทยก็ตาม อย่างไรก็ตาม นายอารีย์ วงศ์อารยะ[7] [8] วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 พลเอก สนธิ กล่าวว่า"ตนไม่ยื่นแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินของภรรยาคนที่ 3 ต่อ ป.ป.ช. เนื่องจากไม่ได้เกี่ยวข้องกันทางกฎหมาย"[9]

บุตรที่เกิดกับนางปิยะดา บุญยรัตกลิน มี 2 คน คือ

  1. นาวาตรี นิธิ บุญยรัตกลิน (ป๊อป)
  2. นายนิรินทร์ บุญยรัตกลิน (ไปป์)

บุตรที่เกิดกับนางวรรณา บุญยรัตกลิน มี 2 คน คือ

  1. พันตำรวจเอก สุทธิเวท บุญยรัตกลิน
  2. พันตรี สุธาวิทย์ บุญยรัตกลิน[10]

บุตรที่เกิดกับนางสุกัญญา บุญยรัตกลิน มี 2 คน คือ

  1. นายเอกรินทร์ บุญยรัตกลิน
  2. ร้อยโทหญิง ศศิภา บุญยรัตกลิน (พลอย)

การศึกษา

[แก้]

พลเอก สนธิ ศึกษาในระดับประถมและมัธยมที่ โรงเรียนวัดพระศรีมหาธาตุ และศึกษาต่อโรงเรียนเตรียมทหาร (รุ่นที่ 6) และศึกษาต่อ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เหล่าทหารราบ (รุ่นที่ 17) และได้ศึกษาในระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาโท สาขาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต (การทหาร) โรงเรียนเสนาธิการทหารบก สถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (รุ่นที่ 42) ในปี พ.ศ. 2556 จบการศึกษาปริญญาเอก สาขารัฐศาสตร์ (สาขาวิชาการเมือง) มหาวิทยาลัยรามคำแหง[11] รุ่นแรกของคณะ โดยมีพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นประธานรุ่น ที่มีอายุมากที่สุดคือ 63 ปีนอกจากนี้ได้มีหลักสูตรพิเศษอื่น ได้แก่

การรับราชการ

[แก้]
  • ผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองร้อยอาวุธเบา กองพันทหารราบ ศูนย์การทหารราบ
  • ผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองร้อยอาวุธเบา กองพันทหารราบที่ 2 กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 2
  • รองผู้บังคับกองร้อยลาดตระเวนระยะไกลที่ 9 กาญจนบุรี
  • ผู้บังคับการกรมรบพิเศษที่ 1 รองผู้บัญชาการกองพลรบพิเศษที่ 1
  • ผู้บัญชาการกองพลรบพิเศษที่ 1 รองผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ
  • ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ
  • ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายทหารราชองครักษ์พิเศษ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2547[12] จนพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่[13]
  • ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก และผู้บัญชาการทหารบก
  • ประธานคณะกรรมการบริหารจัดการให้เป็นไปตามนโยบายและยุทธศาสตร์เสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้[14]

พลเอก สนธิ เป็นนายทหารของหน่วยรบพิเศษ ที่ผ่านการรบด้านการปราบปราม ผกค. ด้าน อ.กุยบุรี และ จ.ปราจีนบุรี รวมถึงการออกไปรบที่ประเทศเวียดนามใต้และกัมพูชา

บทบาททางการเมือง

[แก้]

รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549

[แก้]

วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 พลเอก สนธิ เป็นหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ก่อรัฐประหาร ยึดอำนาจการปกครองของ รัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเกิดขึ้นก่อนจะมีการเลือกตั้งเดือนหน้า และ ซึ่งอยู่ระหว่างการประชุมสหประชาชาติที่นครนิวยอร์ก

อนึ่งในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 พลเอก สนธิ เป็นหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้มีประกาศคำสั่งให้อำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีเป็นของหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ดังนั้นจึงให้ถือว่า พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน เคยดำรงตำแหน่งรักษาการนายกรัฐมนตรีด้วย

หลังจากมีการจัดตั้งรัฐบาลแล้ว พลเอก สนธิ ได้เปลี่ยนตำแหน่งจากหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไปเป็นประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ

หลังเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2550 พลเอก สนธิ ได้รับพระราชทานโปรดเกล้า ฯ ให้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ดูแลความมั่นคงโดยเฉพาะ ในรัฐบาลพล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์[15]

หัวหน้าพรรคมาตุภูมิ

[แก้]

หลังพ้นจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี พลเอก สนธิ ก็มักปรากฏข่าวคราวว่าจะเล่นการเมือง โดยจะเป็นหัวหน้าพรรคเอง ในที่สุด ในวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 พลเอก สนธิก็รับตำแหน่งประธานพรรคมาตุภูมิ ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่ก่อตั้งโดยนักการเมืองใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เป็นมุสลิม โดยมีเป้าหมายหวังฐานเสียงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ [16] และรับตำแหน่งหัวหน้าพรรคในปี พ.ศ. 2554 โดยการเลือกตั้งในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ได้ลงรับสมัครเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 พรรคมาตุภูมิ[17]

ประธานคณะกรรมาธิการปรองดองฯ

[แก้]

พลเอก สนธิ กล่าวในฐานะประธานกรรมาธิการปรองดองว่า ที่ผ่านมา ความพยายามในการสร้างความปรองดอง แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ ดังนั้น สภาจึงเป็นทางออกที่เหลืออยู่ ทั้งนี้ทราบดีว่า กรรมาธิการแต่ละคนมีความเชื่อต่างกัน แต่ขอให้ทุกคนให้อภัยกัน[18]

พรรคชาติไทยพัฒนา

[แก้]

พลเอก สนธิ ได้เข้าร่วมงานการเมืองกับพรรคชาติไทยพัฒนา และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา ลำดับที่ 8[19] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

บัญชีทรัพย์สิน

[แก้]

วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้เปิดเผยรายการบัญชีทรัพย์สิน และหนี้สินของคณะรัฐมนตรี ในรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ โดย พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ยื่นบัญชีทรัพย์สินเข้ารับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีมีทรัพย์สิน 38,796,977 บาท ประกอบด้วยเงินฝากในธนาคารพาณิชย์ 10,241,195 บาท เงินฝากในสถาบันการเงินอื่น 13,355,541 บาท หลักทรัพย์รัฐบาล และรัฐบาลค้ำประกัน 142,600 บาท หลักทรัพย์จดทะเบียนและรับอนุญาต 6,393,240 บาท หลักทรัพย์และเงินลงทุนอื่น 4,664,400 บาท สิ่งปลูกสร้าง 1 หลัง มูลค่า 4 ล้านบาท ภรรยาทั้ง 2 คน ที่จดทะเบียนสมรสคือ นางสุกัญญา มีทรัพย์สินกว่า 14 ล้านบาท และ นางปิยะดา 42 ล้านบาท บุตรสาวที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะกว่า 3 แสนบาท ซึ่งรวมทั้งครอบครัวแล้วมีทรัพย์สินกว่า 94 ล้านบาท[20]

ความชื่นชอบส่วนตัว

[แก้]

พลเอก สนธิชอบเล่นกีฬามาก โดยเฉพาะฟุตบอลและเทนนิส และชอบ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด[21]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

[แก้]
  •  สหรัฐอเมริกา :
    • พ.ศ. 2513 - เหรียญคอมเมนเดชัน (ทหารบก) ประดับ วี
  •  เวียดนามใต้ :
    • พ.ศ. 2514 - แกลแลนทรี่ครอส ประดับใบปาร์ม
    • พ.ศ. 2513 - เหรียญรณรงค์เวียดนาม
  •  มาเลเซีย :
    • พ.ศ. 2550 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์เกปาละวานัน อังกะตัน เตนเตรา ชั้นที่ 1
  •  สิงคโปร์ :
    • พ.ศ. 2550 - เหรียญปิงกัต จาซา เกมิลัง (เท็นเทรา)[28]

ลำดับสาแหรก

[แก้]

เชิงอรรถ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประวัติ สนธิ บุญยรัตกลิน
  2. พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน อดีตผบ.ทบ. หัวหน้าพรรคมาตุภูมิ รับปริญญาเอก คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  3. OKNation Blog, สาแหรก บิ๊กบัง จากหนังสือวันเกิด
  4. มติชนสุดสัปดาห์ 11-17 พ.ค. 2550 หน้า 29-30
  5. เนชั่น สุดสัปดาห์, ฅ.คนหลังข่าว : พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ในมุมสบายๆ สไตล์ 'บิ๊กบัง' ในรายการ 'มหานคร' เก็บถาวร 2007-11-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  6. เปิดคฤหาสน์หรูคนใกล้ชิด'บิ๊กบัง'
  7. The Nation, Anti-coup group calls for Sonthis' sacking for allegedly registering two marriages, 31 December 2006
  8. The Nation, Multiple wives just 'personal' business, 31 December 2006
  9. INN News, 'สนธิ'อ้างไม่ยื่นบัญชีเมียคนที่3เพราะไม่เกี่ยวทางกม. เก็บถาวร 2009-05-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  10. "ชีวิตครอบครัว สนธิ บุญยรัตกลิน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-27. สืบค้นเมื่อ 2016-09-21.
  11. พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน อดีตผบ.ทบ. หัวหน้าพรรคมาตุภูมิ รับปริญญาเอก คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  12. ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายทหารราชองครักษ์พิเศษ
  13. พระราชโองการ ประกาศ ให้นายทหารสัญญาบัตร และนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่นายทหารราชองครักษ์พิเศษ และนายตำรวจราชองครักษ์พิเศษ (ลำดับที่ 468)
  14. ประธานคณะกรรมการบริหารชายแดนใต้
  15. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน)
  16. คมชัดลึก, พลเอก สนธิ นั่งหัวหน้าพรรคมาตุภูมิ - แบไต๋พร้อมร่วมงาน เพื่อไทย
  17. รายชื่อผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ[ลิงก์เสีย]
  18. พลเอก สนธิ นั่งประธาน กมธ.ศึกษาแนวทางปรองดอง ประชาไท สืบค้นเมื่อ 18–11–2011
  19. เปิด 67 รายชื่อผู้สมัคร ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ชาติไทยพัฒนา ‘วราวุธ ศิลปอาชา’ ขึ้นเบอร์ 1
  20. เดลินิวส์, เปิดบัญชีขุมทรัพย์"สนธิ"
  21. หนังสือ ลับ ลวง พราง ปฏิวัติปราสาททราย โดย วาสนา นาน่วม สำนักพิมพ์มติชน ISBN 9789740206576
  22. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 122 ตอนที่ 21 ข หน้า 3, 3 ธันวาคม 2548
  23. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 119 ตอนที่ 21 ข หน้า 11, 4 ธันวาคม 2545
  24. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม 89 ตอนที่ 120 ง ฉบับพิเศษ หน้า 10, 7 สิงหาคม 2515
  25. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม 90 ตอนที่ 160 ง ฉบับพิเศษ หน้า 4, 8 ธันวาคม 2516
  26. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม 99 ตอนที่ 40 ง ฉบับพิเศษ หน้า 72, 19 มีนาคม 2525
  27. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม 107 ตอนที่ 88 ง ฉบับพิเศษ หน้า 10, 28 พฤษภาคม 2533
  28. Commander-in-Chief of the Royal Thai Army Receives Prestigious Military Award

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • กองบรรณาธิการมติชน. พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ. “ม้ามืด” ผู้นำรัฐประหาร. กรุงเทพฯ : มติชน, 2550. ISBN 978-974-323-907-6
  • ชรินทร์ แช่มสาคร. พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ขุนศึกกู้แผ่นดิน. กรุงเทพฯ : 2550. ISBN 978-974-88207-0-5
  • ธงชัย แม่คลอง. สนธิ บุญยรัตกลิน อัศวินม้าขาวหรือทรราชย์?. กรุงเทพฯ : 2550. ISBN 978-974-13-3731-6
ก่อนหน้า สนธิ บุญยรัตกลิน ถัดไป
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ
ผู้บัญชาการทหารบก
(1 ตุลาคม พ.ศ. 2548 – 30 กันยายน พ.ศ. 2550)
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ผู้ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรี
(19 กันยายน พ.ศ. 2549 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549)
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์