รายชื่อภาษาเรียงตามจำนวนผู้ใช้เป็นภาษาแม่
หน้าตา
เนื้อหาในบทความนี้ล้าสมัย โปรดปรับปรุงข้อมูลให้เป็นไปตามเหตุการณ์ปัจจุบันหรือล่าสุด ดูหน้าอภิปรายประกอบ |
นี่คือ รายชื่อภาษาเรียงตามจำนวนผู้ที่ใช้เป็นภาษาแม่
อย่างไรก็ตาม ควรใช้การจัดอันดับทั้งหมดด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากไม่สามารถกำหนดเกณฑ์ทางภาษาที่สอดคล้องกันสำหรับการจำแนกภาษาในความต่อเนื่องของภาษาถิ่น[1] ตัวอย่างเช่น ภาษามักถูกกำหนดให้เป็นชุดของความหลากหลายที่สามารถเข้าใจร่วมกันได้ แต่ภาษามาตรฐานแห่งชาติที่เป็นอิสระอาจถูกพิจารณาว่าเป็นภาษาที่แยกจากกัน แม้ว่าพวกเขาจะเข้าใจร่วมกันเป็นส่วนใหญ่ เช่นในกรณีของภาษาเดนมาร์กแล ภาษานอร์เวย์[2]
ภาษาที่มีผู้ใช้เป็นภาษาแม่ตั้งแต่ 100 ล้านคนขึ้นไป
[แก้]ภาษาที่มีการใช้เป็นภาษาแรก 50 - 100 ล้านคน
[แก้]ภาษา | ตระกูล | สถานะอย่างทางการ | จำนวนผู้พูด (ข้อมูลปี 2548 โดย Ethnologue [3]) |
จำนวนผู้พูดจากแหล่งอื่น |
---|---|---|---|---|
ชวา (Basa Jawa) |
ออสโตรนีเชียน มาลาโย-โปลินีเชียน ซุนดา-ซูลาเวซี |
ใช้ในอินโดนีเซีย (โดยเฉพาะเกาะชวา) ชุมชนสำคัญในมาเลเซีย นิวแคลิโดเนีย (ฝรั่งเศส) และซูรินาม |
75.5 ล้านคน | 70 - 75 ล้านคน |
อู๋ (汉语, 吴方言) |
จีน-ทิเบต จีน |
นครเซี่ยงไฮ้ มณฑลเจ้อเจียง ตอนใต้ของมณฑลเจียงซู ประเทศจีน | 77.2 ล้านคน | 77 ล้านคน |
เตลูกู (เตะลุคุ) (తెలుగు) |
ดราวิเดียน กลางตอนใต้ |
เป็นภาษาราชการใน รัฐอานธรประเทศและเขตยานัม (อินเดีย) ชุมชนสำคัญในบาห์เรน ฟีจี และมอริเชียส |
69.7 ล้านคน | |
มราฐี (मराठी) |
อินโด-ยูโรเปียน อินโด-อิเรเนียน อินโด-อารยัน เขตกลาง |
เป็นภาษาราชการใน ดามันและดีอู รัฐกัว และรัฐมหาราษฏระ (อินเดีย) ชุมชนสำคัญในมอริเชียส |
68 ล้านคน | 68 ล้านคนใช้เป็นภาษาแรก และ 3 ล้านคนใช้เป็นภาษาที่สอง รวม 71 ล้านคน |
เวียดนาม (Tiếng Việt) |
ออสโตร-เอเชียติก มอญ-เขมร วิเอติก |
เป็นภาษาราชการในเวียดนาม ภาษาพื้นเมืองในเวียดนามและจีน ชุมชนสำคัญในออสเตรเลีย กัมพูชา ลาว นิวแคลิโดเนีย (ฝรั่งเศส) นอร์เวย์ สหรัฐอเมริกา (รัฐแคลิฟอร์เนีย) และวานูวาตู |
85.0ล้านคน | 70 ล้านคนใช้เป็นภาษาแรก และ 16 ล้านคนอาจจะใช้เป็นภาษาที่สอง รวม 86 ล้านคน |
เกาหลี (한국어, 조선말) |
ภาษาโดดเดี่ยว | เป็นภาษาราชการในเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ภาษาพื้นเมืองในจีน (จังหวัดปกครองตนเองเกาหลีหยันเปียน) ชุมชนสำคัญในออสเตรเลีย กวม (สหรัฐอเมริกา) ญี่ปุ่น หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา (สหรัฐอเมริกา) และสหรัฐอเมริกา (รัฐฮาวาย) |
67 ล้านคน | 71 ล้านคน |
ทมิฬ (தமிழ்) |
ดราวิเดียน ใต้ |
เป็นภาษาราชการใน รัฐทมิฬนาฑู ดินแดนสหภาพพอนดิเชอร์รี (อินเดีย) สิงคโปร์ และศรีลังกา ชุมชนสำคัญในบาห์เรน ฟีจี มาเลเซีย มอริเชียส และฝรั่งเศส (เรอูว์นียง) |
66 ล้านคน | 62 ล้านคนใช้เป็นภาษาแรก และอีก 10 ล้านคนใช้เป็นภาษาที่สอง รวม 72 ล้านคน |
ฝรั่งเศส (Français) |
อินโด-ยูโรเปียน อิตาลิก โรมานซ์ กอลโล-ไอบีเรียน กอลโล-โรมานซ์ โออีล |
เป็นภาษาราชการในเบลเยียม เบนิน บูร์กินาฟาโซ บุรุนดี แคเมอรูน สาธารณรัฐแอฟริกากลาง ชาด คอโมโรส คองโก-บราซาวีล คองโก-กินชาซา โกตดิวัวร์ จิบูตี ฝรั่งเศสและดินแดนในปกครอง กินี ลักเซมเบิร์ก มาดากัสการ์ มาลี เฮติ ไนเจอร์ มอริเชียส กาบอง รวันดา เซเนกัล เซเชลส์ โมนาโก สวิตเซอร์แลนด์ โตโก รัฐเกแบ็ก (แคนาดา) รัฐลุยเซียนา (สหรัฐอเมริกา) และวานูวาตู ชุมชนสำคัญในนิวซีแลนด์และสหรัฐอเมริกา (รัฐเมน รัฐนิวแฮมป์เชอร์ และรัฐเวอร์มอนต์) |
64.8 ล้านคน | 115 ล้านคนเป็นผู้พูดภาษาอย่างแท้จริง (รวมกลุ่มผู้ที่ใช้เป็นภาษาที่สองบางกลุ่ม) 250 ล้านคนใช้เป็นภาษาที่สอง รวม 365 ล้านคน และอาจมากถึง 500 ล้านคนถ้ารวมผู้ที่พอมีความรู้ |
อิตาลี (Italiano) |
อินโด-ยูโรเปียน อิตาลิก โรมานซ์ อิตาโล-ดัลเมเชียน |
เป็นภาษาราชการในเทศมณฑลอิสเตรีย (โครเอเชีย) อิตาลี ซานมารีโน สโลวีเนีย และสวิตเซอร์แลนด์ ชุมชนสำคัญในอาร์เจนตินา ออสเตรเลีย เบลเยียม แคนาดา ฝรั่งเศส กรีซ ลีชเทินชไตน์ ลักเซมเบิร์ก โมนาโก สหรัฐอเมริกา (รัฐคอนเนทิคัต รัฐแมสซาชูเซตส์ รัฐนิวเจอร์ซีย์ รัฐนิวยอร์ก และรัฐโรดไอแลนด์) อุรุกวัย และนครรัฐวาติกัน |
61.5 ล้านคน | 61 ล้านคนใช้เป็นภาษาแรก |
ปัญจาบ (ਪੰਜਾਬੀ, پنجابی) |
อินโด-ยูโรเปียน อินโด-อิเรเนียน อินโด-อารยัน |
เป็นภาษาราชการใน รัฐปัญจาบ (อินเดีย) ภาษาประจำชาติใน จังหวัดปัญจาบ (ปากีสถาน) ชุมชนสำคัญในแคนาดา ฟีจี มอริเชียส และสหราชอาณาจักร |
ปัญจาบตะวันตก 60.8 ล้านคน และ ปัญจาบตะวันออก 28 ล้านคน | ตะวันตก: 61-62 ล้านคน ตะวันออก: 28 ล้านคน ใต้: 14 ล้านคน รวมทั้งหมด 104 ล้านคน |
อูรดู (اُردو) |
อินโด-ยูโรเปียน อินโด-อิเรเนียน อินโด-อารยัน ฮินดูสตานี |
เป็นภาษาราชการในรัฐชัมมูและแคชเมียร์ (อินเดีย) และปากีสถาน ชุมชนสำคัญในบาห์เรน บอตสวานา ฟีจี มาลาวี มอริเชียส โอมาน กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย และแอฟริกาใต้ |
60.5 ล้านคน | 61 ล้านคนใช้เป็นภาษาแรก และ 43 ล้านคนใช้เป็นภาษาที่สอง รวม 104 ล้านคน |
กวางตุ้ง (汉语, 粵語, 廣東語) |
จีน-ทิเบต จีน |
ภาษาราชการในฮ่องกง และมาเก๊า ภาษาถิ่นในจีนแผ่นดินใหญ่ ตอนกลางของมณฑลกวางตุ้ง ทางตะวันออกและใต้ของมณฑลกวางสี บางส่วนของมณฑลไหหลำ | 54.8 ล้านคน | 66 ล้านคนใช้เป็นภาษาหลัก อาจจะมีผู้พูดสูงสุดถึง 100 ล้านคน |
ตุรกี (Türkçe) |
อัลไตอิก เตอร์กิก ตะวันตกเฉียงใต้ โอกุซ |
เป็นภาษาราชการในบัลแกเรีย ไซปรัส สาธารณรัฐตุรกีนอร์เทิร์นไซปรัส (ส่วนหนึ่งของไซปรัสโดยนิตินัย) และตุรกี ชุมชนสำคัญในออสเตรเลีย ออสเตรีย จอร์เจีย เยอรมนี กรีซ อิหร่าน มาซิโดเนีย มอลโดวา และเนเธอร์แลนด์ |
50.6 ล้านคน | 60 ล้านคน และ 15 ล้านคนใช้เป็นภาษาที่สอง รวม 75 ล้านคน |
ภาษาที่มีการใช้เป็นภาษาแรก 30-50 ล้านคน
[แก้]ภาษาที่มีการใช้เป็นภาษาแรก 10-30 ล้านคน
[แก้]ภาษา | ตระกูล | สถานะอย่างทางการ | จำนวนผู้พูด |
---|---|---|---|
อัมฮารา (Amharic) | แอโฟร-เอเชียติก, เซมิติก, ใต้ | ภาษาราชการในเอธิโอเปีย ชุมชนสำคัญในอิสราเอล |
27 ล้านคน และ 7 ล้านคนใช้เป็นภาษาที่สอง รวมทั้งหมด 34 ล้านคน |
ซุนดา (Basa Sunda) | ออสโตรนีเชียน, มาลาโย-โปลินีเชียน, ซุนดา-ซูลาเวซี | เป็นภาษาพื้นเมืองในอินโดนีเซีย (ชวาตะวันตก) | 27 ล้านคน (พ.ศ. 2533) |
อาเซอรี (Azərbaycan dili) | อัลไตอิก, เตอร์กิก, ตะวันตกเฉียงใต้, โอกุซ | เป็นภาษาราชการในอาเซอร์ไบจาน ภาษาพื้นเมืองในอิหร่าน ชุมชนสำคัญในอาร์มีเนีย เอสโตเนีย จอร์เจีย และอิหร่าน |
21-33 ล้านคน รวมภาษากัชไก (ข้อมูลของอิหร่านยังไม่แน่นอน) ; 8 ล้านคนใช้เป็นภาษาที่สอง (ภายนอกอิหร่าน) |
เคิร์ด (كوردی) | อินโด-ยูโรเปียน, อินโด-อิเรเนียน อิเรเนียน, ตะวันตก, ตะวันตกเฉียงเหนือ | เป็นภาษาราชการในอิรัก ภาษาพื้นเมืองในอาร์มีเนีย อิหร่าน ซีเรีย และตุรกี ชุมชนในสำคัญเยอรมนีและเลบานอน |
~26 ล้านคน |
ปาทาน (پښتو) | อินโด-ยูโรเปียน, อินโด-อิเรเนียน, อิเรเนียน, ตะวันออก, ตะวันออกเฉียงใต้ | เป็นภาษาราชการในอัฟกานิสถาน ภาษาพื้นเมืองในปากีสถาน ชุมชนสำคัญในอิหร่านและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ |
21-27 ล้านคน (ข้อมูลไม่แน่นอน; ประชากรตามเชื้อชาติ ~30 ล้านคน) |
เฮาซา (Hausa) | แอโฟร-เอเชียติก, ชาดิก, ตะวันตก | เป็นภาษาราชการในไนเจอร์และไนจีเรียเหนือ ชุมชนสำคัญในชาด เบนิน กานา และซูดาน |
24 ล้านคน และ ~ 15 ล้านคนใช้เป็นภาษาที่สอง รวมทั้งหมด ~ 40 ล้านคน |
โอโรโม (Oromo) | แอโฟร-เอเชียติก, คูชิติก, คูชิติกตะวันออก | เป็นภาษาประจำชาติในเอธิโอเปีย ชุมชนสำคัญในเคนยา |
24 ล้านคน (31.6% ของเอธิโอเปีย) และ ~ 2 ล้านคนใช้เป็นภาษาที่สอง รวมทั้งหมด 26 ล้านคน |
โรมาเนีย (limba română) | อินโด-ยูโรเปียน, อิตาลิก, โรมานซ์, ตะวันออก | เป็นภาษาราชการในมอลโดวา โรมาเนีย และจังหวัดวอยวอดีนา (เซอร์เบีย) ชุมชนสำคัญในกรีซ ฮังการี อิสราเอล สเปน และเซอร์เบีย |
24-26 ล้านคน (พ.ศ. 2545) |
อินโดนีเซีย (Bahasa Indonesia) | ออสโตรนีเชียน, มาลาโย-โปลินีเชียน, ซุนดา-ซูลาเวซี, มาลายิก | เป็นภาษาราชการในอินโดนีเซีย ชุมชนสำคัญในเนเธอร์แลนด์และติมอร์-เลสเต |
23 ล้านคน และมากกว่า 140 ล้านคนใช้เป็นภาษาที่สอง รวมทั้งหมด 165 ล้านคน |
ดัตช์ (Nederlands) | อินโด-ยูโรเปียน, เจอร์มานิก, ตะวันตก, เจอร์มานิกล่าง, ฟรังโคเนียนล่าง | เป็นภาษาราชการในเบลเยียม เนเธอร์แลนด์ และซูรินาม | 22 ล้านคน [1] [2] |
ตากาล็อก (Tagalog) | ออสโตรนีเชียน, มาลาโย-โปลินีเชียน, บอร์เนียว-ฟิลิปปินส์, ฟิลิปปินกลาง | เป็นภาษาราชการในฟิลิปปินส์ ชุมชนสำคัญในแคนาดา จีน (ฮ่องกง) กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และสหรัฐอเมริกา (รัฐอะแลสกา รัฐแคลิฟอร์เนีย กวม รัฐฮาวาย และหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา) |
22 ล้านคน และ ~65 ล้านคนใช้เป็นภาษาที่สอง รวมทั้งหมด 85 ล้านคน |
อุซเบก (O'zbek tili) | อัลไตอิก, เตอร์กิก, ตะวันออก | เป็นภาษาราชการในอุซเบกิสถาน ภาษาพื้นเมืองในอัฟกานิสถาน คีร์กีซสถาน ทาจิกิสถาน และเติร์กเมนิสถาน | 20 ล้านคน (พ.ศ. 2539) |
สินธุ (सिन्धी) | อินโด-ยูโรเปียน, อินโด-อิเรเนียน, อินโด-อารยัน | เป็นภาษาราชการในอินเดียและปากีสถาน ชุมชนสำคัญในจีน (ฮ่องกง) และโอมาน |
20 ล้านคน และ 1 ล้านคนใช้เป็นภาษาที่สอง รวมทั้งหมด 21 ล้านคน |
โยรูบา (Yoruba) | ไนเจอร์-คองโก, เบนเว-คองโก, Defoid, Yoruboid | เป็นภาษาราชการในไนจีเรีย ภาษาพื้นเมืองในเบนิน | 19 ล้านคน และ 2 ล้านคนใช้เป็นภาษาที่สอง รวมทั้งหมด 21 ล้านคน (พ.ศ. 2536) |
โซมาลี (Somali) | แอโฟร-เอเชียติก, คูชิติก, คูชิติกกลาง | เป็นภาษาราชการในโซมาเลีย ภาษาพื้นเมืองในจิบูตี เอธิโอเปีย และเคนยา ชุมชนสำคัญในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และเยเมน |
13-25 ล้านคน |
ลาว | ขร้า-ไท, กัม-ไท, บี-ไท, ไท, ตะวันตกเฉียงใต้ | เป็นภาษาราชการในลาว ภาษาพื้นเมืองในไทย | ~19 ล้านคน ภาษาถิ่นลาว-ผู้ไท (รวมภาษาถิ่นอีสาน) |
เซบู (Cebuano) | ออสโตรนีเชียน, มาลาโย-โปลินีเชียน, บอร์เนียว-ฟิลิปปินส์, ฟิลิปปินกลาง | เป็นภาษาพื้นเมืองในฟิลิปปินส์ | 18.5 ล้านคน |
มลายู (Bahasa Melayu) | ออสโตรนีเชียน, มาลาโย-โปลินีเชียน, ซุนดา-ซูลาเวซี, มาลายิก | เป็นภาษาราชการในบรูไนดารุสซาลาม มาเลเซีย และสิงคโปร์ เป็นภาษาพื้นเมืองในมาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย ชุมชนสำคัญในออสเตรเลียและบาห์เรน |
18 ล้านคน และ 3 ล้านคนใช้เป็นภาษาที่สอง รวมทั้งหมด 21 ล้านคน (ไม่นับรวมภาษาอินโดนีเซีย) |
อิกโบ (Igbo) | ไนเจอร์-คองโก, เบนเว-คองโก, Igboid | เป็นภาษาราชการในไนจีเรีย | 18 ล้านคน ไม่ทราบจำนวนผู้ใช้เป็นภาษาที่สอง |
มาลากาซี (Malagasy) | ออสโตรนีเชียน, มาลาโย-โปลินีเชียน, บอร์เนียว-ฟิลิปปินส์, แบริโต | เป็นภาษาราชการในมาดากัสการ์ ชุมชนสำคัญในมายอตและเรอูว์นียง (ฝรั่งเศส) |
17 ล้านคน |
เนปาล (Khaskura) | อินโด-ยูโรเปียน, อินโด-อิเรเนียน, อินโด-อารยัน | เป็นภาษาราชการในเนปาลและรัฐสิกขิม (อินเดีย) ชุมชนสำคัญในภูฏาน |
17 ล้านคน และ 10-15 ล้นคนใช้เป็นภาษาที่สอง (อาจจะ?) |
อัสสัม (অসমীয়া) | อินโด-ยูโรเปียน, อินโด-อิเรเนียน, อินโด-อารยัน | เป็นภาษาราชการในรัฐอัสสัม (อินเดีย) ชุมชนสำคัญในภูฏาน |
15 ล้านคน (พ.ศ. 2540) |
ฮังการี (Magyar) | อูราลิก, ฟินโน-อูกริก, อูกริก | เป็นภาษาราชการในฮังการี (จังหวัดวอยวอดีนา) เซอร์เบีย และสโลวีเนีย ชุมชนสำคัญในอิสราเอล โรมาเนีย สโลวาเกีย และยูเครน |
15 ล้านคน |
โชนา (Shona) | ไนเจอร์-คองโก, เบนเว-คองโก, บันตู | เป็นภาษาประจำชาติในซิมบับเว ชุมชนสำคัญในบอตสวานาและโมซัมบิก |
15 ล้านคน และ 1.8 ล้านคนใช้เป็นภาษาที่สอง รวมทั้งหมด 16-17 ล้านคน รวมNdau, Manyika) |
เขมร (Khmer) | ออสโตร-เอเชียติก, มอญ-เขมร | เป็นภาษาราชการในกัมพูชา ชุมชนสำคัญในไทย สหรัฐอเมริกา (รัฐแคลิฟอร์เนีย) และเวียดนาม |
14 ล้านคน และ 1 ล้านคนใช้เป็นภาษาที่สอง รวมทั้งหมด 15 ล้านคน (พ.ศ. 2547) |
จ้วง (Zhuang) | ขร้า-ไท, กัม-ไท, ไท | เป็นภาษาราชการในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง (จีน) | 14 ล้านคน (พ.ศ. 2535) ไม่ทราบจำนวนผู้ใช้เป็นภาษาที่สอง |
มาดูรา (Madura) | ออสโตรนีเชียน, มาลาโย-โปลินีเชียน, ซุนดา-ซูลาเวซี | เป็นภาษาพื้นเมืองในอินโดนีเซีย (ในเกาะชวาและเกาะมาดูรา) | 14 ล้านคน (พ.ศ. 2539) |
สิงหล (Sinhala) | อินโด-ยูโรเปียน, อินโด-อิเรเนียน, อินโด-อารยัน | เป็นภาษาราชการในศรีลังกา ชุมชนสำคัญในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ |
13 ล้านคน และ 2 ล้านคนใช้เป็นภาษาที่สอง รวมทั้งหมด 15 ล้านคน (พ.ศ. 2536) |
ฟูลา (Fulani) | ไนเจอร์-คองโก, แอตแลนติก, เหนือ, เซเนแกมเบียน | เป็นภาษาราชการในไนเจอร์ ไนจีเรีย และเซเนกัล เป็นภาษาพื้นเมืองในกินีและมาลี ชุมชนสำคัญในเบนิน บูร์กินาฟาโซ แคเมอรูน สาธารณรัฐแอฟริกากลาง ชาด แกมเบีย กินี-บิสเซา มอริเตเนีย และเซียร์ราลีโอน |
~13 ล้านคน |
เบอร์เบอร์ (Tamazight) | แอโฟร-เอเชียติก, เบอร์เบอร์, เหนือ | เป็นภาษาประจำชาติในแอลจีเรีย (ภาษาคาไบล์) และโมร็อกโก ชุมชนสำคัญในฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ และสเปน (เซวตาและเมลียา) |
มากกว่า 13 ล้านคน (พ.ศ. 2541) |
เช็ก (český jazyk) | อินโด-ยูโรเปียน, สลาฟ, ตะวันตก, เช็ก-สโลวัก | เป็นภาษาราชการในสาธารณรัฐเช็ก | 12 ล้านคน |
กรีก (Ελληνικά) | อินโด-ยูโรเปียน, กรีก | เป็นภาษาราชการในไซปรัสและกรีซ ชุมชนสำคัญในแอลเบเนีย ออสเตรเลีย แคนาดา อียิปต์ และจอร์เจีย |
12 ล้านคน (พ.ศ. 2547) |
เซอร์เบีย (Cрпски) | อินโด-ยูโรเปียน, สลาฟ, ใต้ | เป็นภาษาราชการในเซอร์เบีย มอนเตเนโกร และบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ชุมชนสำคัญในโครเอเชีย ออสเตรเลีย สวีเดน และสวิตเซอร์แลนด์ |
11 ล้านคน; รวมเซอร์เบีย-โครเอเชีย-บอสเนีย = 17 ล้านคน |
เกชัว (Quechua) | เกชวน | เป็นภาษาราชการในโบลิเวีย เอกวาดอร์ และเปรู ชุมชนสำคัญในอาร์เจนตินา |
10.4 ล้านคน |
ภาษาที่มีการใช้เป็นภาษาแรก 3-10 ล้านคน
[แก้]ภาษา | ตระกูล | สถานะอย่างทางการ | จำนวนผู้พูด |
---|---|---|---|
ซูลู (Zulu) | ไนเจอร์-คองโก, บันตู | เป็นภาษาราชการในแอฟริกาใต้ ชุมชนสำคัญในเลโซโทและสวาซิแลนด์ |
9.6 ล้านคน และ ~16 ล้านคนใช้เป็นภาษาที่สอง รวมทั้งหมด ~25 ล้านคน |
ชิเชวา (Chichewa) | ไนเจอร์-คองโก, บันตู | เป็นภาษาราชการในมาลาวีและแซมเบีย ชุมชนสำคัญในโมซัมบิกและซิมบับเว |
9.3 ล้านคน และ 0.4 ล้านคนใช้เป็นภาษาที่สอง รวมทั้งหมด 9.7 ล้านคน |
เบลารุส (беларуская мова) | อินโด-ยูโรเปียน, บอลต์-สลาฟ, สลาฟ, ตะวันออก | เป็นภาษาราชการในเบลารุส ชุมชนสำคัญในคาซัคสถาน ลัตเวีย และลิทัวเนีย |
9.1 ล้านคน |
สวีเดน (Svenska) | อินโด-ยูโรเปียน, เจอร์มานิก, เหนือ, สแกนดิเนเวียนตะวันออก | เป็นภาษาประจำชาติในสวีเดน เป็นภาษาราชการในหมู่เกาะโอลันด์ (ฟินแลนด์) และฟินแลนด์ | 8.8 ล้านคน (พ.ศ. 2529) |
คองโก (Kongo) | ไนเจอร์-คองโก, บันตู | เป็นภาษาประจำชาติในแองโกลา คองโก-บราซาวีล และคองโก-กินชาซา | 8.7 ล้านคน รวมภาษายอมเบและภาษาคิตูบาครีโอล |
อาคัน (Akan) | ไนเจอร์-คองโก, กวา | เป็นภาษาประจำชาติในกานา | 8.3 ล้านคน และ 1 ล้านคนใช้เป็นภาษาที่สอง รวมทั้งหมด ~10 ล้านคน |
คาซัค (Қазақ тілі) | อัลไตอิก, เตอร์กิก, ตะวันตก, อาราโล-แคสเปียน | เป็นภาษาราชการในคาซัคสถาน ชุมชนสำคัญในจีน (เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์) มองโกเลีย เติร์กเมนิสถาน และอุซเบกิสถาน |
8.2 ล้านคน |
ม้ง (Hmong) | ม้ง-เมี่ยน | จีน ชุมชนสำคัญในฝรั่งเศส (เฟรนช์เกียนา) ลาว สหรัฐอเมริกา (รัฐมินนิโซตาและรัฐวิสคอนซิน) ไทย และเวียดนาม |
~8 ล้านคน |
ยี่ (Yi) | จีน-ทิเบต, ทิเบโต-เบอร์มัน, โลโล-พม่า | จีน | 7.8 ล้านคน |
ชิลูบา (Tshiluba) | ไนเจอร์-คองโก, บันตู | เป็นภาษาประจำชาติในคองโก-กินชาซา | 7.8 ล้านคน และ 0.7 ล้านใช้เป็นภาษาที่สอง รวมทั้งหมด 8.5 ล้านคน (รวมคิลูบา 1.5 ล้านคน) |
อีโลกาโน (Ilokano) | ออสโตรนีเชียน, บอร์เนียว-ฟิลิปปินส์, ลูซอนเหนือ | ฟิลิปปินส์ ชุมชนสำคัญในสหรัฐอเมริกา (รัฐฮาวาย) |
7.7 ล้านคน ไม่ทราบจำนวนผู้ใช้เป็นภาษาที่สอง |
บัลแกเรีย (Български) | อินโด-ยูโรเปียน, สลาฟ, ใต้ | เป็นภาษาราชการในบัลแกเรีย ชุมชนสำคัญในมอลโดวา |
6.6 ล้านคนในบัลแกเรีย (พ.ศ. 2548) และ ~1 ล้านคนในประเทศอื่น |
อุยกูร์ (Uyghur) | อัลไตอิก, เตอร์กิก, ตะวันออก | เป็นภาษาราชการในจีน (เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์) ชุมชนสำคัญในคาซัคสถาน |
7.6 ล้านคน |
ครีโอลเฮติ (Haitian Creole) | อินโด-ยูโรเปียน, โรมานซ์, ครีโอล | เป็นภาษาราชการในเฮติ ชุมชนสำคัญในบาฮามาส แคนาดา (รัฐเกแบ็ก) สหราชอาณาจักร (หมู่เกาะเคย์แมน) สาธารณรัฐโดมินิกัน ฝรั่งเศส (กัวเดอลุป) สหรัฐอเมริกา (รัฐคอนเนทิคัต รัฐฟลอริดา รัฐแมสซาชูเซตส์ รัฐนิวยอร์ก) |
7.4 ล้านคน (พ.ศ. 2544) |
คินยาร์วันดา (Kinyarwanda) | ไนเจอร์-คองโก, บันตู | เป็นภาษาราชการในรวันดา ชุมชนสำคัญในคองโก-กินชาซาและยูกันดา |
7.3 ล้านคน (พ.ศ. 2541) |
โคซา (Xhosa) | ไนเจอร์-คองโก, บันตู | เป็นภาษาราชการในแอฟริกาใต้ ชุมชนสำคัญในเลโซโท |
7.2 ล้านคน |
บาลูจี (Balochi) | อินโด-ยูโรเปียน, อิเรเนียน | เป็นภาษาพื้นเมืองในอัฟกานิสถาน อิหร่าน และปากีสถาน ชุมชนสำคัญในโอมานและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ |
7.0 ล้านคน (พ.ศ. 2541) |
ฮีลีไกนอน (Hiligaynon) | ออสโตรนีเชียน, บอร์เนียว-ฟิลิปปินส์, ฟิลิปปินกลาง, วิซายัน | ฟิลิปปินส์ | 6.9 ล้านคน ไม่ทราบจำนวนผู้ใช้เป็นภาษาที่สอง |
ทือกรึญญา (Tigrinya) | แอโฟร-เอเชียติก, เซมิติก | เป็นภาษาราชการในเอริเทรียและเอธิโอเปีย | 4.5 ล้านคนในเอธิโอเปีย (ร้อยละ 6 ของประชากร) ~2.25 ล้านคนในเอริเทรีย (ร้อยละ 50 ของประชากร) รวม 6.75 ล้านคน และ 146,934 คนใช้เป็นภาษาที่สอง รวมทั้งหมด 6.9 ล้านคน |
กาตาลา (Catalan) | อินโด-ยูโรเปียน, โรมานซ์ | เป็นภาษาราชการในอันดอร์รา สเปน (หมู่เกาะแบลิแอริก แคว้นคาตาโลเนีย แคว้นบาเลนเซีย) ภาษาพื้นเมืองในฝรั่งเศส (จังหวัดปีเรเนซอเรียงตาล) และอิตาลี (อัลเกโร) | 6.7 ล้านคน และ ~5 ล้านคนใช้เป็นภาษาที่สอง รวมทั้งหมด 12 ล้านคน (พ.ศ. 2539) (รวมภาษาวาเลนเซีย) |
อาร์มีเนีย (Հայերեն) | อินโด-ยูโรเปียน, โดดเดี่ยว | เป็นภาษาราชการในอาร์มีเนียและนากอร์โน-คาราบัค (ส่วนหนึ่งของอาเซอร์ไบจานโดยนิตินัย) ชุมชนสำคัญในจอร์เจีย เลบานอน และซีเรีย |
6.7 ล้านคน |
มีนังกาเบา (Minangkabau) | ออสโตรนีเชียน, ซุนดา-ซูลาเวซี, มาลายิก | อินโดนีเซีย (เกาะสุมาตรา) | 6.5 ล้านคน |
เติร์กเมน (Türkmen dili) | อัลไตอิก, เตอร์กิก, ใต้ | เป็นภาษาราชการในเติร์กเมนิสถาน ชุมชนสำคัญในอัฟกานิสถาน อิหร่าน อิรัก |
6.4 ล้านคน (พ.ศ. 2538) |
มากัว (Makua) | ไนเจอร์-คองโก, บันตู | เป็นภาษาหลักในโมซัมบิก ชุมชนสำคัญในแทนซาเนีย |
6.4 ล้านคน รวมภาษาลอมเว |
โครเอเชีย (hrvatski) | อินโด-ยูโรเปียน, สลาฟ, ใต้, ใต้ตะวันตก | เป็นภาษาราชการในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาและโครเอเชีย ชุมชนสำคัญในออสเตรียและสโลวีเนีย |
6.2 ล้านคน |
Santali (Santali) | ออสโตร-เอเชียติก, มุนดา | เป็นภาษาราชการในอินเดีย | 6.2 ล้านคน (พ.ศ. 2540) |
บาตัก (Batak) | ออสโตรนีเชียน, บอร์เนียว-ฟิลิปปินส์ ซุนดา-ซูลาเวซี, สุมาตราเหนือ | อินโดนีเซีย | ~6.2 ล้านคน รวมภาษาโตบา ภาษาไดรี ภาษาซีมาลังกัน และภาษาอื่น ๆ |
แอลเบเนีย (Shqip) | อินโด-ยูโรเปียน, โดดเดี่ยว | เป็นภาษาราชการในแอลเบเนีย มาซิโดเนีย เซอร์เบีย (จังหวัดคอซอวอ) ชุมชนสำคัญในกรีซ |
6.0 ล้านคน |
ไทยวน | ขร้า-ไท กัม-ไท บี-ไท ไท-แสก ไท ตะวันตกเฉียงใต้ เชียงแสน |
ภาคเหนือตอนบน ไทย ชุมชนสำคัญใน ลาว พม่า สระบุรี ราชบุรี |
6 ล้านคน |
แอฟริคานส์ (Afrikaans) | อินโด-ยูโรเปียน, เจอร์มานิก | เป็นภาษาราชการในแอฟริกาใต้ ชุมชนสำคัญในนามิเบีย |
6.0 ล้านคน และ 10.3 ล้านคนใช้เป็นภาษาที่สอง รวมทั้งหมด 16 ล้านคน |
มองโกเลีย | อัลไตอิก, มองโกเลียน | เป็นภาษาราชการในจีน (เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน) และมองโกเลีย | 5.7 ล้านคน |
ภิล (Bhili) | อินโด-ยูโรเปียน, อินดิก | อินเดีย | 5.6 ล้านคน (พ.ศ. 2537) รวมผู้พูดภาษาวักดี 1.6 ล้านคน |
ฟินแลนด์ (Suomi) | อูราลิก, ฟินโน-อูกริก, ฟินโน-วอลกาอิก, ฟินโน-แลปปิก, บอลต์-ฟินนิก | เป็นภาษาราชการในฟินแลนด์ รัสเซีย (สาธารณรัฐคาเรลียา) ชุมชนสำคัญในสวีเดน |
5.4 ล้านคน (พ.ศ. 2536) |
กิคูยู (Gikuyu) | ไนเจอร์-คองโก, บันตู | เป็นภาษาหลักในเคนยา | 5.3 ล้านคน (พ.ศ. 2537) |
เดนมาร์ก (Dansk) | อินโด-ยูโรเปียน, เจอร์มานิก, เจอร์มานิกเหนือ | เป็นภาษาราชการในเดนมาร์ก หมู่เกาะแฟโร (เดนมาร์ก) และกรีนแลนด์ (เดนมาร์ก) ชุมชนสำคัญในเยอรมนี (เซาเทิร์นชเลสวิช) |
5.3 ล้านคน (พ.ศ. 2523) |
ฮิบรู (עִבְרִית) | แอโฟร-เอเชียติก, เซมิติก | เป็นภาษาราชการในอิสราเอล ชุมชนสำคัญในเขตเวสต์แบงก์ (ปาเลสไตน์) |
5.1 ล้านคน (พ.ศ. 2541) |
สโลวัก (Slovenský jazyk) | อินโด-ยูโรเปียน, สลาฟ, ตะวันตก, เช็ก-สโลวัก | เป็นภาษาราชการในสโลวาเกีย | 5.0 ล้านคน |
มอเร (Mòoré) | ไนเจอร์-คองโก, กูร์ | เป็นภาษาประจำชาติในบูร์กินาฟาโซ | ~5 ล้านคน (พ.ศ. 2534) |
สวาฮีลี (kiSwahili ) | ไนเจอร์-คองโก, บันตู | เป็นภาษาราชการในคองโก-กินชาซา เคนยา และแทนซาเนีย ชุมชนสำคัญในคอโมโรส มายอต (ฝรั่งเศส) โอมาน และเรอูว์นียง (ฝรั่งเศส) |
~5 ล้านคน และ ~40 ล้านคนใช้เป็นภาษาที่สอง |
กวารานี (Guarani) | ตูปี | เป็นภาษาราชการในปารากวัย ชุมชนสำคัญในอาร์เจนตินา |
4.9 ล้านคน (พ.ศ. 2538) |
คิรุนดี (Kirundi) | ไนเจอร์-คองโก, บันตู | เป็นภาษาราชการในบุรุนดี | 4.9 ล้านคน (พ.ศ. 2529) |
เซโซโท (ใต้) (Sesotho, South) | ไนเจอร์-คองโก, บันตู | เป็นภาษาราชการในเลโซโทและแอฟริกาใต้ | 4.9 ล้านคน |
โรมา (Romani) | อินโด-ยูโรเปียน, อินดิก | ชุมชนสำคัญในแอลเบเนีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา บัลแกเรีย โครเอเชีย สาธารณรัฐเช็ก ฮังการี อิหร่าน มาซิโดเนีย เนเธอร์แลนด์ โรมาเนีย เซอร์เบีย สโลวาเกีย และตุรกี |
4.8 ล้านคน รวมโดมารี |
นอร์เวย์ (Norsk) | อินโด-ยูโรเปียน, เจอร์มานิก | เป็นภาษาราชการในนอร์เวย์ | 4.6 ล้านคน |
ทิเบต (བོད་སྐད་) | จีน-ทิเบต, ทิเบโต-เบอร์มัน, ฮิมาลายิช | เป็นภาษาราชการในจีน (เขตปกครองตนเองทิเบต มณฑลชิงไห่ และบางส่วนของมณฑลเสฉวนและมณฑลกานซู) | 4.6 ล้านคน |
คานูรี (Kanuri) | นีโล-สะฮารัน, สะฮารัน | เป็นภาษาราชการในไนเจอร์และไนจีเรีย ชุมชนสำคัญในชาด (ภาษาคาเนมบู) |
4.4 ล้านคน และ 0.5 ล้านคนใช้เป็นภาษาที่สอง รวมทั้งหมด 4.9 ล้านคน |
ซวานา (Tswana) | ไนเจอร์-คองโก, บันตู | เป็นภาษาราชการในบอตสวานาและแอฟริกาใต้ ภาษาประจำชาติในนามิเบีย | 4.4 ล้านคน และ 0.2 ล้านคนใช้เป็นภาษาที่สอง รวมทั้งหมด 4.6 ล้านคน |
กัศมีร์ (แคชเมียร์) (کٲشُر) | อินโด-ยูโรเปียน, อินดิก | เป็นภาษาราชการในอินเดีย (รัฐชัมมูและกัษมีร์) ภาษาพื้นเมืองในปากีสถาน | 4.6 ล้านคน (พ.ศ. 2540) |
จอร์เจีย (ქართული) | คอเคซัสใต้ | เป็นภาษาราชการในจอร์เจีย ชุมชนสำคัญในอิสราเอล |
4.2 ล้านคน |
โวลอฟ (Wolof làkk) | ไนเจอร์-คองโก | เป็นภาษาราชการในเซเนกัล (1 ใน 6 ภาษาทางการ) ชุมชนสำคัญในเซเนกัล, แกมเบีย และมอริเตเนีย |
4.2 ล้านคน (พ.ศ. 2549) |
อุมบุนดู (Umbundu) | ไนเจอร์-คองโก, บันตู | เป็นภาษาประจำชาติในแองโกลา | ~4 ล้านคน ไม่ทราบจำนวนผู้ใช้เป็นภาษาที่สอง |
กงกัณ (Konkani) | อินโด-ยูโรเปียน, อินดิก | เป็นภาษาราชการในอินเดีย (รัฐกัว) | ~4 ล้านคน (พ.ศ. 2542) |
บาหลี (Balinese) | ออสโตรนีเชียน, ซุนดา-ซูลาเวซี, บาหลี-ซาซัก | อินโดนีเซีย (เกาะบาหลีและเกาะลอมบ็อก) | 3.9 ล้านคน (พ.ศ. 2544) |
โซโทเหนือ (Northern Sotho) | ไนเจอร์-คองโก, บันตู | เป็นภาษาราชการในแอฟริกาใต้ ชุมชนสำคัญในบอตสวานา |
3.7 ล้านคน (พ.ศ. 2539) |
บิกอล (Bikol) | ออสโตรนีเชียน, บอร์เนียว-ฟิลิปปินส์, ฟิลิปปินกลาง | ฟิลิปปินส์ | 3.7 ล้านคน ไม่ทราบจำนวนผู้ใช้เป็นภาษาที่สอง |
ลูเยีย (Luyia) | ไนเจอร์-คองโก, บันตู | เคนยา | 3.6 ล้านคน |
โวลอฟ (Wolof) | ไนเจอร์-คองโก, แอตแลนติก | เป็นภาษาราชการในเซเนกัล ชุมชนสำคัญในแกมเบีย |
3.6 ล้านคน (พ.ศ. 2545) ไม่ทราบจำนวนผู้ใช้เป็นภาษาที่สอง |
เบมบา (Bemba) | ไนเจอร์-คองโก, บันตู | เป็นภาษาประจำชาติในแซมเบีย | 3.6 ล้านคน ไม่ทราบจำนวนผู้ใช้เป็นภาษาที่สอง |
บูกิส (Buginese) | ออสโตรนีเชียน, ซุนดา-ซูลาเวซี, ซูลาเวซีใต้ | อินโดนีเซีย | 3.5 ล้านคน และ 0.5 ล้านคนใช้เป็นภาษาที่สอง รวมทั้งหมด ~4 ล้านคน |
โดลัว (Luo; Dholuo) | นีโล-สะฮารัน, นีโลติก | เคนยา | 3.5 ล้านคน |
มานิงกา (Maninka) | ไนเจอร์-คองโก, มันเด | เป็นภาษาประจำชาติในกินีและมาลี ชุมชนสำคัญในไลบีเรีย เซเนกัล และเซียร์ราลีโอน |
3.3 ล้านคน |
มาซันดารัน (Mazandarani) | อินโด-ยูโรเปียน, อิเรเนียน | อิหร่าน | 3.3 ล้านคน (พ.ศ. 2536) |
กีลัก (Gilaki) | อินโด-ยูโรเปียน, อิเรเนียน | อิหร่าน | 3.3 ล้านคน (พ.ศ. 2536) |
ชาน (Shan) | ขร้า-ไท, กัม-ไท, ไท | พม่า | 3.3 ล้านคน |
ซองกา (Tsonga) | ไนเจอร์-คองโก, บันตู | แอฟริกาใต้ ชุมชนสำคัญในโมซัมบิกและสวาซิแลนด์ |
3.3 ล้านคน |
กาลิเซีย (Galician) | อินโด-ยูโรเปียน, โรมานซ์, กอลโล-ไอบีเรียน, โปรตุเกส-กาลิเซีย | เป็นภาษาราชการในสเปน | 3.2 ล้านคน |
ซูคูมา (Sukuma) | ไนเจอร์-คองโก, บันตู | แทนซาเนีย | 3.2 ล้านคน |
ยิดดิช (Yiddish) | อินโด-ยูโรเปียน, เจอร์มานิก | ชุมชนสำคัญในเบลารุส อิสราเอล ลัตเวีย และยูเครน | 3.2 ล้านคน |
ครีโอลจาเมกา (Jamaican Creole) | อินโด-ยูโรเปียน, เจอร์มานิก, ครีโอล | จาเมกา ชุมชนสำคัญในปานามาและคอสตาริกา |
3.2 ล้านคน (พ.ศ. 2544) |
คีร์กีซ (Kyrgyz) | อัลไตอิก, เตอร์กิก, ตะวันตก, อาราโล-แคสเปียน | เป็นภาษาราชการในคีร์กีซสถาน ภาษาพื้นเมืองในทาจิกิสถาน | 3.1 ล้านคน |
วาไร-วาไร (Waray-Waray) | ออสโตรนีเชียน, บอร์เนียว-ฟิลิปปินส์, ฟิลิปปินกลาง, วิซายัน | ฟิลิปปินส์ | 3.1 ล้านคน ไม่ทราบจำนวนผู้ใช้เป็นภาษาที่สอง |
เอเว (Ewe) | ไนเจอร์-คองโก, กวา | เป็นภาษาราชการในโตโก ภาษาประจำชาติในกานา | 3.1 ล้านคน และ 0.5 ล้านคนใช้เป็นภาษาที่สอง รวมทั้งหมด 3.6 ล้านคน (พ.ศ. 2546) |
ลิทัวเนีย (Lietuvių Kalba) | อินโด-ยูโรเปียน, บอลต์, ตะวันออก | เป็นภาษาราชการในลิทัวเนีย ชุมชนสำคัญในลัตเวีย |
3.1 ล้านคน (พ.ศ. 2541) |
ลูกันดา (Luganda) | ไนเจอร์-คองโก, บันตู | ภาษาหลักในยูกันดา | 3.0 ล้านคน และ ~1 ล้านคนใช้เป็นภาษาที่สอง รวมทั้งหมด ~4 ล้านคน |
อะเจะห์ (Achinese) | ออสโตรนีเชียน, ซุนดา-ซูลาเวซี, มาลายิก | อินโดนีเซีย | ~3 ล้านคน |
คิมบุนดู (Kimbundu) | ไนเจอร์-คองโก, บันตู | เป็นภาษาประจำชาติในแองโกลา | ~3 ล้านคน |
ฮินด์โก (Hindko) | อินโด-ยูโรเปียน, อินดิก | ปากีสถาน | ~3 ล้านคน (พ.ศ. 2536) |
อิบิบิโอ-เอฟิก (Ibibio-Efik) | ไนเจอร์-คองโก, ครอสส์ริเวอร์ | ภาษาเอฟิกเป็นภาษาราชการในไนจีเรีย | ~3 ล้านคน รวมภาษาอะนาง |
ภาษาที่มีการใช้เป็นภาษาแรก 1-3 ล้านคน
[แก้]ภาษา | ตระกูล | สถานะอย่างทางการ | จำนวนผู้พูด |
---|---|---|---|
ราชพังสี (Rajbangsi) | อินโด-ยูโรเปียน, อินดิก | อินเดีย | 3.0 ล้านคน |
ภาษากวย/กูย/ขอม (KUI) | กลุ่มภาษามอญ-ขอม, [[]] | เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ | 2.5 ล้านคน |
ครห์วัล (Garhwali) | อินโด-ยูโรเปียน, อินดิก | อินเดีย | 2.9 ล้านคน |
บัมบารา (Bambara) | ไนเจอร์-คองโก, มันเด | เป็นภาษาประจำชาติในมาลี | 2.8 ล้านคน และ 10 ล้านคนพูดเป็นภาษาที่สอง รวมทั้งหมด 13 ล้านคน |
โอเมโต (Ometo) | แอโฟร-เอเชียติก, โอโมติก | เอธิโอเปีย | 2.8 ล้านคน รวมโวเลย์ตตา |
ภาษาสัญลักษณ์อินเดีย (Indian Sign Language) | ภาษาโดดเดี่ยว (ภาษาสัญลักษณ์) | บังกลาเทศ อินเดีย และปากีสถาน | 2.7 ล้านคน ไม่ทราบจำนวนผู้ใช้ในบังกลาเทศและปากีสถาน (พ.ศ. 2546) ภาษาเดียวกับภาษาสัญลักษณ์ปากีสถาน |
ครีโอลเบอตาวี (Betawi creole) | ออสโตรนีเชียน | อินโดนีเซีย | 2.7 ล้านคน |
กะเหรี่ยง (Karen) | จีน-ทิเบต | พม่าและไทย | 2.6 ล้านคน |
กอนด์ (Gondi) | ดราวิเดียน | อินเดีย | 2.6 ล้านคน |
เซนูโฟ (Senoufo) | ไนเจอร์-คองโก, กูร์ | เป็นภาษาประจำชาติในมาลี ภาษาพื้นเมืองในบูร์กินาฟาโซและโกตดิวัวร์ | 2.6 ล้านคน |
คาเลนจิน (Kalenjin) | นีโล-สะฮารัน, นีโลติก | เคนยา | 2.5 ล้านคน |
คูเมานี (Kumauni) | อินโด-ยูโรเปียน, อินดิก | อินเดีย | 2.4 ล้านคนในอินเดีย (พ.ศ. 2541) |
คัมบา (Kamba) | ไนเจอร์-คองโก, บันตู | เคนยา | 2.4 ล้านคน และ 0.6 ล้านคนพูดเป็นภาษาที่สอง รวมทั้งหมด 3.0 ล้านคน |
ลูรี (Luri) | อินโด-ยูโรเปียน, อิเรเนียน | อิหร่าน | 2.4 ล้านคน (พ.ศ. 2542, 2544) |
กีเช (Quiché) | มายัน | กัวเตมาลา | 2.3 ล้านคน |
กาปัมปังกัน (Kapampangan) | ออสโตรนีเชียน | ฟิลิปปินส์ | 2.3 ล้านคน |
บอสเนีย (Bosnian) | อินโด-ยูโรเปียน, สลาฟ, ใต้, ใต้ตะวันตก | เป็นภาษาราชการในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา | 1.8-2.7 ล้านคน (พ.ศ. 2547) |
ไอย์มารา (Aymara) | ไอย์มารัน | เป็นภาษาราชการในโบลิเวียและเปรู ชุมชนสำคัญในอาร์เจนตินา |
2.2 ล้านคน |
ทิฟ (Tiv) | ไนเจอร์-คองโก, บันตอยด์ | ไนจีเรีย | 2.2 ล้านคน ไม่ทราบจำนวนผู้ใช้เป็นภาษาที่สอง |
บราฮุย (Brahui) | ดราวิเดียน | ปากีสถานและอัฟกานิสถาน | 2.2 ล้านคน |
กบายา (Gbaya) | ไนเจอร์-คองโก, อูบังเกียน | สาธารณรัฐแอฟริกากลางและคองโก-กินชาซา | 2.2 ล้านคน รวมงบากา |
ซาร์มา (Zarma) | นีโล-สะฮารัน, ซองไฮ | เป็นภาษาราชการในไนเจอร์ | 2.2 ล้านคน (พ.ศ. 2541) |
บาอูเล (Baoulé) | ไนเจอร์-คองโก, กวา | โกตดิวัวร์ | 2.1 ล้านคน |
โฑครี (Dogri) | อินโด-ยูโรเปียน, อินดิก | เป็นภาษาราชการในอินเดีย (รัฐชัมมูและแคชเมียร์) | 2.1 ล้านคน (พ.ศ. 2540) |
ลิงกาลา (Lingala) | ไนเจอร์-คองโก, บันตู | เป็นภาษาประจำชาติในคองโก-บราซาวีลและคองโก-กินชาซา | 2.1 ล้านคน และ 7 ล้านคนในคองโก-กินชาซาใช้เป็นภาษาที่สอง ไม่ทราบจำนวนผู้ใช้เป็นภาษาที่สองในคองโก-บราซาวีล รวมทั้งหมด 9 ล้านคนเศษ |
ซาซะก์ (Sasak) | ออสโตรนีเชียน | อินโดนีเซีย | 2.1 ล้านคน (พ.ศ. 2532) |
คูรุกซ์ (Kurux) | ดราวิเดียน | อินเดียและเนปาล | 2.1 ล้านคน (พ.ศ. 2540) |
มุนดารี (Mundari) | ออสโตร-เอเชียติก, มุนดา | อินเดีย | 2.1 ล้านคน |
ดิงกา (Dinka) | นีโล-สะฮารัน, นีโลติก | ซูดานใต้ | 2 ล้านคนเศษ |
สโลวีเนีย (Slovenian) | อินโด-ยูโรเปียน, บอลต์-สลาฟ, สลาฟ, ใต้, ใต้ตะวันตก | เป็นภาษาราชการในออสเตรีย อิตาลี และสโลวีเนีย | 2.0 ล้านคน |
ปูเยย์ (Buyei) | ขร้า-ไท | จีน | ~2 ล้านคน |
เบตี-ปาวิน (Beti-Pahuin) | ไนเจอร์-คองโก, บันตู | ภาษาหลักในกาบองและอิเควทอเรียลกินี ชุมชนสำคัญในแคเมอรูนและเซาตูแมอีปริงซีป |
~2 ล้าน รวมแฟง เอวอนโด และภาษาอื่น ๆ |
ดิมลี (ซาซา) (Dimli; Zazaki) | อินโด-ยูโรเปียน, อิเรเนียน | ตุรกี | 1.5-2.5 ล้านคน |
ตุฬุ (Tulu) | ดราวิเดียน | อินเดีย | 1.9 ล้านคน |
ซีดาโม (Sidamo) | แอโฟร-เอเชียติก, คูชิติก | เอธิโอเปีย | 1.9 ล้านคน และ 0.1 ล้านคนใช้เป็นภาษาที่สอง รวมทั้งหมด 2.0 ล้านคน |
บัชกอร์ต (Bashkir) | อัลไตอิก, เตอร์กิก, เหนือ | เป็นภาษาราชการในรัสเซีย (สาธารณรัฐบัชคอร์โตสตาน) | 1.9 ล้านคน |
ยาโอ (Yao) | ไนเจอร์-คองโก, บันตู | มาลาวี แทนซาเนีย และโมซัมบิก | ~1.9 ล้านคน |
ชูวัช (Chuvash) | อัลไตอิก, เตอร์กิก, โอกูริก, โพรโต-บัลการ์ | เป็นภาษาราชการในรัสเซีย (สาธารณรัฐชูวัช) | 1.8 ล้านคน และ 0.2 ล้านคนพูดเป็นภาษาที่สอง รวมทั้งหมด 2.0 ล้านคน |
อิจอ (Ijaw) | ไนเจอร์-คองโก, ไม่สามารถจัดกลุ่มได้ | ไนจีเรีย | 1.8 ล้านคน |
ฟอน (Fon) | ไนเจอร์-คองโก, กวา | เป็นภาษาประจำชาติในเบนิน ชุมชนสำคัญในโตโก |
1.7 ล้านคน ไม่ทราบจำนวนผู้ใช้เป็นภาษาที่สอง |
สวาซี (Swazi) | ไนเจอร์-คองโก, บันตู | เป็นภาษาราชการในแอฟริกาใต้และสวาซิแลนด์ ชุมชนสำคัญในเลโซโท |
1.7 ล้านคน |
เนียนคอเร (Nyankore) | ไนเจอร์-คองโก, บันตู | ยูกันดา | 1.6 ล้านคน |
ตาตาร์ (Tatar) | อัลไตอิก, เตอร์กิก | เป็นภาษาราชการในรัสเซีย (สาธารณรัฐตาตาร์สตาน) ชุมชนสำคัญในสาธารณรัฐบัชคอร์โตสตาน (รัสเซีย) คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน ทาจิกิสถาน และอุซเบกิสถาน |
1.6 ล้านคน (เชื้อชาติตาตาร์ 6.6 ล้านคน) |
มากาซาร์ (Makasar) | ออสโตรนีเชียน | อินโดนีเซีย | 1.6 ล้านคน และ 0.4 ล้านคนพูดเป็นภาษาที่สอง รวมทั้งหมด 2 ล้านคน (พ.ศ. 2532) |
มาซิโดเนีย (македонски ) | อินโด-ยูโรเปียน, สลาฟ | เป็นภาษาราชการในมาซิโดเนีย | 1.6 ล้านคน |
กูซี (Gusii) | ไนเจอร์-คองโก, บันตู | เคนยา | 1.6 ล้านคน |
คานเทสี (Khandesi) | อินโด-ยูโรเปียน, อินดิก | อินเดีย | 1.6 ล้านคน (พ.ศ. 2540) |
นเดเบเล (Ndebele) | ไนเจอร์-คองโก, บันตู | เป็นภาษาราชการในแอฟริกาใต้ ภาษาประจำชาติในซิมบับเว | 1.6 ล้านคน |
ชีน (Chin) | จีน-ทิเบต, ทิเบโต-เบอร์มัน | พม่าและอินเดีย | 1.6 ล้านคน ไม่รวมมีโซ |
ซารา (Sara) | นีโล-สะฮารัน, ซูดานิกกลาง, บองโก-ลากีร์มี | เป็นภาษาประจำชาติในชาด ชุมชนสำคัญในสาธารณรัฐแอฟริกากลาง |
1.5 ล้านคน มีผู้พูดเป็นภาษาที่สองจำนวนมาก |
ปังกาซีนัน (Pangasinan) | ออสโตรนีเชียน | ฟิลิปปินส์ | 1.5 ล้านคน |
ลัตเวีย (Latviešu) | อินโด-ยูโรเปียน, บอลต์, ตะวันออก | เป็นภาษาราชการในลัตเวีย ชุมชนสำคัญในออสเตรเลีย |
1.5 ล้านคน |
ทองกา (Tonga) | ไนเจอร์-คองโก, บันตู | แซมเบียและซิมบับเว | 1.5 ล้านคน |
ลัมปุง (Lampung) | ออสโตรนีเชียน | อินโดนีเซีย | ~1.5 ล้านคน |
ซาร์ดิเนีย (Sardinian) | อินโด-ยูโรเปียน, อิตาลิก, โรมานซ์, ใต้ | เป็นภาษาราชการในอิตาลี (เกาะซาร์ดิเนีย) | ~1.5 ล้านคน |
สกอตส์ (Scots) | อินโด-ยูโรเปียน, เจอร์มานิก, ตะวันตก, แองโกล-ฟริเชียน, แองกลิก | สกอตแลนด์ ชุมชนสำคัญในไอร์แลนด์เหนือ |
~1.5 ล้านคน |
ต้อง (Dong) | ขร้า-ไท | จีน | 1.5 ล้านคน |
เมนเด (Mende) | ไนเจอร์-คองโก, มันเด | เป็นภาษาประจำชาติในเซียร์ราลีโอน | 1.5 ล้านคน ไม่ทราบจำนวนผู้ใช้เป็นภาษาที่สอง |
ไท่ (Tày) | ขร้า-ไท | เวียดนาม | 1.5 ล้านคนในเวียดนาม |
นาวาตล์ (Nahuatl) | อูโต-แอซเทกัน, โดดเดี่ยว | เม็กซิโก | 1.4 ล้านคน |
อะฟาร์ (Afar) | แอโฟร-เอเชียติก, คูชิติก | เอธิโอเปีย เอริเทรีย และจิบูตี | 1.4 ล้านคน |
ดักบัน (Dagbani) | ไนเจอร์-คองโก, กูร์ | เป็นภาษาประจำชาติในกานา | 1.4 ล้านคน รวมคูซาลและมัมปรูลี |
โคลี (Koli) | อินโด-ยูโรเปียน, อินดิก | อินเดียและปากีสถาน | 1.4 ล้านคน |
ชิกา (Chiga) | ไนเจอร์-คองโก, บันตู | ยูกันดา | 1.4 ล้านคน |
โซกา (Soga) | ไนเจอร์-คองโก, บันตู | ยูกันดา | 1.4 ล้านคน |
ทุมบูกา (Tumbuka) | ไนเจอร์-คองโก, บันตู | เป็นภาษาราชการในมาลาวี ชุมชนสำคัญในแซมเบีย |
1.3 ล้านคน |
อิวเมี่ยน (Iu Mien) | ม้ง-เมี่ยน, เย้า | จีน | 1.3 ล้านคน |
เมรู (Meru) | ไนเจอร์-คองโก, บันตู | เคนยา | 1.3 ล้านคน |
โกโก (Gogo) | ไนเจอร์-คองโก, บันตู | แทนซาเนีย | ~1.3 ล้านคน |
เตโซ | นีโล-สะฮารัน, นีโลติก | ยูกันดา ชุมชนสำคัญในเคนยา |
1.3 ล้านคน |
ไมไต (มณีปุระ) (Meithei; Manupuri) | จีน-ทิเบต | เป็นภาษาราชการในอินเดีย (รัฐมณีปุระ) | 1.3 ล้านคน (พ.ศ. 2540) |
ตามัง (Tamang) | จีน-ทิเบต | เนปาล | 1.3 ล้านคน |
มาคอนเด (Makonde) | ไนเจอร์-คองโก, บันตู | แทนซาเนียและโมซัมบิก | 1.3 ล้านคน |
ไป๋ (Bai) | จีน-ทิเบต, ไม่สามารถจัดกลุ่มได้ | จีน | 1.2 ล้านคน |
ทัวเร็ก (Tuareg) | แอโฟร-เอเชียติก, เบอร์เบอร์, ใต้ | เป็นภาษาราชการในไนเจอร์ ภาษาประจำชาติในมาลี | 1.2 ล้านคน (พ.ศ. 2534-2541) |
มันดิงกา (Mandinka) | ไนเจอร์-คองโก, มันเด | เป็นภาษาราชการในเซเนกัล ชุมชนสำคัญในแกมเบียและกินี-บิสเซา |
1.2 ล้านคน (พ.ศ. 2545) |
จูลา (Dioula) | ไนเจอร์-คองโก, มันเด | เป็นภาษาพื้นเมืองในบูร์กินาฟาโซ ชุมชนสำคัญในโกตดิวัวร์ |
~1.2 ล้านคน และ 3-4 ล้านคน ใช้เป็นภาษาที่สอง |
เตมเน (Temne) | ไนเจอร์-คองโก, แอตแลนติก | เป็นภาษาประจำชาติในเซียร์ราลีโอน | 1.2 ล้านคน และ 0.2 ล้านคนใช้เป็นภาษาที่สอง รวมทั้งหมด ~1.4 ล้านคน |
ฮายา (Haya) | ไนเจอร์-คองโก, บันตู | แทนซาเนีย | ~1.2 ล้านคน |
เซอเรอร์ (Serer) | ไนเจอร์-คองโก, แอตแลนติก | เป็นภาษาราชการในเซเนกัล ชุมชนสำคัญในแกมเบีย |
1.2 ล้านคน |
เบจา (Beja) | แอโฟร-เอเชียติก, คูชิติกหรือโดดเดี่ยว | ซูดานและเอริเทรีย | 1.2 ล้านคน |
เนียมเวซี (Nyamwezi) | ไนเจอร์-คองโก, บันตู | แทนซาเนีย | 1.2 ล้านคน |
อับรอน (Abron) | ไนเจอร์-คองโก, กวา | กานา | 1.2 ล้านคน |
อะลูร์ (Alur) | นีโล-สะฮารัน, นีโลติก | คองโก-กินชาซา | 1.2 ล้านคน |
เซนา (Sena) | ไนเจอร์-คองโก, บันตู | โมซัมบิกและมาลาวี | 1.2 ล้านคน |
อะซันเด (Azande) | ไนเจอร์-คองโก, อูบังเกียน | คองโก-กินชาซา ซูดานใต้ สาธารณรัฐแอฟริกากลาง | 1.1 ล้านคน |
วัลลูน (Walloon) | อินโด-ยูโรเปียน, โรมานซ์, กอลโล-โรมานซ์, โออิล | เบลเยียม | 1.1 ล้านคน (พ.ศ. 2541) |
อันยี (Anyi) | ไนเจอร์-คองโก, กวา | โกตดิวัวร์และกานา | 1.2 ล้านคน |
มัลวี (Malvi) | อินโด-ยูโรเปียน, อินดิก | อินเดีย | 1.1 ล้านคน (พ.ศ. 2540) |
กีนาไรอา (Kinaray-a) |
ออสโตรนีเชียน | ฟิลิปปินส์ | 1.1 ล้านคน |
โซนิงเก (Soninke) | ไนเจอร์-คองโก, มันเด | เป็นภาษาราชการในเซเนกัล ภาษาประจำชาติในมาลี ชุมชนสำคัญในบูร์กินาฟาโซ โกตดิวัวร์ แกมเบีย และมอริเตเนีย |
1.10 ล้านคน (พ.ศ. 2534) |
โฮ (Ho) | ออสโตร-เอเชียติก, มุนดา | อินเดีย | 1.08 ล้านคน (พ.ศ. 2540) |
เอสโตเนีย (eesti keel) | อูราลิก, ฟินโน-อูกริก, ฟินโน-แลปปิก, บอลต์-ฟินนิก | เป็นภาษาราชการในเอสโตเนีย | 1.08 ล้านคน |
เนียคิวซา (Nyakyusa) | ไนเจอร์-คองโก, บันตู | แทนซาเนียและมาลาวี | 1.05 ล้านคน |
กวารี (Gwari) | ไนเจอร์-คองโก, นูเป | ไนจีเรีย | 1.05 ล้านคน |
ลุกบารา (Lugbara) | นีโล-สะฮารัน, ซูดานิกกลาง, โมรู-มาดี | คองโก-กินชาซาและยูกันดา | 1.04 ล้านคน |
นาคา (Naga) | จีน-ทิเบต | อินเดีย | 1.03 ล้านคน |
ซูซู (Susu) | ไนเจอร์-คองโก, มันเด | เป็นภาษาประจำชาติในกินี ชุมชนสำคัญในเซียร์ราลีโอน |
1.03 ล้านคน |
เทาซุก (Tausug) | ออสโตรนีเชียน | ฟิลิปปินส์ | 1.02 ล้านคน |
โชเกว (Chokwe) | ไนเจอร์-คองโก, บันตู | เป็นภาษาประจำชาติในแองโกลา ชุมชนสำคัญในคองโก-กินชาซา |
1.01 ล้านคน |
คาร์บาเดีย (Kabardian) | คอเคเซียน, ซีร์กัสเซียน | เป็นภาษาราชการในรัสเซีย (สาธารณรัฐคาบาร์ดีโน-บัลคาเรีย) ชุมชนสำคัญในสาธารณรัฐคาราชาเยโว-ซีร์คัสเซีย (รัสเซีย) และตุรกี |
1.01 ล้านคน |
ริวกิว (Ryukyu) | จาโปนิก, ริวกิว | ญี่ปุ่น | 1.01 ล้านคน |
มากินดาเนา (Maguindanao) | ออสโตรนีเชียน | ฟิลิปปินส์ | 1.0 ล้านคน ไม่ทราบจำนวนผู้ใช้เป็นภาษาที่สอง |
มาราเนา (Maranao) | ออสโตรนีเชียน | ฟิลิปปินส์ | 1.0 ล้านคน |
ซองเก (Songe) | ไนเจอร์-คองโก, บันตู | คองโก-กินชาซา | ~1 ล้านคน |
รจัง (Rejang) | ออสโตรนีเชียน | อินโดนีเซีย | ~1 ล้านคน |
เอโด (บินี) (Edo; Bini) | ไนเจอร์-คองโก | เป็นภาษาราชการในไนจีเรีย | ~1 ล้านคน |
เอบิรา (Ebira) | ไนเจอร์-คองโก, นูเป | ไนจีเรีย | ~1 ล้านคน |
ดากาเร (Dagaare) | ไนเจอร์-คองโก, กูร์ | เป็นภาษาประจำชาติในกานา ชุมชนสำคัญในบูร์กินาฟาโซ |
~1 ล้านคน (พ.ศ. 2546) |
กูจาริ (Gujari) | อินโด-ยูโรเปียน, อินดิก | อัฟกานิสถาน อินเดีย และปากีสถาน | 0.99 ล้านคน |
ทารุ (Tharu) | อินโด-ยูโรเปียน, อินดิก | เนปาล | 0.99 ล้านคน |
เชเชน (Chechen) | คอเคเซียน, นัค | เป็นภาษาราชการในรัสเซีย (สาธารณรัฐเชชเนีย) | 0.96 ล้านคน |
เวนดา (Venda) | ไนเจอร์-คองโก, บันตู | เป็นภาษาราชการในแอฟริกาใต้ | 0.96 ล้านคน |
ยะไข่ (Arakanese) | จีน-ทิเบต | พม่าและบังกลาเทศ | 0.95 ล้านคน |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Paolillo, John C.; Das, Anupam (31 March 2006). "Evaluating language statistics: the Ethnologue and beyond" (PDF). UNESCO Institute of Statistics. pp. 3–5. สืบค้นเมื่อ 17 November 2018.
- ↑ Chambers, J.K.; Trudgill, Peter (1998). Dialectology (2nd ed.). Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-59646-6.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 http://www.ethnologue.com/