ภาษาฮังการี
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
บทความนี้หรือส่วนนี้ของบทความต้องการปรับรูปแบบ ซึ่งอาจหมายถึง ต้องการจัดรูปแบบข้อความ จัดหน้า แบ่งหัวข้อ จัดลิงก์ภายใน และ/หรือการจัดระเบียบอื่น ๆ คุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน จากนั้นปรับปรุงหรือจัดรูปแบบอื่น ๆ ในบทความให้เหมาะสม |
ภาษาฮังการี | |
---|---|
magyar nyelv | |
ออกเสียง | [ˈmɒɟɒr ˈɲɛlv] |
ประเทศที่มีการพูด | ประเทศฮังการีและพื้นที่ทางตะวันออกของออสเตรีย, โครเอเชีย, โรมาเนีย, ภาคเหนือของเซอร์เบีย, สโลวาเกีย, สโลวีเนีย, ภาคตะวันตกของยูเครน |
ชาติพันธุ์ | ชาวฮังการี |
จำนวนผู้พูด | 13 ล้านคน (2003–2014)[1] |
ตระกูลภาษา | |
ระบบการเขียน | |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ | (ในวอยวอดีนา) |
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน |
|
ผู้วางระเบียบ | สถาบันวิจัยภาษาศาสตร์แห่งบัณฑิตยสถานวิทยาศาสตร์ฮังการี (สถาบันภาษาศาสตร์ของฮังการี) |
รหัสภาษา | |
ISO 639-1 | hu |
ISO 639-2 | hun |
ISO 639-3 | อย่างใดอย่างหนึ่ง:hun – ฮังการีใหม่ohu – ฮังการีเก่า |
นักภาษาศาสตร์ | ohu ฮังการีเก่า |
Linguasphere | 41-BAA-a |
บริเวณที่ภาษาฮังการีเป็นภาษาหลัก (น้ำเงินเข้ม) หรือเป็นภาษาชนกลุ่มน้อย (น้ำเงินอ่อน) อ้างอิงจากสำมะโนประชากรล่าสุดและซีไอเอเดอะเวิลด์แฟกต์บุ๊ก 2014[6] | |
ภาษาฮังการี (ฮังการี: Magyar nyelv, [ˈmɒɟɒr ˈɲɛlv]) เป็นภาษาตระกูลยูรัลซึ่งมีผู้พูดในประเทศฮังการีและในประเทศเพื่อนบ้าน มีผู้พูดภาษาฮังการีประมาณ 14.7 ล้านคน จำนวน 10 ล้านคนอาศัยอยู่ในประเทศฮังการี ในประเทศฮังการีและในประเทศสโลวาเกีย แถบตะวันตกของประเทศยูเครน ประเทศสโลวีเนียตอนเหนือ อาณาเขตตะวันตกและตอนกลางของประเทศโรมาเนีย (ทรานซิลเวเนีย) ประเทศเซอร์เบียตอนเหนือในเขตวอยวอดีนา และประเทศโครเอเชียตอนเหนือในเขตวอยวอดีนา เนื่องจากการถูกแยกประเทศราชอาณาจักรฮังการี ภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ในปีค.ศ. 1920 โดยสนธิสัญญาทริอานอง ทำให้มีชาวฮังการีจำนวนมากถูกตัดขาดจากกลุ่มชาติพันธุ์ของตนเองในดินแดนที่จักรวรรดิออสเตรียฮังการีเคยตั้งอยู่ ภาษาฮังการียังใช้พูดโดยกลุ่มชาวฮังการีพลัดถิ่นทั่วโลก โดยเฉพาะในทวีปอเมริกาเหนือ (ในสหรัฐ) ภาษาฮังการีจัดอยู่ในกลุ่มตระกูลภาษาฟินโนอุกริค ร่วมกับภาษาอื่นๆเช่น ภาษาฟินแลนด์ และภาษาเอสโตเนีย เป็นต้น ภาษาที่มีความใกล้ชิดกับภาษาฮังการีมากที่สุดคือ ภาษาแมนซี และภาษาคฮานตีในประเทศรัสเซียตอนกลาง (ไซบีเรีย)
การจำแนก
[แก้]ภาษาฮังการีเป็นภาษาในตระกูลภาษายูรัล (Uralic language family) ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1670 มีการสังเกตเห็นถึงความเชื่อมโยงของภาษาฮังการีและภาษาอื่น ๆ ในตระกูลยูราลิก และได้มีการบัญญัติตระกูลภาษายูรัล ปี ค.ศ.1717 ซึ่งต่อมาได้แบ่งย่อยลงมาได้เป็นกลุ่มภาษาฟินโน-ยูกริก (Finno-Ugric languages) โดยภาษาฮังกาเรียนจัดอยู่ในกลุ่มสาขาภาษายูกริก ร่วมกันภาษาแมนซีและภาษาคานซีในไซบีเรีย แต่ยังเป็นที่ถกเถียงกันในวงการภาษาศาสตร์อย่างกว้างขวาง
ชุดตัวอักษรฮังการี
[แก้]ชุดตัวอักษรฮังการี (ฮังการี: magyar ábécé) เป็นส่วนขยายของชุดอักษรละตินที่ใช้ในการเขียนภาษาฮังการี ตัวอักษรฮังการีมีพื้นฐานมาจากอักษรละตินโดยมีตัวอักษรที่หลากหลายเพิ่มเข้ามา เพื่อแทนเสียงพยัญชนะและสระที่ไม่มีในภาษาละติน
ชุดตัวอักษรภาษาฮังการีโดยพื้นฐานมีตัวอักษรทั้งหมด 40 ตัว แต่แบบขยาย มีอยู่ 44 ตัว โดยเพิ่มตัวอักษร Q, W, X และ Y ซึ่งพบได้เฉพาะในคำยืมจากภาษาอื่นและในตัวสะกดวิสามานยนามแบบดั้งเดิม
ตัวอักษร 44 ตัว ในชุดตัวอักษรฮังการีแบบขยายมีดังนี้
ตัวพิมพ์ใหญ่ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
A | Á | B | C | Cs | D | Dz | Dzs | E | É | F | G | Gy | H | I | Í | J | K | L | Ly | M | N | Ny | O | Ó | Ö | Ő | P | Q | R | S | Sz | T | Ty | U | Ú | Ü | Ű | V | W | X | Y | Z | Zs |
ตัวพิมพ์เล็ก | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
a | á | b | c | cs | d | dz | dzs | e | é | f | g | gy | h | i | í | j | k | l | ly | m | n | ny | o | ó | ö | ő | p | q | r | s | sz | t | ty | u | ú | ü | ű | v | w | x | y | z | zs |
คำอธิบาย
[แก้]สัญลักษณ์อักษรแต่ละตัวในกล่องด้านบนนับเป็นตัวอักษรเฉพาะในภาษาฮังการี โดยแยกสระเสียงสั้นและเสียงยาว (คล้ายภาษาไทย) เช่น ตัวอักษร o และ ó หรือ ö และ ő นับเป็นคนละตัวอักษร มีตำแหน่งของตัวเองในการเรียงลำดับ ไม่นับว่าเป็นสระเดียวกัน
แม้ว่าสระเสียงสั้นและสระเสียงยาวจะนับเป็นอักษรคนละตัวในในอักษรฮังการี แต่สำหรับพยัญชนะ แม้ว่าจะมีเสียงยาว (หรือมีการซ้ำเสียงต่อเนื่อง) ก็ยังนับเป็นอักษรตัวเดียวกัน
ในภาษาฮังการี การแสดงว่าพยัญชนะนั้นมีเสียงยาว จะทำได้โดยการเขียนอักษรเดียวกันซ้ำสองตัวแทนการใส่เครื่องหมายไว้ด้านบน เช่น tt, gg, zz (ette [ˈɛtːɛ] 'เขากิน'; függ [fyɡː] 'มันห้อยอยู่'; azzal [ˈɒzːɒl] 'กับอันนั้น') อย่างไรก็ดี ในภาษาฮังการี จะมีการใช้อักษรพยัญชนะละติน 2 หรือ 3 ตัวมาผสมกันเพื่อแสดงเสียงเสียงเดียว สำหรับเสียงที่ไม่มีในภาษาละติน (คล้ายกับภาษาโปแลนด์) ภาษาฮังการีมีอักษรประสม 9 ตัว คือ cs, dz, dzs, gy, ly, ny, sz, ty, zs
ในการเขียนอักษรพยัญชนะประสม (ประกอบด้วย cs, dz, dzs, gy, ly, ny, sz, ty, zs) ให้แสดงเสียงยาวนั้น ตามหลักการเขียนของภาษาฮังการี จะตัดอักษรด้านหลังตัวพยัญชนะประสมตัวแรกให้เหลือแต่เพียงอักษรละตินตัวแรก แล้วเอามาเขียนติดกับตัวมันเอง เช่น sz + sz → ssz (asszony [ˈɒsːoɲ] 'ผู้หญิง'); ty + ty → tty (hattyú [ˈhɒcːuː] 'หงส์'); dzs + dzs → ddzs (briddzsel [ˈbrid͡ʒːɛl] 'ด้วยไพ่โปกเกอร์') ยกเว้นเฉพาะคำยาวที่เกิดจากคำสั้น ๆ ประสมกัน เช่น jegygyűrű [ˈjɛɟːyːryː] 'แหวนหมั้น' (jegy [ˈjɛɟ] + gyűrű [ˈɟyːryː]) ไม่มีการตัดอักษรออกให้กลายเป็น jeggyűrű
การออกเสียง
[แก้]ตารางต่อไปนี้คือการออกเสียงอักษรฮังการีตามหลักภาษาฮังการีมาตรฐาน
อักษร | ชื่อเรียก | หน่วยเสียง | เสียงที่ใกล้เคียงในภาษาไทย | ตัวอย่างเสียงที่ใกล้เคียงในภาษาอื่น | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
A | a | /ɒ/ | เอาะ (แบบไม่มีเสียงกัก) | ภาษาไทย: ก๊อก, ล็อก
ภาษาอังกฤษ (แบบบริติช): cot |
|
Á | á | /aː/ | อา | ภาษาไทย: ฟาง, ข้าว
ภาษาอังกฤษ: father |
|
B | bé | /b/ | บ | ภาษาไทย: บ้าน, บิน, บ่อน
ภาษาอังกฤษ: by, absence |
|
C | cé | /ts/ | ตซ | ภาษาอังกฤษ: pots
ภาษาญี่ปุ่น: 津波(つなみ、Tsunami) |
คล้าย ต กับ ซ รวมกันเป็นเสียงเดียว |
Cs | csé | /tʃ/ | ช | ภาษาไทย: ช้าง, เชียงใหม่
ภาษาอังกฤษ: check, cheek, etching |
|
D | dé | /d/ | ด | ภาษาไทย: เด็ก, ดิน, ดารา
ภาษาอังกฤษ: deck, wide |
|
Dz | dzé | /dz/ | ดซ (เสียงก้อง) | ภาษาอังกฤษ: kids | เป็นคำที่พบได้น้อยมากในภาษาฮังการี |
Dzs | dzsé | /dʒ/ | จ (เสียงก้อง) | ภาษาอังกฤษ: jam, George, bridge, edge, fridge | เป็นคำที่มักพบในคำทับศัพท์จากภาษาต่างประเทศ |
E | e | /ɛ/ | แอะ (แบบไม่มีเสียงกัก) | ภาษาอังกฤษ: less, cheque, edge, bed | |
É | é | /eː/ | เอ | ภาษาอังกฤษ: café | |
F | ef | /f/ | ฟ | ภาษาอังกฤษ: find, euphoria | |
G | gé | /ɡ/ | ก (เสียงก้อง) | ภาษาอังกฤษ: get, leg, go | |
Gy | gyé | /ɟ/ | ดย | คล้ายกับคำภาษาอังกฤษ ที่ใช้เสียง /d/ แบบอ่อน คำว่า duke during | ออกเสียงคล้าย ด กับ ย มารวมกัน เป็นเสียงเดียว |
H | há | /h/ 1. [ɦ]
2. ∅ 3. [x] 4. [ç] |
ฮ 1. ฮ
3. ค, ฮ 4. ช, ฮ |
ภาษาอังกฤษ: hi
1. behind 2. honest 3. Loch, Chanukah 4. human |
ออกเสียงได้ 4 แบบ ตามแต่ละคำ แต่ส่วนใหญ่ ออกเสียงเหมือน ฮ ในภาษาไทย |
I | i | /i/ | อิ (แบบไม่มีเสียงกัก) | ภาษาอังกฤษ: sea, key, tree | |
Í | í | /iː/ | อี | ภาษาอังกฤษ: leek, leave, seed, sea | |
J | jé | /j/ | ย | ภาษาไทย: ยักษ์, ยี่หร่า, ยาย
ภาษาอังกฤษ: you, yes, faith |
|
K | ká | /k/ | ก | ภาษาไทย: กอง, ไก่
ภาษาอังกฤษ: ski, scar, mask |
|
L | el | /l/ | ล | ภาษาอังกฤษ: leave, list | |
Ly | elly, el-ipszilon | /j/
/ /ʎ/ |
ย / ลย | ภาษาอังกฤษ: play, pray | ในปัจจุบัน ly ออกเสียงเหมือน j หรือ ย ตามภาษาฮังการีมาตรฐานเนื่องจากการเปลี่ยนไปของสำเนียงการพูดภาษาฮังการี |
M | em | /m/ | ม | ภาษาอังกฤษ: mind, assume, might | |
N | en | /n/: [ŋ]
[n] |
ง (เมื่อนำหน้า k, g)
น |
ภาษาอังกฤษ: thing, lying (ก่อนตัว k, g),need, bone (ที่อื่น ๆ) | ออกเสียงเหมือน ง เมื่อนำหน้า k, g แต่ออกเสียงเหมือน น เมื่อนำหน้าเสียงพยัญชนะอื่นทั้งหมด |
Ny | eny | /ɲ/ | ญ, นย | ภาษาอังกฤษ: canyon
ภาษาสเปน: niño |
ออกเสียงเหมือน ญ ในภาษาไทยโบราณ ภาษาไทยถิ่นเหนือ และภาษาไทยถิ่นอีสาน |
O | o | /o/ | โอะ (แบบไม่มีเสียงกัก) | ภาษาอังกฤษ: force, sorcerer | |
Ó | ó | /oː/ | โอ | ||
Ö | ö | /ø/ | เออะ (แบบไม่มีเสียงกัก) | ตัว ö ในภาษาเยอรมัน | |
Ő | ő | /øː/ | เออ | คล้ายตัว ö ในภาษาเยอรมัน แต่เสียงยาว | |
P | pé | /p/ | ป | ภาษาไทย: ปา, ประเทศ | |
(Q) | kú | ก | ออกเสียงเหมือน k พบในคำทับศัพท์เท่านั้น | ||
R | er | /r/ | ร | ภาษาไทย: เรียน, รู้ | ร เรือ แบบรัวลิ้น ในภาษาไทยมาตรฐาน และเหมือนกับเสียงของ rr ในภาษาสเปน |
S | es | /ʃ/ | ช (เสียง | ภาษาอังกฤษ: share, wish, shout | การเขียนโดยใช้ s เป็นเสียง /ʃ/ และ sz เป็นเสียง /ʃ/ เป็นสิ่งที่พบได้น้อยมาก ในระบบการเขียนของยุโรป มีเพียงภาษาฮังการีที่เขียนแบบนี้ |
Sz | esz | /s/ | ภาษาอังกฤษ: say, estimate | ||
T | té | /t/ | ภาษาอังกฤษ: star, least, feast | ||
Ty | tyé | /c/ | ภาษาอังกฤษ: tube | คล้าย ต กับ ย รวมกันเป็นเสียงเดียว | |
U | u | /u/ | ภาษาอังกฤษ: rude | ||
Ú | ú | /uː/ | อู | ภาษาอังกฤษ: do, fool | |
Ü | ü | /y/ | อึ (แบบไม่มีเสียงกัก) | ตัว ü ในภาษาเยอรมัน | |
Ű | ű | /yː/ | อือ | ตัว ü ในภาษาเยอรมัน แต่เสียงยาว | |
V | vé | /v/ | ฟ, ว | ภาษาอังกฤษ: very, every | |
(W) | dupla vé | /v/ | ฟ, ว | ภาษาอังกฤษ: view, evolve, vacuum | ออกเสียงเหมือน v พบในคำทับศัพท์เท่านั้น |
(X) | iksz | กซ | ออกเสียงเหมือน k + sz พบในคำทับศัพท์เท่านั้น | ||
(Y) | ipszilon | /i/ | อิ (แบบไม่มีเสียงกัก) | ภาษาอังกฤษ: happy | ออกเสียงเหมือน i พบในคำทับศัพท์เท่านั้น |
Z | zé | /z/ | ซ (เสียงก้อง) | ภาษาอังกฤษ: desert, roses | |
Zs | zsé | /ʒ/ | ช (เสียงก้อง) | ภาษาอังกฤษ: pleasure, leisure |
ตัวอักษร ë ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของชุดตัวอักษรฮังการี อย่างไรก็ตาม นักภาษาศาสตร์ใช้ตัวอักษรนี้เพื่อจำแนกความต่างระหว่างเสียง e สั้น สองชนิด (แอะ และ เอะ) ในบางภาษาถิ่นของภาษาฮังการี มีการใช้อักษรนี้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1770 โดยเยิดย์ ก็อลมาร์ (György Kalmár) แต่อักษรนี้ไม่เคยเป็นส่วนหนึ่งของชุดตัวอักษรฮังการีมาตรฐาน เนื่องจากในภาษาฮังการีมาตรฐานไม่ได้จำแนกความต่างระหว่างเสียงทั้งสองนี้ (อย่างที่ในภาษาไทยแยกเสียง แอะ และ เอะ ออกจากกัน) อย่างไรก็ตาม เสียง ë (เอะ) ออกเสียงต่างจากเสียง e (แอะ) ในภาษาถิ่นของภาษาฮังการี 6 ภาษาจาก 10 ภาษา และออกเสียงอย่าง ö (เออะ) ในภาษาถิ่นของภาษาฮังการี 1 ภาษา (ภาษาถิ่นทรานซิลเวเนีย)
ทวิอักษร ch ยังปรากฏอยู่ในบางคำ (เช่น technika, monarchia) และออกเสียงเหมือนกับ h ส่วนในวิสามานยนาม ch จะออกเสียงเหมือน cs หรือบางครั้งออกเสียงเป็น h หรือ k (แบบภาษาเยอรมัน)
การเขียนแบบเดิม ที่ยังใช้ในชื่อเฉพาะและเอกสารทางประวัติศาสตร์
[แก้]การเขียนแบบดั้งเดิม (บางส่วนมีความใกล้เคียงกับการเขียนแบบเยอรมัน) มีการใช้ในชื่อเฉพาะที่เป็นภาษาฮังการี โดยตารางด้านล่างจะเปรียบเทียบการเขียนแบบดั้งเดิม กับการอ่านออกเสียงแบบปัจจุบัน ตามการสะกดของภาษาฮังการีมาตรฐาน ดังนี้:
การเขียนแบบดั้งเดิม | การอ่านออกเสียงตามหลักสมัยใหม่ |
bb | b |
cz | c |
tz | c |
z | c |
ch | cs |
cz | cs |
č | cs |
ć | cs |
ts | cs |
csh | cs |
tsch | cs |
tzsch | cs |
chs | cs |
cy | cs |
ʟ | cs |
dd | d |
dsz | dz |
ds | dzs |
ff | f |
ph | f |
gh | g |
dgy | ggy |
dy | gy |
g | gy |
gi | gy |
gj | gy |
gʹ~g′ | gy |
ǵ | gy |
ġ | gy |
j | gy |
jj | j |
l | j |
y | j |
ck | k |
kh | k |
x | ks |
xy | ksz |
xz | ksz |
qu | kv |
ll | l |
l | ll |
w | lv |
j | ly |
l | ly |
li | ly |
ry | ly |
lly | ly |
′l(ʹl)~l′(lʹ)~ŀ | ly |
n | ny |
ni | ny |
nʹ~n′ | ny |
ń | ny |
ṅ | ny |
my | ny |
ph | p |
pp | p |
rh | r |
rr | r |
ꝛ | r |
sch | s |
ss | s |
ss | ssz |
s | sz |
sc | sz |
sy | sz |
z | sz |
th | t |
tt | t |
ti | ty |
tʹ~t′ | ty |
ṫ | ty |
ky | ty |
u | v |
w | v |
s | z |
s | zs |
ss | zs |
zy | zs |
['s] | zs |
การเขียนแบบดั้งเดิม | การอ่านตามหลักสมัยใหม่ |
a | á |
aa | á |
aá | á |
áh | á |
ä | e |
ae | e |
ai | e |
ay | e |
áe | é |
ái | é |
áy | é |
e | é |
ee | é |
eé | é |
éh | é |
i | í |
ié | í |
íh | í |
ii | í |
ií | í |
å | o |
o | ó |
óh | ó |
oo | ó |
oó | ó |
ua | ó |
â | ö |
åe | ö |
åi | ö |
åy | ö |
eö | ö |
ew | ö |
oe | ö |
oi | ö |
oy | ö |
eö | ő |
eő | ő |
ew | ő |
ia | ő |
ö | ő |
őh | ő |
öö | ő |
öő | ő |
óe | ő |
ói | ő |
óy | ő |
üa | ő |
u | ú |
úh | ú |
uó | ú |
uu | ú |
uú | ú |
ue | ü |
ui | ü |
uy | ü |
ü | ű |
űh | ű |
üő | ű |
üü | ű |
üű | ű |
úe | ű |
úi | ű |
úy | ű |
aë | aj |
aï | aj |
aÿ | aj |
ei | aj |
áë | áj |
áï | áj |
áÿ | áj |
åë | oj |
åï | oj |
åÿ | oj |
eu | oj |
oë | oj |
oï | oj |
oÿ | oj |
óë | ój |
óï | ój |
óÿ | ój |
au | uj |
uë | uj |
uï | uj |
uÿ | uj |
úë | új |
úï | új |
úÿ | új |
(g)y ~ gÿ | gi |
y | ji |
ý | jí |
(l)y ~ lÿ | (l)i |
(n)y ~ nÿ | (ny)i or (n)i |
(t)y ~ tÿ | ti |
โดยทั่วไปแล้ว ตัว y ในการเขียนแบบดั้งเดิมนั้น มักจะอ่านเป็น i ในการอ่านแบบปัจจุบัน (ตย..: Teleky, Rákóczy, Dézsy). ด้านล่างนี้คือตัวอย่างการอ่านด้วยหลักปัจจุบัน ที่มักจะมีการอ่านผิด เนื่องจากการสะกดที่ใช้หลักต่างจากปัจจุบัน มักพบในชื่อนามสกุล
ตัวอย่าง:
ชื่อ | การอ่านตามหลักสมัยใหม่ |
---|---|
Madách | Madács |
Széchenyi | Szécsényi หรือSzécsenyi |
Batthyány | Battyányi |
Gajdátsy | Gajdácsi |
Thököly | Tököli |
Weöres | Vörös |
Eötvös | Ötvös |
Kassay | Kassai |
Debrődy | Debrődi |
Karczagy | Karcagi |
Vörösmarty | Vörösmarti |
Cházár | Császár |
Czukor | Cukor |
Balogh | Balog |
Vargha | Varga |
Paal | Pál |
Gaál | Gál |
Veér | Vér |
Rédey | Rédei |
Soós | Sós |
Thewrewk | Török |
Dessewffy | Dezsőfi |
ตัวนำหน้านาม และ คำเชื่อม แบบดั้งเดิม
[แก้]ในอดีต การเรียนคำนำหน้านาม a/az มีหลักการเขียนดังนี้:
- คำว่า az ก่อนสระและ h เช่น az ember (คน), az híd (สะพาน) ปัจจุบันจะเขียนแบบนี้หน้าสระเท่านั้น
- ก่อนสระ — a': a' csillag (ดวงดาว) ปัจจุบันเขียนโดยไม่ใช้ดัวอาฟอสโตรฟี
มีการย่อคำว่า és (และ) ปัจจุบันจะย่อว่า s จะเขียนโดยใช้ตัวอาฟอสโตรฟีไว้ด้านหน้า เช่น ’s (เช่น föld ’s nép แผ่นดินและผู้คน)
การเรียงคำในพจนานุกรม
[แก้]ถึงแม้ว่าอักษรฮังการีจะแยกอักษรเสียงสั้น และ เสียงยาม ให้เป็นอักษรคนละตัว แต่ในเวลาที่มีการเรียงคำในพจนานุกรม หรือ อรรถาภิธาน จะนับให้อยู่ในหมวดเดียวกัน อาทิเช่น O/Ó และ Ö/Ő จะไม่มีการแยกกันเป็นคนละหมวด แต่ระหว่าง Ö และ O จะแยกหมวดกัน โดย O มาก่อน Ö
การเรียงคำคำเดียวกัน จะมีการเรียงอักษรที่ข้างหน้าเป็นพิมพ์เล็ก มาก่อนพิมพ์ใหญ่ ซึ่งเป็นชื่อเฉพาะ อาทิ varga ตามมาด้วยคำว่า Varga.)
The polygraphic consonant signs are treated as single letters.
comb | |
cukor | |
csak | <cs> มาหลัง <c> |
... | |
folyik | |
folyó | <ó> นับเป็นหมวดเดียวกับ <o> |
folyosó | |
... | |
fő | <ő> นับเป็นหมวดเดียวกับ <ö>, |
födém | แต่ <ö> ตามหลัง <o> |
... |
สระเสียงยาวบางคำเป็นการรวมกันของสระประสมสองตัวขึ้นไป เช่น <nny>, <ssz> จะนับการเรียงเป็น <ny>+<ny>, <sz>+<sz> เป็นต้น
- könnyű จะมีการเรียงคำเป็น <k><ö><ny><ny><ű>. tizennyolc จะมีการเรียงคำเป็น <t><i><z><e><n><ny><o><l><c>
- คำว่า házszám 'บ้านเลขที่' = ház (บ้าน) + szám (เลขที่) ไม่ได้มาจากคำว่า *házs + *zám จึงต้องเรียงคำเป็น <h><á><z><sz><á><m>
การเรียงแบบนี้ ทำให้การเรียงภาษาฮังการีตามหลักอัลกอริทึมโดยคอมพิวเตอร์นั้นทำได้ค่อนข้างยาก เป็นปัญหาใหญ่ในการพัฒนาซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์
แป้นพิมพ์ภาษาฮังการี
[แก้]แป้นพิมพ์ภาษาฮังการีมาตรฐานจะใช้ระบบแบบเยอรมัน (QWERTZ). ซึ่งทำให้มีพื้นที่พอที่รองรับอักษรภาษาฮังการีได้ทุกตัว
อักษร "Í" มักจะอยู่ด้านซ้ายของ spacebar และกินพื้นที่ของ shift อักษร "Ű" มักอยู่ด้านซ้ายของ backspace ทำให้เสียพื้นที่บางส่วนของ backspace ไป Ű มักถูกกดแทนที่ Enter บนแป้งภาษาฮังการีมีอักษรเยอรมัน "ß" และอักษร "Ł" ของภาษาโปแลนด์ แป้นฮังการีมาตรฐานสามารถเปลี่ยนเป็นสัญลักษณ์พิเศษได้ด้วยการกดปุ่ม Alt Gr (ต่างจากของภาษาไทยที่กดปุ่ม Shift)
อัตราการใช้ตัวอักษรแต่ละตัว
[แก้]อักษรที่พบมากที่สุดในภาษาฮังการี คือ e และ a[8]
ตารางด้านล่างแสดงอัตราการใช้อักษรฮังการีแต่ละตัว ตั้งแต่มากที่สุดไปหาน้อยที่สุด
ตัวอักษร | ความถี่ที่พบ |
---|---|
e | 12.256% |
a | 9.428% |
t | 7.380% |
n | 6.445% |
l | 6.383% |
s | 5.322% |
k | 4.522% |
é | 4.511% |
i | 4.200% |
m | 4.054% |
o | 3.867% |
á | 3.649% |
g | 2.838% |
r | 2.807% |
z | 2.734% |
v | 2.453% |
b | 2.058% |
d | 2.037% |
sz | 1.809% |
j | 1.570% |
h | 1.341% |
gy | 1.185% |
ő | 0.884% |
ö | 0.821% |
ny | 0.790% |
ly | 0.738% |
ü | 0.655% |
ó | 0.634% |
f | 0.582% |
p | 0.509% |
í | 0.499% |
u | 0.416% |
cs | 0.260% |
ű | 0.125% |
c | 0.114% |
ú | 0.104% |
zs | 0.021% |
dz | <0.010% |
dzs | <0.010% |
ty | <0.010% |
ไวยากรณ์ภาษาฮังการี
[แก้]ภาษาฮังการีเป็นภาษาคำติดต่อ (agglutinative language) เป็นภาษาที่ใช้หน่วยคำเติม (affix) จำนวนมาก โดยเฉพาะหน่วยคำเติมท้าย (suffix) หลังคำแต่ละคำในประโยค เพื่อเปลี่ยนความหมายของคำ รวมถึงใช้แสดงให้เห็นว่าคำคำนั้นมีหน้าที่ทางไวยากรณ์ใดในประโยค (เช่น เป็นประธาน, เป็นกรรม) โดยหน่วยคำเติมท้ายสามารถเปลี่ยนรูปไปได้หลายแบบเพื่อความไพเราะและความสะดวกในการออกเสียงตามหลักการสอดคล้องกลมกลืนของสระ (vowel harmony) ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับภาษาฮังการี
คำกริยาในภาษาฮังการีสามารถใช้วางหน่วยคำเติมไว้ด้านหน้าและด้านหลังเพื่อเปลี่ยนความหมายของคำกริยาได้ ซึ่งจะแสดงความชี้เฉพาะ (definiteness) ว่าเป็นคำกริยาที่เจาะจงการกระทำไปที่วัตถุใดวัตถุหนึ่งเป็นพิเศษ หรือการกระทำไม่ได้มีการเจาะจงว่าต้องเป็นวัตถุชิ้นนั้น ๆ, แสดงกาล (tense) ว่ากริยานี้เกิดขึ้นในอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต, แสดงบุรุษ (person) ว่าคำกริยานั้นมีใครเป็นประธาน (ฉัน เธอ เขา พวกฉัน พวกเธอ พวกเขา), แสดงมาลา (mood) ของคำกริยานั้น ๆ และแสดงพจน์หรือจำนวน (number) ได้
นามในภาษาฮังการีสามารถผันโดยใช้หน่วยคำเติมท้ายแสดงการก (case) ทั้งหมด 18 หน่วยคำ ส่วนใหญ่สอดคล้องกับคำบุพบทในภาษาอังกฤษ
รูปแบบการเรียงลำดับคำในประโยคของภาษาฮังการีนั้นไม่ได้มีการจำกัดไว้อย่างตายตัวอย่างภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษที่มีโครงสร้างแบบประธาน-กริยา-กรรม กำหนดไว้โดยหลักการทางภาษา โดยไม่สามารถสลับประธาน–กริยา–กรรมในประโยคได้ แตกต่างจากภาษาฮังการีซึ่งสามารถเรียงประโยคได้อย่างค่อนข้างอิสระ วางประธาน–กริยา–กรรมสลับกันได้ ภาษาฮังการีเป็นภาษาเน้นหัวข้อ (topic-prominent language) กล่าวคือ การเรียงลำดับคำในประโยคภาษาฮังการีจะเน้นไปที่หัวข้อ (topic) ในประโยคที่ผู้พูดอยากให้ความสำคัญในการสื่อสารเป็นหลัก การเรียงประโยคต่างกันก็จะมีการเน้นความสำคัญกับสิ่งที่ต้องการสื่อสารต่างกันไป
ลำดับคำ
[แก้]ประโยคภาษาฮังการีที่เป็นกลาง (ไม่มีการเน้นความสำคัญสิ่งใดในประโยคเลย) จะมีลำดับคำแบบประธาน–กริยา–กรรมเหมือนภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ภาษาฮังการีเป็นภาษาที่ไม่จำเป็นต้องระบุหัวเรื่องอย่างชัดเจน และไม่จำเป็นต้องมีการเรียงตามที่หลักภาษากำหนด แต่จะมีการเรียงตามลำดับความสำคัญของสิ่งที่ต้องการพูดในประโยคแทน โดยจะวางคำที่ต้องการให้เป็นจุดสำคัญของประโยคไว้หน้าคำกริยาแท้ (finite verb)
ประโยคฮังการีมักจะแบ่งได้เป็น 4 ส่วน ได้แก่ หัวข้อ (topic), จุดสำคัญ (focus), คำกริยา (verb) และข้อความส่วนที่เหลือ แต่ก็ไม่จำเป็นว่าในทุกประโยคจะต้องมีครบทั้งสี่อย่าง ในหนึ่งประโยค หัวข้อและข้อความส่วนที่เหลือจะมีกี่วลีก็ได้ แต่จุดสำคัญสามารถมีได้เพียงวลีเดียวเท่านั้น
การเน้นความสำคัญของคำในประโยค
[แก้]ตารางด้านล่างแสดงให้เห็นคุณสมบัติการเรียงคำแบบสลับกัน เพื่อเน้นความสำคัญของสิ่งที่ผู้พูดต้องการสื่อในภาษาฮังการี โดยประโยคด้านล่างมาจากประโยคที่เป็นกลางว่า János tegnap elvitt két könyvet Péternek. ("ยาโนชเอาหนังสือ 2 เล่มไปให้เปแตร์เมื่อวาน") ประโยคนี้มีวลีหลัก ๆ อยู่ 4 วลี ได้แก่ János ("ยาโนช" เป็นชื่อบุคคลชาย), Péternek ["เปแตร์" เป็นชื่อบุคคลชาย; -nek คือหน่วยคำเติมหลังที่แสดงว่าเป็นผู้ที่ประธาน (ยาโนช) เอาสิ่งของให้"], két könyvet ("หนังสือ 2 เล่ม"; ตัว -et ข้างหลังหมายความว่าหนังสือ 2 เล่มนี้เป็นกรรม) และ tegnap ("เมื่อวาน")
หัวข้อ | จุดสำคัญ | คำกริยา | ข้อความส่วนที่เหลือ | ความหมายพิเศษที่แฝงไว้ในประโยค | |
---|---|---|---|---|---|
János | tegnap | ∅ | elvitt | két könyvet Péternek. | ยาโนชเอาหนังสือสองเล่มไปให้เปแตร์เมื่อวานนี้ (กิจกรรมนี้เสร็จสมบูรณ์แล้วและไม่มีการเน้นอะไรในประโยคเป็นพิเศษ) |
János | tegnap | két könyvet | vitt el | Péternek. | สิ่งที่ยาโนชเอาไปให้เปแตร์เมื่อวานนี้คือ หนังสือ 2 เล่ม โดยเน้นว่าสิ่งที่เอาไปให้คือหนังสือ 2 เล่มจริง ๆ |
János | ∅ | tegnap | vitt el | két könyvet Péternek. | เมื่อวานนี้ คือเวลาที่ยาโนชเอาหนังสือสองเล่มไปให้เปแตร์ |
∅ | ∅ | János | vitt el | tegnap két könyvet Péternek. | ยาโนช คือคนที่เอาหนังสือไปให้เปแตร์เมื่อวานนี้ |
∅ | ∅ | Péternek | vitt el | tegnap János két könyvet. | เปแตร์ คือคนที่ยาโนชเอาหนังสือไปให้เมื่อวานนี้ |
János | tegnap | Péternek | vitt el | két könyvet. | เมื่อวานนี้ยาโนชหยิบหนังสือสองเล่มมาให้กับเปแตร์โดยเฉพาะ ไม่ได้เอาไปให้ใครอื่น |
∅ | ∅ | ∅ | Elvitt | János tegnap két könyvet Péternek. | ยาโนชเอาหนังสือสองเล่มไปให้เปแตร์เมื่อวานนี้ (การดำเนินการเสร็จสิ้นและตอนนี้หนังสืออยู่ที่บ้านของเปแตร์แล้ว) |
Két könyvet | tegnap | ∅ | elvitt | János Péternek. | ยาโนชเอาหนังสือสองเล่มไปให้เปแตร์ (บางทีอาจเอาของอย่างอื่นไปให้เขาด้วย อย่างไรก็ตามหนังสือทั้งสองเล่มอาจไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุด ตัวอย่างเช่น ยาโนชอาจทิ้งเอกสารของเปแตร์ไว้ที่บ้าน) |
∅ | ∅ | Két könyvet | vitt el | János tegnap Péternek. | ยาโนชเอาเพียงหนังสือ 2 เล่มไปให้เปแตร์ โดยไม่ได้เอาอย่างอื่นไปให้ด้วย |
ถ้าในประโยคใดมีจุดสำคัญปรากฏอยู่ หน่วยคำเติมหน้า (prefix) ที่อยู่หน้าคำกริยา เช่น el ใน elvitt จะย้ายไปอยู่ด้านหลังคำกริยาแทน กล่าวคือ พูดหรือเขียนเป็น vitt el แทนที่จะเป็น elvitt นับเป็นคุณสมบัติของภาษาฮังการีโดยเฉพาะ ปัญหาก็คือว่า ในกรณีประโยคนั้นใช้คำกริยาที่ไม่มีหน่วยคำเติมหน้า หากมีคำคำหนึ่งเรียงอยู่หน้าคำกริยา ก็จะเกิดความกำกวมว่าคำคำนั้นเป็นหัวข้อหรือเป็นจุดสำคัญ เช่นในประโยค Éva szereti a virágokat. ("เอวอชอบดอกไม้") คำว่า Éva ("เอวอ" เป็นชื่อบุคคลหญิง) อาจเป็นหัวข้อของประโยค และประโยคนี้เป็นประโยคแบบไม่มีจุดสำคัญ หรือคำว่า Éva อาจเป็นจุดสำคัญของประโยคซึ่งเน้นประโยคนี้ว่า "เอวอคือคนที่ชอบดอกไม้ (และไม่ใช่คนอื่น)"
ประโยค | การตีความ |
---|---|
Éva szereti a virágokat. | เอวอชอบดอกไม้ |
Szereti Éva a virágokat. | เอวอชอบดอกไม้ (ถึงแม้คนอื่นอาจจะไม่คิดแบบนั้นก็ตาม) |
Éva szereti a virágokat. | เอวอชอบดอกไม้ (และไม่ใช่คนอื่นที่ชอบดอกไม้) |
Éva a virágokat szereti. | เอวอชอบดอกไม้ (และไม่ใช่อย่างอื่น) |
A virágokat Éva szereti. | คนที่ชอบดอกไม้ก็คือเอวอ (ไม่ใช่คนอื่น ส่วนคนอื่นอาจจะชอบอย่างอื่น) |
A virágokat szereti Éva. | สิ่งที่เอวอชอบคือดอกไม้ (และไม่ชอบอย่างอื่นแล้ว) |
ระบบหน่วยคำ
[แก้]ภาษาฮังการีเป็นภาษาคำติดต่อ ข้อมูลต่าง ๆ ในภาษาฮังการีนั้นเกือบทั้งหมดจะใช้หน่วยคำเติมท้ายในการบอกเล่า เช่น "อยู่บนโต๊ะ" = asztalon (หน่วยคำเติมท้ายบ่งบอกพื้นที่), เมื่อ 5 โมง = öt órakor (หน่วยคำเติมท้ายบ่งบอกเวลา) เป็นต้น แต่ก็ยังมีหน่วยคำเติมหน้าอยู่ 1 หน่วยคำ คือ leg- ซึ่งใช้บ่งบอกว่าสิ่งนี้คือที่สุด (superlative)
ตัวอย่างการวางหน่วยคำเติมท้ายในภาษาฮังการี
[แก้]ในภาษาฮังการี มีการใช้เสียงเฉพาะเจาะจง (case/preposition) ลงท้ายที่แตกต่างกันสำหรับคำสรรพนามแต่ละตัว มีอยู่ทั้งหมด 8 แบบ สำหรับคำสรรพนามบุรุษที่ 1, 2 และ 3 (ฉัน เธอ เขา พวกเรา พวกเธอ พวกเขา คุณ พวกคุณ) โดยสามารถต่อกับคำสรรพนามเพื่อเปลี่ยนเป็นกรรมของประโยค (accusative), ต่อคำปัจฉบท (postposition) เพื่อเปลี่ยนบุคคลที่พูดถึง, ต่อคำนามเพื่อเปลี่ยนเป็นกรรม แสดงความเป็นเจ้าของ หรือเปลี่ยนเป็นพหูพจน์, และต่อกับคำกริยา เพื่อเปลี่ยนประธานผู้กระทำ และเปลี่ยนคำกริยาให้เป็นแบบชี้เฉพาะหรือไม่ชี้เฉพาะ
คำสรรพนาม | คำปัจฉบท | คำนาม | คำกริยา | ส่วนมูลฐาน
ที่ใช้เติมข้างท้าย | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ประธาน | กรรม | + หน่วยคำเติมท้าย
แสดงบุคคล |
+ หน่วยคำเติมท้าย
แสดงบุคคล |
+ หน่วยคำเติมท้าย
แสดงความเป็นเจ้าของ |
กริยาปัจจุบัน
แบบไม่ชี้เฉพาะ |
กริยาปัจจุบัน
แบบชี้เฉพาะ | |
ผู้กระทำ
(เช่น ฉันตีเขา) |
ผู้ถูกกระทำ
(เช่น เขาตีฉัน) |
อยู่ที่ฉัน
(เช่น ปากกาอยู่ที่ฉัน) |
อยู่ข้างใต้ฉัน | หอพักของฉัน | ฉันเห็นมัน
(สิ่งไม่ชี้เฉพาะ เช่น หมาตัวหนึ่ง) |
ฉันเห็นมัน
(สิ่งชี้เฉพาะ เช่น หมาตัวนั้น) | |
én ("ฉัน") | engem | nálam | alattam | lakásom | látok | látom | -m โดยใช้สระเชื่อม -o/(-a)/-e/-ö หรือ -a/-eตามหลักการสอดคล้องกลมกลืนของสระ |
te ("เธอ") | téged | nálad | alattad | lakásod | látsz | látod | -d โดยใช้สระเชื่อม -o/(-a)/-e/-ö หรือ -a/-eตามหลักการสอดคล้องกลมกลืนของสระ |
ő ("เขา, มัน") | őt | nála | alatta | lakása | lát | látja | -a/-e |
mi ("พวกเรา") | minket | nálunk | alattunk | lakásunk | látunk | látjuk | -nk โดยใช้สระเชื่อม -u/-üตามหลักการสอดคล้องกลมกลืนของสระ |
ti ("พวกเธอ") | titeket | nálatok | alattatok | lakásotok | láttok | látjátok | -tok/-tek/-tök |
ők ("พวกมัน") | őket | náluk | alattuk | lakásuk | látnak | látják | -k |
สรรพนาม "คุณ, ท่าน"
(ทางการ) |
Maga ใช้สำหรับผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อย เช่น หัวหน้าพูดกับพนักงาน, คนแก่พูดกับเด็ก
Ön ใช้สำหรับผู้น้อยพูดกับผู้ใหญ่ เช่น พนักงานพูดกับหัวหน้า, เด็กพูดกับคนแก่ แต่หากสนิทกันแล้ว อาจเรียกกันโดยใช้คำสรรพนามที่ไม่เป็นทางการได้ |
||||||
Ön,
Maga ("คุณ") |
ÖntMagát | ÖnnélMagánál | Ön alattMaga alatt | az Ön lakásaa Maga lakása | Ön látMaga lát | Ön látjaMaga látja | (-a/-e) |
Önök,
Maguk ("พวกคุณ") |
ÖnöketMagukat | ÖnöknélMaguknál | Önök alattMaguk alatt | az Önök lakásaa Maguk lakása | Önök látnakMaguk látnak | Önök látjákMaguk látják | (-k) |
การใช้หน่วยคำเติมท้ายตามหลักการสอดคล้องกลมกลืนของสระ
[แก้]เปิด | กลาง | ปิด | ||
ต่ำ | a á | o ó | u ú | |
สูง | ปากไม่ห่อ | e é | i í | |
ปากห่อ | ö ő | ü ű |
การเลือกหน่วยคำเติมท้ายในการต่อหลังคำในภาษาฮังการี ต้องใช้หลักการสอดคล้องกลมกลืนของสระต่ำ (low vowel) และสระสูง (high vowel) และหน่วยคำเติมท้ายบางตัวก็ยังแยกระหว่างสระปากไม่ห่อ (unrounded vowel ประกอบด้วย e, é, i, í) กับสระปากห่อ (rounded vowel ประกอบด้วย ö, ő, ü, ű)
หน่วยคำเติมท้ายคำต่อท้ายทั้งหมดในภาษาฮังการีสำหรับการกระจายคำกริยา (ให้เป็นกริยาแบบชี้เฉพาะและกริยาแบบไม่ชี้เฉพาะ), สำหรับแสดงความเป็นเจ้าของ, สำหรับการต่อคำบุพบทเพื่อเปลี่ยนบุคคลที่พูดถึง, และคำต่อท้ายที่เป็นเจ้าของ มีรูปแบบการใช้โดยใช้ "เสียงสระ" ของคำในการตัดสินว่าจะใช้หน่วยคำเติมท้ายเสียงใดในการต่อ ซึ่งตามหลักภาษาฮังการีสามารถแบ่งสระได้เป็น 6 แบบ (สระต่ำ, สระสูง, สระเสียงยาว, สระเสียงสั้น, สระปากห่อ และสระปากไม่ห่อ)
หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ ฮังการีใหม่ ที่ Ethnologue (22nd ed., 2019)
ฮังการีเก่า ที่ Ethnologue (22nd ed., 2019) - ↑ Salminen, Tapani (2002). "Problems in the taxonomy of the Uralic languages in the light of modern comparative studies". Лингвистический беспредел: сборник статей к 70-летию А. И. Кузнецовой [Linguistic chaos: a collection of articles on the 70th anniversary of A. I. Kuznetsova]. Moscow: Izdatel'stvo Moskovskogo Universiteta. pp. 44–55. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-13.
- ↑ Michalove, Peter A. (2002). "The Classification of the Uralic Languages: Lexical Evidence from Finno-Ugric". Finnisch-Ugrische Forschungen. 57.
- ↑ Janhunen, Juha (2009). "Proto-Uralic—what, where and when?" (PDF). ใน Jussi Ylikoski (บ.ก.). The Quasquicentennial of the Finno-Ugrian Society. Suomalais-Ugrilaisen Seuran Toimituksia 258. Helsinki: Société Finno-Ougrienne. ISBN 978-952-5667-11-0. ISSN 0355-0230.
- ↑ Government of Croatia (October 2013). "Peto izvješće Republike Hrvatske o primjeni Europske povelje o regionalnim ili manjinskim jezicima" [Croatia's fifth report on the implementation of the European Charter for Regional and Minority Languages] (PDF) (ภาษาโครเอเชีย). Council of Europe. pp. 34–36. สืบค้นเมื่อ 18 March 2019.
- ↑ "Hungary". The World Factbook. Central Intelligence Agency. สืบค้นเมื่อ 8 October 2017.
- ↑ Benkő Loránd et al.: Etymologisches Wörterbuch des Ungarischen; Band I; PP. XVII–XVIII. Budapest: Akadémiai Kiadó, 1993.
- ↑ Campie, Trishia. "Letter Frequency Statistics". www.cryptogram.org. American Cryptogram Association. สืบค้นเมื่อ 2018-01-16.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Language articles citing Ethnologue 22
- หน้าที่มีสัทอักษรสากลไม่ระบุภาษา
- บทความที่ขาดแหล่งอ้างอิงเฉพาะส่วนตั้งแต่January 2019
- ภาษาฮังการี
- ตระกูลภาษายูรัล
- ภาษาในประเทศฮังการี
- ภาษาในประเทศโรมาเนีย
- ภาษาในประเทศสโลวาเกีย
- ภาษาในประเทศยูเครน
- ภาษาในประเทศเซอร์เบีย
- ภาษาในประเทศโครเอเชีย
- ภาษาในประเทศออสเตรีย
- ภาษาในประเทศสโลวีเนีย
- ภาษาประธาน–กรรม–กริยา
- บทความเกี่ยวกับ ภาษา ที่ยังไม่สมบูรณ์
- บทความเกี่ยวกับ ประเทศฮังการี ที่ยังไม่สมบูรณ์