ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาสิเลฏ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาสิเลฏ
Silôṭi
ꠍꠤꠟꠐꠤ สิลอฏิ
ศัพท์ "Silôṭi" ในอักษรสิเลฏินาครี
ออกเสียงsilɔʈi
ประเทศที่มีการพูดบังกลาเทศ
อินเดีย
ภูมิภาคภาคสิเลฏและหุบเขาบารัก[1]
ชาติพันธุ์ชาวสิเลฏ[2][3][4]
จำนวนผู้พูด10 ล้านคน  (2017)
ภาษาที่สอง: 1.5 ล้านคน (2017)[5][6]
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
ปรากฤต
ระบบการเขียนอักษรสิเลฏินาครี
อักษรเบงกอล–อัสสัม
รหัสภาษา
ISO 639-3syl
นักภาษาศาสตร์syl
Linguasphere59-AAF-ui
  ภูมิภาคที่ภาษาสิเลฏเป็นภาษาแม่
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาสิเลฏ (อักษรสิเลฏินาครี: ꠍꠤꠟꠐꠤ silɔʈi) เป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยันที่มีผู้พูดประมาณ 11 ล้านคน โดยหลักอยู่ในภาคสิเลฏ ประเทศบังกลาเทศ หุบเขาบารักกับอำเภอ Hojaiในรัฐอัสสัม และอำเภอตรีปุระเหนือกับUnakotiในรัฐตรีปุระ ประเทศอินเดีย[7][5] นอกจากนี้ ยังมีผู้พูดภาษาสิเลฏจำนวนหนึ่งในรัฐเมฆาลัย รัฐมณีปุระ และรัฐนาคาแลนด์ของประเทศอินเดีย และชุมชนพลัดถิ่นในสหราชอาณาจักร สหรัฐ และตะวันออกกลาง

มีการรับรู้อย่างหลากหลายว่าสิเลฏเป็นสำเนียงหนึ่งของภาษาเบงกอลหรือเป็นภาษาของตนเอง ในขณะที่นักภาษาศาสตร์ส่วนมากถือว่าเป็นภาษาอิสระ[8][9] บางส่วนพิจารณาอย่างผิด ๆ ว่าเป็นภาษาเบงกอลรูปแบบ"ผิดเพี้ยน"[10] และมีรายงานการเปลี่ยนภาษาจากสิเลฏไปเป็นเบงกอลมาตรฐานในบังกลาเทศ อินเดีย และชุมชนพลัดถิ่น[11]

ประวัติ

[แก้]

ภาษาสิเลฏเขียนด้วยอักษรเป็นของตนเองเรียกอักษรสิเลฏินาครี และมีงานวรรณกรรมเขียนด้วยอักษรนี้ไม่ต่ำกว่า 200 ปี อักษรนี้ต่างจากอักษรเบงกอลเพราะเป็นอักษรที่พัฒนามาจากอักษรไกถี หรืออักษรไมถิลีในรัฐพิหาร ส่วนใหญ่ใช้เขียนกวีนิพนธ์ทางศาสนา ในช่วงสงครามปลดปล่อย พ.ศ. 2514 หนังสือที่เขียนด้วยอักษรนี้ถูกทำลาย หลังจากที่บังกลาเทศได้รับเอกราช รัฐบาลใหม่พยายามสนับสนุนให้ใช้อักษรเบงกอล แต่ก็มีการต่อสู้เพื่อสิทธิของภาษาสิเลฏ ชาวสิเลฏิได้รณรงค์ให้ใช้ภาษาของตนเอง

การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์

[แก้]

มีผู้พูดภาษาสิเลฏราว 10 % ของประชากรบังกลาเทศ ใช้พูดในแถบแม่น้ำสุมาร์ ซึ่งอยู่ใกล้ชายแดนระหว่างบังกลาเทศและอินเดีย มีผู้พูดทั้งในบังกลาเทศ และบางส่วนในรัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย ทั่วโลกมีผู้ใช้ภาษานี้ราว 10 ล้านคน โดยอยู่ในบังกลาเทศ 8 ล้านคน นอกจากบังกลาเทศและอินเดียแล้ว ผู้พูดภาษานี้กลุ่มใหญ่อยู่ในสหราชอาณาจักร ชาวสิเลฏิอพยพไปสู่ลอนดอนมากในช่วง พ.ศ. 2503 – 2513 ชาวบริติชเชื้อสายบังกลาเทศในอังกฤษส่วนใหญ่พูดภาษาสิเลฏ มีผู้พูดภาษานี้ในสหรัฐด้วย

อ้างอิง

[แก้]
  1. Niharranjan Ray (Jan 1980). Bangalir Itihas (ภาษาเบงกอล). Vol. 2.
  2. Shahela Hamid (2011). Language Use and Identity: The Sylheti Bangladeshis in Leeds. pp.Preface. Verlag Peter Lang. Retrieved on 4 December 2020.
  3. (Simard, Dopierala & Thaut 2020:5)
  4. Tanweer Fazal (2012). Minority Nationalisms in South Asia: 'We are with culture but without geography': locating Sylheti identity in contemporary India, Nabanipa Bhattacharjee. pp.59–67.
  5. 5.0 5.1 Sylheti ที่ Ethnologue (22nd ed., 2019)
  6. "Ranked: The 100 Most Spoken Languages Around the World". Visual Capitalist. 15 February 2020. สืบค้นเมื่อ 15 July 2020.
  7. "Sylheti is an Indo-Aryan language spoken by about 11 million people in India and Bangladesh (Hammarström et al., 2017). Sylheti is an Eastern Indo-Aryan language, primarily spoken in the Sylhet division of Bangladesh, and in Barak valley, in Assam of the India and in the northern parts of the state of Tripura in India."(Mahanta & Gope 2018:81)
  8. "Along the linguistic continuum of eastern Indic languages, Sylheti occupies an ambiguous position, where it is considered a distinct language by many and also as a dialect of Bengali or Bangla by some others." (Mahanta & Gope 2018:81)
  9. "At the geographical extremes, Chittagonian, Sylheti, Mal Paharia, and Rohingya are so unintelligible to speakers of other dialects that they are almost universally considered by linguists to be separate languages on their own." (Khan 2018)
  10. "Sylheti is often dismissed as ‘slang’ or as a corrupted version of Bengali, even by some of its own speakers, for whom it is not a language in its own right." (Simard, Dopierala & Thaut 2020:4)
  11. "There is reported language shift in the Sylheti-speaking regions of Bangladesh and India, as well as in the diaspora with Bengali replacing Sylheti, as some parents do not speak Sylheti to their children, reducing the number of future Sylheti speakers." (Simard, Dopierala & Thaut 2020:5)

บรรณานุกรม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]

Hamid, Shahela (June 2005). A Study of Language Maintenance and Shift in the Sylheti Community in Leeds (PDF) (PhD). University of York. p. 307. สืบค้นเมื่อ 17 July 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]