ภาษาซาซัก
ภาษาซาซัก | |
---|---|
ประเทศที่มีการพูด | ประเทศอินโดนีเซีย |
ภูมิภาค | เกาะลมบก |
ชาติพันธุ์ | ชาวซาซัก |
จำนวนผู้พูด | 2.7 ล้านคน (2010)[1] |
ตระกูลภาษา | ออสโตรนีเซียน
|
ระบบการเขียน | อักษรบาหลี (ดัดแปลง),[2] อักษรละติน[3] |
รหัสภาษา | |
ISO 639-2 | sas |
ISO 639-3 | sas |
แผนที่ภาษาศาสตร์ของเกาะลมบกจากข้อมูลใน ค.ศ. 1981 พื้นที่ที่มีผู้พูดภาษาซาซักอยู่ในสีเขียว และผู้พูดภาษาบาหลีอยู่ในสีแดง |
ภาษาซาซัก เป็นภาษาที่พูดโดยชาวซาซักซึ่งอยู่ในเกาะลมบก ประเทศอินโดนีเซีย มีความใกล้เคียงกับภาษาบาหลีและภาษากัมเบอราในเกาะซุมบาวา แบ่งเป็น 5 สำเนียง[1][3]
- ซาซักเหนือ (กูโต-กูเต)
- ซาซักตะวันออกเฉียงเหนือ (เงโต-เงเต)
- ซาซักกลาง (เมโน-เมเน)
- ซาซักตะวันออก-กลาง ซาซักตะวันตก-กลาง (เงโน-เงเน)
- ซาซักใต้-กลาง (มรียัก-มรีกู)
ผู้พูด
[แก้]ผู้พูดภาษาซาซักคือชาวซาซักที่อาศัยอยู่บนเกาะลมบกที่อยู่ระหว่างเกาะบาหลี (ตะวันตก) กับเกาะซุมบาวา (ตะวันออก) ในจังหวัดนูซาเติงการาตะวันตก ประเทศอินโดนีเซีย โดยมีจำนวนผู้พูดประมาณ 2.7 ล้านคนใน ค.ศ. 2010 เกือบร้อยละ 85 ของประชากรบนเกาะลมบก[1] มีการใช้งานภาษาซาซักในระดับครอบครัวและหมู่บ้าน แต่ไม่ได้มีสถานะทางการ เนื่องด้วยภาษาอินโดนีเซีย ภาษาประจำชาติ เป็นภาษาสำหรับการศึกษา การปกครอง กาารรู้หนังสือ และการสื่อสารระหว่างเชื้อชาติ[4] ชาวซาซักไม่ได้เป็นเพียงกลุ่มชาติพันธุ์เดียวที่อาศัยอยู่บนเกาะลมบกเท่านั้น มีชาวบาหลีประมาณ 300,000 คนอาศัยอยู่ในบริเวณฝั่งตะวันตกของเกาะ และใกล้กับมาตารัม เมืองหลักของจังหวัด[5] ในเขตเมืองที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์มากกว่า เกิดการเปลี่ยนแปลงภาษาไปเป็นภาษาอินโดนีเซียบ้าง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบการสลับและปนรหัสมากกว่าละทิ้งภาษาซาซัก[4]
การจำแนกและภาษาที่เกี่ยวข้อง
[แก้]K. Alexander Adelaar นักภาษาศาสตร์สาขาออสโตรนีเซียน จัดให้ภาษาซาซักเป็นหนึ่งในกลุ่มภาษามลายู-ซุมบาวา (กลุ่มที่เขาระบุได้ตอนแรก) ของกลุ่มภาษามลายู-พอลินีเชียตะวันตกในเอกสารเมื่อ ค.ศ. 2005[6][7] ภาษาพี่น้องที่ใกล้ชิดกับภาษาซาซักที่สุดคือภาษาซุมบาวาและภาษาบาหลี ทั้งสามภาษารวมกันเป็นกลุ่มย่อยบาหลี-ซาซัก-ซุมบาวา[6] ทั้งกลุ่มย่อยบาหลี-ซาซัก-ซุมบาวา, มาเลย์อิก (รวมภาษามลายู, อินโดนีเซีย และมีนังกาเบา) และจาม (รวมภาษาอาเจะฮ์) ถูกรวมเข้าในสาขาของกลุ่มภาษามลายู-ซุมบาวา[7][6] ส่วนอีกสองสาขาคือซุนดาและมาดูรา[7] การจำแนกนี้จัดให้ภาษาชวาที่เคยถือว่าอยู่ในกลุ่มเดียวกัน อยู่ข้างนอกกลุ่มภาษามลายู-ซุมบาวา และตั้งอยู่ในอีกสาขาของกลุ่มภาษามลายู-พอลินีเชียตะวันตก[7]
อย่างไรก็ตาม บลัสต์ (2010) และ สมิธ (2017) ปฏิเสธข้อเสนอมลายู-ซุมบาวา โดยทั้งสองคนรวมกลุ่มภาษาบาหลี-ซาซัก-ซุมบาวาเข้าในกลุ่มย่อยสมมติ "อินโดนีเซียตะวันตก" ร่วมกับภาษาชวา มาดูรา ซุนดา ลัมปุง เกรตเตอร์บารีโต และเกรตเตอร์บอร์เนียวเหนือ[8][9]
ภาษากวิ ภาษาวรรณกรรมที่อิงจากภาษาชวาเก่า มีอิทธิพลต่อภาษาซาซักอย่างมาก[10] โดยมีการใช้ภาษานี้ในโรงละครหุ่นกระบอก กวี และเอกสารตัวเขียนซาซัก บางครั้งก็ใช้งานผสมกับภาษาซาซัก[10][2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Austin 2012, p. 231.
- ↑ 2.0 2.1 Austin 2010, p. 36.
- ↑ 3.0 3.1 ภาษาซาซัก ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
- ↑ 4.0 4.1 Austin 2010, p. 33.
- ↑ Austin 2010, p. 32.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 Shibatani 2008, p. 869.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 Adelaar 2005, p. 357.
- ↑ Blust 2010, p. 81-82.
- ↑ Smith 2017, p. 443, 456.
- ↑ 10.0 10.1 Austin 2010, p. 35.
บรรณานุกรม
[แก้]- Adelaar, Alexander (2005). "Malayo-Sumbawan". Oceanic Linguistics (ภาษาอังกฤษ). 44 (2): 356–388. doi:10.1353/ol.2005.0027. JSTOR 3623345. S2CID 246237112.
- Archangeli, Diana; Tanashur, Panji; Yip, Jonathan (2020). "Sasak, Meno-Mené Dialect". Journal of the International Phonetic Association (ภาษาอังกฤษ). 50 (1): 93–108. doi:10.1017/S0025100318000063. S2CID 150248301.
- Austin, Peter K. (2004). Clitics in Sasak, Eastern Indonesia. Linguistics Association of Great Britain Annual Conference (ภาษาอังกฤษ). Sheffield, United Kingdom.
- Austin, Peter K. (2010). "Reading the Lontars: Endangered Literature Practices of Lombok, Eastern Indonesia". Language Documentation and Description. 8: 27–48.
- Austin, Peter K. (2012). "Tense, Aspect, Mood and Evidentiality in Sasak, Eastern Indonesia". Language Documentation and Description (ภาษาอังกฤษ). 11: 231–251.
- Austin, Peter K. (2013). "Too Many Nasal Verbs: Dialect Variation in the Voice System of Sasak". NUSA: Linguistic Studies of Languages in and Around Indonesia (ภาษาอังกฤษ). 54: 29–46. hdl:10108/71804.
- Blust, Robert (2010). "The Greater North Borneo Hypothesis". Oceanic Linguistics (ภาษาอังกฤษ). 49 (1): 44–118. doi:10.1353/ol.0.0060. JSTOR 40783586. S2CID 145459318.
- Donohue, Mark (2007). "The Papuan Language of Tambora". Oceanic Linguistics (ภาษาอังกฤษ). 46 (2): 520–537. doi:10.1353/ol.2008.0014. JSTOR 20172326. S2CID 26310439.
- Goddard, Cliff (2005). The Languages of East and Southeast Asia: An Introduction (ภาษาอังกฤษ). Oxford University Press. ISBN 978-0-19-927311-9.
- PHOIBLE (2014). "Sasak Sound Inventory (PH)". ใน Steven Moran; Daniel McCloy; Richard Wright (บ.ก.). PHOIBLE Online (ภาษาอังกฤษ). Leipzig: Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology.
- Seifart, Frank (2006). "Orthography Development". ใน Jost Gippert; Nikolaus P. Himmelmann; Ulrike Mosel (บ.ก.). Essentials of Language Documentation (ภาษาอังกฤษ). Berlin: Walter de Gruyter. pp. 275–300. ISBN 9783110197730.
- Shibatani, Masayoshi (2008). "Relativization in Sasak and Sumbawa, Eastern Indonesia" (PDF). Language and Linguistics (ภาษาอังกฤษ). 9 (4): 865–916.
- Smith, Alexander D. (2017). "The Western Malayo-Polynesian Problem". Oceanic Linguistics (ภาษาอังกฤษ). 56 (2): 435–490. doi:10.1353/ol.2017.0021. JSTOR 26408513. S2CID 149377092.
- Wouk, Fay (1999). "Sasak Is Different: A Discourse Perspective on Voice". Oceanic Linguistics (ภาษาอังกฤษ). 38 (1): 91–114. doi:10.2307/3623394. JSTOR 3623394.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Online Dictionary Sasak language - English
- David Goldsworthy's collection of Music of Indonesia and Malaysia archived with Paradisec includes open access recordings in Sasak.