ภาษามาลากาซี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษามาลากาซี
malagasy
ประเทศที่มีการพูดประเทศมาดากัสการ์
มายอต
ชาติพันธุ์ชาวมาลากาซี
จำนวนผู้พูด25 ล้านคน  (2015)[1]
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรละติน (ชุดตัวอักษรมาลากาซี)
อักษรซูราเบ (อดีต)
อักษรเบรลล์มาลากาซี
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการธงของประเทศมาดากัสการ์ มาดากัสการ์
รหัสภาษา
ISO 639-1mg
ISO 639-2mlg
ISO 639-3mlgรหัสรวม
รหัสเอกเทศ:
xmv – Antankarana
bhr – Bara
buc – Bushi
msh – Masikoro
bmm – Northern Betsimisaraka
plt – Plateau Malagasy
skg – Sakalava
bzc – Southern Betsimisaraka
tdx – Tandroy-Mafahaly
txy – Tanosy
tkg – Tesaka
xmw – Tsimihety
Linguasphere31-LDA-a
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด
ผู้หญิงที่พูดภาษามาลากาซี

ภาษามาลากาซี (มาลากาซี: Malagasy, ออกเสียง [maləˈɡasʲ]) เป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนที่เป็นภาษาประจำชาติของประเทศมาดากัสการ์ ภาษามาลากาซีเป็นภาษากลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซียทางตะวันตกสุด ซึ่งมีที่มาจากชาวออสโตรนีเซียที่อาศัยอยู่ที่หมู่เกาะซุนดาช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 ภาษานี้มีคำยืมจำนวนมากจากภาษามลายูและภาษาชวา ซึ่งมีมาตั้งแต่การตั้งถิ่นฐานของชาวออสโตรนีเซียช่วงแรกและการค้าระหว่างมาดากัสการ์กับหมู่เกาะซุนดา[2] หลังประมาณ ค.ศ. 1000 ภาษามาลากาซียืมคำจากกลุ่มภาษาบันตูและภาษาอาหรับจากผู้ตั้งถิ่นฐานและผู้ค้าจำนวนมากมาใช้

ในอดีต ภาษามาลากาซีเคยเขียนด้วยอักษรซูราเบซึ่งเป็นอักษรที่พัฒนาจากอักษรอาหรับ หลังจากนั้นในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 มิชชันนารีจากตะวันตกนำอักษรละตินมาใช้งาน

คุณสมบัติทางไวยากรณ์[แก้]

มาลากาซีมีวากยสัมพันธ์ดังนี้ กริยา-กรรม-ประธาน

การเน้นเสียงจะเน้นที่พยางค์รองสุดท้าย ยกเว้นในคำที่ลงท้ายด้วย ka, tra หรือ na ซึ่งจะเน้นที่พยางค์ก่อนรองสุดท้าย พยางค์ที่ไม่เน้นมักจะถูกลด (elision) ฉะนั้น fanorona (ฟาโนโรนา การละเล่นพื้นเมืองของสาดากัสการ์) จะอ่านว่า [fa'nurn] ("ฟะนูร์น") และ Malagasy จะอ่านว่า "มาลกาช" ซึ่งตรงกับชื่อภาษาฝรั่งเศสของภาษามาลากาซี คือ Malgache

อ้างอิง[แก้]

  1. Mikael Parkvall, "Världens 100 största språk 2007" (The World's 100 Largest Languages in 2007), in Nationalencyklopedin
  2. Otto Chr. Dahl, Malgache et Maanjan: une comparaison linguistique, Egede-Instituttet Avhandlinger, no. 3 (Oslo: Egede-Instituttet, 1951), p. 13.

ข้อมูล[แก้]

  • Biddulph, Joseph (1997). An Introduction to Malagasy. Pontypridd, Cymru. ISBN 978-1-897999-15-8.
  • Houlder, John Alden, Ohabolana, ou proverbes malgaches. Imprimerie Luthérienne, Tananarive 1960.
  • Hurles, Matthew E.; และคณะ (2005). "The Dual Origin of the Malagasy in Island Southeast Asia and East Africa: Evidence from Maternal and Paternal Lineages". American Journal of Human Genetics. 76 (5): 894–901. doi:10.1086/430051. PMC 1199379. PMID 15793703.
  • Ricaut et al. (2009) "A new deep branch of eurasian mtDNA macrohaplogroup M reveals additional complexity regarding the settlement of Madagascar", BMC Genomics.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]