ข้ามไปเนื้อหา

ภาษากวางตุ้ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษากวางตุ้ง
ภาษาเยฺว่
粵語 / 粤语
廣東話 / 广东话
Yuhtyúh (เยฺว่) ในอักษรจีนตัวเต็ม (ซ้าย) และอักษรจีนตัวย่อ (ขวา)
ภูมิภาคมณฑลกวางตุ้ง, มณฑลกว่างซี, มณฑลไหหลำตะวันตก, ฮ่องกง และมาเก๊า
ชาติพันธุ์ชาวกวางตุ้ง
ชาวไถชาน
จำนวนผู้พูด84 ล้านคน  (2020)[1]
ตระกูลภาษา
จีน-ทิเบต
ภาษาถิ่น
Siyi (รวมTaishanese)
รหัสภาษา
ISO 639-3yue
Linguasphere79-AAA-m
ภาษาเยฺว่
อักษรจีนตัวเต็ม粵語
อักษรจีนตัวย่อ粤语
เยลกวางตุ้งYuhtyúh
ความหมายตามตัวอักษร'ภาษาของเยฺว่'
ภาษากวางตุ้ง
อักษรจีนตัวเต็ม廣東話
อักษรจีนตัวย่อ广东话
เยลกวางตุ้งGwóngdūng wá
ความหมายตามตัวอักษร'คำพูดกว่างตง'

ภาษากวางตุ้ง (ชาวจีนเรียกว่า 粵 เยฺว่ Yuè หรือ ยฺหวืด Jyut6) เป็นหนึ่งในภาษาของตระกูลภาษาจีน ผู้พูดส่วนใหญ่อยู่ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน บริเวณมณฑลแถบตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งได้แก่ มณฑลกวางตุ้ง เขตบริหารพิเศษฮ่องกง มาเก๊า และยังใช้มากในหมู่ของชาวจีนแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับเหล่าชาวจีนโพ้นทะเลทั่วโลกที่อพยพไปจากมณฑลกวางตุ้งอีกด้วย โดยที่สำเนียงกวางเจาจัดเป็นสำเนียงกลางของภาษากวางตุ้ง มีผู้พูดทั่วโลกราวๆ 71 ล้านคน[2] ซึ่งภาษากวางตุ้งจัดได้ว่าเป็นภาษาถิ่นอันดับหนึ่งของจีนที่คนพูดมากที่สุด และเป็นภาษาที่ใช้ทางการเป็นอันดับสอง รองลงมาจากภาษาจีนกลางที่เป็นภาษาราชการหลักของประเทศ

ประวัติ

[แก้]

ในยุคโบราณ เขตมณฑลกวางตุ้งปัจจุบันมีชาวฮั่นอาศัยอยู่น้อย การอพยพเข้ามาของชาวฮั่นเริ่มขึ้นในสมัยราชวงศ์ฮั่น ภาษาจีนของชาวฮั่นได้ผสมผสานเข้ากับภาษาของชาวพื้นเมือง สมัยราชวงศ์สุ่ยภาคกลางของจีนเกิดสงครามบ่อย ชาวจีนฮั่นจำนวนมากจึงอพยพลงใต้ คาดว่าช่วงนี้เป็นช่วงที่ภาษากวางตุ้งเริ่มพัฒนาขึ้นมา ในสมัยราชวงศ์ถัง การอพยพของชาวจีนเข้าสู่กวางตุ้งยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีบางส่วนกระจายไปยังพื้นที่ใกล้เคียงคือมณฑลกวางสี ในยุคนี้ ภาษากวางตุ้งได้รับอิทธิพลจากภาษาจีนในภาคกลาง เริ่มมีการจัดมาตรฐาน แต่ในเวลาเดียวกันก็มีการพัฒนาคำศัพท์ และลักษณะเฉพาะของตนขึ้นมา

ในสมัยราชวงศ์ซ้อง หงวนและหมิง ภาษากวางตุ้งเริ่มมีเอกลักษณ์ของตนที่ต่างจากภาษาจีนอื่นๆ ชัดเจนมากขึ้น ช่วงปลายสมัยราชวงศ์ชิง เมืองกวางโจวเป็นเมืองท่าที่ติดต่อกับต่างชาติ มีชาวต่างชาติเรียนภาษากวางตุ้ง และใช้ภาษากวางตุ้งในการค้าขาย

ตั้งแต่ พ.ศ. 2492 เป็นต้นมา ผู้พูดภาษากวางตุ้งส่วนใหญ่พูดภาษาจีนกลางด้วย โดยใช้ภาษาจีนกลางเป็นภาษาราชการและใช้ภาษากวางตุ้งเป็นภาษาในชีวิตประจำวัน ในฮ่องกงใช้ภาษากวางตุ้งเป็นภาษาในภาพยนตร์และใช้ในการติดต่อธุรกิจกับชาวจีนโพ้นทะเล ปัจจุบันภาษานี้ยังใช้ในการศึกษาและใช้กันในฮ่องกงและในหมู่ชาวจีนโพ้นทะเล การแพร่หลายของส่อที่ใช้ภาษากวางตุ้งจากฮ่องกง ทำใหมีคำยืมจากภาษากวางตุ้งแพร่ไปสู่ภาษาจีนสำเนียงอื่นๆด้วย

การกระจายตัวของผู้พูดภาษาจีนสำเนียงต่าง ๆ (จากบนลงล่าง) จีนกลาง (官话; Mandarin), จิ้น (晋方言; Jin), อู๋ (吴语; Wu), ฮุย (徽语; Hui), ก้าน (赣语; Gan), เซียง (湘; Xiang), หมิ่น (闽语 ; Min), แคะ หรือ ฮากกา (客家话; Hakka), ภาษากวางตุ้ง (粵语; Yue), ภาษากวางตุ้งสำเนียงกว่างซี (平话; Ping)

สำเนียง

[แก้]

สำเนียงที่สำคัญมี 4 สำเนียงคือ สำเนียง Yuehai ใช้พูดในกวางโจว ฮ่องกง และมาเก๊า สำเนียงไถ่ซาน ใช้พูดในไชน่าทาวน์ในสหรัฐก่อน พ.ศ. 2513 สำเนียง Gaoyan ใช้พูดใน Yanjiang และสำเนียง Guinan ใช้พูดในกวางสี โดยทั่วไป สำเนียงที่สำคัญที่สุดคือ สำเนียง Yuehai

สัทวิทยา

[แก้]

แม้ว่าภาษาจีนกลางจะเป็นภาษามาตรฐานและเป็นภาษากลางในจีนและไต้หวัน ภาษากวางตุ้งยังคงเป็นภาษาหลักของชาวจีนโพ้นทะเลรวมทั้งในฮ่องกง ซึ่งเป็นเพราะว่าผู้อพยพเหล่านี้ออกจากกวางตุ้งไปก่อนที่ภาษาจีนกลางจะเข้ามามีอิทธิพล หรือมิฉะนั้นก็เป็นเพราะในฮ่องกงมิได้ใช้ภาษาจีนกลางอย่างสมบูรณ์

ภาษากวางตุ้งเป็นภาษาที่มีลักษณะอนุรักษนิยมมากกว่าภาษาจีนกลาง เช่นมีเสียงตัวสะกดมากกว่า แต่ภาษากวางตุ้งก็ไม่มีวรรณยุกต์บางเสียง และรวมบางเสียงเข้าด้วยกัน

สำเนียงไถ่ซานที่ใช้พูดในสหรัฐปัจจุบันถือเป็นสำเนียงที่มีลักษณะอนุรักษนิยมมากกว่าสำเนียงที่ใช้พูดในกวางโจวและฮ่องกง โดยยังคงรักษาคำที่ขึ้นต้นด้วยเสียง /n-/ ซึ่งผู้พูดภาษากวางตุ้งที่เกิดในฮ่องกงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เปลี่ยนเป็นเสียง /l-/ และไม่มีคำที่ขึ้นต้นด้วยเสียง /ŋ-/ ตัวอย่างเช่น ngàuh nām เป็น àuh lām

ระบบเสียงของภาษากวางตุ้งต่างจากภาษาจีนกลางที่ใช้พยางค์ต่างกันเป็นส่วนใหญ่ ชุดของเสียงวรรณยุกต์ก็ต่างกัน ภาษากวางตุ้งมีวรรณยุกต์ 6-7 เสียง มีความต่างของเสียงวรรณยุกต์ระหว่างคำเป็นและคำตาย ในขณะที่ภาษาจีนกลางมีวรรณยุกต์ 5 เสียง ภาษากวางตุ้งยังคงมีเสียงตัวสะกดหลายเสียง เช่นเดียวกับภาษาฮากกาและภาษาจีนฮกเกี้ยน คือ /-m/, /-n/, /-ŋ/, /-p/, /-t/, /-k/ ส่วนภาษาจีนกลางมีเพียงเสียง /-n/, /-ŋ/ อย่างไรก็ตามระบบเสียงสระของภาษาจีนกลางมีลักษณะอนุรักษนิยมมากกว่าโดยยังคงมีเสียงสระประสมบางเสียงที่หายไปแล้วในภาษากวางตุ้ง

ระบบการเขียน

[แก้]

โดยทั่วไปเขียนด้วยอักษรจีนแบบเดียวกับภาษาจีนกลางแต่อ่านออกเสียงแบบภาษากวางตุ้ง มีการพัฒนาระบบการเขียนของภาษากวางตุ้งโดยเฉพาะในฮ่องกง มีการใช้อักษรที่แปลกไปจากภาษาจีนกลาง

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]