ภาษาอีโลกาโน
ภาษาอีโลกาโน | |
---|---|
Ilokano | |
Iloko, Iluko, Pagsasao nga Ilokano, Samtoy, Sao mi ditoy | |
ประเทศที่มีการพูด | ประเทศฟิลิปปินส์ |
ภูมิภาค | ลูซอนเหนือ ลูซอนกลางหลายพื้นที่ (ตาร์ลักเหนือ, จังหวัดนูเวบาเอซีฮา จังหวัดซัมบาเลสตอนเหนือ และจังหวัดเอาโรรา) และเขตโซกซาร์เจนบางส่วนในเกาะมินดาเนา |
ชาติพันธุ์ | ชาวอีโลกาโน |
จำนวนผู้พูด | 8.1 ล้านคน (2015)[1] ผู้พูดภาษาที่สอง 2 ล้านคน (2000)[2] เป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากเป็นอันับ 3 ของประเทศฟิลิปปินส์[3] |
ตระกูลภาษา | ออสโตรนีเซียน
|
ระบบการเขียน | อักษรละติน (ชุดตัวอักษรอีโลกาโน), อักษรเบรลล์อีโลกาโน อดีต: อักษรไบบายิน |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ | จังหวัดลาอูนยอน[4] |
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน | ฟิลิปปินส์ |
ผู้วางระเบียบ | Komisyon sa Wikang Filipino |
รหัสภาษา | |
ISO 639-2 | ilo |
ISO 639-3 | ilo |
Linguasphere | 31-CBA-a |
พื้นที่ที่มีผู้พูดภาษาอีโลกาโนจากข้อมูลของ Ethnologue[5] บริเวณที่เป็นแถบคือชุมชนที่สามารถพูดภาษาอีโลกาโน-Itnegในจังหวัดอาบรา | |
ภาษาอีโลกาโน (อักษรโรมัน: Ilokano, /iːloʊˈkɑːnoʊ/;[6] อีโลกาโน: Pagsasao nga Ilokano) เป็นภาษาที่มีผู้พูดมากเป็นลำดับสามในประเทศฟิลิปปินส์ เป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนซึ่งใกล้เคียงกับภาษาอินโดนีเซีย ภาษามลายู ภาษาฟีจี ภาษามาวรี ภาษาฮาวาย ภาษามาลากาซี ภาษาซามัว ภาษาตาฮีตี ภาษาชามอร์โร ภาษาเตตุน และภาษาไปวัน
ระบบการเขียน
[แก้]อักษรสมัยใหม่
[แก้]อักษรอีโลกาโนสมัยใหม่ประกอบด้วย 28 ตัวอักษร:[7]
Aa Bb Cc Dd Ee Ff Gg Hh Ii Jj Kk Ll Mm Nn Ññ NGng Oo Pp Qq Rr Ss Tt Uu Vv Ww Xx Yy Zz
ตัวอย่างจากสองระบบ
[แก้]ตัวอย่างข้างล่างนี้มาจากคำอธิษฐานขององค์พระผู้เป็นเจ้าสองฉบับ โดยฉบับด้านซ้ายใช้อักขรวิธีฐานภาษาสเปน ส่วนฉบับด้านขวาใช้อักขรวิธีฐานภาษาตากาล็อก
|
|
ไวยากรณ์
[แก้]ภาษาอีโลกาโนมีรากศัพท์และการลงวิภัติปัจจัยที่ซับซ้อน มีทั้งเติมข้างหน้า ตรงกลางและท้ายคำ รวมถึงการซ้ำบางส่วนของคำด้วย ตัวอย่างเช่น รากศัพท์ของคำว่าอาบน้ำคือ digos ผันได้เป็น Agdigos = อาบน้ำ Agdigdigos = การอาบน้ำ Agdigdigosak = กำลังอาบน้ำ Agindidigosak = แกล้งทำเป็นอาบน้ำ Nagdigosak = อาบน้ำแล้ว
คำสรรพนาม
[แก้]การกสมบูรณ์ | การกเกี่ยวพัน | การกกรรม | ||
---|---|---|---|---|
อิสระ | ภายใน (-ak) | ภายใน (-ko | อิสระ | |
บุรุษที่ 1 เอกพจน์ | siák | -ak | -k (o) | kaniák |
บุรุษที่ 1 ทวิพจน์ | datá, sitá | -ta | -ta | kadatá |
บุรุษที่ 2 เอกพจน์ | siká | -ka | -m (o) | kenká |
บุรุษที่ 3 เอกพจน์ | isú (na) | -Ø | -na | kenkuána |
บุรุษที่ 1 พหูพจน์ รวมผู้ฟัง | datayó, sitayó | -tayó | -tayó | kadatayó |
บุรุษที่ 1 พหูพจน์ ไม่รวมผู้ฟัง | dakamí, sikamí | -kamí | -mi | kadakamí |
บุรุษที่ 2 พหูพจน์ | dakayó, sikayó | -kayó | -yo | kadakayó |
บุรุษที่ 3 พหูพจน์ | isúda | -da | -da | kadakuáda |
คำสรรพนามรูปสมบูรณ์แบ่งเป็น 2 รูปคือรูปสมบูรณ์และรูปภายใน รูปสมบูรณ์จะไม่เชื่อมต่อกับคำอื่น ส่วนรูปภายในจะต่อท้ายคำอื่นเช่น
- Siák' ti gayyem ni Juan = ฉันคือเพื่อนของฮวน
- Dakamí ti napan idiay Laoag = นั่นคือเราผู้ไปยัง Laoag
Gumatgatangak iti saba = ฉันกำลังซื้อกล้วย Agawidkayonto kadi intono Sabado? = พวกคุณทั้งหมดจะกลับบ้านวันเสาร์ใช่ไหม คำสรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของต่อกับคำนามที่เป็นเจ้าของหรือคำกริยาเพื่อแสดงการกเกี่ยวข้อง คำสรรพนาม -mo และ -ko ถูกลดลงเหลือ-m และ -k เมื่อตามหลังสระ เข่น
- Napintas ti balaymo = บ้านของคุณสวย
- Ayanna daydiay asok = หมาของฉันอยู่ที่ไหน
- Basbasaenda ti diario = พวกเขากำลังอ่านหนังสือพิมพ์
สรรพนามรูปกรรมมักใช้แสดงความหมายเพื่อหรือสำหรับใครบางคน เช่น
- Intedna kaniak = เขาให้มันแก่ฉัน
- Imbagan kaniana = คุณบอกเธอ!
คำยืม
[แก้]คำศัพท์ภาษาอีโลกาโนใกล้เคียงกับภาษาในเกาะบอร์เนียว คำยืมจากภาษาอื่นได้แก่ ภาษาสเปน ภาษาจีนฮกเกี้ยน ภาษาอาหรับและภาษาสันสกฤต ตัวอย่างเช่น
คำ | ที่มา | ความหมายเดิม | ความหมายในภาษาอีโลกาโน |
---|---|---|---|
arak | ภาษาอาหรับ | เครื่องดื่มคล้ายไวน์ | เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั่วไป |
karma | ภาษาสันสกฤต | กรรม | สปิริต |
Sanglay | ภาษาจีนฮกเกี้ยน | ส่งสินค้า | ส่งสินค้า/พ่อค้าจีน |
agbuldos | ภาษาอังกฤษ | ขู่เข็ญ | ขู่เข็ญ |
kuarta | ภาษาสเปน | เหรียญทองแดง | เงิน |
kumusta | ภาษาสเปน | เป็นอย่างไรบ้าง | เป็นอย่างไรบ้าง |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Mikael Parkvall, "Världens 100 största språk 2007" (The World's 100 Largest Languages in 2007), in Nationalencyklopedin
- ↑ Rubino (2000)
- ↑ Philippine Census, 2000. Table 11. Household Population by Ethnicity, Sex and Region: 2000
- ↑ Elias, Jun (19 September 2012). "Iloko La Union's official language". Philippine Star. สืบค้นเมื่อ 24 September 2012.
- ↑ Ethnologue. "Language Map of Northern Philippines". ethnologue.com. Ethnologue. สืบค้นเมื่อ 7 December 2015.
- ↑ Bauer, Laurie (2007). The Linguistics Student's Handbook. Edinburgh: Edinburgh University Press.
- ↑ Komisyon sa Wikang Filipino (2012). Tarabay iti Ortograpia ti Pagsasao nga Ilokano. Komisyon sa Wikang Filipino. p. 25.
บรรณานุกรม
[แก้]- Rubino, Carl (1997). Ilocano Reference Grammar (วิทยานิพนธ์ PhD). University of California, Santa Barbara.
- Rubino, Carl (2000). Ilocano Dictionary and Grammar: Ilocano-English, English-Ilocano. University of Hawai'i Press. ISBN 0-8248-2088-6.
- Vanoverbergh, Morice (1955). Iloco Grammar. Baguio, Philippines: Catholic School Press/Congregation of the Sacred Heart of Mary.