ข้ามไปเนื้อหา

มณฑลฝูเจี้ยน

พิกัด: 25°54′N 118°18′E / 25.9°N 118.3°E / 25.9; 118.3
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มณฑลฝูเจี้ยน

福建省
การถอดเสียงชื่อมณฑล
 • ภาษาจีน福建省 (Fújiàn Shěng)
 • อักษรย่อFJ / หมิ่น ( Mǐn, ฮกเกี้ยน: Bân)
 • ภาษาฮกเกี้ยนHok-kiàn
 • สำเนียงฝูโจวHók-gióng
ทัศนียภาพของทิวเขาอู่อี๋
ทัศนียภาพของทิวเขาอู่อี๋
แผนที่แสดงที่ตั้งของมณฑลฝูเจี้ยน
แผนที่แสดงที่ตั้งของมณฑลฝูเจี้ยน
พิกัด: 25°54′N 118°18′E / 25.9°N 118.3°E / 25.9; 118.3
ตั้งชื่อจากฝู ( ): ฝูโจว
เจี้ยน ( Jiàn): เจี้ยนโจว
เมืองหลวงฝูโจว
เมืองใหญ่สุดเซี่ยเหมิน
จำนวนเขตการปกครอง9 จังหวัด, 85 อำเภอ[1], 1107 ตำบล[1]
การปกครอง
 • เลขาธิการพรรคยฺหวี เหว่ย์กั๋ว (于伟国)
 • ผู้ว่าการถัง เติงเจี๋ย (唐登杰)
พื้นที่[2]
 • ทั้งหมด121,400 ตร.กม. (46,900 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 23
ความสูงจุดสูงสุด2,158 เมตร (7,080 ฟุต)
ประชากร
 (ค.ศ. 2017)[3]
 • ทั้งหมด38,565,000 คน
 • อันดับอันดับที่ 17
 • ความหนาแน่น320 คน/ตร.กม. (820 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 14
ประชากรศาสตร์
 • องค์ประกอบทางชาติพันธุ์ฮั่น – 98%
เชอ – 1%
หุย – 0.3%
 • ภาษาและภาษาถิ่นภาษาจีนหมิ่น (ได้แก่ ภาษาฮกเกี้ยน, สำเนียงฝูโจว), ภาษาจีนกลาง, ภาษาจีนฮักกา
รหัส ISO 3166CN-FJ
GDP (ค.ศ. 2018)3.58 ล้านล้านเหรินหมินปี้
540.78 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[4] (อันดับที่ 10)
 • ต่อหัว92,830 เหรินหมินปี้
14,022 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 6)
HDI (ค.ศ. 2014)0.758[5] (สูง) (อันดับที่ 11)
เว็บไซต์www.fujian.gov.cn

มณฑลฝูเจี้ยน หรือ มณฑลฮกเกี้ยน (จีน: 福建省 Fujian) เป็นมณฑลชายฝั่งทะเลที่อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของจีน อาณาเขตทางภาคเหนือติดกับมณฑลเจ้อเจียง ภาคใต้ติดกับมณฑลกวางตุ้ง ภาคตะวันออกติดกับช่องแคบไต้หวัน

ชื่อฝูเจี้ยนมาจากอักษรนำหน้าชื่อเมืองสองเมืองรวมกันคือฝูโจวและเจี้ยนโอว ชื่อนี้ได้รับการตั้งในสมัยราชวงศ์ถัง

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

มณฑลฝูเจี้ยนมีพื้นที่ติดต่อดังนี้

ภาษาถิ่น

[แก้]

เนื่องจากฝูเจี้ยนเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐประชาชนจีน ภาษาราชการจึงเป็นภาษาจีนกลางโดยใช้ตัวอักษรจีนแบบย่อ อย่างไรก็ดีฝูเจี้ยนมีภาษาถิ่นมากมาย เช่นเดียวกับมณฑลอื่น ๆ ในจีนใต้ ภาษาถิ่นของมณฑลฝูเจี้ยนเป็นภาษาในกลุ่มหมิ่นทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยภาษาจีนท้องถิ่น 7 ภาษาคือ ภาษาหมิ่นเบ่ย ภาษาหมิ่นตง ภาษาหมิ่นจง ภาษาหมิ่นหนาน ภาษาผู่เสี้ยน ภาษาส่าวเจี้ยง และภาษาฉุงเหวิน 6 ภาษาแรกใช้ในมณฑลฝูเจี้ยน ส่วนภาษาฉุงเหวินนั้นไม่ได้ใช้ในมณฑลฝูเจี้ยน แต่ใช้ในมณฑลไห่หนานแทน

คนไทยมักจะเรียกภาษาหมิ่นหนานว่าภาษาจีนฮกเกี้ยน ส่วนภาษาฉุงเหวินนั้นคนไทยมักจะเรียกว่าภาษาไหหลำ

เมืองสำคัญ

[แก้]

เมืองหลวงคือเมืองฝูโจว ซึ่งอยู่บนฝั่งแม่น้ำหมินเจียง เมืองที่สำคัญอื่น ๆ ได้แก่

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

สาธารณรัฐประชาชนจีนได้ควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของมณฑล และแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 เขตการปกครองระดับจังหวัด โดยทั้งหมดมีฐานะเป็นนครระดับจังหวัด (มีนครระดับกิ่งมณฑลด้วย)

เขตการปกครองของมณฑลฝูเจี้ยน
เทศมณฑลจินเหมิน และเทศมณฑลเหลียนเจียง (คีมอย และหมาจู่) ปกครองโดย ไต้หวัน แต่อ้างสิทธิ์โดย จีน รายละเอียดดังนี้
  1. ไต้หวัน ส่วนใหญ่ของเทศมณฑลจินเหมินจีน เป็น อำเภอจินเหมิน จังหวัดเฉวียนโจว
  2. ไต้หวัน ส่วนใหญ่ของเทศมณฑลเหลียนเจียงจีน ส่วนหนึ่งของ อำเภอเหลียนเจียง จังหวัดฝูโจว
  3. ไต้หวัน ตำบลจู่กวาง (เกาะตงจู่ และเกาะซีจู่) เทศมณฑลเหลียนเจียง → จีน ส่วนหนึ่งของ เขตฉางเล่อ จังหวัดฝูโจว
  4. ไต้หวัน ตำบลอูชิว (เกาะอูชิว) เทศมณฑลจินเหมิน → จีน ส่วนหนึ่งของ เมืองเหมย์โจว เขตซิ่วยฺหวี่ จังหวัดผูเถียน
  5. ไต้หวัน เกาะตงติ้ง เมืองจินหู เทศมณฑลจินเหมิน → จีน ส่วนหนึ่งของ เขตหลงไห่ จังหวัดจางโจว

รหัสเขตการปกครอง[6] ชื่อ พื้นที่ (ตร.กม.)[7] ประชากรปี 2010[8] ศูนย์กลางการปกครอง เขตการปกครองย่อย[9]
เขต อำเภอ นครระดับอำเภอ
350000 มณฑลฝูเจี้ยน 121400.00 36,894,217 นครฝูโจว 29 44 12
350100 นครฝูโจว 12155.46 7,115,369 เขตกู่โหลว 6 6 1
350200 นครเซี่ยเหมิน 1699.39 3,531,347 เขตซือหมิง 6
350300 นครผูเถียน 4119.02 2,778,508 เขตเฉิงเซียง 4 1
350400 นครซานหมิง 22928.79 2,503,388 เขตเหมย์เลี่ย 2 9 1
350500 นครเฉวียนโจว 11245.00 8,128,533 เขตเฟิงเจ๋อ 4 5* 3
350600 นครจางโจว 12873.33 4,809,983 เขตหลงเหวิน 2 8 1
350700 นครหนานผิง 26280.54 2,645,548 เขตเจี้ยนหยาง 2 5 3
350800 นครหลงหยาน 19028.26 2,559,545 เขตซินหลัว 2 4 1
350900 นครหนิงเต๋อ 13452.38 2,821,996 เขตเจียวเฉิง 1 6 2
  มีฐานะเป็นนครระดับกิ่งมณฑลด้วย

* - นับรวมอำเภอจินเหมินด้วย


อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 These are the official PRC numbers from 2009 Fujian Statistic Bureau. Quemoy is included as a county and Matsu as a township.
  2. "Doing Business in China - Survey". Ministry Of Commerce - People's Republic Of China. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 5, 2013. สืบค้นเมื่อ 5 August 2013.
  3. "Communiqué of the National Bureau of Statistics of People's Republic of China on Major Figures of the 2010 Population Census [1] (No. 2)". National Bureau of Statistics of China. เมษายน 29, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 27, 2013. สืบค้นเมื่อ 4 August 2013.
  4. 福建省2017年国民经济和社会发展统计公报 (ภาษาจีน). Fujian Bureau of Statistics. 2018-02-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 22, 2018. สืบค้นเมื่อ 2018-06-22.
  5. "China National Human Development Report 2016" (PDF). United Nations Development Programme. p. 146. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ January 7, 2017. สืบค้นเมื่อ 2017-12-05.
  6. 中华人民共和国县以上行政区划代码 (ภาษาจีนตัวย่อ). Ministry of Civil Affairs. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 2, 2015. สืบค้นเมื่อ December 11, 2015.
  7. Shenzhen Statistical Bureau. 《深圳统计年鉴2014》 (ภาษาจีนตัวย่อ). China Statistics Print. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 12, 2015. สืบค้นเมื่อ 2015-05-29.
  8. Census Office of the State Council of the People's Republic of China; Population and Employment Statistics Division of the National Bureau of Statistics of the People's Republic of China (2012). 中国2010人口普查分乡、镇、街道资料 (1 ed.). Beijing: China Statistics Print. ISBN 978-7-5037-6660-2.
  9. Ministry of Civil Affairs (August 2014). 《中国民政统计年鉴2014》 (ภาษาจีนตัวย่อ). China Statistics Print. ISBN 978-7-5037-7130-9.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]