ภาษาชูวัช
ภาษาชูวัช | |
---|---|
Чӑвашла, Čăvašla | |
ออกเสียง | /ʨəʋaʂˈla/ |
ประเทศที่มีการพูด | รัสเซีย |
ภูมิภาค | สาธารณรัฐชูวัช |
จำนวนผู้พูด | 1,330,000 คน (2545) (ไม่พบวันที่) |
ตระกูลภาษา | เตอร์กิก
|
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ | สาธารณรัฐชูวัช (รัสเซีย) |
รหัสภาษา | |
ISO 639-1 | cv |
ISO 639-2 | chv |
ISO 639-3 | chv |
ภาษาชูวัช (ภาษาชูวัช: Чӑвашла, Čăvašla, สัทอักษร: [ʨəʋaʂ'la]; อาจสะกดเป็น Chăvash, Chuwash, Chovash, Chavash, Çuvaş หรือ Çuaş) เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิก ใช้พูดในบริเวณเทือกเขายูรัลทางตอนกลางของรัสเซีย เป็นภาษาราชการของสาธารณรัฐชูวัชในประเทศรัสเซีย มีผู้พูดราว 2 ล้านคน เขียนด้วยอักษรซีริลลิก ภาษาที่มีอิทธิพลต่อภาษาชูวัชได้แก่ ภาษาตาตาร์ ภาษากลุ่มฟินโน-อูกริก ภาษารัสเซีย ภาษามารี ภาษามองโกเลีย ภาษาอาหรับ และภาษาเปอร์เซีย
แต่โบราณ ภาษาชูวัชเขียนด้วยอักษรออร์คอน เปลี่ยนเป็นอักษรอาหรับเมื่อเข้ารับอิสลาม เมื่อถูกยึดครองโดยมองโกเลีย ระบบการเขียนได้หายไป อักษรแบบใหม่ถูกประดิษฐ์ขึ้นโดย อีวาน ยาคอฟเลวิช ยาคอฟเลฟ ใน พ.ศ. 2416 จน พ.ศ. 2481 จึงเปลี่ยนมาเขียนด้วยอักษรซีริลลิก
ประวัติ[แก้]
ภาษาชูวัชเป็นภาษาแตกต่างจากภาษากลุ่มเตอร์กิกอื่นๆมากและไม่สามารถเข้าใจได้กับผู้พูดภาษากลุ่มเตอร์กิกอื่นๆคาดว่าภาษาแม่ของภาษานี้ที่ใช้พูดโดยชาวบุลการ์ในยุคกลางแตกต่างจากภาษากลุ่มเตอร์กิกสมัยใหม่อื่นๆและจัดเป็นภาษาพี่น้องของภาษาเตอร์กิกดั้งเดิมมากกว่าจะเป็นภาษาลูกหลาน ภาษาที่ใกล้เคียงที่สุดคือภาษาฮันนิกที่เป็นภาษาตายไปแล้ว ก่อนหน้านี้มีนักวิจารณ์เสนอว่าภาษาชูวัชไม่ใช่ภาษากลุ่มเตอร์กิกแต่เป็นกลุ่มภาษาฟินโน-ยูกริกที่ถูกทำให้เป็นแบบภาษากลุ่มเตอร์กิก[1]

ระบบการเขียน[แก้]
ปัจจุบัน[แก้]
พ.ศ. 2416 - 2481[แก้]
อักษรสำหรับภาษาชูวัชสมัยใหม่ปรับปรุงขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2416 โดยอีวาน ยาคอฟเลวิช ยาคอฟเลฟ[2]
а | е | ы | и/і | у | ӳ | ӑ | ӗ | й | в | к | л | љ | м | н | ԡ | њ | п | р | р́ | с | ҫ | т | т ̌ | ђ | х | ш |
ใน พ.ศ. 2481 จึงปรับเปลี่ยนมาสู่รูปแบบที่ใช้ในปัจจุบัน
ระบบก่อนหน้านี้[แก้]
ระบบการเขียนที่เก่าแก่ที่สุดคืออักษรออร์คอนซึ่งหายสาบสูญไปเมื่อบริเวณนี้ได้รับอิทธิพลจากศาสนาอิสลามโดยหันมาใช้อักษรอาหรับแทน เมื่อชาวมองโกลรุกรานเข้ามา การเขียนจึงหยุดชะงักจนถึงสมัยซาร์ปีเตอร์มหาราช ชาวชูวัชต้องใช้ภาษารัสเซียในการศึกษา
สัทวิทยา[แก้]
พยัญชนะ[แก้]
พยัญชนะในภาษาชูวัชประกอบไปด้วย /p/ (п), /t/ (т), /k/ (к), /t͡ɕ/ (ч), /ʂ/ (ш), /ɕ/ (ҫ), /χ/ (х), /ʋ/ (в), /m/ (м), /n/ (н), /l/ (л), /r/ (р), /j/ (й)
สระ[แก้]
Front | Back | |||
---|---|---|---|---|
ไม่ห่อลิ้น | ห่อลิ้น | ไม่ห่อลิ้น | ห่อลิ้น | |
สูง | i ‹и› | y ‹ӳ› | ɯ ‹ы› | u ‹у› |
ต่ำ | e ‹е› | ø̆ ‹ӗ› | а ‹а› | ŏ ‹ӑ› |
สำเนียง[แก้]
ภาษาชูวัชมีสองสำเนียงคือสำเนียงวิรยัลหรือสำเนียงบน (มีเสียง o และ u) กับสำเนียงอนาตรีหรือสำเนียงล่าง (ไม่มีเสียง o ใช่เสียง u แทน) ภาษาเขียนขึ้นกับทั้งสำเนียงบนและสำเนียงล่าง ภาษาตาตาร์และกลุ่มภาษาฟินนิกมีอิทธิพลต่อภาษาชูวัชเช่นเดียวกับภาษารัสเซีย ภาษามารี ภาษามองโกเลีย ภาษาอาหรับและภาษาเปอร์เซีย
ไวยากรณ์[แก้]
ภาษาชูวัชเป็นภาษารูปคำติดต่อ มีปัจจัยจำนวนมากแต่ไม่มีอุปสรรค คำคำหนึ่งอาจมีปัจจัยจำนวนมากและใช้ปัจจัยเพื่อสร้างคำใหม่ได้ หรือใช้เพื่อแสดงหน้าที่ทางไวยากรณ์ของคำคำนั้น
นามและคุณศัพท์[แก้]
คำนามภาษาชูวัชจะมีการลงท้ายเพื่อบอกบุคคลและความเป็นเจ้าของ มีปัจจัยของนามทั้งสิ้น 6 การก
กริยา[แก้]
คำกริยาของภาษาชูวัชแสดงบุคคล กาล มาลาและจุดมุ่งหมาย
การเปลี่ยนเสียงสระ[แก้]
เป็นหลักการที่พบได้ทั่วไปในรากศัพท์ของภาษาชูวัช ภาษาชูวัชแบ่งสระเป็นสองแบบคือสระหน้าและสระหลัง การเปลี่ยนเสียงสระอยู่บนหลักการว่าในคำคำหนึ่งจะไม่มีทั้งสระหลังและสระหน้าอยู่ด้วยกัน
คำประสมถือว่าเป็นคำเอกเทศคำหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนเสียงสระ แต่จะไม่ใช้การเปลี่ยนเสียงสระกับคำยืมจากภาษาอื่น และมีคำดั้งเดิมในภาษาชูวัชบางคำไม่เป็นไปตามกฎการเปลี่ยนเสียงสระ
การเรียงคำ[แก้]
เป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา
ตัวเลข[แก้]
- 1 - pĕrre, per
- 2 - ikkĕ, ik
- 3 - vishshĕ, vish
- 4 - tăvattă, tavat
- 5 - pillĕk, pilek
- 6 - ulttă, ulta
- 7 - shichchĕ, shich
- 8 - sakkăr, sakar
- 9 - tăhhăr, tahar
- 10 - vunnă, vun
- 11 - vunpĕr
- 12 - vunikkĕ
- 13 - vunvishshĕ
- 14 - vuntăvattă
- 15 - vunpillĕk
- 16 - vunulttă
- 17 - vunshichchĕ
- 18 - vunsakkăr
- 19 - vuntăhhăr
- 20 - shirĕm, sirem
- 30 - vătăr, vatar
- 40 - hĕrĕh, hereh
- 50 - allă, alla
- 60 - utmăl, utmal
- 70 - shitmĕl, shitmel
- 80 - sakărvunnă, sakarvun
- 90 - tăhărvunnă, taharvun
- 100 - shĕr, ser
- 1000 - pin, pin
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Encyclopædia Britannica (1997)
- ↑ "Telegram to the Chairman of the Simbirsk Soviet". สืบค้นเมื่อ 30 August 2010.