ภาษาครีโอลเฮติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาครีโอลเฮติ
Kreyòl ayisyen
ออกเสียง[kɣejɔl ajisjɛ̃]
ประเทศที่มีการพูดประเทศเฮติ
จำนวนผู้พูด9.6 ล้านคน  (2007)[1]
ตระกูลภาษา
ครีโอลฝรั่งเศส[2]
  • ฝรั่งเศสรอบแคริบเบียน[3]
    • ภาษาครีโอลเฮติ
ระบบการเขียนลาติน (อักษรครีโอลเฮติ)
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ เฮติ
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองในธงของประเทศบาฮามาส บาฮามาส[4]
ธงของประเทศคิวบา คิวบา[4]
ธงของสาธารณรัฐโดมินิกัน สาธารณรัฐโดมินิกัน[4]
 สหรัฐ[4]
ผู้วางระเบียบAkademi Kreyòl Ayisyen[5]
รหัสภาษา
ISO 639-1ht
ISO 639-2hat
ISO 639-3hat
Linguasphere51-AAC-cb
ที่ตั้งของประเทศเฮติ
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด
ผู้พูดภาษาครีโอลเฮติ บันทึกในสหรัฐ

ภาษาครีโอลเฮติ (ครีโอลเฮติ: Kreyòl ayisyen[6]; ฝรั่งเศส: Créole haïtien; อังกฤษ: Haitian Creole) เป็นภาษาครีโอลที่ได้รับอิทธิพลส่วนใหญ่มาจากภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้ยังได้รับอิทธิพลจากภาษาโปรตุเกส ภาษาสเปน ภาษาอังกฤษ ภาษาตาอีโน และภาษาต่าง ๆ ในแถบแอฟริกาตะวันตก[7]โดยมีผู้พูดประมาณกว่า 10–12 ล้านคนทั่วโลก ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นชาวเฮติ[8][9][10]

ก่อนช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาครีโอลเฮติเป็นภาษาที่มีการใช้กันในวงจำกัด[8] โดยประเด็นเกี่ยวกับการใช้และการเรียนการสอนภาษาครีโอลเฮติซึ่งเป็นภาษาที่ชาวฝรั่งเศสไม่สามารถเข้าใจได้เป็นประเด็นที่มีการโต้เถียงกันมาแล้วตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เนื่องจากชาวเฮติบางคนมองว่าภาษาฝรั่งเศสเป็นอิทธิพลของพวกล่าอาณานิคม และชนชั้นสูงในฝรั่งเศสมักดูถูกภาษาครีโอลเฮติว่าเปรียบเสมือนภาษาฝรั่งเศสของคนที่ไร้การศึกษาหรือคนยากจน[11]

ภาษาครีโอลเฮติเป็นภาษาที่มีการใช้กันในวงจำกัด การเรียนการสอนในโรงเรียนส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นหลัก โดยก่อนหน้านี้เมื่อปี พ.ศ. 2521 ก็เคยมีการเสนอให้ใช้ภาษาครีโอลเฮติในการเรียนการสอนในสี่ปีแรกของชั้นประถมศึกษา แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก[12] แต่ก็ส่งผลให้มีการใช้ภาษาครีโอลเฮติในวงกว้างขึ้นเล็กน้อย ปัจจุบันรัฐบาลเฮติได้พยายามขยายการใช้ภาษาครีโอลเฮติให้กว้างขึ้น รวมถึงปรับปรุงระบบการเรียนการสอนในโรงเรียนด้วย[13][14]

อ้างอิง[แก้]

  1. Mikael Parkvall, "Världens 100 största språk 2007" (The World's 100 Largest Languages in 2007), in Nationalencyklopedin
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Gurevich2004
  3. Nordhoff, Sebastian; Hammarström, Harald; Forkel, Robert; Haspelmath, Martin, บ.ก. (2013). "Haitian". Glottolog 2.2. Leipzig: Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Dufour, Fritz, บ.ก. (2017). "Exploring the Possibilities for the Emergence of a Single and Global Native Language". Language Arts & Disciplines. p. 4. สืบค้นเมื่อ 11 October 2020.
  5. "Cérémonie de lancement d'un partenariat entre le Ministère de l'Education Nationale et de la Formation Professionnelle et l'Académie Créole" (ภาษาฝรั่งเศส และ เฮติครีโอล). Port‑au‑Prince, Haiti: Government of the Republic of Haiti. 8 July 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 July 2015. สืบค้นเมื่อ 5 December 2015.
  6. Valdman, Albert (2002). "Creole: The National Language of Haiti". Footsteps. 2 (4): 36–39. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 July 2015.
  7. Bonenfant, Jacques L. (2011). "History of Haitian-Creole: From Pidgin to Lingua Franca and English Influence on the Language" (PDF). Review of Higher Education and Self-Learning. 3 (11). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 23 March 2015.
  8. 8.0 8.1 DeGraff, Michel; Ruggles, Molly (1 August 2014). "A Creole Solution for Haiti's Woes". The New York Times. p. A17. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 September 2015. Under the 1987 Constitution, adopted after the overthrow of Jean‑Claude Duvalier’s dictatorship, [Haitian] Creole and French have been the two official languages. But at least 95 percent of the population speaks only Creole.
  9. Léonidas, Jean-Robert (1995). Prétendus Créolismes: Le Couteau dans l'Igname [So‑Called Creolisms: The Knife in the Yam] (ภาษาฝรั่งเศส). Montréal: Editions du CIDIHCA. ISBN 978-2-920862-97-5. LCCN 95207252. OCLC 34851284. OL 3160860W.
  10. Nadeau, Jean-Benoît; Barlow, Julie (2008) [1st pub. 2006]. "Far from the Sun". The Story of French. New York: St. Martin's Press. p. 97. ISBN 978-0-312-34184-8. LCCN 2006049348. OCLC 219563658. There are more speakers of French-based Creoles than all other Creoles combined (including English), thanks mostly to Haiti, the biggest Creole-speaking nation in the world...
  11. DeGraff, Michel (2003). "Against Creole exceptionalism" (PDF). Language. 79 (2): 391–410. doi:10.1353/lan.2003.0114. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 29 July 2015.
  12. World Education Encyclopedia: A Survey of Educational Systems Worldwide. Detroit, MI: Gale Group. 2002. ISBN 978-0-02-865594-9.
  13. Daniel, Trenton (6 February 2013). "Haitian schools expand use of Creole language". US News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 July 2017.
  14. Hebblethwaite, Benjamin (2012). "French and underdevelopment, Haitian Creole and development" (PDF). Journal of Pidgin and Creole Languages. 27:2 (2): 255–302. doi:10.1075/jpcl.27.2.03heb. ISSN 0920-9034. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-07-27. สืบค้นเมื่อ 2018-10-18.

อ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]