ประเทศเอกวาดอร์
2°00′S 77°30′W / 2.000°S 77.500°W
สาธารณรัฐเอกวาดอร์ República del Ecuador (สเปน) Ikwadur Ripuwlika (เกชัว) Ekuatur Nunka (ชัวร์) | |
---|---|
ที่ตั้งของ ประเทศเอกวาดอร์ (เขียว) ในทวีปอเมริกาใต้ (เทา) | |
เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด | กีโต 00°13′12″S 78°30′43″W / 0.22000°S 78.51194°W |
ภาษาราชการ | สเปน[1] |
ภาษาพื้นเมือง | คิชวา (เกชัว), ชัวร์ และอื่น ๆ "มีการใช้งานอย่างเป็นทางการโดยชนพื้นเมืองในพื้นที่ที่พวกเขาอาศัยอยู่"[2] |
กลุ่มชาติพันธุ์ (ค.ศ. 2010[3]) |
|
ศาสนา |
|
การปกครอง | รัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบประธานาธิบดี |
ดานิเอล โนโบอา | |
เบโรนิกา อาบัด โรฆัส | |
สภานิติบัญญัติ | รัฐสภา |
เอกราช | |
• ประกาศ | 10 สิงหาคม ค.ศ. 1809 |
• จากสเปน | 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1822 |
• จากกรันโกลอมเบีย | 13 พฤษภาคม ค.ศ. 1830 |
• เป็นที่ยอมรับโดยสเปน | 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1840[6] |
21 ธันวาคม ค.ศ. 1945 | |
28 กันยายน ค.ศ. 2008 | |
พื้นที่ | |
• รวม | 283,561[1] ตารางกิโลเมตร (109,484 ตารางไมล์)a (อันดับที่ 73) |
5 | |
ประชากร | |
• ค.ศ. 2022 ประมาณ | 17,289,554[7] (อันดับที่ 71) |
• สำมะโนประชากร ค.ศ. 2022 | 18,048,628[8] |
69 ต่อตารางกิโลเมตร (178.7 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 148) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | ค.ศ. 2019 (ประมาณ) |
• รวม | 202.043 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ |
• ต่อหัว | 11,701 ดอลลาร์สหรัฐ[9] |
จีดีพี (ราคาตลาด) | ค.ศ. 2019 (ประมาณ) |
• รวม | 106.289 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ |
• ต่อหัว | 6,155 ดอลลาร์สหรัฐ[9] |
จีนี (ค.ศ. 2020) | 47.3[10] สูง |
เอชดีไอ (ค.ศ. 2021) | 0.740[11] สูง · อันดับที่ 95 |
สกุลเงิน | ดอลลาร์สหรัฐb (USD) |
เขตเวลา | UTC−5 / −6 (ECT / GALT) |
ขับรถด้าน | ขวามือ |
รหัสโทรศัพท์ | +593 |
โดเมนบนสุด | .ec |
|
เอกวาดอร์ (สเปน: Ecuador, ออกเสียง: [e.kwaˈðoɾ] ( ฟังเสียง); เกชัว: Ikwayur; ชัวร์: Ekuatur หรือ Ecuador)[12][13] หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐเอกวาดอร์ (สเปน: República del Ecuador, แปลว่า สาธารณรัฐตรงเส้นศูนย์สูตร; เกชัว: Ikwadur Ripuwlika; ชัวร์: Ekuatur Nunka)[14][15] เป็นประเทศทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้ มีอาณาเขตจรดประเทศโคลอมเบียทางทิศเหนือ จรดประเทศเปรูทางทิศตะวันออกและทิศใต้ และจรดมหาสมุทรแปซิฟิกทางทิศตะวันตก เอกวาดอร์ยังมีอำนาจอธิปไตยเหนือหมู่เกาะกาลาปาโกส (กลุ่มเกาะโกลอน) ในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งอยู่ห่างจากแผ่นดินใหญ่ไปทางตะวันตกประมาณ 1,000 กิโลเมตร (621 ไมล์) เมืองหลวงของประเทศคือกรุงกีโต[16][17]
ดินแดนที่เป็นประเทศเอกวาดอร์เคยเป็นถิ่นที่อยู่ของกลุ่มชนพื้นเมืองหลายกลุ่มซึ่งค่อย ๆ ถูกรวมเข้ากับจักรวรรดิอินคาในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ภูมิภาคนี้ตกเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิสเปนในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และได้รับเอกราชใน ค.ศ. 1820 ในฐานะส่วนหนึ่งของประเทศกรันโกลอมเบีย จากนั้นเอกวาดอร์จึงแยกตัวออกมาเป็นรัฐเอกราชใน ค.ศ. 1830 มรดกของจักรวรรดิทั้งสองสะท้อนให้เห็นอยู่ในหมู่ประชากรที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ของเอกวาดอร์ โดยส่วนใหญ่เป็นประชากรเลือดผสมหรือเมสติโซ รองลงมาเป็นชนกลุ่มน้อยเชื้อสายแอฟริกา ชนพื้นเมือง และยุโรป[3] ภาษาสเปนเป็นภาษาราชการและภาษาที่ประชากรส่วนใหญ่ใช้กัน[18] แต่ภาษาพื้นเมือง 13 ภาษาก็ได้รับการรับรองตามกฎหมาย รวมทั้งภาษาเกชัวและภาษาชัวร์
รัฐเอกราชเอกวาดอร์เป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนและเป็นประเทศกำลังพัฒนา[19] ที่มีรายได้ปานกลางและพึ่งพิงการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ (ได้แก่ ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร) เป็นอย่างสูง ประเทศนี้เป็นสมาชิกสหประชาชาติ องค์การนานารัฐอเมริกา ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง ที่ประชุมเพื่อความก้าวหน้าและการพัฒนาอเมริกาใต้ และขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด
เอกวาดอร์เป็นหนึ่งในสิบเจ็ดประเทศของโลกที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่ง[20][21] โดยมีพืชและสัตว์เฉพาะถิ่นหลายชนิดเช่นที่หมู่เกาะกาลาปาโกส เพื่อแสดงความตระหนักรู้ถึงมรดกทางนิเวศวิทยาอันเป็นเอกลักษณ์ดังกล่าว รัฐธรรมนูญเอกวาดอร์ฉบับ ค.ศ. 2008 จึงเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของโลกที่รับรองสิทธิของธรรมชาติหรือสิทธิของระบบนิเวศอันมีผลบังคับใช้ได้ตามกฎหมาย[22]
จากข้อมูลของศูนย์วิจัยทางเศรษฐกิจและนโยบายซึ่งตั้งอยู่ในสหรัฐ ในช่วง ค.ศ. 2006 ถึง 2016 ความยากจนในเอกวาดอร์ลดลงจากร้อยละ 36.7 เหลือร้อยละ 22.5 และการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัวต่อปีอยู่ที่ร้อยละ 1.5 (เทียบกับร้อยละ 0.6 ในช่วงสองทศวรรษก่อนหน้า) ในขณะเดียวกัน ดัชนีจีนีว่าด้วยความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจของประเทศก็ลดลงจาก 0.55 เหลือ 0.47[23]
การเมืองการปกครอง
[แก้]ฝ่ายบริหาร
[แก้]ประธานาธิบดีเป็นทั้งประมุขของรัฐและหัวหน้าคณะรัฐบาล และเป็นผู้แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ทั้งประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งในคราวเดียวกันในระบบคะแนนนิยม วาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี โดยสามารถดำรงตำแหน่งในวาระที่ 2 ติดต่อกันได้
ฝ่ายนิติบัญญัติ
[แก้]รัฐสภาเอกวาดอร์เป็นสภาเดี่ยว มีจำนวน 124 ที่นั่ง สมาชิกมาจากการเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อตามสัดส่วน วาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี
ฝ่ายตุลาการ
[แก้]ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
[แก้]เอกวาดอร์เน้นการดำเนินนโยบายต่างประเทศในกรอบพหุภาคี โดยเป็นสมาชิกองค์กรระหว่างประเทศต่าง ๆ ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก เน้นการพัฒนาความสัมพันธ์ทั้งในด้านการเมืองและเศรษฐกิจกับประเทศต่าง ๆ ทั้งในลาตินอเมริกา ยุโรป และเอเชียอย่างหลากหลาย เพื่อลดการพึ่งพาพันธมิตรเดิมอย่างสหรัฐซึ่งเป็นคู่ค้าหลักและเคยมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับเอกวาดอร์มาก่อนหน้านี้
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]ประเทศเอกวาดอร์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 24 จังหวัด (provincia) แต่ละจังหวัดมีเมืองหลวงเป็นของตนเอง โดยชื่อเมืองหลักอยู่ในวงเล็บ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Ecuador". The World Factbook. สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 18, 2011.
- ↑ "Constitución Política de la República del Ecuador". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 ตุลาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2014.
- ↑ 3.0 3.1 Población del país es joven y mestiza, dice censo del INEC. eluniverso.com. Data from the national census 2010 (2011-09-02)
- ↑ "INEC presenta por primera vez estadísticas sobre religión". Instituto Nacional de Estadisticas y Censos. 15 August 2012.
- ↑ "ECUADOR 2018 INTERNATIONAL RELIGIOUS FREEDOM REPORT" (PDF). According to a 2012 survey by the National Institute of Statistics and Census, the most recent government survey available, approximately 92 percent of the population professes a religious affiliation or belief. Of those, 80.4 percent is Roman Catholic; 11.3 percent evangelical Christian, including Pentecostals; and 1.3 percent Jehovah’s Witnesses. Seven percent belongs to other religious groups.
- ↑ España (1 มกราคม 1841). "Tratado de paz y amistad celebrado entre España y la República del Ecuador: en 16 de febrero de 1840". en la Imprenta Nacional. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2016. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2016 – โดยทาง Google Books.
- ↑ "Ecuador". The World Factbook (2024 ed.). Central Intelligence Agency. สืบค้นเมื่อ 24 September 2022. (Archived 2022 edition)
- ↑ "Instituto Ecuatoriano de Estadística y Censos (INEC)".
- ↑ 9.0 9.1 "Report for Selected Countries and Subjects: Ecuador GDP". Internatinal Monetary Fund.
- ↑ "Gini Index". World Bank. สืบค้นเมื่อ 14 September 2022.
- ↑ "Human Development Report 2021/2022" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). United Nations Development Programme. 8 September 2022. สืบค้นเมื่อ 8 September 2022.
- ↑ "Constitución de la República del Ecuador en Shuar". Issuu. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 เมษายน 2019. สืบค้นเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2019.
- ↑ "¡Iniuri seamkur!, Ayamrumamu nuyá Iniankasrik Ayamruma Papi" (PDF). INREDH. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2019. สืบค้นเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2019.
- ↑ "Chicham atiakur metek atin turakur, pénke takakainiachu tuke enentaimtusartiniaitji" (PDF). (in Shuar language). Secretaría Nacional de Planificación y Desarrollo. 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 20 December 2019.
- ↑ Pellizzaro, Siro M.; Nàwech, Fàusto Oswaldo (2003). Chicham: Dictionario Enciclopédico Shuar-Castellano. Wea Nekaptai.
- ↑ "Proyecciones Poblacionales". (in Spanish). National Institute of Statistics and Censuses (INEC). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 ตุลาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2020.
- ↑ "Quito se convirtió en la ciudad más poblada del Ecuador con más de 2,7 millones de habitantes en el 2018". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 มกราคม 2019. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2019.
- ↑ "Central America and Caribbean :: PAPUA NEW GUINEA". CIA The World Factbook. สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 9, 2016.
- ↑ "World Economic Outlook Database, April 2019". IMF.org. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 29 September 2019.
- ↑ "South America Banks on Regional Strategy to Safeguard Quarter of Earth's Biodiversity". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2007. สืบค้นเมื่อ 26 July 2012.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์), Conservation.org (16 September 2003). - ↑ "Oficialmente Ecuador es el país de las orquídeas- Noticias de Cuenca - Azuay - Ecuador - Eltiempo de Cuenca". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2014. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2014.
- ↑ "Ecuador Adopts New Constitution – With CELDF RIGHTS of NATURE Language". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2008. สืบค้นเมื่อ 30 September 2008.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help), Community Environmental Legal Defense Fund. Retrieved 7 September 2009. - ↑ "Decade of Reform: Ecuador's Macroeconomic Policies, Institutional Changes, and Results" (PDF). สืบค้นเมื่อ 17 January 2020.
- ประเทศเอกวาดอร์ เก็บถาวร 2011-07-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์กระทรวงต่างประเทศ
หนังสืออ่านเพิ่ม
[แก้]- Ades, H. and Graham, M. (2010) The Rough Guide to Ecuador, Rough Guides
- Becker, M. (2008) Indians and Leftists in the Making of Ecuador's Modern Indigenous Movements, Duke University Press Books
- Becker, M. and Clark, A. K. (2007) Highland Indians and the State in Modern Ecuador, University of Pittsburgh Press
- Blakenship, J. (2005) Cañar: A Year in the Highlands of Ecuador, University of Texas Press
- Brown, J. and Smith, J. (2009) Moon Guidebook: Ecuador and the Galápagos Islands, Avalon Travel Publishing
- Crowder, N. (2009) Culture Shock! Ecuador: A Survival Guide to Customs and Etiquette, Marshall Cavendish Corporation
- Gerlach, A. (2003) Indians, Oil, and Politics: A Recent History of Ecuador, SR Books
- Handelsman, M. H. (2008) Culture and Customs of Ecuador, Greenwood
- Hurtado, O. (2010) Portrait of a Nation: Culture and Progress in Ecuador, Madison Books
- O'Connor, E. (2007) Gender, Indian, Nation: The Contradictions of Making Ecuador, 1830–1925, University of Arizona Press
- Pineo, R. (2007) Ecuador and the United States: Useful Strangers, University of Georgia Press
- Roos, W. and Van Renterghem, O. (2000) Ecuador in Focus: A Guide to the People, Politics, and Culture, Latin America Bureau
- Sawyer, S. (2004) Crude Chronicles: Indigenous Politics, Multinational Oil, and Neoliberalism in Ecuador, Duke University Press Books
- Striffler, S. (2001) In the Shadows of State and Capital: The United Fruit Company, Popular Struggle, and Agrarian Restructuring in Ecuador – 1900–1995, Duke University Press Books
- Torre, C. de la and Striffler, S. (2008) The Ecuador Reader: History, Culture, Politics, Duke University Press Books
- Various (2010) Insight Guidebook: Ecuador & Galápagos, Insight Guides
- Various (2009) Lonely Planet Guide: Ecuador & the Galápagos Islands, Lonely Planet
- Whitten, N. E. (2011) Histories of the Present: People and Power in Ecuador, University of Illinois Press
- Whitten, N. E. (2003) Millennial Ecuador: Critical Essays on Cultural Transformations and Social Dynamics, University Of Iowa Press
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- President of Ecuador (สเปน)
- CIA Library Site: Chief of State and Cabinet Members เก็บถาวร 2008-12-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Ecuador entry at The World Factbook
- ประเทศเอกวาดอร์ ที่เว็บไซต์ Curlie
- Ecuador เก็บถาวร 2008-06-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at UCB Libraries GovPubs
- Ecuador profile from the BBC News
- Wikimedia Atlas of Ecuador
- ดูข้อมูลทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ ประเทศเอกวาดอร์ ที่โอเพินสตรีตแมป
- Rotary International in Ecuador