ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาขาริโพลี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ภาษาขรีโพลี)
ภาษาขาริโพลี
खड़ी बोली
ประเทศที่มีการพูดอินเดีย
ภูมิภาคอินเดียเหนือ
จำนวนผู้พูดประมาณ 240 ล้านคนเมื่อ พ.ศ. 2534 (180 ล้านคน ภาษาฮินดีมาตรฐาน และ 60 ล้านคน ภาษาอูรดู)  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรเทวนาครี, อักษรอาหรับ
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการธงของประเทศอินเดีย อินเดีย
ผู้วางระเบียบCentral Hindi Directorate (เฉพาะในอินเดีย)[1]
รหัสภาษา
ISO 639-1hi
ISO 639-2hin
ISO 639-3hin

ภาษาขาริโพลี หรือภาษาขาทิโพลี ภาษาขาทิ-โพลี หรือสำเนียงขารี (/ kʰəɽiː boːliː /; ภาษาฮินดี: खड़ी बोली; ภาษาอูรดู: كهڑى بولى, ตรงตัว "สำเนียงยืนพื้น")เป็นสำเนียงของภาษาฮินดีมีผู้พูดทางตะวันตกของรัฐอุตตรประเทศและเดลีในประเทศอินเดีย สำเนียงนี้เป็นสำเนียงมาตรฐานของภาษาอูรดูที่มีลักษณะทางภาษาศาสตร์ใกล้เคียงกับภาษาฮินดี

อิทธิพลในระยะแรก

[แก้]

บริเวณที่เป็นแหล่งกำเนิดของภาษาขาริโพลีอยู่ทางตะวันตกของรัฐอุตรประเทศซึ่งเป็นสำเนียงชาวบ้านเมื่อก่อนพ.ศ. 2300 บริเวณนี้เป็นบริเวณชายขอบของวัฒนธรรมอิสลามทางตะวันตกและตะวันออกจากเดลฮีและลุคนาว วรรณกรรมในบริเวณนี้ได้รับอิทธิพลจากภาษาเปอร์เซีย ภาษาตุรกีและภาษาอาหรับ อิทธิพลเหล่านี้ทำให้สำเนียงขาริโพลีพัฒนาขึ้นมา

บริเวณรอบๆเดลฮีเป็นศูนย์กลางอำนาจในอินเดียเหนือทำให้สำเนียงนี้ได้รับการยอมรับเหนือกว่าสำเนียงอื่นๆของภาษาฮินดี ในช่วงพ.ศ. 2400 ก่อนหนานั้นสำเนียงอื่นๆเช่นภาษาพรัชและภาษาอวธีเป็นสำเนียงที่ใช้ในวรรณกรรม

วรรณคดี

[แก้]

วรรณคดียุคแรกๆดูได้จากผลงานของกานีร์และอานีร์ ขุสโร วรรณคดีที่มีพัฒนาการมากขึ้นพบในช่วงพ.ศ. 2300 ตัวอย่างเช่น Chand Chand Varnan ki Mahima เขียนโดย คันคภัตต์ (Gangabhatt) Yogavasshishtha เขียนโดยรามประสาท นิรันชนี (Ramprasad Niranjani) ในพ.ศ. 2353 บริษัทอีสต์อินเดียของอังกฤษจัดตั้งวิทยาลัยสำหรับการศึกษาขั้นสูงที่กัลกัตตา ชื่อวิทยาลัยฟอร์ต วิลเลียม (Fort William Collage) จอห์น บอร์ทวิก กลิคริสต์ (John Borthwick Glichrist) อธิการบดีมหาวิทยาลัยสนับสนุนให้อาจารย์เขียนผลงานด้วยภาษาถิ่น และมีงานบางส่วนเขียนด้วยภาษาขาริโพลี

ในยุคแรกๆ ภาษาขาริโพลีถูกมองว่าเป็นสำเนียงที่ไม่เหมาะกับการเขียนวรรณกรรม แต่เมื่อได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลจึงมีการใช้อย่างแพร่หลาย ในขณะที่สำเนียงที่เก่ากว่านี้เช่นภาษาพรัช ภาษาไมถิลี และภาษาอวธี มีการใช้น้อยลง

หลังได้รับเอกราช

[แก้]

หลังจากอินเดียได้รับเอกราชเมื่อพ.ศ. 2490 สำเนียงขาริโพลีได้รับการยอมรับให้เป็นสำเนียงมาตรฐานของภาษาฮินดี ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในรัฐบาลกลาง และมีการสอนให้กับชาวอินเดียทางใต้และตะวันออกที่ไม่ได้ใช้ภาษาฮินดีเป็นภาษาแม่

การทำให้เป็นสันสกฤต

[แก้]

ภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาลตั้งแต่ พ.ศ. 2493 มีการเปลี่ยนแปลงภาษาขาริโพลีหลายประการ การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดคือการทำให้เป็นสันสกฤตด้วยการนำศัพท์จากภาษาสันสกฤตเข้ามาใช้มากขึ้น ด้วยเหตุผลคือ

  • ภาษาสันสกฤตแสดงให้เห็นความเป็นชาติและอิทธิพลของวัฒนธรรมเก่าแก่ของอินเดีย
  • การได้รับเอกราชขึ้นกับเส้นแบ่งทางศาสนา ในขณะที่ภาษาของมุสลิมคือภาษาเปอร์เซียและภาษาอาหรับมีอิทธิพลต่อภาษาฮินดีมาก เพื่อสร้างความแตกต่างระหว่างภาษาฮินดีกับภาษาอูรดูให้มากขึ้นจึงต้องเพิ่มอิทธิพลจากภาษาสันสกฤตเข้าไป.[2]
  • ประชาชนทางตะวันออกและทางใต้ห่างไกลจากภาษาฮินดีที่เป็นภาษาทางอินเดียเหนือและได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมมูกัล (จากเปอร์เซียและตุรกี) แต่กลุ่มคนเหล่านี้ยอมรับภาษาสันสกฤตได้มากกว่า การทำให้เป็นสันสกฤตจึงทำให้ภาษาฮินดีมีความเป็นภาษาประจำชาติมากขึ้น

รูปแบบที่ไม่ได้ทำให้เป็นสันสกฤตของภาษาขาริโพลีใช้ในภาพยนตร์ภาษาฮินดีและใช้เป็นส่วนใหญ่ในโทรทัศน์ เพลง การศึกษา และการสนทนาทั่วไปในอินเดียภาคเหนือ

อ้างอิง

[แก้]
  1. Central Hindi Directorate ควบคุมการใช้ อักษรเทวนาครี และการสะกดคำภาษาฮินดีในอินเดีย: Central Hindi Directorate: Introduction
  2. Indian male is dissected andfound wanting ดึงข้อมูลเมื่อ 24/3/2007