ภาษาตุรกี
ภาษาตุรกี | |
---|---|
Türkçe (นาม, กริยาวิเศษณ์) Türk dili (นาม) | |
ออกเสียง | Türkçe: [ˈtyɾctʃe] ( ฟังเสียง) Türk dili: เสียงอ่านภาษาตุรกี: [ˈtyɾc 'dili] |
ประเทศที่มีการพูด | ตุรกี (ทางการ), นอร์เทิร์นไซปรัส (ทางการ), ไซปรัส (ทางการ), อาเซอร์ไบจาน, อิรัก, ซีเรีย, เลบานอน, กรีก, บัลแกเรีย, โรมาเนีย, คอซอวอ, มาซิโดเนียเหนือ บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา |
ภูมิภาค | อานาโตเลีย, บอลข่าน, ไซปรัส, เมโสโปเตเมีย, ลิแวนต์, ทรานส์คอเคเซีย |
ชาติพันธุ์ | ชาวตุรกี |
จำนวนผู้พูด | 75.7 ล้านคน (ประมาณ ค.ศ. 2002)[1] ถึงมากกว่า 80 ล้านคน (ประมาณ ค.ศ. 2021)[2] (ไม่พบวันที่) 88 ล้านคน (ภาษาแม่ + ภาษาที่สอง)[3] |
ตระกูลภาษา | เตอร์กิก
|
รูปแบบก่อนหน้า | ตุรกีอานาโตเลียเก่า
|
รูปแบบมาตรฐาน | ตุรกีอิสตันบูล
|
ภาษาถิ่น | |
ระบบการเขียน | ละติน (อักษรตุรกี) อักษรเบรลล์ตุรกี |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ | ไซปรัส นอร์เทิร์นไซปรัส ตุรกี องค์กร: |
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน | บอสเนีย[6] โครเอเชีย[7][8] กรีซ[9] อิรัก[2][a] คอซอวอ[2][b] มาซิโดเนียเหนือ[2][c] โรมาเนีย[2][15] |
ผู้วางระเบียบ | สมาคมภาษาตุรกี |
รหัสภาษา | |
ISO 639-1 | tr |
ISO 639-2 | tur |
ISO 639-3 | tur |
Linguasphere | ส่วนหนึ่งของ 44-AAB-a |
ประเทศที่ภาษาตุรกีเป็นภาษาทางการ
ประเทศที่ยอมรับภาษาตุรกีเป็นภาษาชนกลุ่มน้อย
ประเทศที่ภาษาตุรกีเป็นภาษาชนกลุ่มน้อยและภาษาร่วมทางการอย่างน้อยหนึ่งเทศบาล | |
ภาษาตุรกี (ตุรกี: Türkçe , ทืร์กเช, Türk dili, ทืร์กดิลิ) มีอีกชื่อเรียกว่า ภาษาตุรกีอิสตันบูล[16][17][18] (İstanbul Türkçesi) หรือ ภาษาตุรกีแบบตุรกี (Türkiye Türkçesi) เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิกที่มีผู้พูดมากที่สุด โดยมีผู้พูดประมาณ 70 ถึง 80 ล้านคน เป็นภาษาประจำชาติของประเทศตุรกี และชนกลุ่มน้อยที่พูดภาษาตุรกีกลุ่มสำคัญในประเทศอิรัก, ซีเรีย, เยอรมนี, ออสเตรีย, บัลแกเรีย, มาซิโดเนียเหนือ,[19] นอร์เทิร์นไซปรัส,[20] กรีซ,[21] คอเคซัส และส่วนอื่นของยุโรปและเอเชียกลาง ประเทศไซปรัสเคยเสนอให้สหภาพยุโรปเพิ่มภาษาตุรกีเป็นภาษาทางการ ถึงแม้ว่าประเทศตุรกีไม่ได้เป็นรัฐสมาชิกก็ตาม[22]
ต้นกำเนิดของภาษาพบในเอเชียกลางซึ่งมีการเขียนครั้งแรกเมื่อประมาณ 1,200 ปีมาแล้ว ภาษาตุรกีออตโตมันได้แพร่ขยายไปทางตะวันตกซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของจักรวรรดิออตโตมัน พ.ศ. 2471 หลังการปฏิรูปของอตาเตริ์กซึ่งเป็นปีแรกๆของยุคสาธารณรัฐใหม่ มีการปรับปรุงภาษาโดยแทนที่อักษรอาหรับในยุคออตโตมันด้วยอักษรละตินที่เพิ่มเครื่องหมายการออกเสียง มีการตั้งสมาคมภาษาตุรกีเพื่อลดการใช้คำยืมจากภาษาเปอร์เซียกับภาษาอาหรับ หันมาใช้คำดั้งเดิมของภาษากลุ่มเตอร์กิกแทน
ลักษณะเด่นของภาษาตุรกีคือมีการเปลี่ยนเสียงสระและการเชื่อมคำแบบรูปคำติดต่อ การเรียงคำโดยทั่วไปเป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา ไม่มีการแบ่งเพศของคำนาม
การจัดจำแนก
[แก้]ภาษาตุรกีอยู่ในสาขาโอคุซของกลุ่มภาษาเตอร์กิก สมาชิกอื่น ๆ ในสาขาเดียวกันได้แก่ภาษาอาเซอร์ไบจาน ซึ่งมีผู้พูดในประเทศอาเซอร์ไบจานและภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอิหร่าน ภาษากากาอุซในกาเกาเซีย ภาษาควาซไควในอิหร่านตอนใต้ และภาษาเติร์กเมนในประเทศเติร์กเมนิสถาน[23]
การจัดจำแนกกลุ่มภาษาเตอร์กิกนั้นซับซ้อน เพราะการอพยพของกลุ่มชนเตอร์กิกและผลสืบเนื่องจากการปะปนกันกับชนชาติที่ไม่ได้พูดภาษากลุ่มเตอร์กิก ทำให้เกิดสถานการณ์ทางภาษาที่มีความซับซ้อนมากมาย[23]
ยังมีข้อโต้แย้งว่ากลุ่มภาษาเตอร์กิกเป็นสาขาย่อยของตระกูลภาษาอัลไต ซึ่งมีภาษาญี่ปุ่น, ภาษาเกาหลี, ภาษามองโกเลีย และกลุ่มภาษาตุงกูซิก หรือไม่[24] ทฤษฎีกลุ่มภาษายูรัล-อัลไตในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งรวมภาษาตุรกีเข้ากับภาษาฟินแลนด์, ภาษาฮังการี และตระกูลภาษาอัลไต ก่อให้เกิดเสียงโต้แย้ง[25] ทฤษฎีนี้มีการเทียบภาษาส่วนใหญ่จากสามคุณสมบัติหลัก ๆ คือ: การประกอบกันในภาษา, การสอดคล้องกลมกลืนของสระ และเพศทางไวยากรณ์[25]
ประวัติศาสตร์
[แก้]จารึกของภาษากลุ่มเตอร์กิกเก่าสุดพบในบริเวณที่เป็นประเทศมองโกเลียปัจจุบัน จารึกบูคุตเขียนด้วยอักษรซอกเดียมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 11 .[26][27]จารึกอักษรออร์คอนมีอายุย้อนหลังไปได้ราว พ.ศ. 1275 – 1278 จารึกที่พบบริเวณหุบเขาออร์คอนจำนวนมากจัดเป็นภาษาเตอร์กิกโบราณเขียนด้วยอักษรออร์คอนที่มีลักษณะคล้ายอักษรรูนส์ในยุโรป[28]
ผู้คนที่พูดภาษากลุ่มเตอร์กิกได้แพร่กระจายออกจากเอเชียกลางในยุคกลางตอนต้น (ราวพุทธศตวรรษที่ 11-16) โดยกระจายอยู่ตั้งแต่ยุโรปตะวันออก ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปจนถึงไซบีเรีย กลุ่มโอคุซเติร์กได้นำภาษาของตนคือภาษาเตอร์กิกแบบโอคุซเข้าสู่อนาโตเลียเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 16 .[29] ในช่วงนี้ได้มีนักภาษาศาสตร์ Kaşqarli Mahmud เขียนพจนานุกรมของภาษาเตอร์กิก
ภาษาตุรกีออตโตมัน
[แก้]เมื่อศาสนาอิสลามแพร่มาถึงบริเวณนี้ เมื่อราว พ.ศ. 1393 ชาวเซลจุกเติร์กซึ่งเป็นต้นกำเนิดของอารยธรรมออตโตมันได้ปรับการใช้ภาษาโดยมีคำยืมจากภาษาอาหรับและภาษาเปอร์เซียเข้ามามาก วรรณคดีในยุคนี้ได้รับอิทธิพลจากภาษาเปอร์เซียมาก ภาษาในการเขียนและภาษาราชการในยุคจักรวรรดิออตโตมันเป็นภาษาผสมระหว่างภาษาตุรกี ภาษาอาหรับ และภาษาเปอร์เซีย ซึ่งต่างจากภาษาตุรกีที่ใช้ในประเทศตุรกีปัจจุบันและมักเรียกว่าภาษาตุรกีออตโตมัน
การปรับรูปแบบของภาษาและภาษาตุรกีสมัยใหม่
[แก้]อัตราการรู้หนังสือก่อนการปรับรูปแบบภาษาในตุรกี (พ.ศ. 2470) ในผู้ชายคิดเป็น 48.4% และผู้หญิงเป็น 20.7% [30] หลังจากก่อตั้งสาธารณรัฐตุรกีและเปลี่ยนระบบการเขียน มีการตั้งสมาคมภาษาตุรกีเมื่อ พ.ศ. 2475 สมาคมได้ปรับรูปแบบของภาษาโดยแทนที่คำยืมจากภาษาอาหรับและภาษาเปอร์เซียด้วยคำดั้งเดิมของภาษาตุรกี[31] มีการสร้างคำใหม่โดยใช้รากศัพท์จากภาษาตุรกีโบราณที่เลิกใช้ไปนาน[32] ใน พ.ศ. 2478 ทาง TDK ได้ตีพิมพ์พจนานุกรมสองรูปแบบระหว่างตุรกี-ออตโตมัน/ตุรกีบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับรูปแบบภาษา[33]
ผลจากการเปลี่ยนแปลงภาษาโดยกะทันหันนี้ทำให้คนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่ในตุรกีใช้คำศัพท์ที่แตกต่างกัน คนรุ่นที่เกิดก่อน พ.ศ. 2483 ใช้ศัพท์ที่มาจากภาษาอาหรับและภาษาเปอร์เซีย ส่วนคนที่เกิดหลังจากนั้นใช้คำศัพท์ที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ การปราศัยของอตาเติร์กในการเปิดประชุมสภาครั้งใหม่เมื่อ พ.ศ. 2470 ใช้ภาษาแบบออตโตมันซึ่งเป็นสิ่งที่แปลกไปจากภาษาในปัจจุบันจนต้องมีการแปลเป็นภาษาตุรกีสมัยใหม่ถึงสามครั้งคือเมื่อ พ.ศ. 2506, 2529 และ 2538[34]
นอกจากนี้ สมาคมภาษาตุรกียังมีการเพิ่มศัพท์เทคนิคทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซึ่งโดยมากมาจากภาษาอังกฤษ แต่ก็มีคำศัพท์ที่ถูกบัญญัติขึ้นมาแล้วแต่ไม่เป็นที่นิยม เช่น bölem (พรรคการเมือง) ถูกกำหนดให้ใช้แทนคำเดิมคือ firka แต่คำที่ใช้โดยทั่วไปเป็น parti จากภาษาฝรั่งเศส หรือบางคำใช้ในความหมายที่ต่างไปจากที่กำหนด เช่น betik (หนังสือ) ปัจจุบันใช้ในความหมายของระบบการเขียนในคอมพิวเตอร์[35] คำบางคำที่ถูกบัญญัติขึ้นใหม่ยังใช้ควบคู่กับศัพท์เดิมโดยคำศัพท์เดิมเปลี่ยนความหมายไปเล็กน้อย เช่น dert (มาจากภาษาเปอร์เซีย dard หมายถึงเจ็บปวด) ใช้หมายถึงปัญหาหรือความยุ่งยาก ส่วนความเจ็บปวดทางร่างกายใช้ ağrı ที่มาจากภาษาตุรกี ในบางกรณี คำยืมมีความหมายต่างไปจากคำในภาษาตุรกีเล็กน้อยแบบเดียวกับคำยืมจากภาษากลุ่มเยอรมันและภาษากลุ่มโรมานซ์ในภาษาอังกฤษ
ตัวอย่างบางส่วนของศัพท์ตุรกีสมัยใหม่กับคำยืมสมัยก่อนดังนี้:
ตุรกีออตโตมัน | ตุรกีสมัยใหม่ | แปลไทย | คำอธิบาย |
---|---|---|---|
müselles | üçgen | สามเหลี่ยม | คำประสมระหว่างคำนาม üç ("สาม") และคำต่อท้าย -gen |
tayyare | uçak | เครื่องบิน | มาจากรูปกริยา uçmak ("เพื่อบิน") ตอนเสนอครั้งแรกมีความหมายว่า "สนามบิน, ท่าอากาศยาน" |
nispet | oran | อัตราส่วน | ศัพท์ยังคงมีการใช้ร่วมกับศัพท์ใหม่ในปัจจุบัน ศัพท์ปัจจุบันมีที่มาจากรูปกริยาภาษาเตอร์กิกเก่า or- ("เพื่อตัด") |
şimal | kuzey | เหนือ | มาจากคำนามภาษาเตอร์กิกเก่า kuz ("สถานที่ที่เย็นและมืด", "เงา") คำนี้ฟื้นฟูจากเตอร์กิกกลาง[36] |
teşrinievvel | ekim | ตุลาคม | คำนาม ekim หมายถึง "การกระทำที่เกี่ยวกับการปลูก" สื่อถึงการปลูกเมล็ดธัญพืชในฤดูใบไม้ร่ว ซึ่งพบได้ทั่วประเทศตุรกี |
การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์
[แก้]ภาษาตุรกีเป็นภาษาแม่ของชาวตุรกีในประเทศตุรกีและชาวตุรกีพลัดถิ่นใน 30 ประเทศ ภาษาตุรกีสามารถเข้าใจร่วมกัน (mutually intelligible) กับภาษาอาเซอร์ไบจานและภาษากลุ่มเตอร์กิกอื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีชนกลุ่มน้อยที่พูดภาษาตุรกีในประเทศที่เคยเป็นส่วนหนึ่ง (ทั้งหมดหรือบางส่วน) ของจักรวรรดิออตโตมัน เช่นอิรัก[37], บัลแกเรีย, ไซปรัส, กรีซ (โดยหลักในเทรซตะวันตก), มาซิโดเนียเหนือ, โรมาเนีย และเซอร์เบีย มีผู้พูดภาษาตุรกีมากกว่าสองล้านคนอาศัยอยู่ในประเทศเยอรมนี และมีชุมชนที่พูดภาษาตุรกีในสหรัฐ, ฝรั่งเศส, เนเธอร์แลนด์, ออสเตรีย, เบลเยียม, สวิตเซอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร[38] เนื่องจากการกลืนกลายทางวัฒนธรรมของประเทศเจ้าถิ่นต่อผู้อพยพชาวตุรกี ทำให้สมาชิกชาติพันธุ์พลัดถิ่นทั้งหมดไม่สามารถพูดภาษาตุรกีอย่างเชี่ยวชาญเสมอไป[39]
ใน ค.ศ. 2005 ร้อยละ 93 ของประชากรตุรกีพูดภาษาตุรกีเป็นภาษาแม่[40] ในเวลานั้นมีผู้พูดประมาณ 67 ล้านคน ส่วนที่เหลือ จำนวนภาษาที่มีผู้พูดมากที่สุดรองลงมาคือภาษาเคิร์ด[41]
สถานะทางการ
[แก้]ภาษาตุรกีเป็นภาษาทางการของประเทศตุรกีและเป็นหนึ่งในภาษาทางการของประเทศไซปรัส ภาษานี้มีสถานะเป็นภาษาทางการใน 38 เทศบาลของประเทศคอซอวอ เช่นมามูชา[42][43], สองแห่งที่มาซิโดเนียเหนือ และในเขตผู้ว่าการคีร์คูกในประเทศอิรัก[44][45]
ในประเทศตุรกี หน่วยงานที่กำกับดูแลภาษาตุรกีคือสมาคมภาษาตุรกี (Türk Dil Kurumu หรือ TDK) ซึ่งก่อตั้งใน ค.ศ. 1932 ภายใต้ชื่อ Türk Dili Tetkik Cemiyeti ("สมาคมวิจัยภาษาตุรกี") สมาคมภาษาตุรกีได้รับอิทธิพลในแนวคิดพิสุทธินิยมทางภาษา ซึ่งเป็นหนึ่งในภารกิจหลักในการแทนที่คำยืมและโครงสร้างทางไวยากรณ์ภาษาอื่นด้วยการบัญญัติศัพท์ภาษาตุรกี[46] การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ร่วมกับการใช้อักษรตุรกีแบบใหม่ใน ค.ศ. 1928 ก่อให้เกิดภาษาตุรกีสมัยใหม่ในปัจจุบัน TDK กลายเป็นองค์กรอิสระใน ค.ศ. 1951 จนถึงเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1983 โดยกลายเป็นหน่วยงานราชการตามรัฐธรรมนูญตุรกีฉบับปี 1982 หลังรัฐประหารใน ค.ศ. 1980[32]
สำเนียง
[แก้]ภาษาตุรกีสมัยใหม่มีฐานจากสำเนียงอิสตันบูล[47] "ภาษาตุรกีแบบอิสตันบูล" (İstanbul Türkçesi) ถือเป็นแม่แบบของภาษาพูดและภาษาเขียน ตามคำแนะนำของ Ziya Gökalp, Ömer Seyfettin และคนอื่น ๆ[48]
สำเนียงอื่น ๆ ยังคงมีอยู่ ถึงแม้ว่าระดับอิทธิพลของสำเนียงมาตรฐานยังคงใช้งานในสื่อมวลชนและระบบการศึกษาตุรกีมาตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1930[49] นักวิจัยทางวิชาการจากตุรกีมักเรียกสำเนียงตุรกีว่า ağız หรือ şive ทำให้เกิดความกำกวมในแนวคิดด้านภาษาของสำเนียง ซึ่งครอบคลุมมคำเหล่านี้ด้วย มหาวิทยาลัยบางแห่ง กับกลุ่มงานเฉพาะของสมาคมภาษาตุรกี ได้เริ่มโครงการค้นหาสำเนียงตุรกี ข้อมูลเมื่อ 2002[update] ยังคงมีการรวบรวมและตีพิมพ์ผลงานวิจัยของตนเป็นภาษาถิ่นครอบคลุมโลกสำเนียงภาษาตุรกี[50][51]
ชาวรูเมเลียบางส่วนที่อพยพไปยังประเทศตุรกีพูดภาษาตุรกีแบบรูเมเลีย ซึ่งรวมสำเนียง Ludogorie, Dinler และ Adakale ที่แสดงอิทธิพลของทฤษฎี Balkan sprachbund Kıbrıs Türkçesi เป็นชื่อเรียกภาษาตุรกีแบบไซปรัสและพูดโดยชาวไซปรัสเชื้อสายเติร์ก สำเนียง เอดีร์แน ใช้พูดในเอดีร์แน Ege ใช้พูดในภูมิภาคอีเจียน โดยมีขอบเขตถึงอันทัลยา ชนร่อนเร่ Yörüks ในภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียนของตุรกีมีสำเนียงตุรกีเป็นของตนเอง[52]
สำเนียง Güneydoğu ใช้กันในภาคตะวันออกเฉียงใต้ถึงทางตะวันออกของแมร์ซิน Doğu สำเนียงหนึ่งในภูมิภาคอานาโตเลียตะวันออก มีความต่อเนื่องของภาษา ชาวเติร์กเมสเคเทียที่อาศัยอยู่ในประเทศคาซัคสถาน, อาเซอร์ไบจาน และรัสเซีย กับประเทศในเอเชียกลางบางส่วน สามารถพูดภาษาตุรกีสำเนียงอานาโตเลียตะวันออก โดยมีที่มาจากพื้นที่ใน Kars, Ardahan และ Artvin และมีความคล้ายกับภาษาอาเซอร์ไบจาน[53]
ภูมิภาคอานาโตเลียกลางพูด Orta Anadolu สำเนียง Karadeniz ใช้พูดในภูมิภาคทะเลดำทางตะวันออกและแสดงให้เห็นผ่านสำเนียงทรับซอน ได้รับอิทธิพลทางสัทวิทยาและวากยสัมพันธ์จากภาษากรีก[54] มันมีอีกชื่อว่า สำเนียงลาซ (ไม่ควรไปสับสนกับภาษาลาซ) คัสทาโมนู ใช้พูดในคัสทาโมนูและพื้นที่โดยรอบ ภาษาตุรกีคารามันลือใช้พูดในประเทศกรีซ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า Kαραμανλήδικα เป็นมาตรฐานวรรณกรรมของชาวคารามันลือ[55]
เสียง
[แก้]ภาษาตุรกีมีแต่สระเดี่ยว ไม่มีสระผสม เมื่อสระสองตัวอยู่ใกล้กันซึ่งมักพบในคำยืมจะออกเสียงแยกกัน การเปลี่ยนเสียงสระเป็นเอกลักษณ์ของภาษาตุรกีโดยเสียงสระของปัจจัยจะเปลี่ยนไปตามสระของคำหลักเช่นปัจจัย –dir4 (มันเป็น, อยู่, คือ) เมื่อนำมาต่อท้ายศัพท์จะเป็น tükiyedir (มันเป็นไก่งวง) kapidır (มันเป็นประตู) gündür (มันเป็นวัน) paltodur (มันเป็นเสื้อคลุม) เป็นต้น
ไวยากรณ์
[แก้]ภาษาตุรกีเป็นภาษารูปคำติดต่อ นิยมใช้การเติมปัจจัยข้างท้ายคำ [56] คำคำหนึ่งอาจเติมปัจจัยได้เป็นจำนวนมากเพื่อสร้างคำใหม่ เช่นการสร้างคำกริยาจากคำนาม การสร้างคำนามจากรากศัพท์คำกริยาเป็นต้น ปัจจัยส่วนใหญ่จะบอกหน้าที่ทางไวยากรณ์ของคำนั้นๆ [57] สามารถสร้างคำที่มีความยาวมากๆจนมีความหมายเท่ากับประโยคในภาษาอื่นๆได้
คำนามไม่มีคำนำหน้าชี้เฉพาะ แต่มีการชี้เฉพาะวัตถุในคำลงท้ายแบบกรรมตรง ภาษาตุรกีมีคำนาม 6 การก คือ ประธาน ความเป็นเจ้าของ กรรมรอง กรรมตรง มาจาก ตำแหน่ง ซึ่งเปลี่ยนการลงท้ายด้วยการเปลี่ยนเสียงสระ คำคุณศัพท์มาก่อนคำนามที่ขยายคำคุณศัพท์ส่วนใหญ่เป็นคำนามได้ด้วย
คำกริยาในภาษาตุรกีจะแสดงบุคคลและสามารถแสดงความปฏิเสธ ความสามารถหรือไม่สามารถและแสดงกาล มาลา แลละความคาดหวังด้วย การปฏิเสธแสดงด้วยปัจจัย –me2 ที่มาก่อนปัจจัยอื่นๆของคำกริยา คำกริยาในภาษาตุรกีอาจรวมเป็นคำประกอบได้เพื่อให้ประโยคสั้นเข้า
การเรียงลำดับคำในภาษาตุรกีเป็นแบบประธาน-กรรม-กริยาแบบเดียวกับภาษาญี่ปุ่นและภาษาละติน คำขยายมาก่อนคำที่ถูกขยาย สิ่งที่เน้นมาก่อนสิ่งที่ไม่เน้นคำที่มาก่อนกริยาต้องออกเสียงเน้นหนักในประโยคโดยไม่มีข้อยกเว้น
การเน้นหนักมักเน้นในพยางค์สุดท้าย ยกเว้นคำยืมจากภาษากรีกและภาษาอิตาลีบางกลุ่ม
คำศัพท์
[แก้]Büyük Türkçe Sözlük (พจนานุกรมใหญ่ภาษาตุรกี (Great Turkish Dictionary)) พจนานุกรมทางการของภาษาตุรกีที่ตีพิมพ์โดยสมาคมภาษาตุรกีฉบับ ค.ศ. 2010 มีศัพท์ สำนวน และคำนามที่รวมชื่อสถานที่และชื่อบุคคลทั้งหมด 616,767 คำ ทั้งจากภาษามาตรฐานและสำเนียง[58]
ใน Güncel Türkçe Sözlük พจนานุกรมทางการของภาษาตุรกีที่ตีพิมพ์โดยสมาคมภาษาตุรกีฉบับ ค.ศ. 2005 มีศัพท์ทั้งหมด 104,481 คำ ในจำนวนนี้มีประมาณ 86% ที่มีต้นตอจากภาษาตุรกี และ 14% มีต้นตอจากต่างชาติ[59] ในหวดหมู่ต้นตอต่างชาติ ศัพท์ต่างชาติที่มีส่วนในภาษาตุรกีมากที่สุดคือภาษาอาหรับ, ฝรั่งเศส, เปอร์เซีย, อิตาลี, อังกฤษ และกรีก[60]
ระบบการเขียน
[แก้]มุสทาฟา เคมัล อาทาทืร์คได้นำอักษรละตินมาใช้ในภาษาตุรกีแทนที่อักษรตุรกีออตโตมันใน ค.ศ. 1928 เดิมภาษาตุรกีเขียนด้วยอักษรเปอร์เซีย-อาหรับ แต่อักษรแบบดังกล่าวมีรูปเขียนสำหรับเสียงสระยาวเพียงแค่สามรูป (ā, ū และ ī ยาว) และยังมีอักษรบางตัวที่แทนเสียงที่ซ้ำกัน เช่นรูปอักษร z (ซึ่งซ้ำกันในภาษาตุรกี แต่ไม่ซ้ำในภาษาอาหรับ คล้ายกับอักษรไทยที่มีทั้ง ศ ษ และ ส ซึ่งมาจากอักษรที่แทนเสียงที่แตกต่างกันในภาษาสันสกฤต) มีการอ้างว่าการละเว้นสระเสียงสั้นในอักษรอาหรับไม่เหมาะกับภาษาตุรกีที่มี 8 สระ[61]
การปฏิรูปอักษรเป็นก้าวสำคัญของการปฏิรูปทางวัฒนธรรมในสมัยนั้น การจัดเตรียมตัวอักษรแบบใหม่รวมทั้งการเลือกอักษรเพิ่มเติมจากอักษรละตินแบบมาตรฐานนั้นเป็นหน้าที่ของคณะกรรมาธิการภาษา ซึ่งประกอบด้วยนักภาษาศาสตร์ นักวิชาการ และนักเขียน ระบบการเขียนแบบใหม่ได้รับการสนับสนุนจากศูนย์การศึกษาของรัฐตามภูมิภาคต่าง ๆ และยังได้รับความร่วมมือจากสำนักพิมพ์ต่าง ๆ รวมทั้งความพยายามของอตาเติร์กเอง ที่ได้เดินทางไปยังที่ต่าง ๆ เพื่อสอนระบบการเขียนแบบใหม่นี้[62] ผลที่ตามมา ทำให้มีผู้อ่านหนังสือออกจากโลกที่สามเพิ่มมากขึ้นอย่างมาก[63]
อักษรตุรกีในปัจจุบันเป็นตัวอักษรที่เทียบให้เหมาะกับเสียงของภาษา รูปสะกดส่วนใหญ่เป็นไปตามสัทศาสตร์ นั่นคือหนึ่งอักษรแทนหนึ่งหน่วยเสียง[64] โดยตัวอักษรส่วนใหญ่ใช้เหมือนกับภาษาอังกฤษ ยกเว้นอักษร ⟨c⟩ ที่ออกเสียงเป็น [dʒ] (⟨j⟩ ใช้สำหรับเสียง [ʒ] ที่พบในคำยืมภาษาเปอร์เซียและยุโรป); และ ⟨ı⟩ ไร้จุดใช้สำหรับเสียง [ɯ] อักษร ⟨ö⟩ และ ⟨ü⟩ ใช้สำหรับเสียง [ø] และ [y] เหมือนภาษาเยอรมัน ส่วนอักษร ⟨ğ⟩ ตามหลักออกเสียงเป็น [ɣ] แต่สามารถขยายเสียงสระก่อนหน้าและรวมสระใด ๆ ถัดจากมันได้ อักษร ⟨ş⟩ และ ⟨ç⟩ ใช้สำหรับเสียง [ʃ] และ [tʃ] ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังมีเครื่องหมายบนสระที่ใช้เขียนบนเสียงสระหลังถัดจากอักษร ⟨k⟩ และ ⟨g⟩ เมื่อมีเสียงพยัญชนะ [c] และ [ɟ] นำหน้า (เกือบทั้งหมดใช้สำหรับคำยืมภาษาอาหรับและเปอร์เซีย)[65]
ภาษาตุรกีประกอบด้วยอักษร 29 ตัว (ไม่มีอักษร q, x, w และเพิ่มอักษร ç, ş, ğ, ı, ö, ü) ดังนี้:
- a, b, c, ç, d, e, f, g, ğ, h, ı, i, j, k, l, m, n, o, ö, p, r, s, ş, t, u, ü, v, y, และ z (หมายเหตุ: i พิมพ์ใหญ่คือ İ และ I พิมพ์เล็กคือ ı)
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ภาษาตุรกีเป็นภาษาทางการในเขตผู้ว่าการคีร์คูก, อำเภอกิฟรี และอำเภอฏูซ[10][11] นอกจากนี้ ภาษานี้ยังเป็นภาษาทางการศึกษาของชาวอิรักเชื้อสายเติร์กเมนในภูมิภาคเคอร์ดิสถาน[12]
- ↑ ภาษาตุรกีเป็นภาษาทางการในเทศบาลGjilan, มิทรอวิตซาใต้, Vučitrn, มามูชา และพริสเรน[13]
- ↑ ภาษาตุรกีเป็นภาษาทางการในเทศบาลฌูปากลางและปลาสนิกา[14]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Katzner, Kenneth (2002). Languages of the World (Third ed.). loca: Routledge, An imprint of Taylor & Francis Books Ltd. p. 153. ISBN 978-0-415-25004-7.
Turkish is the national language of Turkey, spoken by about 60 million people, or 90 percent of the country’s population. There are also some 750,000 speakers in Bulgaria, 150,000 in Cyprus, and 100,000 in Greece. In recent decades a large Turkish-speaking community has formed in Germany, numbering over 2 million people, and smaller ones exist in France, Austria, the Netherlands, Belgium, and other European countries. (90% of 2018 population would be 73 million)
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Johanson, Lars (2021), Turkic, Cambridge University Press, ISBN 9781009038218,
Turkish is the largest and most vigorous Turkic language, spoken by over 80 million people, a third of the total number of Turkic-speakers... Turkish is a recognized regional minority language in North Macedonia, Kosovo, Romania, and Iraq.
- ↑ Kuribayashi, Yuu (2012). "Transitivity in Turkish: A study of valence orientation" (PDF). Asian and African Languages and Linguistics. 7: 39–51. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-02-26. สืบค้นเมื่อ 2022-01-12.
- ↑ Karcı, Durmuş (2018), "The Effects of Language Characters and Identity of Meskhetian Turkish in Kazakhstan", Kesit Akademi Dergisi, 4 (13)
- ↑ Behnstedt, Peter (2008). "Syria". ใน Versteegh, Kees; Eid, Mushira; Elgibali, Alaa; Woidich, Manfred; Zaborski, Andrzej (บ.ก.). Encyclopedia of Arabic Language and Linguistics. Vol. 4. Brill Publishers. p. 402. ISBN 978-90-04-14476-7.
- ↑ "Bosnia and Herzegovina", The European Charter for Regional Or Minority Languages: Collected Texts, Council of Europe, 2010, pp. 107–108, ISBN 9789287166715
- ↑ Rehm, Georg; Uszkoreit, Hans, บ.ก. (2012), "The Croatian Language in the European Information Society", The Croatian Language in the Digital Age, Springer, p. 51, ISBN 9783642308826
- ↑ Franceschini, Rita (2014). "Italy and the Italian-Speaking Regions". ใน Fäcke, Christiane (บ.ก.). Manual of Language Acquisition. Walter de Gruyter GmbH. p. 546. ISBN 9783110394146.
In Croatia, Albanian, Bosnian, Bulgarian, Czech, German, Hebrew, Hungarian, Italian, Macedonian, Polish, Romanian, Romany, Rusyn, Russian, Montenegrin, Slovak, Slovenian, Serbian, Turkish, and Ukrainian are recognized (EACEA 2012, 18, 50s)
- ↑ Trudgill, Peter; Schreier, Daniel (2006), "Greece and Cyprus / Griechenland und Zypern", ใน Ulrich, Ammon (บ.ก.), Sociolinguistics / Soziolinguistik, Walter de Gruyter, p. 1886, ISBN 3110199874
- ↑ [1] Text: Article 1 of the declaration stipulated that no law, regulation, or official action could interfere with the rights outlined for the minorities. Although Arabic became the official language of Iraq, Kurdish became a corollary official language in Sulaimaniya, and both Kurdish and Turkish became official languages in Kirkuk and Kifri.
- ↑ "Türkmenler, Türkçe tabelalardan memnun - Son Dakika".
- ↑ [2] Kurdistan: Constitution of the Iraqi Kurdistan Region
- ↑ "Municipal language compliance in Kosovo". OSCE Minsk Group.
Turkish language is currently official in Prizren and Mamuşa/Mamushë/Mamuša municipalities. In 2007 and 2008, the municipalities of Gjilan/Gnjilane, southern Mitrovicë/Mitrovica, Prishtinë/Priština and Vushtrri/Vučitrn also recognized Turkish as a language in official use.
- ↑ [3] เก็บถาวร 2022-01-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Text: Turkish is co-official in Centar Zupa and Plasnica
- ↑ "Romania", The European Charter for Regional Or Minority Languages: Collected Texts, Council of Europe, 2010, pp. 135–136, ISBN 9789287166715
- ↑ Martin J. Ball, (2010), Sociolinguistics Around the World: A Handbook, p. 121
- ↑ [4] /I/ Wovel in the 17th century istanbul Turkish according to Meninsky
- ↑ Gülşah Durmuş, (2018), International Journal of Language Academy Volume 6/5, p. 475/486
- ↑ Boeschoten, Henrik. Turkic Languages in Contact.
- ↑ "Cyprus". Encyclopedia Britannica. 2016.
- ↑ "The Muslim Minority of Greek Thrace". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-01.
- ↑ "As the E.U.'s Language Roster Swells, So Does the Burden", The New York Times, 4 January 2017, สืบค้นเมื่อ 17 March 2017
- ↑ 23.0 23.1 Aalto, P. "Iranian Contacts of the Turks in Pre-Islamic times," in Studia Turcica, ed. L. Ligeti, Budapest, 1971, pp. 29-37.
- ↑ Benzing, J. Einführung in das Studium der altäischen Philologie und der Turkologie, Wiesbaden, 1953.
- ↑ 25.0 25.1 Gandjeï, T. "Über die türkischen und mongolischen Elemente der persischen Dichtung der Ilchan-Zeit," in Ural-altaische Jahrbücher 30, 1958, pp. 229-31.
- ↑ Bazin,Louis. Turcs et Sogdiens: Les Enseignements de L'Inscription de Bugut (Mongolie), Mélanges Linguistiques Offerts à Émile Benveniste.Collection Linguistique, publiée par la Société de Linguistique de Paris LXX1975 pages=37–45(ฝรั่งเศส)
- ↑ Alyılmaz, Cengiz. editor=Matteo, C., Paola, R., Gianroberto, S.Eran ud Aneran. Studies presented to Boris Il'ic Marsak on the occasion of his 70/th birthday|chapter=On the Bugut Inscription and Mausoleum Complexisbn=8875431051 http://www.transoxiana.org/Eran/Articles/alyilmaz.htmlaccessdate=2007-06-28[ลิงก์เสีย] year=2006 Cafoscarina Venice
- ↑ "A Database of Turkic Runiform Inscriptions".
- ↑ Findley
- ↑ Taeuber,Irene B.1958April Population and Modernization in Turkey. Population Index 24(2)110id=OCLC|41483131accessdate=2007-04-27 http://links.jstor.org/sici?sici=0032-4701%28195804%2924%3A2%3C101%3APAMIT%3E2.0.CO%3B2-Z laysummary=http://www.jstor.org/journals/00324701.html%7Claysource=JSTOR
- ↑ See Lewis (2002) for a thorough treatment of the Turkish language reform.
- ↑ 32.0 32.1 Turkish Language Association. "Türk Dil Kurumu – Tarihçe (History of the Turkish Language Association)" (ภาษาตุรกี). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 16, 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-03-18.
- ↑ Szurek, Emmanuel (2015-02-17). Aymes, Marc (บ.ก.). Order and Compromise: Government Practices in Turkey from the Late Ottoman Empire to the Early 21st Century (ภาษาอังกฤษ). Brill Publishers. p. 94. ISBN 978-90-04-28985-7.
- ↑ See Lewis (2002): 2–3 for the first two translations. For the third see Bedi Yazıcı. "Nutuk: Özgün metin ve çeviri (Atatürk's Speech: original text and translation)" (ภาษาตุรกี). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ 2007-09-28.
- ↑ "Öz Türkçeleştirme Çalışmaları". Çok Bilgi. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 July 2019. สืบค้นเมื่อ 29 May 2014.
- ↑ Mütercim Asım (1799). Burhân-ı Katı Tercemesi (ภาษาตุรกี). İstanbul.
- ↑ "Iraq". Encyclopedia Britannica. 2016.
- ↑ Gordon, Raymond G. Jr., บ.ก. (2005). "Ethnologue: Languages of the World, Fifteenth edition. Report for language code:tur (Turkish)". สืบค้นเมื่อ 2011-09-04.
- ↑ See for example citations given in Cindark, Ibrahim/Aslan, Sema (2004): Deutschlandtürkisch?. Institut für Deutsche Sprache, page 3.
- ↑ European Commission (2006). "Special Eurobarometer 243: Europeans and their Languages (Survey)" (PDF). Europa. สืบค้นเมื่อ 2010-02-14.
- ↑ Gordon, Raymond G. Jr., บ.ก. (2005). "Ethnologue: Languages of the World, Fifteenth edition. Report for language code:kmr (Kurdish)". สืบค้นเมื่อ 2007-03-18.
- ↑ "Kosovo". Encyclopedia Britannica. 2016.
- ↑ "Kosovo starts using Turkish as fifth official language in documents". Daily Sabah. 9 July 2015.
- ↑ "Official regional languages". CIA World Factbook. 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-26. สืบค้นเมื่อ 2016-02-10.
- ↑ Güçlü, Yücel (January 2007). "Who Owns Kirkuk? The Turkoman Case". Middle East Quarterly.
- ↑ ดังตัวอย่างคำว่า tetkik และ cemiyet เป็คำยืมจากภาษาอาหรับ (คำเติมท้าย -i ใน cemiyeti เป็นคำเสริมท้ายแสดงเจ้าของในภาษาตุรกี); kurum เป็นศัพท์ภาษาตุรกีที่มีที่มาจากรูปกริยา kurmak, "ติดตั้ง, ค้นพบ"[ต้องการอ้างอิง]
- ↑ Campbell, George (1995). "Turkish". Concise compendium of the world's languages. London: Routledge. p. 547.
- ↑ "En iyi İstanbul Türkçesini kim konuşur?". Milliyet. สืบค้นเมื่อ 2017-12-30.
- ↑ Johanson, Lars (2001), Discoveries on the Turkic linguistic map (PDF), Swedish Research Institute in Istanbul, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ February 5, 2007, สืบค้นเมื่อ 2007-03-18
- ↑ Özsoy
- ↑ Akalın, Şükrü Halûk (January 2003). "Türk Dil Kurumu'nun 2002 yılı çalışmaları (Turkish Language Association progress report for 2002)" (PDF). Türk Dili (ภาษาตุรกี). 85 (613). ISSN 1301-465X. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ June 27, 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-03-18.
- ↑ Shashi, Shyam Singh (1992). Encyclopaedia of Humanities and Social Sciences. Anmol Publications. p. 47. สืบค้นเมื่อ 2008-03-26.
- ↑ Aydıngün, Ayşegül; Harding, Çiğdem Balım; Hoover, Matthew; Kuznetsov, Igor; Swerdlow, Steve (2006), Meskhetian Turks: An Introduction to their History, Culture, and Resettelment Experiences (PDF), Center for Applied Linguistics, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-07-14
- ↑ Brendemoen, B. (1996). "Conference on Turkish in Contact, Netherlands Institute for Advanced Study (NIAS) in the Humanities and Social Sciences, Wassenaar, 5–6 February 1996".
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ Balta, Evangelia (Fall 2017). "Translating Books from Greek into Turkish for the Karamanli Orthodox Christians of Anatolia (1718-1856)". International Journal of Turkish Studies. 23 (1–2): 20 – โดยทาง Ebsco.
- ↑ Lewis (2001) และ Lewis (1953)
- ↑ Lewis (2001) Ch XIV
- ↑ "Büyük Türkçe Sözlük Turkish Language Association" (ภาษาตุรกี). Tdkterim.gov.tr. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-28. สืบค้นเมื่อ 2013-03-29.
- ↑ "Güncel Türkçe Sözlük" (ภาษาตุรกี). Turkish Language Association. 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 21, 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-03-21.
- ↑ "Türkçe Sözlük (2005)'teki Sözlerin Kökenlerine Ait Sayısal Döküm (Numerical list on the origin of words in Türkçe Sözlük (2005))" (ภาษาตุรกี). Turkish Language Association. 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 1, 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-03-21.
- ↑ Zimmer & Orgun (1999:155)
- ↑ Dilaçar, Agop (1977). "Atatürk ve Yazım". Türk Dili (ภาษาตุรกี). 35 (307). ISSN 1301-465X. สืบค้นเมื่อ 2007-03-19.
- ↑ Coulmas 1989, pp. 243–244
- ↑ Celia Kerslake; Asli Goksel (11 June 2014). Turkish: An Essential Grammar. Routledge. p. 12. ISBN 978-1-134-04218-0.
- ↑ Lewis (2001):3–7. Note that in these cases the circumflex conveys information about the preceding consonant rather than the vowel over which it is written.
ข้อมูล
[แก้]- Akalın, Şükrü Haluk (January 2003). "Türk Dil Kurumu'nun 2002 yılı çalışmaları (Turkish Language Association progress report for 2002)" (PDF). Türk_Dili (ภาษาตุรกี). 85 (613). ISSN 1301-465X. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ June 27, 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-03-18.
- Bazin, Louis (1975). "Turcs et Sogdiens: Les Enseignements de L'Inscription de Bugut (Mongolie), Mélanges Linguistiques Offerts à Émile Benveniste". Collection Linguistique, Publiée Par la Société de Linguistique de Paris (ภาษาฝรั่งเศส) (LXX): 37–45.
- Brendemoen, B. (1996). Phonological Aspects of Greek-Turkish Language Contact in Trabzon. Conference on Turkish in Contact, Netherlands Institute for Advanced Study (NIAS) in the Humanities and Social Sciences, Wassenaar, 5–6 February 1996.
- Encyclopaedia Britannica, Expo 70 Edition Vol 12. William Benton. 1970.
- Coulmas, Florian (1989). Writing Systems of the World. Blackwell Publishers Ltd, Oxford. ISBN 0-631-18028-1.
- Dilaçar, Agop (1977). "Atatürk ve Yazım". Türk Dili (ภาษาตุรกี). 35 (307). ISSN 1301-465X. สืบค้นเมื่อ 2007-03-19.
- Ergin, Muharrem (1980). Orhun Abideleri (ภาษาตุรกี). Boğaziçi Yayınları. ISBN 0-19-517726-6.
- Findley, Carter V. (October 2004). The Turks in World History. Oxford University Press. ISBN 0-19-517726-6.
- Glenny, Misha (2001). The Balkans: Nationalism, War, and the Great Powers, 1804-1999 (ภาษาอังกฤษ). New York: Penguin.
- Johanson, Lars (2001). Discoveries on the Turkic linguistic map (PDF). Stockholm: Svenska forskningsinstitutet i Istanbul. ISBN 978-91-86884-10-9. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ February 5, 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-03-18.
- Ishjatms, N. (October 1996). "Nomads In Eastern Central Asia". History of civilizations of Central Asia. Vol. 2. UNESCO Publishing. ISBN 92-3-102846-4.
- Lewis, Geoffrey (1953). Teach Yourself Turkish. English Universities Press. ISBN 978-0-340-49231-4. (2nd edition 1989)
- Lewis, Geoffrey (2001). Turkish Grammar. Oxford University Press. ISBN 0-19-870036-9.
- Lewis, Geoffrey (2002). The Turkish Language Reform: A Catastrophic Success. Oxford University Press. ISBN 0-19-925669-1.
- Özsoy, A. Sumru; Taylan, Eser E., บ.ก. (2000). Türkçe'nin ağızları çalıştayı bildirileri [Workshop on the dialects of Turkish] (ภาษาตุรกี). Boğaziçi Üniversitesi Yayınevi. ISBN 975-518-140-7.
- Soucek, Svat (2000). A History of Inner Asia. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-65169-1.
- Vaux, Bert (2001). "Hemshinli: The Forgotten Black Sea Armenians" (PDF). Harvard University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ March 15, 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-04-24.
- Zimmer, Karl; Orgun, Orhan (1999). "Turkish" (PDF). Handbook of the International Phonetic Association: A guide to the use of the International Phonetic Alphabet. Cambridge: Cambridge University Press. pp. 154–158. ISBN 0-521-65236-7. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-07-25. สืบค้นเมื่อ 2022-01-12.
ข้อมูลออนไลน์
- Center for Studies on Turkey, University of Essen (2003). "The European Turks: Gross Domestic Product, Working Population, Entrepreneurs and Household Data" (PDF). Turkish Industrialists' and Businessmen's Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ December 4, 2005. สืบค้นเมื่อ 2007-01-06.
- "CIA Factbook:Iraq". 2013.
- "Güncel Türkçe Sözlük" (ภาษาตุรกี). Turkish Language Association. 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-12. สืบค้นเมื่อ 2007-03-21.
- "Turkish Etymological Dictionary online" (ภาษาตุรกี). Sevan Nişanyan. 2006. สืบค้นเมื่อ 2007-09-11.
- "Language Materials Project: Turkish". UCLA International Institute, Center for World Languages. February 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-11. สืบค้นเมื่อ 2007-04-26.
- Special Eurobarometer 243 / Wave 64.3: Europeans and their Languages (PDF). European Commission Directorate of General Press and Communication. February 2006. สืบค้นเมื่อ 2007-03-28.
- "Turkish Language Association: Sesler ve ses uyumları "Sounds and Vovel karmony"" (ภาษาตุรกี). Turkish Language Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-28. สืบค้นเมื่อ 2013-01-13.
- Göknel, Yüksel (2012). "Turkish Grammar Updated Academic edition". สืบค้นเมื่อ 2013-01-16.
- Turkish Language Association. "Türk Dil Kurumu – Tarihçe (History of the Turkish Language Association)" (ภาษาตุรกี). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-16. สืบค้นเมื่อ 2007-03-18.
- "Türkçe Sözlük (2005)'teki Sözlerin Kökenlerine Ait Sayısal Döküm (Numerical list on the origin of words in Türkçe Sözlük (2005))" (ภาษาตุรกี). Turkish Language Association. 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 1, 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-03-21.
- "Spartak KADIU : Türkçede zaman ve kip kavramı ve i-ek eylemin fonksiyonu üzerine" (PDF) (ภาษาตุรกี). Turkish Studies: International Periodical For The Languages, Literature and History of Turkish or Turkic Volume 7/3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-03-13. สืบค้นเมื่อ 2013-01-15.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Eyüboğlu, İsmet Zeki (1991). Türk Dilinin Etimoloji Sözlüğü [Etymological Dictionary of the Turkish Language] (ภาษาตุรกี). Sosyal Yayınları, İstanbul. ISBN 978975-7384-72-4.
- Özel, Sevgi; Haldun Özen; Ali Püsküllüoğlu, บ.ก. (1986). Atatürk'ün Türk Dil Kurumu ve Sonrası [Atatürk's Turkish Language Association and its Legacy] (ภาษาตุรกี). Bilgi Yayınevi, Ankara. OCLC 18836678.
- Püsküllüoğlu, Ali (2004). Arkadaş Türkçe Sözlük [Arkadaş Turkish Dictionary] (ภาษาตุรกี). Arkadaş Yayınevi, Ankara. ISBN 975-509-053-3.
- Rezvani, B. "Türkçe Mi: Türkçe’deki İrani (Farsca, Dimilce, Kurmançca) Orijinli kelimeler Sözlüğü.[Turkish title (roughly translated): Is this Turkish? An etymological dictionary of originally Iranic (Persian, Zazaki, and Kurmanji Kurdish) words]." (2006).
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Turkish dictionaries ที่เว็บไซต์ Curlie
- Turkish language ที่เว็บไซต์ Curlie
- Swadesh list of Turkish basic vocabulary words (from Wiktionary's Swadesh-list appendix)
- Turkish Language: Resources – University of Michigan
- บทความที่ขาดแหล่งอ้างอิงเฉพาะส่วนตั้งแต่July 2014
- หน้าที่มีสัทอักษรสากลไม่ระบุภาษา
- บทความที่มีข้อความภาษาOld Turkic
- บทความที่มีข้อความที่อาจล้าสมัยตั้งแต่ 2002
- ภาษาตุรกี
- ตระกูลภาษาเตอร์กิก
- ภาษารูปคำติดต่อ
- ภาษาในประเทศอาเซอร์ไบจาน
- ภาษาในประเทศบัลแกเรีย
- ภาษาในประเทศไซปรัส
- ภาษาในประเทศเยอรมนี
- ภาษาในประเทศคอซอวอ
- ภาษาในประเทศรัสเซีย
- ภาษาในประเทศมาซิโดเนียเหนือ
- ภาษาในประเทศตุรกี
- ภาษาประธาน–กรรม–กริยา