ข้ามไปเนื้อหา

ทวีศักดิ์ เสนาณรงค์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทวีศักดิ์ เสนาณรงค์
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2537 – พ.ศ. 2538
ก่อนหน้าโกวิท วรพิพัฒน์
ถัดไปสุรัฐ ศิลปอนันต์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด17 พฤษภาคม พ.ศ. 2478
เสียชีวิต1 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 (86 ปี)
คู่สมรสท่านหญิงปัทมนรังษี เสนาณรงค์
บุตรปัทมศักดิ์ เสนาณรงค์
ปัทมนิฐิ เสนาณรงค์
ปัทมวดี เสนาณรงค์

ทวีศักดิ์ เสนาณรงค์ (17 พฤษภาคม พ.ศ. 2478 - 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2564) อดีตประธานกรรมการ บริษัท บางสะพานบาร์มิล จำกัด (มหาชน) อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ[1] อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาเอกชน อดีตรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และอดีตอธิบดีกรมศิลปากร

ประวัติ

[แก้]

ทวีศักดิ์ เสนาณรงค์ เกิดเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2478 เป็นบุตรของหลวงเสนาณรงค์สมรสกับท่านหญิงปัทมนรังษี เสนาณรงค์ (พระนามเดิม:หม่อมเจ้าปัทมนรังษี ยุคล) พระธิดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการกับหม่อมอุบล ยุคล ณ อยุธยา มีบุตรธิดา 3 คน คือ ปัทมศักดิ์ เสนาณรงค์ ปัทมนิฐิ เสนาณรงค์ และปัทมวดี เสนาณรงค์

ทวีศักดิ์ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 สิริอายุรวม 86 ปี

วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมฯ ให้ นาย ชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา เข้าร่วมพิธีพระราชทานเพลิงศพ ณ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร

การศึกษา

[แก้]
  • เข้าศึกษาในคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ เมื่อปี พ.ศ. 2496 เป็นนักศึกษารุ่นที่ 10 ของคณะฯ
  • สำเร็จการศึกษาศิลปบัณฑิต สาขาจิตรกรรม เมื่อ พ.ศ. 2511 ไดรับประกาศนียบัตรศิลปะ (L’ Accademia di Belle Arti di Roma, Italy)

การทำงาน

[แก้]

ทวีศักดิ์ เข้ารับราชการครั้งแรกในตำแหน่งนายช่างตรี กรมศิลปากร รับราชการจนได้เป็นผู้อำนวยการกองสังคีต รองอธิบดีกรมศิลปากร อธิบดีกรมศิลปากร รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาเอกชน และตำแหน่งสุดท้ายคือปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

ผลงาน

[แก้]

เป็นคณะกรรมการงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ซ่อมแซมบูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพระบรมมหาราชวัง จัดงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 จัดสร้างพระพุทธพระประธานพุทธมณฑล รวมถึงสังเวชนียสถาน 4 ตำบล ณ พุทธมณฑล จัดตั้งหอภาพยนตร์แห่งชาติ เปิดอุทยานประวัติศาสตร์ 8 แห่ง[2]

รางวัล

[แก้]
  • ได้รับรางวัลกิติคุณสัมพันธ์ "สังข์เงิน" ประจำปี 2528 สาขาส่งเสริมเอกลักษณ์ของชาติ
  • ได้รับรางวัล "MIN – ON ARTS AWARD" จากประเทศญี่ปุ่น
  • เป็นศิษย์เก่าดีเด่น วิทยาเขตเพาะช่าง ปี พ.ศ. 2533

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. แนะนำกระทรวง เก็บถาวร 2015-02-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กระทรวงศึกษาธิการ
  2. "ทวีศักดิ์ เสนาณรงค์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-13. สืบค้นเมื่อ 2015-01-14.
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๓๐ ง หน้า ๑๖๖๕, ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๓
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๒๙
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๑, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๐
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๓๘, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๘ ข หน้า ๒๔, ๑๑ ธันวาคม ๒๕๔๐
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๑๑๓, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชุจิ, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๕๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๙, ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๑๖