ข้ามไปเนื้อหา

มนพร เจริญศรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มนพร เจริญศรี
มนพร ใน พ.ศ. 2566
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
เริ่มดำรงตำแหน่ง
1 กันยายน พ.ศ. 2566
(1 ปี 68 วัน)
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ
สุรพงษ์ ปิยะโชติ
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน
แพทองธาร ชินวัตร
รัฐมนตรีว่าการสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
ก่อนหน้าอธิรัฐ รัตนเศรษฐ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดนครพนม
เริ่มดำรงตำแหน่ง
3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
(13 ปี 182 วัน)
ก่อนหน้าไพจิต ศรีวรขาน
อลงกต มณีกาศ
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครพนม
ดำรงตำแหน่ง
14 มีนาคม พ.ศ. 2547 – 13 มีนาคม พ.ศ. 2551
(4 ปี 0 วัน)
ถัดไปสมชอบ นิติพจน์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
มนพร ทำทอง

23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508 (58 ปี)
อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ประเทศไทย
พรรคการเมืองเพื่อไทย (2554–ปัจจุบัน)
คู่สมรสเอกรินทร์ เจริญศรี
ลายมือชื่อ

มนพร เจริญศรี ม.ว.ม. ป.ช. (เกิด 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508) ชื่อเล่น เดือน เป็นนักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม สังกัดพรรคเพื่อไทย 3 สมัย อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครพนม และประธานคณะกรรมการพัฒนาสตรี จังหวัดนครพนมตั้งแต่ พ.ศ. 2552 จนถึงปัจจุบัน

ประวัติ

มนพร เจริญศรี เกิดเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508 ที่อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม[1] มีชื่อเล่นว่า เดือน เป็นบุตรสาวของนายสุนทร และนางจันทร์ฟอง ทำทอง มีพี่น้อง 2 คน สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจาก โรงเรียนนครพนมวิทยาคม ระดับปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ ระดับอนุปริญญา วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา ระดับปริญญาโท ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง และ ระดับปริญญาเอก ศิลปศาสตร์ดุษฏีบัญฑิต สาขาสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก

มนพร สมรสกับนายเอกรินทร์ เจริญศรี และมีธิดา 1 คน ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ใน คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อนึ่ง เธอเป็นบุตรบุญธรรมของ นายประสงค์ บูรณ์พงศ์ อดีต ส.ส. นครพนม หลายสมัย และรัฐมนตรีในหลายรัฐบาล (บรรหาร ศิลปอาชา, พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ และ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)[2]

งานการเมือง

การเมืองท้องถิ่น

เธอเข้าสู่การเมืองจากการลงเลือกตั้ง สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครพนม โดยชนะการเลือกตั้งในเขตอำเภอเมือง และดำรงตำแหน่งเป็น รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครพนม ต่อมาได้เข้าสู่งานบริหาร จากการได้รับความไว้วางใจจากสมาชิกสภาจังหวัด ที่ร่วมกันโหวตให้เธอเป็น รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครพนม ในภายหลัง มนพร ชนะการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครพนม ในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2547 นับเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญในสนามการเมืองท้องถิ่นของเธอ[3]

การเคลื่อนไหวทางการเมือง

มนพร คือนักต่อสู้ในนามคนเสื้อแดงจังหวัดนครพนม นับตั้งแต่หลังการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 โดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ภายใต้การนำของพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน เธอเข้าร่วมการชุมนุมหลายครั้ง หลังเธอได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส. ในปี 2554 เธออาสามารับผิดชอบงานในกรรมาธิการการมีส่วนร่วมพัฒนาการเมือง เพื่อทวงสิทธิให้กับคนเสื้อแดงที่เสียชีวิตจากการชุมนุม[4]

การเข้าสู่สนามการเมืองใหญ่

มนพรได้รับการขนานนามจากพี่น้องในพื้นที่ ว่าเป็นนักการเมืองท้องถิ่นที่มีผลงานพัฒนาที่เด่นชัด ใกล้ชิด ติดดิน และเข้าถึงพี่น้องประชาชน ในปี 2554 เธอลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนมเป็นครั้งแรก ในสังกัดพรรคเพื่อไทย และได้คะแนนเสียงอย่างถล่มทลายกว่า 53,714 เสียง คิดเป็นกว่า 64.29% ของผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งในเขตเธอ ภายหลังการรัฐประหาร มนพร ยังคงลงเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม อย่างต่อเนื่องในปี การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เธอสามารถเอาชนะ ศุภชัย โพธิ์สุ หรือ "สหายแสง" ตัวเต็งจากพรรคภูมิใจไทย กว่า 9,328 คะแนน นับเป็นอีกหนึ่งสมรภูมิการเลือกตั้งที่สร้างชื่อเสียงให้เธอ[5]

เธอเป็นนักประสานงานระหว่างพรรคการเมือง และเป็นที่ไว้วางใจในกลุ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวิปฝ่ายต่างๆ จนได้รับการขนานนามว่าเป็น "ผู้ประสาน 10 ทิศ" ในสภาผู้แทนราษฎร และยังเป็นเลขานุการภาคอีสาน ของพรรคเพื่อไทย

ต่อมาเธอได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน ในปี 2566[6]

ตำแหน่งทางการเมือง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ฐานข้อมูล ผู้แทนราษฎร
  2. มนพร เจริญศรี vs อารมณ์ เวียงด้าน คู่ชิงดำ ส.ส.นครพนม เขต 2 วันที่ 3 ก.ค.54
  3. "ประวัติ มนพร เจริญศรี Mekha News (มีค่านิวส์) : เว็บไซต์ข่าว ที่จะนำเสนอข่าวสารเพื่อรักษาสิทธิให้กับคุณ". 2023-07-04.
  4. Ltd.Thailand, VOICE TV (2023-07-28). "Voice Politics : 'มนพร เจริญศรี' ครูใหญ่ สส. 'เพื่อไทย' ดีเอ็นเอไม่ยอม 'เผด็จการ". VoiceTV.
  5. narongs. "ทำความรู้จัก 'ส.ส.เดือน' มนพร เจริญศรี ส.ส.นครพนม 3 สมัย พรรคเพื่อไทย". เดลินิวส์.
  6. โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง คณะรัฐมนตรี "เศรษฐา" นายกฯ ควบ "รมว.คลัง"
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๗, เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๘, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า มนพร เจริญศรี ถัดไป
อธิรัฐ รัตนเศรษฐ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
(ครม. 63)

(1 กันยายน พ.ศ. 2566 – ปัจจุบัน)
อยู่ในวาระ