ข้ามไปเนื้อหา

สะพานเทวกรรมรังรักษ์

พิกัด: 13°45′37″N 100°30′46″E / 13.760147°N 100.512890°E / 13.760147; 100.512890
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สี่แยก เทวกรรม
สะพานเทวกรรมรังรักษ์
แผนที่
ชื่ออักษรไทยเทวกรรม
ชื่ออักษรโรมันThewakam
รหัสทางแยกN395 (ESRI), 026 (กทม.)
ที่ตั้งแขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร
ทิศทางการจราจร
ถนนนครสวรรค์
» แยกจักรพรรดิพงษ์
ถนนกรุงเกษม
» แยกมัฆวาน
ถนนนครสวรรค์
» แยกนางเลิ้ง
ถนนกรุงเกษม
» แยกสะพานขาว

สะพานเทวกรรมรังรักษ์ เป็นสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษม ในแขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กับแขวงสี่แยกมหานาค และแขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เป็นสะพานที่เชื่อมถนนนครสวรรค์เข้าไว้ด้วยกันและตัดกับถนนกรุงเกษมที่เชิงสะพาน โดยเป็นสี่แยก เป็นสะพานที่อยู่ใกล้กับวัดโสมนัสวิหาร, ทำเนียบรัฐบาล และย่านนางเลิ้ง ชุมชนเก่าแก่แห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร รวมถึงสนามม้านางเลิ้ง

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดฯ ให้สร้างและทรงเปิดสะพานนี้เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2443 เป็นสะพานที่มีความสวยงามด้วยสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกผสมไทย ได้รับการบูรณะเมื่อปี พ.ศ. 2517

โดยเป็นสะพานชุดที่สร้างข้ามคลองผดุงกรุงเกษมนี้มีชื่อเรียกคล้องจองกัน คือ สะพานเทเวศรนฤมิตร, สะพานวิศสุกรรมนฤมาณ, สะพานมัฆวานรังสรรค์, สะพานเทวกรรมรังรักษ์ และสะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์ ซึ่งทั้งหมดมีความหมายโดยรวมว่า "สะพานที่สร้างโดยเทวดา" ในส่วนของสะพานเทวกรรมรังรักษ์ หมายถึง "สะพานที่พระเทวกรรมสร้าง" ซึ่งเป็นเทพเจ้าองค์หนึ่งตามความเชื่อของไทย ลักษณะคล้ายคลึงกับพระพิฆเนศตามความเชื่อของฮินดู[1] ซึ่งตามความเชื่อดั้งเดิมของฮินดูไม่มี เมื่อผ่านสะพานนี้ไปผ่านถนนนครสวรรค์จนต่อไปถึงแยกจักรพรรดิพงษ์ และไปอีกจะถึงสะพานผ่านฟ้าลีลาศบรรจบกับถนนราชดำเนิน[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. อุ่ยเต็กเค่ง, คมกฤช (2016-05-27). "คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง : 'พระพิฆเนศวร์' ที่อินเดียไม่รู้จัก". มติชนสุดสัปดาห์.
  2. "CHN_สะพานเทวกรรมรังรักษ์". ชื่อนี้สำคัญไฉน?. 2010-12-21.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°45′37″N 100°30′46″E / 13.760147°N 100.512890°E / 13.760147; 100.512890

สะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษมในปัจจุบัน
เหนือน้ำ
สะพานคนเดินข้ามคลองผดุงกรุงเกษม บริเวณวัดโสมนัสราชวรวิหาร
สะพานเทวกรรมรังรักษ์
ท้ายน้ำ
สะพานคนเดินข้ามคลองผดุงกรุงเกษม บริเวณสำนักงานสภาพัฒนาสังคมฯ