แยกบ้านขมิ้น

พิกัด: 13°45′09″N 100°29′01″E / 13.752480°N 100.483556°E / 13.752480; 100.483556
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สามแยก บ้านขมิ้น
แผนที่
ชื่ออักษรไทยบ้านขมิ้น
ชื่ออักษรโรมันBan Khamin
รหัสทางแยก472 (กทม.)
ที่ตั้งแขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
ทิศทางการจราจร
ถนนอรุณอมรินทร์
» แยกศิริราช
ถนนอรุณอมรินทร์
» แยกวังเดิม
ซอยอิสรภาพ 44
» แยกวัดดงมูลเหล็ก

แยกบ้านขมิ้น (อังกฤษ: Ban Khamin Junction) เป็นสามแยกจุดตัดซอยอิสรภาพ 44 (ซอยแสงศึกษา) และถนนอรุณอมรินทร์ บริเวณเยื้องกับซอยวัดระฆังโฆสิตาราม ถัดจากจุดบรรจบระหว่างคลองวัดระฆังกับคลองบ้านขมิ้น (แนวคูเมืองกรุงธนบุรี) มาทางทิศเหนือ ในพื้นที่แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร

ประวัติ[แก้]

โดยชื่อ "บ้านขมิ้น" นั้นมาจากในอดีต ตั้งแต่ยุคกรุงธนบุรีเป็นราชธานี ที่แห่งนี้เป็นชุมชนของช่างฝีมือที่ผลิตผงขมิ้นที่มีชื่อเสียง ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นมะตูมเชื่อม จนทำให้ได้ชื่อว่า "ซอยมะตูม" หรือ "ตรอกมะตูม" ในซอยอรุณอัมรินทร์ 23 ซึ่งแต่เดิมซอยนี้มีชื่อว่า "ตรอกสวนอนันต์" ซึ่งผลิตเปลือกส้มโอจำหน่าย จนได้ชื่อว่า "บ้านเปลือกส้มโอ" แต่ภายหลังได้เปลี่ยนเป็นมะตูมเชื่อม ซึ่งไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้เปลี่ยนมาตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่ทางการก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ตรอกมะตูม ดังในปัจจุบัน เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะทางกายภาพเพื่อให้จดจำง่าย ส่วนชื่อบ้านขมิ้น เหลือหลักฐานเพียงศาลเจ้าพ่อบ้านขมิ้น (ปึงท้าวกง) ศาลเจ้าจีนขนาดเล็กของชาวแต้จิ๋วหลังหนึ่งที่ตั้งอยู่ใกล้กับแยก[1] [2]ซึ่งสร้างตรงกับรัชสมัยจักรพรรดิกวังซฺวี่ แห่งราชวงศ์ชิง[3] และคลองบ้านขมิ้น ซึ่งเป็นลำคลองสายหนึ่งอันเป็นส่วนหนึ่งของคูเมืองกรุงธนบุรี อยู่ในแนวเลียบหลังบ้านเรือนประชาชนตั้งแต่ตรอกมะตูมผ่านหน้าวัดพระยาทำวรวิหาร ซึ่งปัจจุบันเหลือสภาพเป็นเพียงคลองที่ตื้นเขินและถูกรุกล้ำและกลายเป็นเพียงท่อระบายน้ำออกสู่คลองบางกอกน้อยเท่านั้น[4]

กายภาพ[แก้]

เป็นจุดบรรจบของถนนอรุณอมรินทร์ ขนาด 4 ช่องจราจร (ไม่มีเกาะกลาง) ในแนวเหนือ-ใต้, ซอยแสงศึกษา ขนาด 2 ช่องจราจร (ไม่มีเกาะกลาง)

สถานที่สำคัญบริเวณใกล้แยกบ้านขมิ้น[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "พินิจนคร (Season 1) ตอน ธนบุรี 2". พินิจนคร. 2009-02-16. สืบค้นเมื่อ 2018-02-11.
  2. "ชื่อแหล่งวัฒนธรรม คหกรรมศิลป์ เขตบางกอกน้อย : ตรอกมะตูม". กรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อ 2018-02-11.
  3. จันทโรนานนท์, พรพรรณ. "ศาลเจ้าในกรุงเทพ". สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง เล่ม 1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-16. สืบค้นเมื่อ 2018-03-15.
  4. ไชยคง, ภาณุพงษ์ (2017-11-01). "คลองคูเมืองธนบุรีฝั่งตะวันตก เหลือฐานะแค่" ท่อระบายน้ำ "". มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์. สืบค้นเมื่อ 2018-02-12.[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

13°45′09″N 100°29′01″E / 13.752480°N 100.483556°E / 13.752480; 100.483556