รัชดา ธนาดิเรก
รัชดา ธนาดิเรก | |
---|---|
รัชดา ในปี พ.ศ. 2561 | |
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 20 สิงหาคม พ.ศ. 2562 – 1 กันยายน พ.ศ.2566 ดำรงตำแหน่งร่วมกับ ไตรศุลี ไตรสรณกุล, ทิพานัน ศิริชนะ | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | พลโท วีรชน สุคนธปฏิภาค |
ถัดไป | คารม พลพรกลาง รัดเกล้า สุวรรณคีรี เกณิกา อุ่นจิตร์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 18 สิงหาคม พ.ศ. 2518 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2541–ปัจจุบัน) |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รัชดา ธนาดิเรก (เกิด 18 สิงหาคม พ.ศ. 2518) เป็นรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา[1] อดีตกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์[2] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 33 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ 2 สมัย และเคยดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ประวัติ
[แก้]รัชดา ธนาดิเรก เกิดเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2518 ที่ กรุงเทพมหานคร เป็นธิดาของ นายเทอดศักดิ์ ธนาดิเรก นักธุรกิจเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง และสารหล่อลื่น และนางเพลินจิต ธนาดิเรก มีชื่อเล่นว่า กานต์ สำเร็จปริญญาตรี สาขาบริหารธุรกิจ จาก มหาวิทยาลัยมหิดล ปริญญาโท 2 สาขา จาก สหราชอาณาจักร คือ สาขากลยุทธ์องค์กรและบรรษัทภิบาล มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ และ สาขาการจัดการบัญชีและการเงินระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยน็อตติงแฮม และสำเร็จปริญญาเอก ด้านธุรกิจระหว่างประเทศ จาก สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที)
การทำงาน
[แก้]งานด้านการศึกษา
[แก้]รัชดา ธนาดิเรก เคยเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และเป็นอาจารย์พิเศษอีกหลายสถาบัน
ในช่วง วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2550 ผศ.ดร.รัชดา ธนาดิเรก เป็นหนึ่งใน 50 คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ร่วมลงชื่อคัดค้านการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
งานการเมือง
[แก้]รัชดา เริ่มเข้าสู่งานการเมืองในการเลือกตั้งในปลายปี พ.ศ. 2550 ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. กรุงเทพมหานคร เขต 12 (เขตบางกอกน้อย, บางพลัด, ตลิ่งชัน, ทวีวัฒนา) ในสังกัด พรรคประชาธิปัตย์ และได้รับการเลือกตั้ง พร้อมกับ นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ และ นายชนินทร์ รุ่งแสง
ภายหลังการจัดตั้ง รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ทำให้ พรรคประชาธิปัตย์ มีสถานะเป็นพรรคฝ่ายค้านเพียงพรรคเดียวในสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์จึงประกาศจัดตั้ง คณะรัฐมนตรีเงา หรือ ครม.เงา ขึ้น เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 เพื่อติดตามตรวจสอบ และเสนอแนะการบริหารงานของรัฐบาล ตามรูปแบบที่มีในต่างประเทศ ดร.รัชดาได้รับเลือกจากทางพรรคให้ทำหน้าที่ รองโฆษกรัฐบาลเงา[3] หรือเท่ากับต้องทำงานประกบกับ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ด้านการทำงานในสภาผู้แทนราษฎร ดร.รัชดา ธนาดิเรก ได้ปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมาธิการและอนุกรรมาธิการหลายคณะ เช่น กรรมาธิการและโฆษกกรรมาธิการการต่างประเทศ กรรมาธิการแก้ไขปัญหาหนี้สินแห่งชาติ อนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับกลุ่มประชาชาติมุสลิม กรรมาธิการเพื่อพิจารณาศึกษาปัญหาโครงการแท็กซี่เอื้ออาทร กรรมาธิการและโฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตลอดจนเป็นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหลายฉบับ เช่น พรบ.จัดหาและคุ้มครองคนหางาน พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พรบ.ประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ พรบ.มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 รัชดา ธนาดิเรก ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตบางพลัด - บางกอกน้อย อีกครั้งจากการเลือกตั้งฯ วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 และได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ รองโฆษกคณะรัฐมนตรีเงา ของพรรคประชาธิปัตย์ ในช่วงรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[4]
ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562 รัชดา ธนาดิเรก ได้รับแต่งตั้งเป็นรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หรือคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 62[5]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 รัชดาได้เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ของพรรคประชาธิปัตย์ ในลำดับที่ 16 [6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[8]
การกีฬา
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ มติครม.ตั้ง "รัชดา" กับ "ไตรศุลี" เป็นรองโฆษกประจำสำนักนายกฯ
- ↑ เปิดรายชื่อกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 39 คน
- ↑ จากโฆษกเงา สู่รองโฆษกทำเนียบบิ๊กตู่ รัชดา ธนาดิเรก ฉีกกฎ พีอาร์รัฐบาลมวลมหามิตร พูดความจริง เป็นกลาง ไม่อวย-ไม่เลี่ยนมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 27 กันยายน - 3 ตุลาคม 2562
- ↑ คลอดแล้วรายชื่อ 'ครม.เงา' อภิสิทธิ์ นายกฯควบกห. ส่วน สุเทพ นั่ง มท. จุติ รั้งเงาคลัง[ลิงก์เสีย]
- ↑ ครม. แต่งตั้ง “รองโฆษกรัฐบาล” 2 ตำแหน่ง “รัชดา ธนาดิเรก” และ “ไตรศุลี ไตรสรณกุล”
- ↑ "เผยเซฟโซนปาร์ตี้ลิสต์ ปชป. "จุรินทร์-ชวน" นำทีม "ตั๊น" ที่ 10 เบียด "เดียร์" พร้อมใส่เฝือกหาเสียง". ผู้จัดการออนไลน์. 2023-04-04. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-06. สืบค้นเมื่อ 2023-04-06.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๗๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2011-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๑๓๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
- ↑ 9.0 9.1 "เริ่มต้นอย่างยิ่งใหญ่กับมหกรรมกีฬาสาธิตสามัคคี ปทุมวันเกมส์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-04. สืบค้นเมื่อ 2020-12-25.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2518
- นักวิชาการชาวไทย
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ - ศิลปศาสตร์ - มนุษยศาสตร์
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์
- นักการเมืองสตรีชาวไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- บุคคลจากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
- บุคคลจากคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- บุคคลจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
- นักกีฬาทีมชาติไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- บุคคลจากวิทยาลัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล
- นักการเมืองที่เป็นแนวร่วมกปปส.