ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ธนาคารกรุงไทย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 75: บรรทัด 75:
* เคทีบี แอดไวซ์เซอร์รี่ จำกัด (KTBA)
* เคทีบี แอดไวซ์เซอร์รี่ จำกัด (KTBA)


วันที่4กันยายน2562ธุรกิจประกันภัยมหาชน
=== ธุรกิจประกัน ===
* [[บริษัท กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)]] (KTAL)
คุณบุญมีอุดมจิตรบริษัทกรุงไทยแอกซ่าประกันชีวิตจำกัดมหาชนKTAL
* บริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด (มหาชน) (KPI)
บริษัทกรุงไทยพานิชประกันภัยจำกัดมหาชนKPI


=== ธุรกิจสนับสนุน ===
=== ธุรกิจสนับสนุน ===

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:39, 4 กันยายน 2562

{{กล่องข้อมูล บริษัท ชื่อ =คุณบุญมีอุดมจิตร4กันยายน2562ธนาคารกรุงไทย จำกัด มหาชน
Krung Thai Bank Public Company Limited [[ภาพ = ไฟล์:KTB 3DLOGO H ENTH BLUE RGB.jpg [[ประเภท = รัฐวิสาหกิจในรูปบริษัทมหาชน [[การซื้อขาย = KTB [[รูปแบบ = [[อุตสาหกรรม = ธนาคาร บริการการเงิน [[ก่อนหน้า = ธนาคารมณฑล[br]ธนาคารเกษตร |[ก่อตั้ง = 27 มกราคม พ.ศ. 2485 2485|1|27ปี, ธนาคารมณฑล)[br]26 เมษายน พ.ศ. 2493 2493|4|26 ปี, ธนาคารเกษตร[br]14 มีนาคม พ.ศ. 2509 |[อายุ|2509|3|14]]ปี, ธนาคารกรุงไทย |[ผู้ก่อตั้ง = กระทรวงการคลัง (ธนาคารมณฑลและกรุงไทย)
วิลาศ โอสถานนท์ และ
ดิเรก ชัยนาม (ธนาคารเกษตร) | ที่ตั้ง = อาคาร 1 : เลขที่ 35 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา
อาคาร 2 : เลขที่ 10 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร | จำนวนที่ตั้ง = 1,120 สาขา[1] | พื้นที่ = ประเทศไทย | บุคลากรหลัก =คุณบุญมีอุดมจิตร4กันยายน2564เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ประธานกรรมการธนาคาร4กันยายน2562
ผยง ศรีวณิชกรรมการผู้จัดการใหญ่4กันยายน2562 | บริการ = สถาบันการเงิน | มูลค่าตลาด = 268,340.38 ล้านบาท (2560)[2] | รายได้ = แม่แบบ:รายได้ ลดลง 156,973.75 ล้านบาท (2560)[3] | เงินได้สุทธิ = แม่แบบ:รายได้ ลดลง 22,440.01 ล้านบาท (2560)[4] | สินทรัพย์ = 2,854,210.01 ล้านบาท (2560)[5] | หุ้น = 287,861.26 ล้านบาท (2560)[6] | เจ้าของ = คุณบุญมีอุดมจิตร4กันยายน2562กระทรวงการคลัง( ประเทศไทย)กระทรวงการคลัง | จำนวนพนักงาน = | บริษัทลูก = ดูที่ หัวข้อย่อย | คำขวัญ = กรุงไทยเข้าใจคุณ | เว็บไซต์ = www.ktb.co.th | หมายเหตุ = | intl = }}

[[ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)เป็นบริษัทบริการการเงินในประเทศไทยมีสำนักงานอยู่ที่เขตวัฒนาและเขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ธนาคารกรุงไทยเป็นธนาคารพาณิชย์เพียงแห่งเดียวในประเทศที่มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจในรูปแบบของสถาบันการเงินภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง และเป็นหนึ่งในห้าธนาคารขนาดใหญ่[7]และมีจำนวนสาขาเป็นอันดับสามของประเทศไทยอ้างอิงผิดพลาด: พารามิเตอร์ในป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง

ธนาคารมณฑลได้รับการก่อตั้งโดยมีทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท โดยกระทรวงการคลังถือ 50,650 หุ้น และบริษัท ข้าวไทย จำกัด ซึ่งมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจถือ 45,172 หุ้น ทำให้ธนาคารมณฑลมีสัดส่วนของการถือหุ้นของรัฐสูงถึงร้อยละ 95.8 และกรรมการธนาคารในระยะแรกมีความสัมพันธ์อันแนบแน่นกับ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เช่น วนิช ปานะนนท์ แนบ พหลโยธิน พระยาเฉลิมอากาศ เป็นต้น และพนักงานส่วนใหญ่เป็นพนักงานเดิมจากธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ ธนาคารชาร์เตอร์ด และธนาคารเมอร์แคนไทล์ที่ได้ยุติกิจการไป[8]

ภายหลังการรัฐประหารของพล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ที่มีต่อรัฐบาลของ พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ใน พ.ศ. 2490 กลุ่มซอยราชครูที่เป็นกลุ่มการเมืองของพล.ท.ผิน ได้พยายามเข้าครอบงำธนาคารมณฑลเพื่อเป็นฐานเศรษฐกิจและประสบความสำเร็จใน พ.ศ. 2495 โดยแต่งตั้ง พล.ต.ต.ละม้าย อุทยานานนท์ หนึ่งในกลุ่มซอยราชครูขึ้นเป็นประธานคณะกรรมการต่อจากพระยาโกมารกุลมนตรีและพระยาบุรณศิริพงษ์เป็นผู้จัดการ ในภายหลังธนาคารได้กลับสู่กลุ่มอำนาจของจอมพล ป. อีกครั้งหลังจากการรัฐประหารใน พ.ศ. 2494 และอยู่ภายใต้กลุ่มอำนาจของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ หลังจากการรัฐประหารใน พ.ศ. 2500[8]

การถูกใช้แสวงหาผลประโยชน์ของกลุ่มอำนาจทางการเมืองหลายครั้งทำให้ฐานะของธนาคารมณฑลอยู่ในสภาวะง่อนแง่น มีผลการดำเนินงานต่ำ หลังจากการประกาศใช้พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 ซึ่งให้ความสำคัญกับการมีวินัยทางการเงินทำให้ธนาคารมณฑลเริ่มประสบภาวะขาดทุนจนได้รับอัดฉีดเงินการกระทรวงการคลังจาก 10 ล้านบาทเป็น 30 ล้านบาท โดยถือหุ้นร้อยละ 82.3 เพื่อมิให้ธนาคารล้มละลาย แต่ก็แก้ไขสถานการณ์ไม่ได้นักทำให้รัฐบาลในสมัยจอมพล ถนอม กิตติขจร ตัดสินใจรวมธนาคารมณฑลเข้ากับธนาคารเกษตร[8]

ธนาคารเกษตร

ธนาคารเกษตร (อังกฤษ: Agricultural Bank Ltd.) ได้รับการก่อตั้งโดยกลุ่มข้าราชการและพ่อค้าซึ่งนำโดยวิลาส โอสถานนท์และดิเรก ชัยนาม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าที่เป็นเกษตรกรเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2493 โดยมีทุนจดทะเบียนในชั้นแรก 10 ล้านบาท แบ่งเป็น 10,000 หุ้น โดยมีการกระจายหุ้นอย่างกว้างกว้างให้กับบุคคลต่าง ๆ โดยมีสุริยน ไรวาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และวิลาสดำรงตำแหน่งผู้จัดการคนแรก ต่อมาได้มีข้าราชการหลายคนเข้ารับตำแหน่งผู้จัดการแทน เช่น พระช่วงเกษตรศิลปการ พระยาบูรณสิริพงศ์[8]

ธนาคารเกษตรได้กลายเป็นฐานเศรษฐกิจของกลุ่มซอยราชครูเช่นเดียวกับธนาคารมณฑลโดยมีจอมพลผิน ชุณหะวัณ เข้ารับตำแหน่งประธานคณะกรรมการบริหารสืบต่อจากพระยาศรีวิสารวาจาทำให้ฐานะของธนาคารอยู่ในสภาวะตกต่ำจากการแสวงหาผลประโยชน์ ภายหลังจากการรัฐประหารใน พ.ศ. 2500 ธนาคารเกษตรเกิดวิกฤติการณ์ทางการเงินจนทำให้รัฐบาลต้องอัดฉีดเงินเพื่อประคองธนาคารและส่งผลให้ธนาคารแปรสภาพจากวิสาหกิจเอกชนเป็นรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลังพยายามที่จะอัดฉีดเงินเพื่อพยุงฐานะของธนาคารจนถึง พ.ศ. 2508 รัฐบาลถือหุ้นเป็นสัดส่วนร้อยละ 92.15 และต่อมาได้รวมกิจการเข้ากับธนาคารมณฑลโดยมี ม.จ. ทองประทาศรี ทองใหญ่ เป็นประธานคณะกรรมการบริหาร และจำรัส จตุรภัทร เป็นกรรมการผู้จัดการคนสุดท้ายของธนาคารเกษตร[8]

รวมกิจการ

ด้วยนโยบายของเสริม วินิจฉัยกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่เห็นว่าธนาคารพาณิชย์ของรัฐ ควรมีเพียงแห่งเดียวเท่านั้น ขณะที่ในเวลาดังกล่าว รัฐบาลไทยเข้าถือหุ้นใหญ่ ในธนาคารพาณิชย์ถึงสองแห่ง ประกอบด้วย ธนาคารมณฑล จำกัด ซึ่งก่อตั้งเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2485 และ ธนาคารเกษตร จำกัด ที่ก่อตั้งโดยสุริยน ไรวา ตั้งแต่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2493 กระทรวงการคลังจึงประกาศ ให้ควบรวมกิจการของธนาคารทั้งสองดังกล่าว โดยก่อตั้งขึ้นในชื่อใหม่ว่า ธนาคารกรุงไทย จำกัด เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2509 และใช้อาคารสำนักงานใหญ่แห่งเดิมของธนาคารเกษตร ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนเยาวราช แขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เป็นสำนักงานใหญ่ของธนาคารกรุงไทยในยุคแรก ต่อมาอาคารที่เยาวราชคับแคบ ไม่สามารถรองรับกิจการ ซึ่งขยายตัวขึ้นอย่างมาก ธนาคารจึงทำการย้ายสำนักงานใหญ่ ไปยังอาคารเลขที่ 35 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 จนถึงปัจจุบัน สำหรับอาคารที่เยาวราชในทุกวันนี้ นอกจากคงใช้เป็นสาขาเยาวราชแล้ว ยังปรับปรุงส่วนหนึ่งของอาคาร ให้เป็นหอศิลป์กรุงไทยด้วย

จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และแปรสภาพ

ธนาคารกรุงไทย นับเป็นรัฐวิสาหกิจแห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งนำหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย[ต้องการอ้างอิง] เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2532 ก่อนจะเปิดการซื้อขายอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ปีเดียวกัน และแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2537 ตามลำดับ ปัจจุบันกระทรวงการคลังยังคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยถือผ่านกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน[9]

ธนาคารกรุงไทยเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศประจำปี 2560[10]ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 17/2560

ธนาคารอื่นที่รับโอนกิจการและโอนบริการ

บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคาร

ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการให้สินเชื่อ

ธุรกิจด้านตลาดทุนและที่ปรึกษาทางการเงิน

  • บริษัทหลักทรัพย์ เคที ซีมิโก้ จำกัด (KT ZMICO)
  • บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTAM)
  • เคทีบี แอดไวซ์เซอร์รี่ จำกัด (KTBA)

วันที่4กันยายน2562ธุรกิจประกันภัยมหาชน คุณบุญมีอุดมจิตรบริษัทกรุงไทยแอกซ่าประกันชีวิตจำกัดมหาชนKTAL บริษัทกรุงไทยพานิชประกันภัยจำกัดมหาชนKPI

ธุรกิจสนับสนุน

  • บริษัท กรุงไทย คอมพิวเตอร์ เซอร์วิส จำกัด (KTBCS)
  • บริษัท รักษาความปลอดภัย กรุงไทยธุรกิจบริการ จำกัด (KTBGS)
  • บริษัท กรุงไทยกฎหมาย จำกัด (KTBLAW)

ตราสัญลักษณ์

ธนาคารกรุงไทยใช้ตราสัญลักษณ์เป็นภาพนกวายุภักษ์เช่นเดียวกับกระทรวงการคลังซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐที่กำกับดูแล ในช่วงแรกตราสัญลักษณ์จะเป็นรูปนกวายุภักษ์สีขาวล้อมรอบด้วยรูปวงกลมสีกรมท่าซึ่งเป็นสีประจำธนาคาร ต่อมาในพ.ศ. 2554 ธนาคารเปลี่ยนแปลงรูปแบบตราสัญลักษณ์โดยนำรูปวงกลมที่ล้อมรอบออกและเปลี่ยนสีพื้นหลังของนกวายุภักษ์จากสีขาวเป็นสีฟ้าอ่อนแทนหรือใช้เป็นรูปนกวายุภักษ์สีขาวบนพื้นหลังสีฟ้าในบางครั้ง

อ้างอิง