บัตรกรุงไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
ประเภทบริษัทมหาชน
การซื้อขาย
SET:KTC
อุตสาหกรรมธุรกิจการเงิน
เงินทุนและหลักทรัพย์
ก่อตั้ง4 ธันวาคม พ.ศ. 2539 (27 ปี)
สำนักงานใหญ่อาคารสมัชชาวาณิช 2 ชั้น 14, 591 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร
บุคลากรหลัก
นายประสงค์ พูนธเนศ (กรรมการอิสระ ประธานกรรมการ และประธานกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน)
พิทยา วรปัญญาสกุล (ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการ)
รายได้เพิ่มขึ้น รายได้ 6,763 ล้านบาท (1Q2024)บาท (2562)[1]
สินทรัพย์เพิ่มขึ้น สินทรัพย์ 106,434 ล้านบาท (1Q2024)บาท (2562)[1]
ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น ส่วนของผู้ถือหุ้น 37,638 ล้านบาท (1Q2024)บาท (2562)[1]
อันดับความน่าเชื่อถือTRIS: AA-[2]
เว็บไซต์www.ktc.co.th
ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ : 02 123 5000

บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (“บริษัท” หรือ “เคทีซี”) (ตัวย่อตลาดหลักทรัพย์ฯ : KTC) จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2539 ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มต้นที่ 50 ล้านบาท ในวันที่ 28 ตุลาคม 2545 บริษัทได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หมวดธุรกิจเงินทุนและหลักทรัพย์ ตั้งแต่ปี 2561 เคทีซีได้รับเลือกเข้าอยู่ใน SET 50 Index และ ณ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2567 บริษัทมีทุนจดทะเบียน 2,578,334,070 บาท เรียกชำระแล้ว 2,578,334,070 บาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญ 2,578,334,070 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท โดยมีธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่โดยมีสัดส่วนการถือหุ้น 49.29%

เคทีซีประกอบธุรกิจหลักด้านบัตรเครดิต ตลอดจนธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจบัตรเครดิต ธุรกิจร้านค้ารับบัตร การให้บริการรับชำระเงินแทน และธุรกิจสินเชื่อบุคคล ซึ่งครอบคลุมไปถึงสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับและสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน นอกจากนี้ เพื่อให้บริษัทมีการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและสังคม บริษัทได้จัดตั้งบริษัทย่อยเพื่อให้มีผลิตภัณฑ์ทางการเงินซึ่งครอบคลุมธุรกิจสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกำกับ ธุรกิจเงินอิเล็กทรอนิกส์ ธุรกิจเช่าซื้อและธุรกิจลิสซิ่ง เพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของบริษัทในการสร้างผลตอบแทนระยะยาวอย่างยั่งยืน

โดย ณ วันที่ 31 มีนาคม 2567  มีจำนวนบัญชีรวม ประมาณ 3.4 ล้านบัญชี แบ่งเป็น บัตรเครดิต 2,695,453 บัตร และบัญชีสินเชื่อบุคคล 727,694 บัญชี มีจำนวนศูนย์บริการ KTC TOUCH ทั้งสิ้น 12 แห่ง แบ่งเป็น กรุงเทพมหานคร 8 แห่ง ปริมณฑล 3 แห่ง และเชียงใหม่ 1 แห่ง

วิสัยทัศน์[แก้]

เคทีซีเป็นองค์กรสำหรับสมาชิก ที่มุ่งพัฒนาธุรกิจการชำระเงินและสินเชื่อรายย่อย โดยเน้นความเป็นองค์กรที่น่าเชื่อถือและการเติบโตอย่างยั่งยืนเป็นสำคัญ

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่[แก้]

ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2567
ลำดับที่ รายชื่อผู้ถือหุ้น จำนวนหุ้นที่ถือ (หุ้น) สัดส่วนการถือหุ้น
1 ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) 1,270,908,500 49.29%
2 นายมงคล ประกิตชัยวัฒนา 388,669,300 11.09%
3 บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 128,509,000 6.25%
4 นางสาวฉันทนา จิรัฐิติภัทร์ 121,809,471 4.51%
5 UBS AG SINGAPORE BRANCH 109,247,000 4.05%
6 UOB KAY HIAN PTE LTD A/C - RC 50,000,000 3.68%
7 BNP PARIBAS SINGAPORE BRANCH 36,955,531 3.36%
8 นางสาวจารุวรรณ ภัทรปัญญาดี 25,018,300 1.89%
9 SOUTH EAST ASIA UK (TYPE C) NOMINEES LIMITED 17,079,200 1.34%
10 บริษัทหลักทรัพย์เมย์แบงก์ (ประเทศไทย)จำกัด (มหาชน) 15,300,000 1.00%
11 STATE STREET EUROPE LIMITED 19,866,841 0.77%
12 นายชาญวิทย์ ประกิตชัยวัฒนา 18,592,700 0.72%
รวม 2,267,506,037 87.94%

* รายชื่อผู้ถือหุ้น 10 รายแรก รวมถึงผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละ 0.5 ของทุนชําระแล้วของบริษัทจดทะเบียน

[3][4][5][6]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 งบการเงิน/ผลประกอบการ เก็บถาวร 2010-07-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  2. {www.ktc.co.th/pub/media/sites/cs/assets/ir/debenturesinfo/document/KTC2567-TRIS-Rating.pdfเก็บถาวร 2021-01-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  3. งบการเงิน/ผลประกอบการ [1]
  4. https://www.ktc.co.th/pub/media/sites/cs/assets/ir/debenturesinfo/document/KTC2567-TRIS-Rating.pdf
  5. แบบ 56-1 One Report (รายงานประจำปี)[2]
  6. https://www.ktc.co.th/about/vision