พระยาเฉลิมอากาศ (สุณี สุวรรณประทีป)
พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ (สุณี สุวรรณประทีป) | |
---|---|
![]() | |
เกิด | 26 เมษายน พ.ศ. 2430 |
เสียชีวิต | 14 กันยายน พ.ศ. 2498 (68 ปี) |
บิดามารดา | หลวงอนุกูลราชกิจ (ทอง สุวรรณประทีป) นางอนุกูลราชกิจ (หรุ่น สุวรรณประทีป) |
พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ (สุณี สุวรรณประทีป) (26 เมษายน พ.ศ. 2430 - 14 กันยายน พ.ศ. 2498) เป็นนักบินคนแรกของประเทศไทยและเป็นผู้ให้กำเนิดกองทัพอากาศไทย
ประวัติ[แก้]
พระยาเฉลิมอากาศ มีนามเดิมว่า สุณี สุวรรณประทีป เกิดเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2430 ที่อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี เข้ามาศึกษาต่อที่โรงเรียนวัดจักรวรรดิราชาวาส โรงเรียนวัดมหาพฤฒาราม และโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จากนั้นเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก ได้คะแนนดีเยี่ยม จากนั้นเข้ารับราชการทหาร
ท่านได้รับทุนไปศึกษาวิชาการบินที่ประเทศฝรั่งเศส ขณะมียศเป็น นายพันตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ เป็นนักบินรุ่นแรก คนหนึ่งในจำนวน 3 คน ซึ่งประกอบด้วย นายร้อยเอก หลวงอาวุธสิขิกร (หลง สินศุข) (ต่อมาเป็น นาวาอากาศเอก พระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์) และนายร้อยโท ทิพย์ เกตุทัต (ต่อมาเป็น นาวาอากาศเอก พระยาทะยานพิฆาต)
ท่านรับราชการเป็นนักบินในกองทัพจนมียศเป็นนายพลโท บรรดาศักดิ์เป็นพระยาเฉลิมอากาศ เมื่อ พ.ศ. 2463 เป็นผู้ริเริ่มหน่วยบินซึ่งเดิมมีเครื่องบินเพียง 8 ลำ จนพัฒนามาเป็น กรมอากาศยานทหารบก และกลายเป็นกองทัพอากาศไทย ในเวลาต่อมา
นายพลโท พระยาเฉลิมอากาศ พ้นจากหน้าที่ "เจ้ากรมอากาศยาน" เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2475[1] ภายหลังมีการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ซึ่งได้มีคำสั่ง "ยกเลิกชั้นนายพลในกองทัพไทย" และกลับเข้าทำหน้าที่ ผู้กำกับการบินพลเรือน เป็นนายทหารนอกราชการ ในปี พ.ศ. 2481 ภายหลังได้รับพระราชทานยศ พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ และลาออกจากราชการเมื่อ พ.ศ. 2486
นายพลโท พระยาเฉลิมอากาศ ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2498 ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สิริอายุ 68 ปี 141 วัน
ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์
- 6 มกราคม พ.ศ. 2453 เป็น “หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ”[2]
- 18 มิถุนายน พ.ศ. 2457 เป็น “พระเฉลิมอากาศ”[3]
- 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2463 เป็น “พระยาเฉลิมอากาศ”[4]
ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรยศทหาร
- สิงหาคม พ.ศ. 2446 เป็นนักเรียนนายร้อย
- มิถุนายน พ.ศ. 2448 เป็นว่าที่นายร้อยตรี
- 21 กันยายน พ.ศ. 2448 เป็นนายร้อยตรี [5]
- 11 ตุลาคม พ.ศ. 2449 เป็นนายร้อยโท [6]
- 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2451 เป็นนายร้อยเอก [7]
- 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 เป็นนายพันตรี [8]
- 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2456 เป็นนายพันโท[9]
- 23 มีนาคม พ.ศ. 2459 เป็นนายพันเอก [10]
- 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 เป็นนายพลตรี [11]
- 6 มีนาคม พ.ศ. 2473 เป็นนายพลโท [12]
- พ.ศ. 2475 ยกเลิกยศนายทหารชั้นนายพล ใน กองทัพบก
- 1 ธันวาคม พ.ศ. 2479 เป็นนายนาวาอากาศเอก [13]
- 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493 เป็นพลอากาศโท[14]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. ๒๔๕๙ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)[15]
- พ.ศ. ๒๔๖๙ -
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 3 (ป.ป.ร.3)[16]
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 3 โยธิน (ย.ร.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง นายทหารออกจากประจำการ
- ↑ ส่งสัญญาบัตรขุนนางไปพระราชทาน (หน้า ๒๔๔๐)
- ↑ ตั้งและเลื่อนบรรดาศักดิ์ (หน้า ๗๓๗)
- ↑ พระราชทานบรรดาศักดิ์ (หน้า ๔๒๖)
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก (หน้า ๗๗๓)
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก (หน้า ๑๙๙)
- ↑ ตั้งตำแหน่งยศนายทหารบก
- ↑ ตั้งตำแหน่งยศนายทหารบก (หน้า ๔๑๔)
- ↑ พระราชทานยศนายทหารบก (หน้า ๙๒)
- ↑ พระราชทานยศทหารและข้าราชการในกระทรวงกลาโหม
- ↑ พระราชทานยศ (หน้า ๔๕๙๒)
- ↑ ประกาศ เรื่อง พระราชทานยศทหารอากาศ (หน้า ๒๕๕๙)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ↑ พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ (หน้า ๓๑๒๘)
บรรณานุกรม[แก้]
- ประวัติพระยาเฉลิมอากาศ
- หนังสือพระราชทานเพลิงศพ "พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ"
- ดนัย ไชยโยธา, นามานุกรมประวัติศาสตร์, โอเดียนสโตร์, 2548, ISBN 974-971-297-8