สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ
“สถาบันการเงินเฉพาะกิจ” (Specialised Financial Institutions: SFIs) คือ สถาบันการเงินเฉพาะกิจของประเทศไทยเป็นหน่วยงานภายใต้การควบคุมของรัฐซึ่งจัดตั้งขึ้นภายใต้กฎหมายเฉพาะกิจเพื่อดำเนินกิจการตามนโยบายของรัฐบาล จากเดิมสถาบันการเงินเหล่านี้สังกัดกระทรวงการคลัง ต่อมามติ ครม.ได้เห็นชอบให้ ธนาคารแห่งประเทศไทย กำกับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจเหล่านี้ [1]โดยฟิทช์คาดว่าการโอนอำนาจในการกำกับดูแลจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมและความโปร่งใสในการกำกับดูแล สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีสัดส่วนเงินฝากรวมที่ 25% ของเงินฝากของระบบและมีสัดส่วนการให้สินเชื่อแก่ภาคครัวเรือนคิดเป็น 29% ของสินเชื่อภาคครัวเรือนทั้งหมดของระบบ [2]
กลุ่มสถาบันการเงินเฉพาะกิจ[แก้]
- สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ทำหน้าที่เป็นธนาคารที่ให้บริการทางการเงินทั้งด้านเงินฝาก และให้สินเชื่อ ซึ่งปัจจุบันมี 4 แห่ง [3]
- สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ทำธุรกิจตามขอบเขตที่กำหนด เช่น การให้สินเชื่อหรือรับประกันสินเชื่อให้แก่ลูกค้าเฉพาะกลุ่ม แต่ไม่รับเงินฝากจากประชาชนทั่วไป ซึ่งปัจจุบันมี 4 แห่ง
- ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
- ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
- บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม
- บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย