ธนาคารมหานคร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธนาคารมหานคร
ก่อตั้ง4 กรกฎาคม พ.ศ. 2520
เลิกกิจการ2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541
สาเหตุรวมกิจการเข้ากับธนาคารกรุงไทย
ถัดไปธนาคารกรุงไทย
สำนักงานใหญ่20 ถนนยุคล 2 แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร

ธนาคารมหานคร (อังกฤษ: First Bangkok City Bank; ตัวย่อ: FBCB) เมื่อแรกตั้งใช้ชื่อว่า "บริษัทแบงค์ตันเปงชุน จำกัด" ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "ธนาคารไทยพัฒนา" ใน วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2503 และเปลี่ยนมาเป็น "ธนาคารมหานคร" ในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2520[1] ตั้งอยู่บริเวณสวนมะลิ และได้แปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชน เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2536 เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2540 ธนาคารได้ประสบกับปัญหา NPL จน ธนาคารแห่งประเทศไทยตั้งเข้ามาดูแลและได้ถูกควบรวมกิจการกับ บมจ.ธนาคารกรุงไทย ตั้งแต่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 เป็นต้นมา

ในปี 2559 ศาลมีคำพิพากษายึดทรัพย์ตระกูลสุวรรณภักดี 4 ราย เนื่องจากอนุมัติสินเชื่อธนาคารมหานครให้ลูกหนี้ มียอดหนี้ค้างชำระ 4,278 ล้านบาท ขณะที่มียอดสินเชื่อรวม 8 บัญชี เป็นเงิน 5,195 ล้านบาท เป็นการทุจริตตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารพาณิชย์ และ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 จึงมีคำสั่งยึดทรัพย์เป็นที่ดิน สิ่งปลูกสร้างและหุ้น มูลค่ารวม 6.7 ล้านบาท[2] ส่วนคดีที่ภคินี สุวรรณภักดี อดีตรองกรรมการผู้จัดการธนาคารมหานคร ถูกกล่าวหาในคดีทุจริตการปล่อยสินเชื่อของธนาคารมหานคร ศาลพิพากษาถึงที่สุดว่านางภคินีเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่มีความผิดฐานยักยอกทรัพย์[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. พัฒนาการธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย[ลิงก์เสีย]
  2. "อุทธรณ์ยึดทรัพย์ 'แม่อรรถวิชช์' ที่ดิน-สิ่งปลูกสร้าง คดีปล่อยกู้หนี้เน่า สูญ4.2พันล้าน". มติชน. สืบค้นเมื่อ 27 January 2022.
  3. "ประวัติ "อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี" นักการเมืองหนุ่มวินเทจ ผู้สะสมรถโบราณ จากค่ายประชาธิปัตย์". pptvhd36.com. สืบค้นเมื่อ 27 January 2022.