ข้ามไปเนื้อหา

ท่าอากาศยานเชียงใหม่

พิกัด: 18°46′00″N 98°57′45″E / 18.76667°N 98.96250°E / 18.76667; 98.96250
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Chiang Mai International Airport)
ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานสนามบินพาณิชย์/ศุลกากร/ทหาร
เจ้าของกองทัพอากาศ
ผู้ดำเนินงานบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
พื้นที่บริการจังหวัดเชียงใหม่, จังหวัดลำพูน
ที่ตั้งเลขที่ 60 หมู่ 3 ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
ฐานการบินนกแอร์
ไทยแอร์เอเชีย
บางกอกแอร์เวย์
เหนือระดับน้ำทะเล1,036 ฟุต / 316 เมตร
พิกัด18°46′00″N 98°57′45″E / 18.76667°N 98.96250°E / 18.76667; 98.96250
เว็บไซต์chiangmai.airportthai.co.th
แผนที่
แผนที่
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
ฟุต เมตร
18/36 11,334 3,400 ยางมะตอย
สถิติ (ตั้งแต่ พ.ศ. 2482)
24 เที่ยวบินต่อชั่วโมง
90 เที่ยวบินต่อวัน
60,000 เที่ยวบินต่อปี
ภายในอาคารท่าอากาศยานเชียงใหม่
Airbus A380 ของสายการบินไทย สามารถทำการบินขึ้นลงที่ท่าอากาศยานเชียงใหม่ได้
Boeing 747-400 ของสายการบินไทย ที่ทำการบินประจำท่าอากาศยานเชียงใหม่
Airbus A319 ของสายการบินบางกอกแอร์เวย์ ที่สนามบินเชียงใหม่

ท่าอากาศยานเชียงใหม่ หรือ สนามบินเชียงใหม่ (อังกฤษ: Chiang Mai International Airport) (IATA: CNX , ICAO: VTCC) ตั้งอยู่เลขที่ 60 ถนนมหิดล ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ทางตะวันตกเฉียงใต้ ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ 4 กิโลเมตร เป็นท่าอากาศยานที่ให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศ (International Airport)[1] และเป็นท่าอากาศยานนานาชาติ 1 ใน 6 แห่ง ที่บริหารงานโดยบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) โดยมีผู้อำนวยการท่าอากาศยานเชียงใหม่ดูแล เป็นท่าอากาศยานที่สำคัญ เป็นศูนย์กลางทางการบินของภาคเหนือ โดยมีเที่ยวบินเข้าออกหนาแน่นเป็นลำดับสี่ รองจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง และท่าอากาศยานภูเก็ต

ข้อมูลทั่วไป

[แก้]

สนามบินเชียงใหม่เดิมชื่อ สนามบินสุเทพ ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2464 การตั้งสนามบินเชียงใหม่เป็นพระดำริของนายพลโทหม่อมเจ้าบวรเดช อุปราชมณฑลพายัพ โดยเลือกพื้นที่บริเวณเชิงดอยสุเทพ ซึ่งขณะนั้นมีสภาพเป็นป่าไผ่ เมื่อสนามบินสร้างเสร็จได้มอบให้อยู่ในการดูแลของกระทรวงกลาโหม พร้อมกันนั้น ภาคเจ้านายและประชาชนเชียงใหม่ได้รวบรวมเงินเพื่อจัดซื้อเครื่องบินแบบเบร์เก 14 (Bréguet 14) ให้กองทัพไว้ใช้ในราชการฝ่ายเหนือ และมีการตั้งชื่อเครื่องบินนี้ว่า จังหวัดเชียงใหม่ 1

16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2466 มีการเปิดสนามบินอย่างเป็นทางการ เครื่องบินจังหวัดเชียงใหม่ 1 ได้บินมาแตะพื้นรันเวย์สนามบินเชียงใหม่เป็นปฐมฤกษ์ ต่อมามีการเปลี่ยนชื่อเป็น สนามบินเชียงใหม่ และ ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ตามลำดับ

ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่มีพื้นที่กว่า 1,600 ไร่ ปัจจุบันมีอาคารผู้โดยสาร 2 หลัง คือหลังเดิม เป็นอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ และหลังใหม่ เป็นอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ ท่าอากาศยานแห่งนี้สามารถรองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 8 ล้านคนต่อปี และมีสถิติปริมาณอากาศยานพาณิชย์ขึ้นลง ในปี พ.ศ. 2549 จำนวน 24,469 เที่ยวบิน, พ.ศ. 2550 จำนวน 26,708 เที่ยวบิน, พ.ศ. 2554 จำนวน 32,445 เที่ยวบิน และล่าสุด พ.ศ. 2555 จำนวนมากกว่า 37,000 เที่ยวบิน ในวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2561 สายการบินวิสดอมแอร์เวย์ทำการบินประจำที่ท่าอากาศยานแห่งนี้โดยทำการบินเที่ยวบินปฐมฤกษ์จากท่าอากาศยานน่านนครมายังท่าอากาศยานเชียงใหม่ด้วยเครื่องบินทะเบียน HS-WIA[2] เส้นทางบินที่ไกลที่สุดของท่าอากาศยานเชียงใหม่ได้แก่ TG922 ทำการบินจากเชียงใหม่แวะกรุงเทพมหานครปลายทางแฟรงเฟิร์ต และ TG923 ทำการบินจากแฟรงเฟิร์ตแวะที่กรุงเทพมหานครปลายทางเชียงใหม่ ซึ่งปัจจุบันได้ยกเลิกไปแล้ว

ท่าอากาศยานเชียงใหม่ สามารถรับเครื่องบิน ชนิด แอร์บัส เอ380 และ โบอิง 747 ได้

โดยวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2550 เครื่องบิน แอร์บัส A380 สายการบินไทย ได้ทำการบินมาลงที่ท่าอากาศยานเชียงใหม่ [3]

ท่าอากาศยานเชียงใหม่มองจากวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2565

โครงสร้าง

[แก้]

ปีกทิศเหนือ

[แก้]

โถงกลางอาคาร

[แก้]
  • มีร้านค้าขายสินค้าที่ระลึก ร้านหนังสือ ร้านอาหาร
  • บริเวณตรงกลางเป็นห้องรับรองพิเศษของสายการบินการบินไทย บางกอกแอร์เวย์
    • ด่านตรวจสัตว์น้ำท่าอากาศยานเชียงใหม่
    • ศุลกากร
    • ร้านไอศกรีม Dairy Queen
  • เป็นที่ตั้งของไปรษณีย์ไทย สาขาท่าอากาศยานเชียงใหม่
  • ตำรวจท่องเที่ยว ประจำท่าอากาศยานเชียงใหม่
  • มีประตูทางออกจากอาคาร

ปีกทิศใต้

[แก้]

อาคารผู้โดยสารชั้นที่ 2

[แก้]

ปีกทิศเหนือ ก่อนเข้าประตู (Gate) อาคารผู้โดยสารภายประเทศ

[แก้]
  • ร้าน ภัตตาคารการบินไทย
  • ร้าน วนัสนันท์
    • จุดตรวจความปลอดภัย วัตถุอันตราย DRG
    • ร้านสินค้าปลอดภาษี King Power

โถงกลางอาคาร

[แก้]
  • ฝ่ายรักษาความปลอดภัย ท่าอากาศยานเชียงใหม่
  • ร้าน Mcdonald's
  • ร้าน Burger King
  • ร้าน Starbucks

ปีกทิศใต้ ก่อนเข้าประตู (Gate) อาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ

[แก้]
  • ตรวจหนังสือเดินทาง

สายการบิน

[แก้]

สายการบินที่ให้บริการ

[แก้]
สายการบิน จุดหมายปลายทาง หมายเหตุ
การบินไทย กรุงเทพฯ–สุวรรณภูมิ ภายในประเทศ
บางกอกแอร์เวย์ส กระบี่, กรุงเทพฯ–สุวรรณภูมิ, เกาะสมุย, ภูเก็ต ภายในประเทศ
ไทยเวียดเจ็ทแอร์ กรุงเทพฯ–สุวรรณภูมิ, ภูเก็ต ภายในประเทศ
ไทยแอร์เอเชีย กระบี่, กรุงเทพฯ–ดอนเมือง, กรุงเทพฯ–สุวรรณภูมิ, ขอนแก่น ,ภูเก็ต , สุราษฎร์ธานี , หัวหิน, หาดใหญ่ ภายในประเทศ
ไทยไลอ้อนแอร์ กรุงเทพฯ–ดอนเมือง, อู่ตะเภา ภายในประเทศ
นกแอร์ กรุงเทพฯ–ดอนเมือง, อุดรธานี, อุบลราชธานี ภายในประเทศ
การบินลาว เวียงจันทน์,หลวงพระบาง ระหว่างประเทศ
คาเธ่ย์ดรากอน ฮ่องกง ระหว่างประเทศ
โคเรียนแอร์ โซล–อินช็อน ระหว่างประเทศ
จุนเหยาแอร์ไลน์ เซี่ยงไฮ้–ผู่ตง ระหว่างประเทศ
ชานตงแอร์ไลน์ จี่หนาน,ฉงชิ่ง ระหว่างประเทศ
เชจูแอร์ โซล–อินช็อน ระหว่างประเทศ
ไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์ กว่างโจว[4] ระหว่างประเทศ
ไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ คุนหมิง, เซี่ยงไฮ้–ผู่ตง, ปักกิ่ง–นครหลวง ระหว่างประเทศ
มาเลเซียแอร์ไลน์ กัวลาลัมเปอร์ (เริ่ม 15 ส.ค. 67) ระหว่างประเทศ
ทีเวย์แอร์ โซล–อินช็อน ระหว่างประเทศ
ไทยไลอ้อนแอร์ กว่างโจว ระหว่างประเทศ
ไทยเวียดเจ็ทแอร์ โอซากา ระหว่างประเทศ
ไทยแอร์เอเชีย ฉางชา, เฉวียนโจว, ซานย่า, เชินเจิ้น, ดานัง, ไทเป, มาเก๊า, หนานชาง, ฮ่องกง, ฮานอย,สิงคโปร์ ยกเลิกก่อน กลับมาในอนาคต,ดานัง ยกเลิกก่อน กลับมาในอนาคต
เฉพาะฤดูกาล: ปักกิ่ง–นครหลวง
ระหว่างประเทศ
รุ่ยลี่แอร์ไลน์ คุนหมิง, เชียงรุ่ง ระหว่างประเทศ
ลัคกี้แอร์ คุนหมิง ระหว่างประเทศ
เวียดเจ็ทแอร์ นครโฮจิมินห์ ระหว่างประเทศ
สกู๊ต สิงคโปร์ ระหว่างประเทศ
สปริงแอร์ไลน์ กว่างโจว, เซี่ยงไฮ้–ผู่ตง ระหว่างประเทศ
เสฉวนแอร์ไลน์ เฉิงตู, ซีอาน ระหว่างประเทศ
ไห่หนานแอร์ไลน์ เชินเจิ้น ระหว่างประเทศ
อีวีเอแอร์ ไทเป ระหว่างประเทศ
เอชเคเอ็กซ์เพรส ฮ่องกง ระหว่างประเทศ
แอร์ไชนา ปักกิ่ง–นครหลวง[5], อู่ฮั่น[6] ระหว่างประเทศ
แอร์เอเชีย กัวลาลัมเปอร์ ระหว่างประเทศ

สายการบินที่เคยทำการบิน

[แก้]
สายการบิน จุดหมายปลายทาง
ไทยสมายล์ ภูเก็ต, กรุงเทพฯ-ดอนเมือง, นครศรีธรรมราช, เกาะสมุย, กรุงเทพฯ–สุวรรณภูมิ
การบินไทย แม่ฮ่องสอน, กรุงเทพฯ-ดอนเมือง, หาดใหญ่, เชียงราย
นกแอร์ หาดใหญ่, แม่ฮ่องสอน​, ขอนแก่น,​ อู่ตะเภา
กาตาร์แอร์เวย์ โดฮา
ไทยไลอ้อนแอร์ หาดใหญ่
บางกอกแอร์เวย์ส แม่ฮ่องสอน , มัณฑะเลย์, ย่างกุ้ง, หลวงพระบาง, อุดรธานี


ข้อมูลการจราจรในแต่ละปี

[แก้]
ที่มา: บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)[7]
ปีปฏิทิน ผู้ใช้บริการ (คน) เปลี่ยนแปลง เที่ยวบิน
2551
3,062,909
2552
3,081,645
เพิ่มขึ้น 0.61%
2553
3,178,941
เพิ่มขึ้น 3.15% 27,485
2554
3,880,037
เพิ่มขึ้น 22.05% 32,445
2555
4,491,331
เพิ่มขึ้น 15.75% 36,981
2556
5,172,753
เพิ่มขึ้น 15.17% 43,366
2557
6,630,624
เพิ่มขึ้น 28.18% 52,642
2558
8,365,851
เพิ่มขึ้น 26.17% 63,843
2559
9,446,320
เพิ่มขึ้น 12.91% 69,202
2560
10,230,280
เพิ่มขึ้น 8.29% 71,994
2561
10,989,869
เพิ่มขึ้น 7.42% 78,210
2562
11,333,548
เพิ่มขึ้น 3.13% 80,751
2563
4,851,475
ลดลง 57.19% 35,058
ต.ค. 2564
1,092,046
ลดลง 77.49 10,858
2565
3,532,064
26,757
2566
5,870,929
เพิ่มขึ้น 66.71% 40,412
ม.ค-ก.พ 2567
1,691,254
เพิ่มขึ้น 14.73% 10,349

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง รายชื่อสนามบินที่ให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศ (International Airport) พ.ศ. ๒๕๖๖
  2. "HS-WIA". FlightAware.
  3. "แอร์บัส A380 เที่ยวปฐมฤกษ์"สุวรรณภูมิ-เชียงใหม่"เฉี่ยวผนังโรงซ่อมบำรุง". สำนักข่าวอินโฟเควสท์. 1 กันยายน 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 ตุลาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2019.
  4. Kositchotethana, Boonsong (11 Oct 2013). "Air China eyes Chiang Mai". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 14 Oct 2013.[ลิงก์เสีย]
  5. Air China Press Release (9 ตุลาคม 2013). "Air China to Commence Beijing-Chiang Mai Service on November 7". CNW Group. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 ตุลาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2015.
  6. Air China Press Release (2013-12-04). "Air China to Commence Wuhan-Chiang Mai Service on December 10". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-20. สืบค้นเมื่อ 2015-06-01.
  7. "สถิติขนส่งทางอากาศ". Airports of Thailand Public Company Limited. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 กรกฎาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]