แอร์บัส เอ380
![]() | ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
![]() เอ380 พยุหะคีรี ของการบินไทย | |
บทบาท | อากาศยานลำตัวกว้างสองชั้น |
---|---|
ชาติกำเนิด | ยุโรป |
บริษัทผู้ผลิต | แอร์บัส |
บินครั้งแรก | 27 เมษายน 2548 |
เริ่มใช้ | 25 ตุลาคม 2550 โดย สิงคโปร์แอร์ไลน์ |
สถานะ | เลิกผลิต ในประจำการ |
ผู้ใช้งานหลัก | เอมิเรตส์ สิงคโปร์แอร์ไลน์ ลุฟต์ฮันซา ควอนตัส |
ช่วงการผลิต | พ.ศ. 2546–2564 |
จำนวนที่ผลิต | 251 ลำ (เมื่อ ต.ค. 2564) |
มูลค่า | 428 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ |
เครื่องบิน แอร์บัส A380 เป็นเครื่องบินห้องโดยสารสองชั้นขนาดใหญ่ ผลิตโดยแอร์บัสแอสอาแอส เครื่องบินสี่เครื่องยนต์ลำนี้สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้สูงสุดถึง 800 คน หรือ 500 คนถ้าวางที่นั่งแบบ 3 ชั้นผู้โดยสารตามเครื่องบินพาณิชย์ปกติ เครื่องบินรุ่นนี้ได้ผ่านกำหนดการทดสอบการบินเที่ยวแรกในวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2548 โดยบินขึ้นจากเมืองตูลูส ประเทศฝรั่งเศส และได้ส่งมอบให้สิงคโปร์แอร์ไลน์เป็นสายการบินแรกเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2550
เปิดตัว[แก้]
A380 รู้จักมาเป็นเวลาหลายปีในขณะที่มีแอร์บัสมีแผนการผลิต แอร์บัส A3XX โดยจะเป็นเครื่องบินพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกเมื่อเริ่มให้บริการ ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550
A380 ได้เปิดตัวในงานของเมืองตูลูสในฝรั่งเศสในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 หมายเลขอนุกรมของผู้ผลิต (MSN - Manufacturer's serial number) คือ 001 และรหัสทะเบียน F-WWOW.
ข้อมูลทั่วไป[แก้]
เครื่องบินแอร์บัสรุ่นใหม่นี้ ในเบื้องต้นจะผลิตขาย 2 แบบด้วยกัน คือA380-800 เป็นแบบ 2 ชั้นสมบูรณ์แบบ สามารถจุผู้โดยสารได้ 555 M คน ในชั้นหนึ่งและชั้นธุรกิจ หรือถึง 800 คน ในชั้นประหยัด ในระยะการบิน 8,000 ไมล์ทะเล (14,800 กิโลเมตร) และแบบA380-800F เป็นเครื่องบินสำหรับบรรทุกโดยเฉพาะ บรรทุกสัมภาระได้ 150 ตัน สำหรับพิสัยการบินระยะ 5,600 ไมล์ (10,400 กิโลเมตร)
การผลิต[แก้]
เครื่องบิน A380 สร้างขึ้นจากหลายๆ ประเทศใน ยุโรปได้แก่ Aeroapatiale-Matra ที่ Toulouse จะทำการประกอบส่วนต่างๆ ของเครื่องบินในช่วงสุดท้าย การสร้างภายในลำตัว ดำเนินการ โดย DASA ที่ Hamburg ทั้ง Aerospatiale และ DASA สร้างส่วนต่างๆของโครงสร้างลำตัวด้วย, บริษัท BAE Systems สร้างส่วนของปีก, บริษัท CASA ของสเปน สร้างส่วนของแพนหาง, เครื่องยนต์ก็มีความก้าวหน้าในโครงการค้นคว้า บริษัท Rolls-Royce ก็ดำเนินการเองโดยลำพัง โดยพัฒนาจากเครื่องยนต์ตระกูล Trent
สิงคโปร์แอร์ไลน์เลือกเครื่องยนต์ Rolls-Royce Trent 900 ส่วนบริษัท Pratt และบริษัท GE ได้ร่วมมือกันพัฒนาเครื่องยนต์ จากตระกูล GE90 และ PW4000 โดยให้ชื่อว่า GP7200 ซึ่งแผนการปัจจุบันจะมีใบพัด (fan blade) ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 110 นิ้ว มีอัตราส่วนของอากาศที่ผ่านเครื่องยนต์เท่ากับ 8:1 สำหรับใช้กับเครื่องบิน A380 ซึ่งมีแรงขับดันระหว่าง 67,000-80,000 ปอนด์ เพื่อใช้กับโครงการ A380 (B747X จะใช้เครื่องยนต์รุ่น GP 7100 ซึ่งใบพัดมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 101 นิ้ว อัตราส่วนของอากาศที่ผ่าน เครื่องยนต์เท่ากับ 7:1) ราคาของเครื่องบินลำนี้ประมาณ 220 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ระบบไฮดรอลิก[แก้]
ระบบไฮดรอลิกของ A380 จะใช้ระบบที่มีแรงดัน 5000 psi. (ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) แทนการใช้ระบบ 3000 psi. (ปัจจุบัน เครื่องบินพาณิชย์ใช้อยู่คือ 3000 psi.) เพื่อใช้ในการควบคุมส่วนของโครงสร้างที่ใช้บังคับการบิน และทำให้อุปกรณ์ไฮดรอลิกที่ใช้เล็กลง ( แรง = แรงดัน x พื้นที่) และ สามารถลดน้ำหนักของเครื่องบินได้ประมาณถึงตัน
- บริษัท Airbus ได้ประกาศ บริษัทที่ได้รับคัดเลือกให้ ผลิตอุปกรณ์บางชนิดเพื่อมาใช้กับเครื่อง A380 ดังนี้:
- บริษัท Parker Hannifin Corp.แผนก Electronic Systems Division ได้รับคัดเลือกให้ผลิตระบบเครื่องวัด และระบบบริหารการใช้เชื้อเพลิง
- บริษัท TRW / Thales ได้รับการคัดเลือกให้ร่วมกัน พัฒนาระบบไฟฟ้าแบบความถี่ไม่คงที่
- บริษัท Goodrich Corp. ได้รับการคัดเลือก ให้ผลิตระบบการออกฉุกเฉิน (evacuation systems) และระบบล้อประธาน (main landing gear) สำหรับ A380
- บริษัท Rolls-Royce ได้รับให้ผลิตระบบการจ่ายเชื้อเพลิงเข้าเครื่องยนต์ Trent 900 ของตัวเอง
การสั่งซื้อและการส่งมอบ[แก้]
2001 | 2002 | 2003 | 2004 | 2005 | 2006 | 2007 | 2008 | 2009 | 2010 | 2011 | 2012 | 2013 | 2014 | 2015 | 2016 | 2017 | 2018 | 2019 | 2020 | ทั้งหมด | ||
ยอดสั่งซื้อสุทธิ | A380-800 | 78 | – | 34 | 10 | 10 | 24 | 33 | 9 | 4 | 32 | 19 | 9 | 42 | 13 | 2 | – | −2 | 4 | −70 | – | 251 |
A380F | 7 | 10 | – | – | 10 | −17 | −10 | – | – | – | – | – | – | – | – | – | – | – | – | – | 0 | |
ยอดส่งมอบ | A380-800 | – | – | – | – | – | – | 1 | 12 | 10 | 18 | 26 | 30 | 25 | 30 | 27 | 28 | 15 | 12 | 8 | – | 242 |
ยอดรวมสั่งซื้อและส่งมอบแล้ว

คำสั่งซื้อ
ส่งมอบแล้ว
การส่งมอบ[แก้]
การกำหนดการเดิมนั้น สิงคโปร์แอร์ไลน์จะได้รับเครื่องบินแอร์บัส เอ380 เครื่องแรก ในช่วงปลายปีพ.ศ. 2549 แควนตัสจะได้รับในช่วงต้นปีพ.ศ. 2550 และเอมิเรตส์จะได้รับก่อนปีพ.ศ. 2551 แต่เนื่องจากไม่สามารถผลิตได้ทันตามกำหนดการ ทำให้แอร์บัสต้องเลื่อนวันส่งมอบออกไป
จนในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2549 แอร์บัสก็ประกาศเลื่อนการส่งมอบเป็นครั้งที่ 3 ทำให้คาดว่าจะสามารถส่งมองเครื่องบินแอร์บัส เอ 380 ให้กับสิงคโปร์แอร์ไลน์ ในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 และจะเพิ่มอัตราการผลิตให้ได้ 13 ลำในปีพ.ศ. 2551, 25 ลำ ในปีพ.ศ. 2552 และเต็มอัตราการผลิตที่ 45 ลำ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ส่วนเอมิเรตส์ ซึ่งเป็นลูกค้าใหญ่ที่สุดของ เอ380 จะได้รับเครื่องบินลำแรกในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 และผลจากการล่าช้าทำให้หลายสายการบินยกเลิกคำสั่งซื้อ และหันไปเลือกคู่แข่งโบอิง 747-8 สำหรับเครื่องบินโดยสาร และโบอิง 777F สำหรับเครื่องบินขนส่งสินค้า
สำหรับเครื่องบินลำแรกที่จะส่งมอบให้สิงคโปร์แอร์ไลน์นั้นได้ลงสีเป็นลายเครื่องของสิงคโปร์แอร์ไลน์เรียบร้อยแล้ว[3] ซึ่งสิงคโปร์แอร์ไลน์ประกาศว่าจะใช้ในเส้นทางบินระหว่างลอนดอน และซิดนีย์ โดยผ่าน สิงคโปร์ เส้นทางการบินย่อของสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ อาจครอบคลุม เส้นทาง สิงคโปร์ - ซานฟรานซิสโก โดยผ่าน ฮ่องกง และบินตรงไปยังปารีส และแฟรงค์เฟิร์ต ส่วนแควนตัส ก็ได้ประกาศเช่นกัน ว่าในตอนแรกจะใช้เครื่องบินนี้ บินในเส้นทางบิน ลอสแองเจิลลิส ไปซิดนีย์
แอร์บัสแถลงว่า ในที่สุดแล้ว ตนจะสามารถผลิตและส่งมอบเครื่องบินได้เดือนละ 4 ลำ[4]
เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2550 เวลา 10.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นของเมืองตูลูซ แอร์บัสได้ส่งมอบเครื่องบินแอร์บัส เอ 380-800 ลำแรก ให้กับสิงคโปร์แอร์ไลน์ ซึ่งจะเริ่มให้บริการเที่ยวบินพาณิชย์เที่ยวแรกในวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2550 เส้นทาง สิงคโปร์-ซิดนีย์
ยุติการผลิต[แก้]
Airbus ประกาศยุติการผลิตเครื่องบิน แอร์บัส เอ380 อย่างเป็นทางการ หลักจากสิ้นสุดการผลิตให้แก่สายการบินเอมิเรตส์ ภายในปี 2021 เนื่องจากยอดขายไม่เป็นไปตามเป้า และความต้องการโดยสารเริ่มมีการกระจายตัว[5]สาเหตุจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า หรือโควิด 19 แอร์บัส เอ380 ลำสุดท้ายถูกส่งมอบให้กับ เอมิเรตส์ ในเดือนธันวาคม ปีพ.ศ. 2564
สายการบิน[แก้]
ในปัจจุบันมีเครื่องบินรุ่น เอ380 ทั้งหมด 184 ลำในประจำการกับ 13 สายการบิน (ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2021)[6]

ผู้ให้บริการปัจจุบัน[แก้]
- สิงคโปร์แอร์ไลน์ เริ่มให้บริการครั้งแรกเมื่อ 25 ตุลาคม 2007[7]
- เอมิเรตส์ เริ่มให้บริการครั้งแรกเมื่อ 1 สิงหาคม 2008[8]
- ควอนตัส เริ่มให้บริการครั้งแรกเมื่อ 20 ตุลาคม 2008[9]
- ไชนาเซาเทิร์น เริ่มให้บริการครั้งแรกเมื่อ 17 ตุลาคม 2011[10]
- มาเลเซียแอร์ไลน์ เริ่มให้บริการครั้งแรกเมื่อ 1 กรกฎาคม 2012[11] หมายเหตุ: เครื่องบินทั้งหมดถูกวางจำหน่ายโดย มาเลเซีย เอวิเอชั่น กรุ๊ป [12]
- บริติชแอร์เวย์ เริ่มให้บริการครั้งแรกเมื่อ 2 สิงหาคม 2013.[13]
- โคเรียนแอร์ เริ่มให้บริการครั้งแรกเมื่อ 17 มิถุนายน 2011 [14] หมายเหตุ: ทางสายการบินจะปลดประจำการเครื่องบินรุ่นนี้ภายในปี 2026 [15]
- เอเชียนาแอร์ไลน์ เริ่มให้บริการครั้งแรกเมื่อ 13 มิถุนายน 2014[16] หมายเหตุ: สายการบินจะผนวกรวมกับ โคเรียนแอร์, เครื่องบินแอร์บัส เอ380 ทุกลำจะปลดประจำการภายในปี 2026 [17]
- กาตาร์แอร์เวย์ เริ่มให้บริการครั้งแรกเมื่อ 10 ตุลาคม 2014[18]
- เอติฮัดแอร์เวย์ เริ่มให้บริการครั้งแรกเมื่อ 27 ธันวาคม 2014[19] หมายเหตุ: ทางสายการบินพักการให้บริการเครื่องบินรุ่นนี้อย่างถาวร (ประกาศเมื่อเดือนมกราคม ปี 2021)[20]
- ออล นิปปอน แอร์เวย์ เริ่มให้บริการครั้งแรกเมื่อ 24 พฤษภาคม 2019
ผู้ให้บริการในอดีต[แก้]
- แอร์ฟรานซ์ เริ่มให้บริการครั้งแรกเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2009 ทางสายการบินปลดประจำการเครื่องบินทั้งหมดในเดือนพฤษภาคม ปี 2021 จากการระบาดของ โควิด 19[21]
- การบินไทย เริ่มให้บริการครั้งแรกเมื่อ 6 ตุลาคม 2012 สายการบินได้ปลดประจำการเครื่องบินแอร์บัส เอ380 ลงในปี 2021 เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19[22]
- ลุฟต์ฮันซา เริ่มให้บริการครั้งแรกเมื่อ 6 มิถุนายน 2010 ทางสายการบินปลดประจำการเครื่องบินรุ่นนี้ทั้งฝูงบินทั้งหมดในเดือนกันยายน 2021 เนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 2019[23][24][25]
- ไฮฟลาย มอลตา เริ่มให้บริการครั้งแรกเมื่อปี 2018 ทางสายการบินปลดประจำการเครื่องบิน A380 จำนวน 1 ลำ ในเดือนธันวาคม ปี 2020 จากการระบาดของโควิด 19[26]
เส้นทางที่สำคัญ[แก้]
เส้นทางที่มีระยะทางสั้นที่สุดที่ใช้เครื่องรุ่น เอ380 ทำการบินคือจากท่าอากาศยานนานาชาติดูไบไปยังท่าอากาศยานนานาชาติคูเวต ซึ่งมีระยะทางเพียง 861 ก.ม. หรือ 535 ไมล์ ของสายการบินเอมิเรตส์[27] แต่แอร์ฟรานซ์เคยทำการบินที่สั้นกว่ามาก โดยใช้บินจากท่าอากาศยานนานาชาติปารีส-ชาร์ล เดอ โกลไปยังท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์ ซึ่งมีระยะทางเพียง 344 ก.ม. หรือ 214 ไมล์ ในช่วงปีค.ศ. 2010[28]
ส่วนเส้นทางที่มีระยะทางยาวที่สุดได้แก่ สายการบินควอนตัส ซึ่งทำการบินจากท่าอากาศยานนานาชาติซิดนีย์ ไปยังท่าอากาศยานนานาชาติดัลลาส-ฟอร์ตเวิร์ธ ซึ่งมีระยะทางถึง 13,804 ก.ม. หรือ 8,677 ไมล์[29][30]
ข้อมูลจำเพาะ[แก้]
A380-800 | A380F | |
---|---|---|
นักบิน | สองนาย | |
ที่นั่ง ฉบับผู้ผลิต |
544 (สามชั้นโดยสาร) 644 (สองชั้นโดยสาร) 853 (หนึ่งชั้นโดยสาร) |
12 ห้องบรรทุก |
ความยาว | 72.72 เมตร (238 ฟุต 7 นิ้ว)[31] | |
ช่วงกว้างปีก | 79.75 เมตร (261 ฟุต 8 นิ้ว)[31][32] | |
ความสูง | 24.09 เมตร (79 ฟุต 0 นิ้ว)[31] | |
ฐานล้อ | 31.88 เมตร (104 ฟุต 7 นิ้ว)[33] | |
รอยล้อ | 12.46 เมตร (40 ฟุต 11 นิ้ว),[31] | 14.34 เมตร (47 ฟุต 1 นิ้ว)[33][32] |
มิติภายนอก | กว้าง: 7.14 เมตร (23 ฟุต 5 นิ้ว) สูง: 8.41 เมตร (27 ฟุต 7 นิ้ว) | |
จุดกว้างสุดห้องโดยสาร |
6.50 เมตร (21 ฟุต 4 นิ้ว) ชั้นล่าง 5.80 เมตร (19 ฟุต 0 นิ้ว) ชั้นบน[33] | |
ความยาวห้องโดยสาร | 49.9 เมตร (163 ฟุต 9 นิ้ว) ชั้นล่าง 44.93 เมตร (147 ฟุต 5 นิ้ว) ชั้นบน | |
พื้นที่ปีก | 845 ตารางเมตร (9,100 ตารางฟุต) | |
อัตราส่วนมิติปีก | 7.5 | |
มุมลู่ลมปีก | 33.5° | |
น้ำหนักทะยานสูงสุด | 575,000 กิโลกรัม (1,268,000 ปอนด์) | 590,000 กิโลกรัม (1,300,000 ปอนด์) |
น้ำหนักร่อนลงสูงสุด | 394,000 กิโลกรัม (869,000 ปอนด์) | 427,000 กิโลกรัม (941,000 ปอนด์) |
น้ำหนักปลอดเชื้อเพลิง | 369,000 กิโลกรัม (814,000 ปอนด์) | 402,000 กิโลกรัม (886,000 ปอนด์) |
น้ำหนักบรรทุกเปล่า | 276,800 กิโลกรัม (610,200 ปอนด์) | 252,200 กิโลกรัม (556,000 ปอนด์) |
น้ำหนักบรรทุกสูงสุด | 89,200 กิโลกรัม (196,700 ปอนด์) | 149,800 กิโลกรัม (330,300 ปอนด์) |
ปริมาตรห้องเก็บสัมภาระ | 184 ลบ.ม. [34] | 1,134 ลบ.ม. [34] |
ความเร็วปฏิบัติการสูงสุด |
มัค 0.89[33] (945 กม/ชั่วโมง) | |
ความเร็วที่ทำได้สูงสุด |
มัค 0.96[35] (1,050 กม/ชั่วโมง) | |
ความเร็วปฏิบัติการ | มัค 0.85[36][37] (900 กม./ชั่วโมง) | |
ระยะวิ่งทะยานขึ้น ที่น้ำหนักทะยานสูงสุด |
2,950 เมตร (9,680 ฟุต)[31] | |
ความเร็วร่อนลงจอด | 240–250 กม/ชั่วโมง[38][37] | |
พิสัยการบิน | 15,200 กิโลเมตร[33][31] | 10,400 กิโลเมตร[39] |
เพดานบินใช้งาน | 13,136 เมตร (43,100 ฟุต)[40] | |
ความจุถังเชื้อเพลิง | 320,000 ลิตร | |
เครื่องยนต์ (4 ×) | GP7270 (A380-861) Trent 970/B (A380-841) Trent 972/B (A380-842) |
GP7277 (A380-863F) Trent 977/B (A380-843F) |
แรงขับ (4 ×) | 332 กิโลนิวตัน (75,000 pound-force) – GP7270[41] 348 กิโลนิวตัน (78,000 pound-force) – Trent 970/B[42] 356.84 กิโลนิวตัน (80,220 pound-force) – Trent 972/B-84 |
340 กิโลนิวตัน (76,000 pound-force) – GP7277 340 กิโลนิวตัน (76,000 pound-force) – Trent 977/B-84 |
ที่มา: Airbus A380 specifications[33][31]
การบินทดสอบ ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ[แก้]
วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2549 เครื่องบินแอร์บัส เอ 380 ลำทดสอบหมายเลข F-WXXL เที่ยวบินที่ AIB 002 มีกำหนดมาบินทดสอบที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นครั้งแรก ลงจอดเวลาประมาณ 13:00 น. และเดินทางออกจากสนามบินสุวรรณภูมิในวันที่ 7 ธันวาคม เวลาประมาณ 12:00 น
วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2550 เครื่องบินแอร์บัส เอ 380 เที่ยวบินพิเศษ AIB-701 เดินทางจากสนามบินสุวรรณภูมิ-ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ พร้อมด้วยผู้โดยสารประกอบด้วยสื่อมวลชนและแขกรับเชิญเพื่อสาธิตการบินในทวีปเอเชียและประเทศไทย ในขณะใช้รถลากจูงออกจากอาคารจอดเครื่องบิน ปลายปีกของเครื่องบินได้เกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวกับประตูโรงจอดเสียหายเล็กน้อย บริเวณใบส่งตัวรับลมปลายปีก หรือ วิงเล็ต วิศวกรตรวจสอบแล้วเห็นว่าอาจทำให้อัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงสูงขึ้น แต่ไม่มีผลต่อความปลอดภัยระหว่างการบิน จึงถอดชิ้นส่วนนั้นออก และทำการบินไปจังหวัดเชียงใหม่ตามปกติ [43][44]
การบินไทย[แก้]
เอ380-800 ลำแรกของการบินไทย บินถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในช่วงเช้าวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2555 โดยเครื่องบินลำดังกล่าวเป็นเที่ยวบินพิเศษ ทีจี8936 บินตรงจากเมืองตูลูส ประเทศฝรั่งเศส ถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประเทศไทย โดยมีกัปตันทศพล ภูริวัฒนะ และกัปตันชวาล รัตนวราหะ ปฏิบัติหน้าที่นักบินที่ 1 พร้อมด้วยนักบินกรพรหม แสงอร่าม และนักบินวิรัช เทพารักษ์ ปฏิบัติหน้าที่นักบินที่ 2 เครื่องบินลำนี้ได้รับนามพระราชทานว่า ศรีรัตนะ[45]
เครื่องบินเอ380 ได้รับการออกแบบภายในบางส่วนจาก บริษัท โซดิแอค แอโรสเปซ (Zodiac Aerospace) โดยมีวิศวกรไทย นายธนิก นิธิพันธวงศ์ เป็นผู้รับผิดชอบการออกแบบ ส่วนประกอบภายในดังกล่าวคือช่วงของบันได (Cabin Stairs) ทางขึ้น-ลงระหว่างชั้นผู้โดยสาร เน้นการออกแบบที่หรูหรา อลังการให้เหมาะสมกับตัวเครื่อง ควบคู่กันไปกับความแข็งแกร่งมั่นคง สามารถรองรับจำนวนการใช้งานและปริมาณของผู้โดยสารตามขนาดของเครื่องบิน
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Orders & Deliveries summary. Airbus, 30 November 2019.
- ↑ "Historical Orders and Deliveries 1974–2009". Airbus S.A.S. January 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (Microsoft Excel)เมื่อ 23 December 2010. สืบค้นเมื่อ 10 December 2012.
- ↑ [1]
- ↑ [2]
- ↑ https://brandinside.asia/its-official-airbus-end-of-a380-production-line/
- ↑ 6.0 6.1 "Orders & Deliveries". Airbus. 31 March 2016. สืบค้นเมื่อ 11 April 2016.
- ↑ "Singapore Airlines – Our History". Singapore Airlines. 1 November 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 February 2013. สืบค้นเมื่อ 1 November 2012.
- ↑ "Emirates A380 Lands at New York's JFK". 1 August 2008. สืบค้นเมื่อ 30 December 2011.
- ↑ "Qantas A380 arrives in LA after maiden flight". The Age. Australia. 21 October 2008. สืบค้นเมื่อ 30 December 2011.
- ↑ "Airbus delivers China Southern Airlines' first A380". Airbus.com. 14 October 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ 22 October 2011.
- ↑ https://www.smh.com.au/travel/newest-superjumbo-takes-off-for-malaysia-airlines-20120702-21btw.html
- ↑ "The end: Malaysia Airlines to sell its Airbus A380 fleet". www.aerotime.aero (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "BA enters SuperJumbo age with... with a 90-minute flight to Frankfurt". The Independent, 2 August 2013.
- ↑ "East Asia's first A380 goes into operation today-INSIDE Korea JoongAng Daily". web.archive.org. 2011-11-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-24. สืบค้นเมื่อ 2021-11-23.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Korean Air is retiring all Airbus A380s and Boeing 747-8s". Travel Daily (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-08-23.
- ↑ "Asiana to Fly First A380 Flight on June 13". airchive.com. 23 March 2014. สืบค้นเมื่อ 13 June 2014.
- ↑ "Korean Air is retiring all Airbus A380s and Boeing 747-8s". Travel Daily (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-08-23.
- ↑ "Photos Qatar Airways A380 makes Doha debut". dohanews.com. 20 September 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ 20 September 2014.
- ↑ "Etihad launches debut A380 service to London". TradeArabia News Service. 27 December 2014. สืบค้นเมื่อ 27 December 2014.
- ↑ "Grounded: loss of a status symbol as Etihad ditches its swankiest jets". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 2021-04-27.
- ↑ "Phase-out of Air France entire Airbus A380 fleet". Air France KLM (ภาษาอังกฤษ). 2020-05-20.
- ↑ Schlappig, Ben; Published: February 10, 2021; Updated: June 1, 2021; 36 (2021-02-10). "Sad: Thai Airways Retiring Airbus A380 Fleet". One Mile at a Time (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
{{cite web}}
: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์) - ↑ Germany, COMKOM° GmbH. "Lufthansa A380 has maiden flight from Toulouse". presse.lufthansa.com (ภาษาเยอรมัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 20, 2010.
- ↑ "Final Lufthansa Airbus A380 Set To Leave Frankfurt Tomorrow". Simple Flying (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-09-13.
- ↑ "Lufthansa weighs faster plane retirements after record loss". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2021-03-04. สืบค้นเมื่อ 2021-11-23.
- ↑ "Breaking: Hi Fly Set To Retire Its Only Airbus A380". Simple Flying (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-11-03.
- ↑ "Emirates Launches World's Shortest Airbus A380 Service". Global Traveler. สืบค้นเมื่อ 1 April 2015.
- ↑ "Exceptional Air France Airbus A380 flights on London-Heathrow to Paris-CDG route". Air France. May 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-23. สืบค้นเมื่อ 12 April 2012.
- ↑ "Emirates overtakes Qantas". USA Today. 29 September 2014. สืบค้นเมื่อ 24 April 2016.
- ↑ Hoyer, Melissa (29 September 2014). "World's longest flight on biggest plane: A380 takes over Qantas' Sydney - Dallas route". News.com.au.
- ↑ 31.0 31.1 31.2 31.3 31.4 31.5 31.6 "A380 Aircraft Characteristics – Airport and Maintenance Planning" (PDF). Airbus. 1 November 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-10-21. สืบค้นเมื่อ 19 September 2014.
- ↑ 32.0 32.1 "Interim Aerodrome requirements for the A380" (PDF). Civil Aviation Authority of New Zealand. 4 November 2004.
- ↑ 33.0 33.1 33.2 33.3 33.4 33.5 "A380 Specifications". Airbus. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-08. สืบค้นเมื่อ 18 June 2009.
- ↑ 34.0 34.1 Airbus, Airbus. "Dimensions & key data". Airbus. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-08. สืบค้นเมื่อ 14 November 2012.
- ↑ "A380 powers on through flight-test". Flight International. 20 December 2005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 30 December 2011.
- ↑ ""Technical Issues". Flightglobal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 July 2015. สืบค้นเมื่อ 19 June 2014.
- ↑ 37.0 37.1 "Pilot's perspective" Flightglobal, undated. Accessed: 20 June 2014. Archived on 18 March 2014.
- ↑ Huber, Mark. "How Things Work: Stopping the A380" Air & Space/Smithsonian, August 2011. Accessed: 21 June 2014. Archived on 21 June 2014.
- ↑ "The triple-deck cargo hauler". Airbus. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-06-03.
- ↑ "Exemption No. 8695". Renton, Washington: Federal Aviation Authority]]. 24 March 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-27. สืบค้นเมื่อ 2016-04-16.
- ↑ "GP7200 series specification". Engine Alliance. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-31. สืบค้นเมื่อ 12 August 2011.
- ↑ "Trent 900 fact sheet" (PDF). Rolls-Royce. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-10-17. สืบค้นเมื่อ 12 August 2011.
- ↑ สุวรรณภูมิวุ่น ! แอร์บัสเอ 380 วิ่งเฉี่ยวชนโรงซ่อม - อ้างลานจอดไม่เหมาะสม มติชน
- ↑ A380 บิน BKK-CNX 9.30 น. (ถึง cnx ประมาณ 10.40 น.) Archived 2009-08-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน hflight.net
- ↑ แนวหน้าข่าวเศรษฐกิจ http://www.ryt9.com/s/nnd/1499278
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: แอร์บัส เอ380 |
- English (ภาษาอังกฤษ)
- Photo Gallery of the A380 adventure
- RTÉ News report on the A380 reveal (REAL video)
- Airbus A380 Specifications Archived 2005-03-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Airliners.net - Airbus A380
- Aircraft-Info.net - Airbus A380
- Airbus and WTO
- Airbus A-380 Gallery Archived 2005-02-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- A380 Pictures on Airliners.net
- Airbus A380 Photos Archived 2005-04-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- How the Airbus A380 Works Archived 2005-03-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
รายชื่ออากาศยาน | ผู้ผลิตอากาศยาน | เครื่องยนต์อากาศยาน | ผู้ผลิตเครื่องยนต์อากาศยาน สนามบิน | สายการบิน | ฐานทัพอากาศ | อาวุธของอากาศยาน | ขีปนาวุธ | ประวัศาสตร์การบินการบิน |