อุทยานแห่งชาติขุนขาน
อุทยานแห่งชาติขุนขาน | |
---|---|
ไอยูซีเอ็นกลุ่ม 2 (อุทยานแห่งชาติ) | |
ที่ตั้ง | อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ![]() |
พิกัด | 18°51′15″N 98°37′19″E / 18.85417°N 98.62194°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 18°51′15″N 98°37′19″E / 18.85417°N 98.62194°E |
พื้นที่ | 208.93 ตารางกิโลเมตร (130,583.45 ไร่)[1] |
จัดตั้ง | 19 พฤษภาคม 2555 |
ผู้เยี่ยมชม | 544 คน[2] (ปีงบประมาณ 2559) |
หน่วยราชการ | สำนักอุทยานแห่งชาติ |
อุทยานแห่งชาติขุนขาน ตั้งอยู่ในลุ่มน้ำแม่ขานและลุ่มน้ำแม่แจ่ม ท้องที่อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ 130,583.45 ไร่ หรือ 208.93 ตารางกิโลเมตร
ภูมิประเทศ[แก้]
มีลักษณะส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนประมาณร้อยละ 80 ของพื้นที่ มีความสูงจากระดับน้ำทะเลต่ำสุด 500 เมตร และสูงสุด 1,708 เมตร สภาพของพื้นที่มีความลาดชันมากกว่าร้อยละ 35 เป็นส่วนใหญ่ แม่น้ำสายสำคัญที่เป็นแหล่งน้ำอุปโภคบริโภค ได้แก่ น้ำแม่สะเมิง น้ำแม่สาบ น้ำแม่ขาน น้ำอมลอง น้ำแม่โต๋ น้ำแม่บ่อแก้ว น้ำแม่อมแตง น้ำแม่ตาละ น้ำแม่สะงะ และน้ำแม่แจ่ม
ลักษณะภูมิอากาศ[แก้]
สภาพภูมิอากาศเย็นสบายตลอดปี อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส ต่ำสุดเฉลี่ย 18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยโดยทั่วไป 23 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปี 1,380 มิลลิเมตร
ทรัพยากรป่าไม้[แก้]
สภาพป่าของอุทยานแห่งชาติ ประกอบไปด้วยป่า 5 ชนิด คือ
- ป่าดิบเขา พบตามภูเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางตั้งแต่ 1,000 เมตร ขึ้นไป บริเวณตอนบนของพื้นที่และบริเวณเทือกเขาแบ่งเขตอำเภอสะเมิงกับอำเภอแม่แจ่ม พันธุ์ไม้ที่พบมากได้แก่ ก่อ สนสามใบ ทะโล้ ตุ้มเต๋น มะขามป้อม จำปี มะส้าน สารภีป่า นมนาง เป็นต้น
- ป่าดิบแล้ง พบทั่วไปบริเวณหุบเขาและริมลำห้วยในระดับความสูง 600-1,000 เมตร พันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ได้แก่ ยาง ตะเคียน มะม่วงป่า ลำไยป่า มะไฟ มะเดื่อ เป็นต้น
- ป่าสนเขา พบตามยอดเขาโดยทั่วไปที่ระดับความสูง 700-1,300 เมตร พันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ได้แก่ สนสองใบ สนสามใบ ก่อ รัก รัง เหียง เป็นต้น
- ป่าเบญจพรรณ พบทางทิศตะวันออกของพื้นที่ พันธุ์ไม้ที่ขึ้นได้แก่ สัก เติม สมอไทย เส้า แดง ประดู่ เสี้ยว มะแฟน ซ้อ เป็นต้น
- ป่าเต็งรัง พบมากโดยทั่วไปบริเวณภูเขาที่ไม่สูงมากนัก พันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง สนสองใบ มะกอก เส้า เสี้ยว เป็นต้น
ทรัพยากรสัตว์ป่า[แก้]
สัตว์ป่าที่เห็นได้โดยมาก ได้แก่ เก้ง หมูป่า ไก่ป่า ลิง เม่น หมาใน กระต่ายป่า กระรอก อีเห็น ตะกวด หมาจิ้งจอก ตุ่น บ่าง ค้างคาว พังพอน เป็นต้น ส่วนสัตว์ป่าที่เป็นจุดเด่น ได้แก่ นกนานาชนิด เสือโคร่ง และ เลียงผา
อาณาเขต[แก้]
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสะเมิง ตำบลยั้งเมิน อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่
- ทิศใต้ ติดต่อกับ เขตอุทยานแห่งชาติออบขาน ตำบลบ่อแก้ว ตำบลแม่สาบ ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ เขตติดต่อ อำเภอแม่ริม ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ เขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่แจ่ม ตำบลแม่แดด ตำบลแม่นาจร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
แหล่งท่องเที่ยว[แก้]
ด้านธรรมชาติ[แก้]
อุทยานแห่งชาติขุนขาน มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ และมีจุดเด่นทางธรรมชาติหลายแห่ง ได้แก่
- จุดชมทิวทัศน์ป่าแม่แจ่ม กิโลเมตรที่ 36–55
- จุดชมทิวทัศน์ป่าสะเมิง กิโลเมตรที่ 24–25
- น้ำตกแม่นาเปอะ
- น้ำตกห้วยตาด
- น้ำตกห้วยฮ้อม
- น้ำตกอมลอง
- น้ำตกห้วยอมแตง
- หน้าผามาต๊ะ
- ถ้ำหลวงแม่สาบ
- บ่อน้ำร้อนท่าโต๋
- ดอยซาง
- ดอยขุนแม่เอ๊าะ
- ผาสามหน้า
นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางมาท่องเที่ยวที่อุทยานขุนขานได้ตลอดทั้งปี
ด้านศึกษาธรรมชาติ[แก้]
- เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติริมถนนสายสะเมิง–วัดจันทร์
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ส่วนภูมิสารสนเทศ. สำนักฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่อนุรักษ์. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. "รายงานสรุปพื้นที่ป่าอนุรักษ์ในความรับผิดชอบของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พื้นที่รวม 72.046 ล้านไร่ (คำนวณในระบบ GIS)." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www2.dnp.go.th/gis/รูปอัพเว็บ/สรุปพื้นที่ป่า.pdf 2557. สืบค้น 3 สิงหาคม 2560.
- ↑ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. "ตารางที่ 10 จำนวนผู้เข้าไปท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2555–2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dnp.go.th/statistics/2559/ตาราง 10 จำนวนผู้เข้าไปท่องเที่ยวในอุทยาน ปี 2555-2559 (1ก.พ.60).xls 2560. สืบค้น 3 สิงหาคม 2560.
- ขุนขาน สำนักอุทยานแห่งชาติ
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- อุทยานแห่งชาติขุนขาน
- สถิติข้อมูลนักท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติ Archived 2013-01-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
![]() |
บทความนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล หมายเหตุ: ขอแนะนำให้จัดหมวดหมู่โครงให้เข้ากับเนื้อหาของบทความ (ดูเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:โครงการจัดหมวดหมู่โครงที่ยังไม่สมบูรณ์) |