เอสเอฟ ซีเนม่า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บริษัท เอสเอฟ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
ประเภทบริการ
อุตสาหกรรมบริการ
ก่อตั้งพ.ศ. 2542
ผู้ก่อตั้งสุวัฒน์ ทองร่มโพธิ์ จังหวัดตราด ประเทศไทย
สำนักงานใหญ่444 ชั้น 7 อาคารเอ็มบีเคเซ็นเตอร์ ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
บุคลากรหลัก
สุวัฒน์ ทองร่มโพธิ์
สุวิทย์ ทองร่มโพธิ์
ผลิตภัณฑ์โรงภาพยนตร์, โบว์ลิ่ง, คาราโอเกะ
เว็บไซต์www.sfcinemacity.com/

เอสเอฟ ซีเนม่า (อังกฤษ: SF Cinema) เป็นธุรกิจโรงภาพยนตร์ แห่งหนึ่งในประเทศไทย มีจุดเริ่มต้นของธุรกิจจากการเป็นหนึ่งในสายหนังของภาคตะวันออก เริ่มต้นจากโรงหนังศรีตราดดราม่า จังหวัดตราด ก่อนปรับธุรกิจมาเป็นโรงภาพยนตร์มัลดิเพล็กซ์เต็มตัว

ประวัติ[แก้]

ราวปี พ.ศ. 2512 สมาน ทองร่มโพธิ์ ตัดสินใจลาออกจากราชการที่กรุงเทพฯ ภูมิลำเนาเดิม และพาครอบครัวย้ายมาอยู่ จ.ตราด โดยได้ทำการเช่าที่ดินส่วนหนึ่งจากนาย อุดร สัตยุตม์ พร้อมกับเริ่มต้นกิจการ "ศรีตราดราม่า" ที่ตั้งอยู่หน้าตลาดเทพอุดร (ตลาดสดขนาดใหญ่ใจกลางเมืองตราด) ซึ่งเป็นโรงภาพยนตร์ทันสมัยแห่งแรกของตราด กิจการนี้ดำเนินการได้เพียง 13 ปี ขณะนั้นสุวัฒน์ ลูกชายคนโตของสมาน ได้รับช่วงดูแลกิจการต่อ ขณะอายุเพียง 17 ปี ด้วยอยากทำสิ่งที่พ่อรัก ความผูกพันกับโรงหนังที่ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่าไร่ครึ่ง เป็นบ้านของครอบครัว และเห็นว่าพนักงานมีกว่า 100 ชีวิตให้ต้องรับผิดชอบ

ด้วยการสนับสนุนจากลูกน้องเก่าและพรรคพวก ทำให้การทำธุรกิจของสุวัฒน์เริ่มต้นอย่างดี และนำพาให้โรงหนังขยายสาขาครอบคลุมทั้งภาคตะวันออก พร้อมกับที่กิจการสายหนัง สมานฟิล์มก็ได้เป็นตัวแทนจากค่ายหนังทุกค่าย จวบจนทศวรรษที่ 2530 กิจการโรงหนังซบเซา จนเมื่อปี 2537 การมาของ อีจีวี และ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ทำให้ธุรกิจนี้คึกคักอีกครั้ง หลายคนอาจมองว่าคงเป็นเรื่องยากที่จะสู้ได้ แต่สุวัฒน์ไม่คิดอย่างนั้นและทำให้เกิดโรงมัลติเพล็กซ์ SF Cinema (SF ย่อมาจาก สมานฟิล์ม ซึ่งเป็นชื่อคุณพ่อของสุวัฒน์) โดยเริ่มต้นที่ เอ็มบีเคเซ็นเตอร์ (ศูนย์การค้ามาบุญครอง) ชั้น 7 บริเวณพื้นที่เดิมของเอ็มบีเคฮอลล์ เป็นที่แรกในเดือนเมษายน พ.ศ. 2542 ภายใต้ชื่อ เอสเอฟ ซีนีม่า ซิตี้ เดอะมูฟวี่แพลเน็ต (SF Cinema City The Movie Planet) ด้วยธีมอวกาศและดวงดาว บนพื้นที่กว่า 25,000 ตร.ม. ทุ่มทุนกว่า 600 ล้านบาท ภายใต้แนวคิดความบันเทิงในชั้นเดียว (One Floor Entertainment) เพราะเห็นโอกาสจากโรงหนังมัลติเพล็กซ์ในขณะนั้นเน้นไปที่ชานเมืองเป็นหลัก แต่ใจกลางกรุงเทพมหานคร กลับยังไม่มีโรงหนังทันสมัย และในปี พ.ศ. 2544 ก็เปิดที่ศูนย์การค้าในเครือเดอะมอลล์อีกถึง 3 สาขาพร้อมกัน คือที่ บางกะปิ, บางแค, และ งามวงศ์วาน และสาขาอื่น ๆ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

ธุรกิจของบริษัท[แก้]

โรงภาพยนตร์[แก้]

สาขา จำนวน รายละเอียด
ทั่วไป พิเศษ
เอ็มพรีเว่ ซีเนคลับ (Emprivé Cineclub)
เอ็มโพเรียม ชั้น 5 5 (โรงภาพยนตร์แบบเฟิร์สคลาสทั้งหมด) เดิมเป็นโรงภาพยนตร์ในเครือ United Artists ซึ่งเอสเอฟได้ซื้อกิจการในปี 2546 เปลี่ยนเป็น "เอ็มโพเรียม เอสเอฟเอ็กซ์ซีเนม่า" ในช่วงปรับปรุงครั้งแรก เปลี่ยนเป็น "เอ็มพรีเว่ ซีเนคลับ" ในช่วงปรับปรุงครั้งที่สองพร้อมกับการปรับปรุงเอ็มโพเรียมในปัจจุบัน และเป็นโรงภาพยนตร์แห่งที่สามในเครือ SF ที่นำระบบ Dolby Atmos เข้ามาฉาย
เอสเอฟ เวิลด์ ซีเนม่า (SF World Cinema)
เซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 7 (จุดจำหน่ายบัตร) และ 8-9 (ที่ตั้งโรงภาพยนตร์) โซนเซ็นทรัลคอร์ท/แดซเซิล 9 2 (NT First Class)[1]
1 (The Bed Cinema by Omazz)
1 (Zigma CineStadium by C2)
1 (MX4D presented by CP)
1 (Earthlab Cinema by DR.CBD)
โรงภาพยนตร์ต้นแบบ (Flagship) ของเอสเอฟ ซีเนม่า เป็นโรงภาพยนตร์แบบอย่าง Hip Chic 'n Metropolis กับความล้ำสมัย พร้อมพรั่งด้วยเทคโนโลยีต่างๆ เช่น โรงภาพยนตร์สามมิติแบบดิจิทัล Dolby 3D โรงภาพยนตร์ดิจิทัล Zero Wall Experience กับการบุผนังให้ไม่รบกวนสายตาขณะชมภาพยนตร์ โรงภาพยนตร์สามมิติแบบดิจิทัลความละเอียด 8.8 ล้านพิกเซล พร้อมระบบเสียงดอลบี แอทมอสแห่งแรกในประเทศไทย
เอสเอฟ เอ็กซ์ ซีเนม่า (SFX Cinema)
เซ็นทรัล ลาดพร้าว ชั้น 6 6 2 (ที่นั่งปกติและเฟิร์สคลาสในโรงเดียวกัน)
1 (Zigma CineStadium by C2)
1 (The Bed Cinema by Omazz)
เป็นโรงภาพยนตร์ระดับเฟิร์สคลาสเป็นแห่งแรกในกรุงเทพมหานคร
เซ็นทรัล ภูเก็ต อาคารเฟสติวัล ชั้น 3 2 1 (Zigma CineStadium by C2)

5 (ที่นั่งปกติและเฟิร์สคลาสในโรงเดียวกัน)

เป็นโรงภาพยนตร์ระดับเฟิร์สคลาสเป็นแห่งแรกในภูเก็ต ต่อมาโรงภาพยนตร์เฟิร์สคลาสเปลี่ยนมาเป็น Zigma CineStadium
เซ็นทรัล แจ้งวัฒนะ ชั้น 7 9 - มีระบบลำโพงแบบ Digital B Chain แห่งแรกของประเทศไทย
อยู่ระหว่างการปรับโฉมเป็น SF Cinema
เซ็นทรัล พัทยา ชั้น 6 7 1 (MX4D)
1 (First Class)
1 (The Porch)
มีโรงภาพยนตร์กลางแจ้งแห่งแรกของประเทศไทย และที่นำระบบ MX4D เข้ามาฉายต่อจากเซ็นทรัลเวิลด์และเซ็นทรัล โคราช
เซ็นทรัล พระราม 9 ชั้น 7 (จุดจำหน่ายบัตร) และ 8 (ที่ตั้งโรงภายนตร์) 9 1 (NT First Class)[1]
1 (Zigma CineStadium by C2)
เป็นโรงภาพยนตร์แห่งแรกในเขตย่านธุรกิจใหม่ที่พระราม 9 มีจุดเด่นด้วยโรงภาพยนตร์ดิจิตอลสามมิติขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มเอสเอฟ และยังเป็นโรงภาพยนตร์เอสเอฟสาขาสุดท้ายที่ใช้ระบบฟิล์ม 35 มม. เป็นระบบฉายหลักในช่วงแรกที่เปิดทำการ ก่อนปรับเป็นโรงภาพยนตร์ดิจิตอลทั้งหมด
เมญ่า เชียงใหม่ ไลฟ์สไตล์ช็อปปิ้งเซ็นเตอร์ ชั้น 5 8 1 (First Class)
1 (Zigma CineStadium by C2)
โรงภาพยนตร์ในเครือ SF สาขาที่ 2 ในเชียงใหม่ และเป็นโรงภาพยนตร์แห่งที่สองในเครือ SF ที่นำระบบ Dolby Atmos เข้ามาฉายต่อจากเซ็นทรัลเวิลด์
คริสตัล วีรันดา เอกมัย-รามอินทรา ชั้น 4 6 (ที่นั่งปกติและเฟิร์สคลาสในโรงเดียวกัน)
1 (Zigma CineStadium by C2)
1 (The Bed Cinema by Omazz)
เป็นโรงภาพยนตร์รูปแบบพิเศษ เน้นกลุ่มลูกค้ากำลังซื้อสูง และเป็นโรงภาพยนตร์แห่งที่สี่ในเครือ SF ที่นำระบบ Dolby Atmos เข้ามาฉายต่อจากเซ็นทรัลเวิลด์ เมญ่า เชียงใหม่ และเอ็มโพเรียม
เซ็นทรัล โคราช ชั้น 4 โซนฤดูหนาว 7 1 (VIP)
1 (Happiness World Screen)
โรงภาพยนตร์ในเครือ SF สาขาที่ 2 ในจังหวัดนครราชสีมา ภายใต้แนวคิด “Sky Phenomenon” มีเลาจน์บริการส่วนตัว เป็นโรงภาพยนตร์แห่งที่สองในเครือ SF ที่นำระบบ MX4D เข้ามาฉายต่อจากเซ็นทรัลเวิลด์ซึ่งภายหลังได้เปลี่ยนมาเป็นโรง VIP และโรงภาพยนตร์แบบ ZIGMA CINESTADIUM โรงภาพยนตร์ที่มีจอภาพยนตร์ขนาดใหญ่ รองรับการฉายด้วยเครื่องฉายภาพยนตร์ Duo Projector Sony 4K
เทอร์มินอล 21 พัทยา ชั้น 3 (จุดจำหน่ายบัตร) และ 4 (ที่ตั้งโรงภายนตร์) 4 3 (ที่นั่งปกติและเฟิร์สคลาสในโรงเดียวกัน) โรงภาพยนตร์ในเครือ SF สาขาที่ 3 ในเมืองพัทยา ต่อจากเซ็นทรัลมารีนา และเซ็นทรัล พัทยา บีช
เอ็มไลฟ์สโตร์ งามวงศ์วาน ชั้น 7 8 1 (Happiness Cinema)
1 (Zigma CineStadium by C2)
เดิมเป็น SF Cinema โดยตกแต่งให้บรรยากาศแนว The Movie Ocean ภายในได้ต่อเติมอีก 5 โรงภาพยนตร์ในแนวหรูหรา และในปี 2562 ได้มีการปรับปรุงโดยเปลี่ยนเป็น SFX Cinema ซึ่งเป็นโรงภาพยนตร์ SFX สาขาที่ 2 ในจังหวัดนนทบุรี ต่อจากเซ็นทรัล แจ้งวัฒนะ และเป็นแบรนด์เอสเอฟเอ็กซ์แห่งแรกในศูนย์การค้าเดอะมอลล์ ไลฟ์สโตร์
เอสเอฟ ซีเนม่า (SF Cinema)
เอ็มบีเคเซ็นเตอร์ ชั้น 7-8 6 1 (Cinecafe)

1 (Zigma CineStadium by C2)

สาขาแรกของ SF ในกรุงเทพมหานคร เอสเอฟปรับพื้นที่ซึ่งเดิมเป็นเอ็มบีเคฮอลล์เป็นโรงภาพยนตร์และศูนย์รวมความบันเทิง โดยมีการตกแต่งในแนว The Movie Planet โดยโรงภาพยนตร์ต่าง ๆ ก็จะมีชื่อของตนเอง เช่น Solar 3 Lunar 6 ภายหลังสาขานี้ได้มีการเพิ่มอีก 2 โรงภาพยนตร์ที่สามารถรองรับระบบดิจิทัลได้ด้วย ต่อมาโรงภาพยนตร์ VIP ได้ปรับรูปแบบเป็น Cinecafe
เอ็มไลฟ์สโตร์ บางแค ชั้น 3 8 - ตกแต่งในแนว The Movie Fantasy เดิมเป็นโรงภาพยนตร์เครือ APEX โดยในปี พ.ศ. 2566 ได้มีการปรับปรุงโฉมใหม่ ในคอนเซ็ปต์ “Entertainment Scenario” ตอบรับไลฟ์สไตล์ของผู้ชมทุกเพศ ทุกวัย
เซ็นทรัล มารีนา พัทยาเหนือ ชั้น 3 6 - สาขาภูมิภาคแห่งแรกในรูปแบบ SF ตกแต่งในแนว Theatre on The Beach เป็นสาขาที่ปรับปรุงมาจาก SF Multiplex
เซ็นทรัล รามอินทรา ชั้น 3 6 - เดิมเป็นโรงเครือสหมงคลฟิล์ม UMG และในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2566 ได้ปรับปรุงโรงภาพยนตร์โฉมใหม่ ตกแต่งแนว Home Cinema
เอ็มไลฟ์สโตร์ ท่าพระ ชั้น 4 7 1 (Prime Seats) เดิมเป็นโรงภาพยนตร์ NK THX มาปรับปรุงและสร้างเพิ่มโดยใช้พื้นที่สวนน้ำเดิม โดยสาขานี้ ได้ตกแต่งแนว High Style Cinema กับแนวคิด "สัมผัสความเลิศแห่งโลกภาพยนตร์" และในปี 2564 ได้มีการปรับปรุงโรงภาพยนตร์โฉมใหม่ล่าสุดในคอนเซ็ปต์ “Luxury Loft”
จังซีลอน ป่าตอง ชั้น 3 5 -
แพชชั่น ช็อปปิ้ง เดสติเนชั่น ระยอง ชั้น 3 9 - เดิมเป็นสาขาของ SF Multiplex แต่ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนเป็น SF Cinema City เมื่อปลายปี 2551 มี 7 โรงภาพยนตร์ และในปี 2558 มีการต่อเติมโรงเพิ่มอีก 2 โรงภาพยนตร์ รวมเป็น 9 โรงภาพยนตร์ (ขณะนี้อยู่ในช่วงปิดปรับปรุงโฉมใหม่)
โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ จันทบุรี ชั้น 2 4 - เดิมเป็นสาขาของ SF Multiplex แต่ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนเป็น SF Cinema City เมื่อปลายปี 2551
ฮาร์เบอร์มอลล์ แหลมฉบัง ชลบุรี ชั้น 4 4 - เดิมเป็นสาขาของ SF Multiplex แต่ต้องปิดตัวลงพร้อมกับห้างแหลมทอง แหลมฉบัง เมื่อกลางปี 2551 ได้มีการปรับปรุงตัวห้างเปลี่ยนเป็นศูนย์การค้าฮาร์เบอร์มอลล์ พร้อมกับการร่วมมือกับโลตัส เปิดสาขาไฮเปอร์มาร์เก็ตภายในห้าง จึงได้มีการปรับปรุงตัวโรงภาพยนตร์ และเปิดตัวเป็น SF Cinema City เมื่อต้นปี 2552 ในแบบอย่าง Beach Life เน้นสีสันที่โดดเด่นและสดใส
เซ็นทรัล ชลบุรี ชั้น 4 7 -
แหลมทอง บางแสน ชลบุรี ชั้น 4 4 - เดิมเป็นสาขาของ SF Multiplex เมื่อปลายปี 2551 ได้มีการปรับปรุงตัวห้างเปลี่ยนเป็นศูนย์การค้าแหลมทอง (โฉมใหม่จากชั้นเดียวเป็น 4 ชั้น) จึงได้มีการปรับปรุงตัวโรงภาพยนตร์ และเปิดตัวเป็น SF Cinema City ในต้นเดือนพฤศจิกายน 2552
เซ็นทรัล ขอนแก่น ชั้น 5 8 - โรงภาพยนตร์ในเครือเอสเอฟสาขาแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ ตรัง ชั้น 2 4 -
เทอร์มินอล 21 อโศก ชั้น 6 8 -
โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ สุพรรณบุรี ชั้น 2 4 -
สุนีย์แกรนด์ทาวเวอร์ อุบลราชธานี ชั้น 4-6 7 -
เซ็นทรัล สุราษฎร์ธานี ชั้น 4 7 - โรงภาพยนตร์ในเครือเอสเอฟสาขาแรกในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
เซ็นทรัล ลำปาง ชั้น 3 4 - โรงภาพยนตร์ในเครือเอสเอฟสาขาแรกในภาคเหนือ
เสริมไทยคอมเพล็กซ์ มหาสารคาม ชั้น 2 5 -
แลนด์มาร์คพลาซา อุดรธานี ชั้น 4 7 -
โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ กาญจนบุรี ชั้น 2 4 -
พรอมเมนาดา รีสอร์ท มอลล์ เชียงใหม่ ชั้น 2 8 - ปิดบริการชั่วคราวแบบไม่มีกำหนด
โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ สุรินทร์ ชั้น 2 5 -
โลตัส สัตหีบ ชั้น 2 2 - ปิดบริการชั่วคราวแบบไม่มีกำหนด
เซ็นทรัล ศาลายา ชั้น 4 7 - โรงภาพยนตร์ในเครือเอสเอฟสาขาแรกในจังหวัดนครปฐม
โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ ฉะเชิงเทรา ชั้น 2 6 -
คริสตัล เอสบี ราชพฤกษ์ ชั้น 3 8 -
โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ ปราจีนบุรี ชั้น 2 4 -
โรบินสัน โอเชี่ยน ไลฟ์สไตล์ นครศรีธรรมราช ชั้น 4 4 -
โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ บุรีรัมย์ ชั้น 2 5 -
โคลิเซี่ยม สุราษฎร์ธานี ชั้น 3-4 6 - เดิมเป็นโรงภาพยนตร์ Coliseum Cineplex ได้รับการปรับปรุงใหม่เป็น SF Cinema และเปิดดำเนินการอีกครั้งตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 โดยเป็นสาขาแรกที่ใช้อัตลักษณ์ปัจจุบันของเอสเอฟ ซีเนม่า และโรงภาพยนตร์ในเครือ SF สาขาที่ 2 ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ต่อจากเซ็นทรัล สุราษฎร์ธานี
โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ ศรีสมาน ชั้น 2 6 -
โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ แม่สอด ชั้น 2 4 -
บิ๊กซี บางพลี สมุทรปราการ ชั้น 3 6 - เดิมเป็นโรงภาพยนตร์ในเครือ UMG ได้รับการปรับปรุงใหม่เป็น SF Cinema และเปิดดำเนินการอีกครั้งตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2559 เป็นโรงภาพยนตร์ในเครือ SF สาขาแรกในจังหวัดสมุทรปราการ
เซ็นทรัล นครศรี ชั้น 3 6 - โรงภาพยนตร์ในเครือ SF สาขาที่ 2 ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ต่อจากโรบินสัน โอเชี่ยน ไลฟ์สไตล์ นครศรีธรรมราช
แจส เออเบิร์น ศรีนครินทร์ ชั้น 2 5 - โรงภาพยนตร์ในเครือ SF สาขาที่ 2 ในจังหวัดสมุทรปราการ ต่อจากบิ๊กซี บางพลี
โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ ลพบุรี ชั้น 2 5 -
เทอร์มินอล 21 โคราช ชั้น 5 8 - เป็นโรงภาพยนตร์แห่งที่ห้าในเครือ SF ที่นำระบบ Dolby Atmos เข้ามาฉายต่อจากคริสตัล วีรันดา เอกมัย-รามอินทรา และเป็นแห่งแรกที่เปิดภายใต้แบรนด์ เอสเอฟ ซีเนม่า
โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ ราชบุรี ชั้น 2 3 -
บิ๊กซี เพชรบุรี ชั้น 2 4 - ปรับปรุงมาจาก เดิมเป็นโรงภาพยนตร์ธนา ซินีเพล็กซ์
เซ็นทรัล มหาชัย ชั้น 3 6 - เป็นโรงภาพยนตร์แห่งที่ 2 ที่มีโรงภาพยนตร์ ZIGMA CINESTADIUM โรงภาพยนตร์ขนาดใหญ่ในสาขา
ท็อปส์ พลาซ่า พะเยา 3 -
โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ ชลบุรี (อมตะนคร) ชั้น 2 5 - โรงภาพยนตร์ในเครือ SF สาขาที่ 3 ในจังหวัดชลบุรี ต่อจากเซ็นทรัล ชลบุรีและแหลมทอง บางแสน
บิ๊กซี สระแก้ว 3 -
บิ๊กซี เพชรเกษม 2 ชั้น 2 4 -
บิ๊กซี สมุทรสงคราม 3 - โรงภาพยนตร์มัลติเพล็กซ์แห่งแรกในจังหวัดสมุทรสงคราม
คอสโม บาซาร์ เมืองทองธานี ชั้น 3 5 - โรงภาพยนตร์ในเครือ SF สาขาที่ 7 ในจังหวัดนนทบุรี ต่อจากโรบินสัน ไลฟ์สไตล์ ศรีสมาน
โลตัส ชุมพร ชั้น 2 3 -
โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ บ่อวิน ชั้น 2 3 -
บิ๊กซี กระบี่ ชั้น 2 4 -
เซ็นทรัล อยุธยา ชั้น 2 5 - เป็นโรงภาพยนตร์ในคอนเซปต์ ผสานเสน่ห์ "Thai Modern Style"
โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ บ้านฉาง ชั้น 2 3 - โรงภาพยนตร์ในเครือ SF สาขาที่ 2 ในจังหวัดระยอง ต่อจากแพชชั่น ช็อปปิ้ง เดสติเนชั่น (แหลมทอง ระยอง)
โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ ถลาง ชั้น 2 3 - เป็นโรงภาพยนตร์ที่ถูกออกแบบภายใต้แนวคิด ‘Phuket Movie Town’ ด้วยการจำลองรูปแบบและลวดลายของสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีส (Sino-Portuguese) เสน่ห์เมืองเก่าอันเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดภูเก็ต และโรงภาพยนตร์ในเครือ SF สาขาที่ 3 ในจังหวัดภูเก็ต ต่อจาก จังซีลอน ป่าตอง ภูเก็ต
เทอร์มินอล 21 พระราม 3 ชั้น 5 7 1 (Zigma CineStadium by C2) เป็นโรงภาพยนตร์การออกแบบภายใต้แนวคิด ‘Movie Street’ ด้วยการจำลองบรรยากาศท้องถนนฮอลลีวูด เมืองแห่งภาพยนตร์ระดับโลก เช่นเดียวกับ เทอร์มินอล 21 อโศก
เซ็นทรัล นครสวรรค์ ชั้น 3 4 1 (Zigma CineStadium by C2) เป็นโรงภาพยนตร์ ภายใต้แนวคิดการออกแบบ ‘Neo Chinese Theater’ ที่นำสีแดงเงาซึ่งสะท้อนถึงเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมจีนอันรุ่งเรือง และเป็นโรงภาพยนตร์ในเครือเอสเอฟสาขาแรกในจังหวัดนครสวรรค์

สาขาที่ปิดกิจการ[แก้]

ชื่อสาขา วันที่เปิดบริการ วันที่ปิดบริการ จังหวัดที่ตั้ง สถานะในปัจจุบัน
บิ๊กซี มาร์เก็ต ปราจีนบุรี 25 มกราคม พ.ศ. 2550 27 สิงหาคม พ.ศ. 2563 ปราจีนบุรี ย้ายไปยังเอสเอฟ ซีเนม่า สาขาโรบินสัน ไลฟ์สไตล์ ปราจีนบุรี และปิดกิจการก่อนห้างสรรพสินค้า บิ๊กซี มาร์เก็ต ปราจีนบุรี ซึ่งปิดบริการวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
เดอะสแควร์ บางใหญ่ ชั้น 4 1 ตุลาคม 2554 18 มีนาคม พ.ศ. 2564 นนทบุรี ปิดกิจการ ย้ายไปยังเอสเอฟ ซีเนม่า สาขาคริสตัล เอสบี ราชพฤกษ์
เอ็มไลฟ์สโตร์ บางกะปิ ชั้น 4 (ชั้น 3 หลังการปรับปรุงครั้งใหญ่) 15 สิงหาคม พ.ศ. 2544[2] 1 มิถุนายน พ.ศ. 2566 กรุงเทพมหานคร ปิดกิจการ ย้ายไปยังเอสเอฟ เอ็กซ์ ซีเนม่า สาขา คริสตัล วีรันดา เอกมัย-รามอินทรา และ เอสเอฟ ซีเนม่า สาขา แจส เออเบิร์น ศรีนครินทร์ เนื่องจากมีการยกเลิกสัญญาเช่า ส่วนพื้นที่เดิมเปลี่ยนเป็นโรงภาพยนตร์ "บางกะปิ ซีนีเพล็กซ์" ในเครือ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ จำนวน 8 โรงภาพยนตร์ และพื้นที่ร้านอาหาร
เซ็นทรัล รัตนาธิเบศร์ ชั้น 3 ธันวาคม พ.ศ. 2546 31 มกราคม พ.ศ. 2567 นนทบุรี ปิดกิจการ ย้ายไปยังเอสเอฟเอ็กซ์ ซีเนม่า สาขาเอ็มไลฟ์สโตร์ งามวงศ์วาน เนื่องจากศูนย์การค้าเซ็นทรัล รัตนาธิเบศร์ปิดทำการและรื้อก่อสร้างใหม่ทั้งหมด

โบว์ลิ่ง[แก้]

เอสเอฟ สไตรก์โบว์ล เป็นธุรกิจโบว์ลิ่ง ทำให้เอสเอฟมีชื่อเสียงในด้านนี้อย่างมาก ด้วยรางโบว์ลิ่งมาตรฐาน ปัจจุบันมีทั้งหมด 2 สาขา ได้แก่

  1. จังซีลอน ป่าตอง ชั้น 3
  2. เซ็นทรัล พัทยา ชั้น 7

เมญ่า ไลฟ์สไตล์ช็อปปิ้งเซ็นเตอร์[แก้]

เมญ่า ไลฟ์สไตล์ช็อปปิ้งเซ็นเตอร์
เมญ่า ไลฟ์สไตล์ช็อปปิ้งเซ็นเตอร์ logo
ที่ตั้ง55 หมู่ที่ 5 ถนนห้วยแก้ว ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50300
เปิดให้บริการ23 มกราคม 2557 (2557-01-23)
ผู้บริหารงานบริษัท มายา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด
พื้นที่ชั้นขายปลีกอาคาร: 80,000 ม2 [3]
จำนวนชั้น8 ชั้น (รวมชั้น B1, B2 และ G) [3]
ที่จอดรถ250 คัน
เว็บไซต์www.mayashoppingcenter.com

เมญ่า ไลฟ์สไตล์ช็อปปิ้งเซ็นเตอร์ (อังกฤษ: MAYA Lifestyle Shopping Center) เป็นโครงการศูนย์การค้าขนาดกลางในจังหวัดเชียงใหม่ บริหารโดยบริษัท มายา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ในเครือเอสเอฟ ซีเนม่า ใช้งบลงทุนทั้งโครงการกว่า 3,000 ล้านบาท บนพื้นที่กว่า 80,000 ตร.ม. บริเวณสี่แยกรินคำ ด้านทิศเหนือ ติดกับถนนซุปเปอร์ไฮเวย์เชียงใหม่-ลำปาง และถนนห้วยแก้ว ย่านถนนนิมมานเหมินท์ โดยเริ่มก่อสร้างกลางปี พ.ศ. 2555 และเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการใน วัน พฤหัสบดี ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557

เมญ่า ไลฟ์สไตล์ช็อปปิ้งเซ็นเตอร์ พัฒนาเป็นศูนย์การค้า สูง 8 ชั้น (รวมชั้นใต้ดิน) พื้นที่ใช้สอยทั้งหมดกว่า 80,000 ตารางเมตร โดยแบ่งเป็นพื้นที่ค้าปลีก 35,000 ตารางเมตร[3] บนพื้นที่ 9 ไร่ บริเวณสี่แยกรินคำ ด้านทิศเหนือติดกับถนนซุปเปอร์ไฮเวย์เชียงใหม่-ลำปาง และถนนห้วยแก้ว ย่านนิมมานเหมินท์ โดยมีพื้นที่สำคัญ ได้แก่ ริมปิงซูเปอร์มาร์เก็ต โรงภาพยนตร์เอสเอฟเอ็กซ์ ซีเนมา จำนวน 10 โรง สวนสนุกเมญ่าแฟนตาเซีย CAMP AIS ห้องสมุดคาเฟ่แห่งแรกในจังหวัดเชียงใหม่ นิมมานฮิลล์ และแม็กซ์ โปรเฟสชั่นนอล ฟิตเนส

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "SF ซีเนม่า เปิดตัว "NT First Class Cinema"". mgronline.com. 2022-03-23.
  2. "SF CINEMA CITY รุกธุรกิจโรงภาพยนตร์เปิดตัว 3 สาขาใหม่ เปิดตัวยิ่งใหญ่ด้วยงาน WORLD GALA PREMIERE". ryt9.com.
  3. 3.0 3.1 3.2 SF ส่ง MAYA ลองของตลาดเชียงใหม่ OK Nation อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "phoster" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน