แม่น้ำปิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แม่น้ำปิง
แม่น้ำ
แม่น้ำปิง ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2563 ช่วงบริเวณวัดท่าหลุก อำเภอเมืองเชียงใหม่
ประเทศ ประเทศไทย
จังหวัด เชียงใหม่, ลำพูน, ตาก, กำแพงเพชร, นครสวรรค์
แม่น้ำสาขา
 - ซ้าย น้ำแม่งัด, น้ำแม่กวง, น้ำแม่ลี้, น้ำแม่วัง
 - ขวา น้ำแม่แตง, น้ำแม่แจ่ม
เมือง เมืองเชียงใหม่, แม่ริม, หางดง, จอมทอง, เมืองลำพูน, เมืองตาก, เมืองกำแพงเพชร, เมืองนครสวรรค์
ต้นกำเนิด ดอยเชียงดาว (ดอยถ้วย)
 - ระดับ
 - พิกัด 19°48′45″N 98°50′20″E / 19.81250°N 98.83889°E / 19.81250; 98.83889
ปากแม่น้ำ แม่น้ำเจ้าพระยา
 - ตำแหน่ง จังหวัดนครสวรรค์, อำเภอเมืองนครสวรรค์
 - ระดับ
 - พิกัด 15°42′4″N 100°8′29″E / 15.70111°N 100.14139°E / 15.70111; 100.14139
ความยาว 658 km (409 mi)
พื้นที่ลุ่มน้ำ 33,898 ตร.กม. (13,088 ตร.ไมล์)
การไหล for ปากน้ำโพ นครสวรรค์
 - เฉลี่ย 265 m3/s (9,358 cu ft/s)
 - สูงสุด 2,302 m3/s (81,294 cu ft/s)
แผนที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา แสดงแม่น้ำปิง
แผนที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา แสดงแม่น้ำปิง
แผนที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา แสดงแม่น้ำปิง

แม่น้ำปิง (ไทยถิ่นเหนือ: ) หรือ แม่ปิง หรือ แม่ระมิงค์ เป็นแม่น้ำสายสำคัญของประเทศไทย และเป็นหนึ่งในสองของแม่น้ำที่บรรจบมาเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำปิงไหลอยู่ในหุบเขาระหว่างทิวเขาถนนธงชัยกลางกับทิวเขาผีปันน้ำตะวันตก มีต้นน้ำอยู่ที่ดอยเชียงดาวในอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ไหลลงทางใต้ผ่านจังหวัดลำพูน รวมกับแม่น้ำวังที่อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก ไหลลงใต้ผ่านจังหวัดกำแพงเพชร แล้วบรรจบกับแม่น้ำน่านที่ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ และจากจุดนี้ไปเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำปิงมีความยาวทั้งสิ้น 658 กิโลเมตร

แม่น้ำปิงมีแม่น้ำสาขาที่สำคัญอยู่ 6 สาย ได้แก่ น้ำแม่งัด น้ำแม่แตง น้ำแม่กวง น้ำแม่ลี้ น้ำแม่กลาง และน้ำแม่แจ่ม[1]

ในบริเวณแม่น้ำปิงตอนบนเป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติแม่ปิง มีเนื้อที่ 627,346 ไร่ (1,003.75 ตร.กม.)[2]

เขื่อนและอ่างเก็บน้ำ[แก้]

เขื่อนที่สำคัญกั้นลำน้ำสายนี้คือเขื่อนภูมิพล ตั้งอยู่ที่อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ลุ่มแม่น้ำปิงกินเนื้อที่ 33,898 ตารางกิโลเมตร และหากรวมกับลุ่มแม่น้ำวังจะกินเนื้อที่ 44,688 ตารางกิโลเมตร นอกจากนี้มีฝายแม่แฝก ที่ตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย

แม่น้ำสาขา[แก้]

เขตชุมชนในลุ่มน้ำ[แก้]

แม่น้ำปิงเหนือเขื่อนภูมิพล

เขตชุมชนหลายแหล่งอยู่บริเวณลุ่มน้ำปิงแสดงด้านล่าง พื้นที่หลายแห่งเป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกับน้ำแม่ปิง ลำดับของเมืองเรียงจากจุดเริ่มต้นของแม่น้ำไปถึงจุดปลายสุด

เขื่อนที่สำคัญในลุ่มแม่น้ำปิง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ลุ่มน้ำปิง เก็บถาวร 2011-07-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กรมชลประทาน
  2. อุทยานแห่งชาติ จากธรรมชาติ สู่เขตอนุรักษ์, สำนักอุทยานแห่งชาติ, กรุงเทพฯ, 2545, 49

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]