การบินลาว
| ||||
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2519 (45 ปี) | |||
---|---|---|---|---|
ท่าหลัก | ท่าอากาศยานนานาชาติวัตไต ท่าอากาศยานนานาชาติหลวงพระบาง | |||
ขนาดฝูงบิน | 11 | |||
จุดหมาย | 23 | |||
สำนักงานใหญ่ | ![]() | |||
บุคลากรหลัก | ท่าน บุนมา จันทะวงสา (ประธาน) | |||
เว็บไซต์ | http://www.laoairlines.com/ |
การบินลาว (ลาว: ລັດວິສາຫະກິດການບິນລາວ; อังกฤษ: Lao Airlines ไทย: รัฐวิสาหกิจการบินลาว) เป็นสายการบินแห่งชาติของประเทศลาว ให้บริการทั้งเที่ยวบินภายในประเทศและเที่ยวบินระหว่างประเทศ โดยใช้ท่าอากาศยานนานาชาติวัตไต นครหลวงเวียงจันทน์ เป็นฐานการบินหลัก และใช้ท่าอากาศยานนานาชาติหลวงพระบาง แขวงหลวงพระบาง เป็นฐานการบินรอง [1]
ประวัติ[แก้]
สายการบินก่อตั้งและเริ่มให้บริการตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2519 ภายใต้ชื่อ "Lao Aviation" ครั้นปี พ.ศ. 2546 จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "Lao Airlines" และได้เป็นสายการบินของรัฐบาลโดยสมบูรณ์[1]
จุดหมายปลายทาง[แก้]
การบินลาวมีเส้นทางบินไปยังจุดหมายปลายทางภายในประเทศ 8 แห่งใน 8 แขวง และให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศไปยัง 15 เมือง ใน 6 ประเทศดังนี้:[2]
เส้นทางบินภายในประเทศ[แก้]
- นครหลวงเวียงจันทน์ - (ท่าอากาศยานนานาชาติวัตไต)
- หลวงพระบาง - (ท่าอากาศยานนานาชาติหลวงพระบาง)
- จำปาศักดิ์ - (ท่าอากาศยานนานาชาติปากเซ)
- สุวรรณเขต - (ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณเขต)
- เชียงขวาง - (ท่าอากาศยานเชียงขวาง)
- หลวงน้ำทา - (ท่าอากาศยานหลวงน้ำทา)
- บ่อแก้ว - (ท่าอากาศยานบ่อแก้ว) หยุดให้บริการชั่วคราวเนื่องจากมีการปรับปรุงสนามบิน
- อุดมไซ - (ท่าอากาศยานอุดมไซ)
เส้นทางบินระหว่างประเทศ[แก้]
- คุนหมิง - (ท่าอากาศยานนานาชาติคุนหมิงฉางสุ่ย)
- จิ่งหง - (ท่าอากาศยานนานาชาติสิบสองปันนา)
- กว่างโจว - (ท่าอากาศยานนานาชาติกว่างโจว ไป๋หยุน)
- ฉางโจว - (ท่าอากาศยานนานาชาติฉางโจว เปนนิว)
- เฉิงตู - (ท่าอากาศยานนานาชาติเฉิงตูซวงหลิว)
- เซี่ยงไฮ้ - (ท่าอากาศยานนานาชาติเซี่ยงไฮ้ผู่ตง) เริ่มให้บริการในวันที่ 28 มกราคม พ.ศ 2562
- สิงคโปร์ - (ท่าอากาศยานจางีสิงคโปร์) หยุดให้บริการชั่วคราว
เส้นทางบินในอนาคต[แก้]
- โตเกียว - (ท่าอากาศยานนานาชาตินะริตะ) (เริ่มให้บริการในปี 2019)
- โอซาก้า - (ท่าอากาศยานนานาชาติคันไซ)
- ฟุกุโอะกะ- (ท่าอากาศยานฟุกุโอะกะ) (เริ่มให้บริการในปี 2019)
ฝูงบิน[แก้]
เครื่องบิน | จำนวน | ความจุผู้โดยสาร (ชั้นธุรกิจ/ชั้นประหยัด) |
เส้นทาง | ทะเบียนเครื่องบิน | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
แอร์บัส เอ 320-214 | 2
|
142 (16/126)
|
เส้นทางพิสัยใกล้และกลาง | RDPL-34188 RDPL-34199 RDPL-34223 |
|
เอทีอาร์ 72-500 | 4 | 70 (0/70) | เส้นทางพิสัยใกล้ | RDPL-34173 RDPL-34174 RDPL-34175 RDPL-34176 |
|
เอทีอาร์ 72-600 | 3 | 70 (0/70) | เส้นทางพิสัยใกล้ | RDPL-34222 RDPL-34225 RDPL-34228 RDPL-34233 (QV301) |
|
เอ็มเอ 60 | 4 | 56 (0/56) | เส้นทางพิสัยใกล้ | RDPL-34168 RDPL-34169 RDPL-34171 RDPL-34172 |
โอนชื่อให้ Lao Skyway |
อุบัติการณ์และอุบัติเหตุ[แก้]
การบินลาวมีอุบัติการณ์มากกว่าอุบัติเหตุ ซึ่งหมายถึงการทำการบินที่ผู้โดยสารบาดเจ็บเล็กน้อยหรือไม่บาดเจ็บเลย รวมถึงการขู่ว่ามีการวางระเบิด อย่างไรก็ตาม อุบัติการณ์และอุบัติเหตุของการบินลาวค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับสายการบินอื่น ๆ ทั่วโลก
- 16 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - การบินลาว เที่ยวบินที่ 301 เครื่องบินเอทีอาร์72-600 ทะเบียน RDPL-34233 ของการบินลาว จากเวียงจันทน์ไปปากเซ ตกสู่แม่น้ำโขงสาเหตุเนื่องจากฝนตกหนักมาก ผู้โดยสารทั้งหมด 44 คน และ ลูกเรือ 5 คน รวมทั้งหมด 49 คน เสียชีวิต
ดูเพิ่ม[แก้]
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 "Directory: World Airlines". Flight International. 2007-04-03. pp. 104–105.
- ↑ http://www.laoairlines.com/b2c/flight/pdf/WINTER_SCHEDULE_24Nov2011-31Dec2011.pdf Lao Airlines Flight Schedule]