ท่าอากาศยานตรัง
ท่าอากาศยานตรัง | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() | |||||||||||
ข้อมูลสำคัญ | |||||||||||
การใช้งาน | รัฐบาล | ||||||||||
ผู้ดำเนินงาน | กรมท่าอากาศยาน | ||||||||||
สถานที่ตั้ง | จังหวัดตรัง | ||||||||||
ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล | 20 เมตร / 67 ฟุต | ||||||||||
พิกัด | 07°30′31.48″N 099°36′59.68″E / 7.5087444°N 99.6165778°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 07°30′31.48″N 099°36′59.68″E / 7.5087444°N 99.6165778°E | ||||||||||
ทางวิ่ง | |||||||||||
| |||||||||||
สถิติ (2561) | |||||||||||
| |||||||||||
แหล่งข้อมูล: http://www.aviation.go.th |
ท่าอากาศยานตรัง (อังกฤษ: Trang Airport) ตั้งอยู่ที่ ถนนตรัง-ปะเหลียน ตำบลโคกหล่อ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง ห่างจากตัวเมืองไปทางใต้ประมาณ 7 กิโลเมตร เป็นท่าอากาศยานในสังกัดกรมการบินพลเรือน กระทรวงคมนาคม[1] อาคารผู้โดยสารเป็นอาคาร 2 ชั้นมีพื้นที่ใช้สอย 3,000 ตารางเมตร สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 300 คนต่อชั่วโมง มีช่องทางขึ้นเครื่องบิน 1 ช่องทาง และหลุมจอดเครื่อง 4 หลุมจอด มีพื้นที่ลานจอดเครื่องบิน 7,800 ตารางเมตร มีความยาวรันเวย์ 2,100 เมตร กว้าง 45 เมตร เป็นท่าอากาศยานที่สร้างพร้อม ๆ กับท่าอากาศยานภูเก็ต และท่าอากาศยานหาดใหญ่ ปัจจุบันมี 3 สายการบินให้บริการคือ สายการบินไทยแอร์เอเชีย สายการบินไทยไลอ้อนแอร์ และสายการบินนกแอร์ (ตารางการบิน)
ประวัติ[แก้]
ท่าอากาศยานตรังก่อตั้งขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 บนที่ดินของกองทัพอากาศและที่ของราชพัสดุ ซึ่งเดิมหน่วยราชการได้สงวนบริเวณที่เป็นท่าอากาศยานไว้สำหรับทำการปศุสัตว์โดยมีชื่อว่า “ทุ่งนางหวัง” ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นได้ปรับปรุงทุ่งหญ้าดังกล่าวให้เป็นทางวิ่งสำหรับการขึ้น-ลงชั่วคราวของอากาศยาน เพื่อการดำเนินภารกิจของกองทัพญี่ปุ่น ต่อมาเมื่อสงครามสิ้นสุดลงกองทัพอากาศได้ใช้พื้นที่ดังกล่าวเป็นที่ขึ้น-ลง ของอากาศยานทางทหาร โดยมีชื่อเรียกว่า “สนามบินทุ่งนางหวัง” ซึ่งได้มีการปรับปรุงเรื่อยมาจนกลายเป็นสนามบินพาณิชย์ประจำจังหวัดตรัง
ปี พ.ศ. 2497 กระทรวงคมนาคม ได้มีประกาศที่ 2/2497 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2497 ให้สนามบินดังกล่าวเป็นสนามบินอนุญาต ปี พ. ศ. 2498 กรมการบินพาณิชย์ (เดิมมีชื่อว่าสำนักงานการบินพลเรือน และได้ยกฐานะขึ้นเป็น กรมการบินพาณิชย์ เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508) ได้ดำเนินการบูรณะสนามบิน เพื่อให้อากาศยานของ บริษัท เดินอากาศไทย จำกัด ทำการบินรับส่งผู้โดยสาร สินค้า ไปรษณีย์ เส้นทาง ตรัง-กรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียง โดยทำการปรับปรุงทางวิ่งให้เป็นพื้นผิวลาดยาง มีความยาว 1,175 เมตร ความกว้าง 30 เมตร และปรับทางวิ่งเผื่อขนาด 30 x 60 เมตร ทั้งสองด้านซึ่งเป็นลูกรังอัดแน่น พร้อมกับก่อสร้างอาคารสถานีการบิน ซึ่งเป็นเรือนไม้ 2 ชั้น ประกอบด้วยที่ทำการท่าอากาศยาน ที่ทำการบริษัท เดินอากาศไทย จำกัด หอควบคุมจราจรทางอากาศและสถานีสื่อสารการบินรวมอยู่ในแห่งเดียวกัน โดย บริษัท เดินอากาศไทย จำกัดใช้อากาศยานแบบดาโก้ต้า (D.C.-3) ให้บริการผู้โดยสารแต่เปิดบริการได้ไม่นาน ก็จำเป็นต้องหยุดให้ดำเนินการไป แต่ยังคงมีอากาศยานของทางการทหารทำการบินขึ้น-ลงตลอดเวลา
ปี พ.ศ. 2507 กรมการบินพาณิชย์ (สำนักงานการบินพลเรือน) ได้ดำเนินการบูรณะซ่อมแซมทางวิ่งเพื่อให้ บริษัท เดินอากาศไทย จำกัด สามารถเปิดให้บริการผู้โดยสารได้อีกครั้ง โดยใช้เครื่องบินแบบ แอฟโร่ 748 (AVRO.-748) อย่างไรก็ตาม เนื่องจากทางวิ่งที่ใช้งานได้จริงมีขนาดน้อยกว่ามาตรฐานที่กำหนด กล่าวคือ กว้าง 20 เมตร ยาว 800 เมตร เท่านั้น ทำให้เกิดปัญหาด้านความปลอดภัยขึ้น ดังนั้น บริษัท เดินอากาศไทย จำกัด จึงต้องหยุดดำเนินการอีกครั้ง อย่างไรก็ตามอากาศยานของทางการทหารยังคงทำการบินขึ้น- ลง ตลอดเวลาเช่นเดิม
ปี พ.ศ. 2537 ได้มีการปรับปรุงท่าอากาศยานตรังอีกครั้ง เพื่อรองรับปริมาณการขนส่งทางอากาศ และจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น ซึ่งประกอบด้วย 1. การก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่ พื้นที่ประมาณ 3,000 ตารางเมตร 2. การก่อสร้างต่อเติมทางวิ่งจากเดิม 1,500 เมตร การต่อเติมความยาวทางวิ่งขนาด 45X 700 เมตร การขยายความกว้างทางวิ่งขนาด 2 X 7.5 X 1,400 เมตร การก่อสร้างไหล่ทางวิ่ง ทางวิ่งเผื่อขนาด 60 X 60 เมตร ทางขับขนาด 23 X 145 เมตร การขยายถนนทางเข้า และการก่อสร้างลานจอดรถยนต์บางส่วน
ปี พ.ศ. 2541 ได้ย้ายที่ทำการท่าอากาศยานมาที่อาคารที่พักผู้โดยสารใหม่และได้ประกาศเป็นสนามบินศุลกากร เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2542 ปัจจุบันท่าอากาศยานตรังมีทางวิ่งยาว 2,100 เมตร กว้าง 45 เมตร สามารถรองรับอากาศยาน ขนาด 150 ที่นั่ง (B 737) ได้ มีลานจอดซึ่งสามารถรองรับอากาศยานขนาดกลางได้ 2 ลำในเวลาเดียวกัน รวมทั้งมีอาคารที่พักผู้โดยสารที่สามารถรองรับผู้โดยสารในชั่วโมงเร่งด่วนได้ประมาณ 300 คน[2]
อาคารผู้โดยสาร[แก้]
- อาคารผู้โดยสารหลังใหม่
สำหรับเทอร์มินัลหลังใหม่นี้ มีพื้นที่ใช้สอยกว่า 30,000 ตร.ม. ออกแบบโดยใช้ศิลปะไทยพื้นเมืองประยุกต์ ผสมผสานศิลปะแบบมลายูและจีน โดยเน้นความเป็นเอกลักษณ์ของภาคใต้ นำมาผสมผสานกับความทันสมัย และรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น หลังคาเป็นแบบมัสยิดตะโละมาเนาะ (จ.นราธิวาส) ซึ่งเป็นศาสนสถานเก่าแก่ในศาสนาอิสลาม
นอกจากนี้ยังมีการนำลวดลายของหนังตะลุงและมโนราห์ ศิลปะการแสดงประจำท้องถิ่นของภาคใต้ มาตกแต่งส่วนต่าง ๆ ภายในอาคาร รวมทั้งบริเวณโดยรอบอาคารจะจัดเป็นพื้นที่สีเขียว ปลูกต้นไม้ เพื่อสร้างความร่มรื่น และให้ความร่มเงาด้วย
นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า รู้สึกดีใจกับชาวจังหวัดตรัง ที่นอกเหนือจากอาคารที่พักผู้โดยสารหลังนี้ที่กำลังก่อสร้างด้วยวงเงิน 1,070 ล้านบาทแล้ว ยังมีอีกหนึ่งอาคารทีเพิ่งก่อสร้างเสร็จวงเงิน 100 ล้าน บาท พร้อมกันนี้ยังดำเนินการก่อสร้าง หลุมจอดเพิ่มอีก 10 หลุม และทางขับโดยใช้เงินปีงบประมาณ 2563
ส่วนในปีงบประมาณ 2564 กรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคมได้จัดสรรงบประมาณอีก 2,300 ล้านบาทเป็นค่าเวนคืนจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน และก่อสร้างขยายความยาวของรันเวย์เพื่อรองรับเครื่องบินขนาดบรรทุกผู้โดยสารได้ 380 คน เพื่อเตรียมความพร้อมเปิดเป็นสนามบินนานาชาติ รองรับการท่องเที่ยวฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งเป็นทะเลที่ มีความสวยงาม อุดมสมบูรณ์ด้วยเกาะแก่ง เช่น เกาะไห เกาะกระรอก เกาะกระดาน มีปลาพะยูน เป็นสิ่งจูงใจให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยว ตามนโยบาย “เชื่อมโลก เชื่อมไทย สู่เมืองรอง”
สำหรับอาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่ สนามบินตรัง คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้ประมาณปี 2565 โดยจะเพิ่มความสามารถในการรองรับผู้โดยสารจากเดิม 1.7 ล้านคนต่อปี เพิ่มขึ้นเป็น 3.4 ล้านคนต่อปี
รายชื่อสายการบิน[แก้]
สายการบินที่เปิดทำการบินจากท่าอากาศยานดอนเมืองมายังท่าอากาศยานตรังในปัจจุบันมีดังนี้
สายการบิน | จุดหมายปลายทาง[3] | หมายเหตุ |
---|---|---|
การบินไทยสมายล์ | กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ (เร็ว ๆ นี้) | ภายในประเทศ |
นกแอร์ | กรุงเทพมหานคร-ดอนเมือง | ภายในประเทศ |
ไทยแอร์เอเชีย | กรุงเทพมหานคร-ดอนเมือง | ภายในประเทศ |
ไทยไลอ้อนแอร์ | กรุงเทพมหานคร-ดอนเมือง | ภายในประเทศ |
ตารางการบิน[แก้]
ตารางบินท่าอากาศยานตรัง ระหว่างวันที่ 25 ตุลาคม - 31 ธันวาคม 2563 (October 25 - December 31, 2020)
หมายเหตุ : ข้อมูลตารางบินอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม [4]
เที่ยวบินขาเข้า/Arrivals | ||||
---|---|---|---|---|
เที่ยวบิน/Flight | จาก ดอนเมือง/DMK | ถึง ตรัง/TST | สายการบิน/Airline | หมายเหตุ/Remarks |
DD7406 | 07:20 | 08:50 | นกแอร์/Nok Air | ทุกวัน/Daily |
FD3241 | 07:50 | 09:25 | ไทยแอร์เอเชีย/Thai Air Asia | ทุกวัน/Daily |
FD8070 | 08:50 | 10:10 | ไทยแอร์เอเชีย/Thai Air Asia | บินเฉพาะวันที่ 7, 14, 19, 28 พฤศจิกายน 2563
Only November 7, 14, 19, 28, 2020 |
SL824 | 09:45 | 11:10 | ไทยไลอ้อนแอร์/Thai Lion Air | ทุกวัน/Daily |
FD3243 | 13:15 | 14:45 | ไทยแอร์เอเชีย/Thai Air Asia | ทุกวัน ยกเว้นวันที่ 28-29 ตุลาคม 2563
Daily Except October 28-29, 2020 |
DD7410 | 16:05 | 17:30 | นกแอร์/Nok Air | บินเฉพาะวันจันทร์ วันพุธ วันศุกร์ และวันอาทิตย์
Only Monday, Wednesday, Friday and Sunday |
FD3245 | 17:25 | 18:45 | ไทยแอร์เอเชีย/Thai Air Asia | ทุกวัน/Daily |
SL826 | 18:05 | 19:30 | ไทยไลอ้อนแอร์/Thai Lion Air | ทุกวัน/Daily |
เที่ยวบินขาออก/Departures | ||||
---|---|---|---|---|
เที่ยวบิน/Flight | จาก ตรัง/TST | ถึง ดอนเมือง/DMK | สายการบิน/Airline | หมายเหตุ/Remarks |
DD7407 | 09:10 | 10:35 | นกแอร์/Nok Air | ทุกวัน/Daily |
FD3242 | 09:55 | 11:15 | ไทยแอร์เอเชีย/Thai Air Asia | ทุกวัน/Daily |
FD8071 | 10:40 | 12:00 | ไทยแอร์เอเชีย/Thai Air Asia | บินเฉพาะวันที่ 7, 14, 19, 28 พฤศจิกายน 2563
Only November 7, 14, 19, 28, 2020 |
SL825 | 12:00 | 13:25 | ไทยไลอ้อนแอร์/Thai Lion Air | ทุกวัน/Daily |
FD3244 | 15:10 | 16:35 | ไทยแอร์เอเชีย/Thai Air Asia | ทุกวัน ยกเว้นวันที่ 28-29 ตุลาคม 2563
Daily Except October 28-29, 2020 |
DD7411 | 18:00 | 19:15 | นกแอร์/Nok Air | บินเฉพาะวันจันทร์ วันพุธ วันศุกร์ และวันอาทิตย์
Only Monday, Wednesday, Friday and Sunday |
FD3246 | 19:15 | 20:45 | ไทยแอร์เอเชีย/Thai Air Asia | ทุกวัน/Daily |
SL827 | 20:00 | 21:35 | ไทยไลอ้อนแอร์/Thai Lion Air | ทุกวัน/Daily |
สายการบินที่เคยทำการบิน[แก้]
สายการบิน | จุดหมายปลายทาง |
---|---|
การบินไทย | กรุงเทพมหานคร-ดอนเมือง ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี และ หาดใหญ่ |
โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ | กรุงเทพมหานคร-ดอนเมือง |
เดินอากาศไทย | ภูเก็ต |
จำนวนผู้โดยสารรายปี[แก้]
ปี (พ.ศ.) | ผู้ใช้บริการ (คน) | เปลี่ยนแปลง | จำนวนเที่ยวบิน | |
---|---|---|---|---|
2550 | N/A | |||
2551 | ![]() |
|||
2552 | ![]() |
|||
2553 | ![]() |
|||
2554 | ![]() |
|||
2555 | ![]() |
|||
2556 | ![]() |
|||
2557 | ![]() |
|||
2558 | ![]() |
|||
2559 | ![]() |
|||
2560 | ![]() |
|||
2561 | ![]() |
|||
2562 | N/A | N/A | N/A | |
ที่มา: กรมการบินพลเรือน[5] |
อุบัติเหตุ[แก้]
- 10 สิงหาคม 2545 เครื่องบินของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) เที่ยวบิน TG 251 เส้นทางบินกรุงเทพฯ-ตรัง เกิดอุบัติเหตุขณะนำเครื่องบินร่อนลงทางวิ่ง เครื่องบินได้ลื่นไถลลงเลยทางวิ่ง ณ ท่าอากาศยานตรัง
- 25 กันยายน 2554 นกแอร์เที่ยวบินที่ DD7400 กรุงเทพฯ (ดอนเมือง) – ตรัง เครื่องโบอิ้ง 737-400 ทะเบียน HS-DDL(นกเขียวหวาน) มีผู้โดยสาร 162 ชีวิต พร้อมลูกเรือจำนวน 6 คน มีกำหนดลงจอดที่ท่าอากาศยานตรังเวลา 08.25 น.โดยปลอดภัย แต่เครื่องบินเกิดเสียไม่สามารถทำการบินและจอดขวางรันเวย์ ทางทิศตะวันออกสนามบินตรัง เนื่องจากระบบเบรกที่ขัดข้อง (ระบบ Thrust Reverse ไม่พับเก็บหลังจากกัปตันได้นำเครื่องลงจอดที่สนามบิน จ.ตรัง)ทำให้เครื่องบินของสายการบินโอเรียนท์ไทย เที่ยวบิน OX 8251 DMK-TST ที่มีกำหนดเวลาลง 8.40 น. ไม่สามารถทำการลงจอดได้เนื่องจากมีเครื่องบินของสายการบินนกแอร์จอดขวางรันเวย์ กับตันจึงนำเครื่องบินลงจอดที่ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ส่งผลให้เที่ยวบินมีความล่าช้าถึง 4 ชม.
- 6 สิงหาคม 2556 เครื่องนกแอร์ตกรันเวย์ที่ตรัง-เหตุลื่นน้ำขังทางวิ่ง เมื่อเวลา 17.30 น. เครื่องบินของสายการบินนกแอร์ รุ่นโบอิ้ง 737-800 ทะเบียน HS-DBM เที่ยวบิน DD7411 ได้เกิดอุบัติเหตุ ไถลออกนอกรันเวย์ ระหว่างเตรียมนำเครื่องขึ้นจากท่าอากาศยานตรัง โดยมีจุดหมายปลายทางที่ท่าอากาศยานดอนเมือง เบื้องต้น ผู้โดยสารและลูกเรือกว่า 100 คน ไม่ได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด โดยหลังเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่สนามบินได้นำรถบันไดไปนำผู้โดยสารออกจากสนามบิน ได้มีการปิดสนามบินชั่วคราว เพื่อรอการเคลื่อนย้ายเครื่องบินออกจากรันเวย์ ขณะที่ นายพาที สารสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด เปิดเผยว่า เมื่อเวลา 17.25 น. วันที่ 6 ส.ค. เที่ยวบิน ดีดี 7411 ของนกแอร์ ที่จะออกเดินทางจากจ.ตรังมายังดอนเมือง ได้เกิดเหตุระหว่างที่เครื่องแท็กซี่กำลังเทกออฟขึ้นเหนือพื้นดิน นักบินพบว่าสภาพอากาศไม่ดี เพราะขณะนั้นมีฝนตก ทำให้มีน้ำขังมีอยู่บนรันเวย์จำนวนมาก กัปตันจึงตัดสินใจยกเลิกทำการบิน โดยตามขั้นตอนการยกเลิกการเทกออฟ นักบินจะต้องทำการเบรกเพื่อหยุดครื่อง แต่ระหว่างที่เบรก เนื่องจากพื้นรันเวย์เปียก ทำให้ล้อเครื่องบินลื่นไถลออกนอกรันเวย์ไปที่สนามหญ้า และมีหญ้าเข้าพันล้อ จึงต้องปิดรันเวย์สนามบินตรัง แต่ยืนยันไม่ได้ส่งผลกระทบทำให้ต้องปิดสนามบิน เนื่องจากเป็นเที่ยวบินสุดท้ายของวัน ส่วนผู้โดยสารจำนวน 142 คน ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ และได้นำรถมาขนถ่ายไปยังอาคารผู้โดยสาร ซึ่งสายการบินได้โอนผู้โดยสารจำนวน 69 คน เดินทางไปยังสนามบินหาดใหญ่ ส่วนอีก 44 คนเดินทางไปจ.นครศรีธรรมาราช เพื่อขึ้นเครื่องนกแอร์กลับดอนเมืองในวันเดียวกัน ส่วนอีก 23 คนที่เหลือได้ขอเปลี่ยนเวลาการเดินทางเป็นวันที่ 7 ส.ค.โดยจะเดินทางจากจ.ตรังกลับดอนเมืองด้วยเที่ยวบิน ดีดี 7401 ในเวลา 09.20 น. นายวรเดช หาญประเสริฐ อธิบดีกรมการบินพลเรือน (บ.พ.) กล่าวว่า ได้รับรายงานเบื้องต้นว่า เครื่องบินนกแอร์จากตรัง-ดอนเมือง ลื่นไถลขณะกลับลำบนทางวิ่ง ส่งผลให้เครื่องสไลด์ตกทางวิ่ง ต้องลำเลียงผู้โดยสารกว่า 100 คนลงจากเครื่อง และปิดรันเวย์สนามบินตรัง เมื่อเวลาประมาณ 17.30 น.เพื่อยกเครื่องบิน คาดจะแล้วเสร็จเวลาประมาณ 22.00 น. สำหรับผู้โดยสารไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ และได้เดินทางไปขึ้นเครื่องที่สนามบินหาดใหญ่เพื่อเดินทางมายังสนามบินดอนเมือง
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ รายชื่อท่าอากาศยานของกรมการบินพลเรือน
- ↑ ประวัติท่าอากาศยานตรัง
- ↑ http://www.flightstats.com/go/FlightStatus/flightStatusByAirport.do
- ↑ ตารางการบินท่าอากาศยานตรัง https://web.facebook.com/permalink.php?story_fbid=2794966677490818&id=1661088727545291
- ↑ ข้อมูลสถิติการขนส่งทางอากาศ ท่าอากาศยานสังกัดกรมการบินพลเรือน. http://www.aviation.go.th/th/content/349.html (ไทย)