ข้ามไปเนื้อหา

คาเธ่ย์ ดรากอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ดรากอนแอร์)
คาเธ่ย์ ดราก้อน
Cathay Dragon
國泰港龍航空
IATA ICAO รหัสเรียก
KA HDA DRAGON
ก่อตั้ง24 พฤษภาคม ค.ศ. 1985 (1985-05-24)
เริ่มดำเนินงานกรกฎาคม ค.ศ. 1985 (1985-07)
เลิกดำเนินงาน21 ตุลาคม ค.ศ. 2020 (2020-10-21) (ผนวกเข้ากับคาเธ่ย์แปซิฟิก)
เมืองสำคัญท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง
สะสมไมล์
  • Asia Miles
  • Marco Polo Club
พันธมิตรการบินวันเวิลด์ (สมาชิกในเคลือ; 2007-2020)
ขนาดฝูงบิน35
จุดหมาย51
บริษัทแม่คาเธย์แปซิฟิค
สำนักงานใหญ่จีน ฮ่องกง ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง, เช็กล้าปก๊อก, ฮ่องกง
บุคลากรหลัก
  • Kuang-Piu Chao (ประธานอวุโส)
  • Augustus Tang (ประธาน)
  • Algernon Yau (CEO)
เว็บไซต์www.cathaypacific.com

คาเธ่ย์ ดรากอน (จีน: 國泰港龍航空) หรือชื่อเก่า ดรากอนแอร์ (จีน: 港龍航空公司) เป็นสายการบินภายในภูมิภาคสัญชาติฮ่องกง ซึ่งเป็นบริษัทลูกของสายการบินคาเธ่ย์แปซิฟิค มีฐานการบินและสำนักงานใหญ่อยู่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง ปัจจุบันทำการบินใน 47 เส้นทาง โดยที่เป็นเส้นทางในประเทศจีนจำนวน 22 เส้นทาง ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2020 คาเธ่ย์แปซิฟิคได้ประกาศการผนวกกิจการของคาเธ่ย์ ดรากอนเข้ากับสายการบินแม่ เหตุจากการแพร่ระบาดของโควิด-19

ประวัติ

[แก้]
ดรากอนแอร์ให้บริการโบอิง 737-200 ในช่วงแรกของสายการบิน

คาเธ่ย์ ดรากอนได้ถูกก่อตั้งขึ้นในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1985 ในชื่อดรากอนแอร์โดย Kuang-Piu Chao ซึ่งเป็นประธานอวุโสของสายการบินก่อนที่จะเลิกกิจการไป สายการบินเริ่มให้บริการในอีก 2 เดือนต่อมา ด้วยเครื่องบินโบอิง 737-200 ให้บริการเที่ยวบินออกจากท่าอากาศยานไขตั๊กหลังจากได้รับใบอนุญาตการเดินอากาศจากรัฐบาลฮ่องกง ดรากอนแอร์เริ่มให้บริการในเส้นทางบินสู่โกตากีนาบาลู, ภูเก็ต, และเมืองอื่นๆ ภายในประเทศจีน

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1990 คาเธ่ย์แปซิฟิค, สไวร์กรุ๊ป, และซิติค แปซิฟิคได้เข้าถือหุ้นมากถึงร้อยละ 89 ในสายการบิน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านกรรมสิทธิ์ของบริษัท คาเธ่ย์ แปซิฟิคได้โอนย้ายเส้นทางไปยังปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ให้กับดรากอนแอร์ และได้ให้สายการบินเช่าเครื่องบินล็อกฮีด เอล-1011 ต่อมาในปีค.ศ. 1993 แอร์บัส เอ320 ลำแรกก็ได้เข้ามาประจำการกับสายการบิน และตามมาด้วยแอร์บัส เอ330 ในปีค.ศ. 1995[1][2][3]

ดรากอนแอร์ได้มีการขยับขยายสายการบินครั้งใหญ่ ในปีค.ศ. 2000 มีการเพิ่มเที่ยวบินขนส่งสินค้าไปยังเซี้ยงไฮ้, ยุโรป, และตะวันออกกลางด้วยครื่องบินโบอิง 747-200F และมีการเพิ่มโบอิง 747-300F และเที่ยวบินไปโอซากะในปีค.ศ. 2001 และเที่ยวบินไปยังเซี่ยเหมินและไทเปในปีค.ศ. 2002 นอกจากนี้ยังมีจุดหมายปลายทางอื่นๆ ทั่วโลกที่ถูกเพิ่มเข้ามาในปีค.ศ. 2003-2005 ในช่วงนี้กำไรสุทธิของดรากอนแอร์ได้เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยกำไรจากการขนส่งสินค้าคิดเป็น 30% ของกำไรทั้งหมด[1][2]

ในปีค.ศ. 2005 ดรากอนแอร์ได้ตกเป็นบริษัทลูกของคาเธ่ย์ แปซิฟิค[4][5][6][7] และได้เปลี่ยนชื่อเป็นคาเธ่ย์ ดรากอนในปีค.ศ. 2016 ก่อนที่จะถูกผนวกรวมกิจการเข้ากับสายการบินแม่อย่างคาเธ่ย์แปซิฟิคในปีค.ศ. 2020 หลังจากมีการแพร่ระบาดของโควิด-19[8][9][10]

จุดหมายปลายทาง

[แก้]

ก่อนการเลิกดำเนินงาน คาเธ่ย์ ดรากอนให้บริการเที่ยวบินไปยังุดหมายปลายทาง 47 จุดหมาย โดยใช้ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกงเป็นท่าหลัก

ข้อตกลงการบินร่วม

[แก้]

คาเธ่ย์ ดราก้อนได้เคยมีข้อตกลงการบินร่วมกันระหว่างสายการบินดังต่อไปนี้:[11][12]

ฝูงบิน

[แก้]

ก่อนการผนวกกิจการกับคาเธ่ย์แปซิฟิค คาเธ่ย์ ดราก้อนมีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้

ฝูงบินของคาเธ่ย์ ดราก้อน
เครื่องบิน ประจำการ คำสั่งซื้อ ผู้โดยสาร หมายเหตุ
F B E รวม
แอร์บัส เอ320-200 10[18] 8 156 164 เครื่องบินทุกลำถูกปลดประจำการ
เครื่องบิน 1 ลำโอนย้ายกลับไปยังคาเธ่ย์แปซิฟิค
เครื่องบิน 8 ลำถูกจัดเก็บที่อลิซสปริงส์ หลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19
จะถูกแทนที่ด้วยแอร์บัส เอ321นีโอ
แอร์บัส เอ321-200 7[18] 24 148 172 เครื่องบิน 3 ลำถูกปลดประจำการ
เครื่องบิน 5 ลำโอนย้ายกลับไปยังคาเธ่ย์แปซิฟิค
เครื่องบิน 3 ลำถูกจัดเก็บที่อลิซสปริงส์ หลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19
รวมเครื่องบินต้นแบบของแอร์บัส เอ321-200 (B-HTF)
แอร์บัส เอ321นีโอ 16[19] 12 190 202 คำสั่งซื้อโอนย้ายกลับไปยังคาเธ่ย์แปซิฟิค[20]
จะเข้ามาแทนที่แอร์บัส เอ320 และ เอ321
แอร์บัส เอ330-300 18[18] 2 8 42 230 280 เครื่องบินทุกลำโอนย้ายกลับไปยังคาเธ่ย์แปซิฟิค
42 265 307
24 293 317
รวม 35 18

ฝูงบินในอดีต

[แก้]
ฝูงบินของคาเธ่ย์ดราก้อน
เครื่องบิน จำนวน เริ่มประจำการ ปลดระวาง หมายเหตุ
แอร์บัส เอ300B4-200F ไม่ทราบ ไม่ทราบ ไม่ทราบ
แอร์บัส เอ320-200 18 1993 2020 ปลดประจำการเครื่องบินที่เก่ากว่า
แอร์บัส เอ321-200 1 1999 2020
แอร์บัส เอ330-300 21 1995 2020 ปลดประจำการเครื่องบินที่เก่ากว่า
รวมแอร์บัส เอ330-300 ลำแรกของโลก (B-HLJ).
เครื่องบิน 6 ลำโอนย้ายมาจากคาเธ่ย์แปซิฟิค[21]
โบอิง 737-200 6 1985 1993
โบอิง 747-200F 1 2001 2009
โบอิง 747-300SF 3 2001 2010
โบอิง 747-400BCF 4 2006 2010 เครื่องบินขนส่งสินค้าของคาเธ่ย์แปซิฟิค
ล็อกฮีด เอล-1011 1 1990 1995
2 เช่าจากคาเธ่ย์แปซิฟิค

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "History of Hong Kong Dragon Airlines Ltd. – FundingUniverse". www.fundinguniverse.com.
  2. 2.0 2.1 "History and milestones - Dragonair". web.archive.org. 2015-12-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-01. สืบค้นเมื่อ 2022-10-26.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  3. Hopkins, Harry (2–8 May 1990). "Cathay Prepares for 1997". Flight International. Reed Business Information. p. 26. Retrieved 26 October 2022.
  4. "Cathay finally seals Dragonair takeover - The Standard". web.archive.org. 2011-06-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2022-10-26.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  5. https://web.archive.org/web/20110708123823/http://downloads.cathaypacific.com/cx/investor/20060608CX_AirChina_English.pdf
  6. "Wayback Machine" (PDF). web.archive.org. 2011-07-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-08. สืบค้นเมื่อ 2022-10-26.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-27. สืบค้นเมื่อ 2022-10-26.
  8. "Cathay Pacific Group announces corporate restructuring". news.cathaypacific.com (ภาษาอังกฤษ).
  9. "Exclusive: Cathay Pacific 'to axe 6,000 staff and Dragon brand' in bid to stay afloat". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 2020-10-20.
  10. "Nearly all Cathay Dragon staff to go as part of airline's 5,900 job cuts". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 2020-10-21.
  11. "The network - Cathay Dragon". web.archive.org. 2016-12-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-23. สืบค้นเมื่อ 2022-10-26.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  12. "Profile on Dragonair | CAPA - Centre for Aviation". web.archive.org. 2016-10-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-29. สืบค้นเมื่อ 2022-10-26.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  13. Air Canada and Cathay Pacific to Introduce Codeshare Services and Reciprocal Mileage Accrual and Redemption Benefits in Strategic Cooperation เก็บถาวร 2016-12-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. aircanada.com. Retrieved on 22 December 2016.
  14. "American Airlines begins Cathay Dragon codeshares from July 2019". Routesonline. สืบค้นเมื่อ 8 September 2019.
  15. Finnair starts codeshare cooperation with Cathay Dragon and extends its network in Asia company.finnair.com 5 June 2018. Retrieved 5 June 2018
  16. "Авиакомпании-партнёры". s7.ru.
  17. "Dragonair adds Jinjiang to China network through new code-share with Shenzhen Airlines" (Press release). Dragonair. 20 January 2015. สืบค้นเมื่อ 23 December 2016.
  18. 18.0 18.1 18.2 Airbus Orders and Deliveries (XLS), accessed via "Orders and Deliveries". Airbus. 31 July 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 October 2017. สืบค้นเมื่อ 10 August 2019.
  19. Flightglobal (8 November 2019). "HK Express to take half of Cathay Dragon's A321neo orders". Flightglobal. สืบค้นเมื่อ 8 November 2019.
  20. "Cathay Pacific finalises order for 32 A321neo aircraft". Airbus.com. 13 September 2017.
  21. "Global Airline Guide 2016 (Part One)". Airliner World (October 2016): 15.