ข้ามไปเนื้อหา

ฐานบินเชียงใหม่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฐานบินเชียงใหม่
ส่วนหนึ่งของกองทัพอากาศไทย
เชียงใหม่
ฐานบินเชียงใหม่มองจากดอยสุเทพ
วี-22 ออสเปรย์ของนาวิกโยธินสหรัฐที่ฐานบินเชียงใหม่ ระหว่างการฝึกคอบร้าโกลด์ 2013
แผนที่
พิกัด18°46′17″N 98°57′46″E / 18.77133°N 98.96283°E / 18.77133; 98.96283 (ฐานบินเชียงใหม่)
ประเภทฐานทัพอากาศ
ข้อมูล
ผู้ดำเนินการFlag of the กองทัพอากาศไทย กองทัพอากาศไทย
ควบคุมโดยกองบินน้อยผสมที่ 90 (พ.ศ. 2485–2488)
ฝูงบินผสมที่ 221 (พ.ศ. 2507–2512)
ฐานบินเชียงใหม่ (พ.ศ. 2512–2519)
ฝูงบิน 41 กองบิน 4 (พ.ศ. 2519–2520)
กองบิน 41 (พ.ศ. 2520–ปัจจุบัน)
สภาพปฏิบัติการ
เว็บไซต์wing41.rtaf.mi.th
ประวัติศาสตร์
สร้างพ.ศ. 2464; 103 ปีที่แล้ว (2464)
ข้อมูลสถานี
กองทหารรักษาการณ์กองบิน 41
ข้อมูลลานบิน
ข้อมูลระบุIATA: CNX, ICAO: VTCC[1]
ความสูง1,036 ฟุต (316 เมตร) เหนือระดับ
น้ำทะเล
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาวและพื้นผิว
18/36 3,400 เมตร (11,155 ฟุต) คอนกรีตและแอสฟอลต์คอนกรีต

ฐานบินเชียงใหม่[2] (อังกฤษ: Chiang Mai Air Force Base[3]) เป็นฐานบินปฏิบัติการหน้า[4]และที่ตั้งทางทหารของกองบิน 41 กองทัพอากาศไทย ตั้งอยู่ที่ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2464[5]

ประวัติ[แก้]

ฐานบินเชียงใหม่ เดิมชื่อว่า สนามบินสุเทพ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2464 ซึ่งเป็นปีเดียวกันกับการก่อสร้างทางรถไฟสร้างมาถึงจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นรัชสมัยของ เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 9 ซึ่งก่อตั้งขึ้นตามดำริของ นายพลโท หม่อมเจ้าบวรเดช ดำรงตำแหน่งอุปราชมณฑลพายับในเวลานั้น และเลือกพื้นที่บริเวณเชิงดอยสุเทพซึ่งขณะนั้นมีสภาพเป็นป่าไผ่ จนการก่อสร้างเสร็จสิ้นจึงส่งมอบให้กระทรวงกลาโหมเป็นผู้ดูแล รวมถึงได้รวบรวมเงินทุนจากเจ้าผู้ครองนคร เจ้านายทางฝ่ายเหนือ ข้าราชการ พ่อค้า และราษฎร์เพื่อซื้ออากาศยานให้กับกองทัพไว้ใช้งานในราชการโดยสามารถซื้อเครื่องบินแบบเบร์เกต 14 ขนาด 2 ที่นั่ง ปีกสองชั้นซึ่งออกแบบมาสำหรับการทิ้งระเบิด และถูกดัดแปลงเป็นเครื่องบินโดยสารในเวลาต่อมา ชื่อว่า จังหวัดเชียงใหม่ 1[5]

สนามบินสุเทพเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2466 โดยใช้เครื่องบินจังหวัดเชียงใหม่ 1 บินมาแตะพื้นรันเวย์เป็นปฐมฤกษ์ ซึ่งทางจังหวัดได้จัดให้มีการเฉลิมฉลองสนามบินใหม่เป็นระยะเวลา 4 วัน 4 คืนติดต่อกัน ระหว่างวันที่ 16-19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2466 และสามารถรวบรวมเงินจากการจัดงานดังกล่าวจนสามารถซื้อเครื่องบินได้อีกลำ ชื่อว่า จังหวัดเชียงใหม่ 2[5]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2485 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพอากาศได้ใช้สนามบินเชียงใหม่ในการวางกำลังและจัดตั้งกองบินน้อยผสมที่ 90 สำหรับเป็นฐานบินในการปฏิบัติการทางอากาศและสนับสนุนการรบภาคพื้นดิน[5]ของกองทัพพายับ โดยนำกำลังมาประจำการเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 โดยใช้อากาศยานจากฝูงบินขับไล่ที่ 22 (จากฐานบินโคราช) คือเครื่องบินฮ๊อร์ค 2 (เครื่องบินขับไล่แบบที่ 8) จำนวน 9 ลำ ฝูงบินขับไล่ที่ 42 (จากสนามบินเนินพลอยแหวน จังหวัดจันทบุรี) คือเครื่องบินคอร์แซร์ (เครื่องบินโจมตีแบบที่ 1) จำนวน 10 ลำ รวมถึงเครื่องบินแฟรไซล์ด 24 เจ (เครื่องบินสื่อสารแบบที่ 1) ซึ่งเพื่อป้องกันการยิงฝ่ายเดียวกัน ทำให้อากาศยานของกองทัพอากาศไทยได้ใช้สัญลักษณ์ธงช้างแทนธงชาติไทยแบบวงกลมที่ใต้ปีกและตัวเครื่อง[6] นอกจากนี้กองทัพบกญี่ปุ่นได้นำเครื่องบินแบบฮายาบูซาจำนวน 2 กองบิน กองบินละ 3 ฝูงบิน ฝูงบินละ 25 ลำ พร้อมกับเครื่องบินขนาดหนักอีก 1 กองบิน รวม 27 ลำมาปฏิบัติการในพื้นที่เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง จึงทำให้ต้องสร้างสนามบินเพิ่มขึ้นในส่วนภูมิภาค เช่น ตำบลบ้านกลาง จังหวัดลำพูน บ้านสันข้าวแคบ อำเภอสันตำแพง และในจังหวัดเชียงราย ลำปาง แพร่[6]

วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2485 เวลาประมาณ 15.00 น. เครื่องบินรบฝ่ายสัมพันธมิตรแบบมัสแตง พี-51 จากฝูงบิน กองบินเสือสหรัฐจากฐานทัพเมืองคุณหมิง จำนวน 7 ลำ ได้ทิ้งระเบิดบริเวณสนามบินเชียงใหม่ และเกิดการโจมตีบริเวณสนามบินอีกไม่ต่ำกว่า 10 ครั้งหลังจากนั้น[6]

ในช่วงสงครามเย็น กองทัพอากาศได้ส่งเครื่องบินโจมตีแบบที่ 8 (เอที 6 จี) จากฝูงบินพิเศษที่ 2 กองบินน้อยที่ 1 ดอนเมือง จำนวน 4-6 ลำ มาปฏิบัติการชายแดนยังสนามบินเชียงใหม่ ผลัดละ 2-6 เดือน ซึ่งเป็นช่วงเดียวกันกับการปรับปรุงเส้นทางวิ่งสนามบินเป็นทางวิ่งขนาดความยาว 1,100 เมตร (3,609 ฟุต) กว้าง 32 เมตร (105 ฟุต) ผิวหินลาดยาง มีหอบังคับการบินและฝ่ายดับเพลิง และส่งเครื่องบินขับไล่แบบที่ 15 (แบร์แคท) จากฝูงบินขับไล่ที่ 12 กองบินน้อยที่ 1 ดอนเมือง มาหมุนเวียนราว 4-6 ลำ[6]

ในช่วงสงครามเวียดนาม พ.ศ. 2500 รัฐบาลสหรัฐได้ให้ความช่วยเหลือด้านงบประมาณมายังกองทัพอากาศไทยในการปรับปรุงฐานบิน 4 แห่ง ที่อุดรธานี อุบลราชธานี โคราช และเชียงใหม่ ให้สามารถรองรรับเครื่องบินที่มีขนาดใหญ่ได้มากขึ้น และรองรับเครื่องบินได้มากขึ้น[6] โดยมีการปรับปรุงพื้นผิวทั้งทางวิ่งและลานจอดให้เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ความยาว 2,130 เมตร (6,988 ฟุต) กว้าง 32 เมตร (105 ฟุต) สำรองหัวท้ายทางวิ่งเป็นดินบดอัดอีกข้างละ 160 เมตร (525 ฟุต) รวมถึงก่อสร้างอาคารสนามบินเป็นอาคาร 2 ชั้น พร้อมกับหอบังคับการบินด้านบน ซึ่งใช้เวลาในการปรับปรุง 3 ปี และกลับมาเปิดอย่างเป็นทางการอีกครั้งในวันนที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2503[5] โดยรัฐบาลไทยได้รับมอบสนามบินเชียงใหม่จากรัฐบาลสหรัฐ และกองทัพอากาศไทยได้ใช้ฐานบินเป็นที่ประจำการเครื่องบินขับไล่ไอพ่นที่ทันสมัยที่สุดในเวลานั้น คือเครื่องบินขับไล่แบบที่ 17 เอฟ-86 เอฟ จากฝูงบินขับไล่ที่ 12 และ 13 กองบินน้อยที่ 1 ดอนเมือง ผลัดกันส่งเครื่องบินมาวางกำลัง รวมถึงกองทัพอากาศสหราชอาณาจักรซึ่งเป็นพันธมิตรในองค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีโต) ส่งเครื่องบินแบบ ฮันเตอร์ และเครื่องบินขับไล่แบบอื่น ๆ มาประจำการ[6]

กองทัพอากาศได้จัดตั้ง ฝูงบินผสมที่ 221 ขึ้นเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2507 เพื่อตอบสนองต่อภัยคอมมิวนิสต์ โดยประจำการที่สนามบินเชียงใหม่ โดยจัดเครื่องบินโจมตีแบบ 13 จำนวน 7 เครื่อง จากฝูงบินที่ 22 กองบิน 2 ลพบุรี โดยมีนาวาอากาศโท ชาญ ทองดี เป็นผู้บังคับฝูงบิน[6]

ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2512 กองทัพอากาศได้ยกฐานะฝูงบินผสมที่ 221 ขึ้นเป็นฐานบินเชียงใหม่ โดยมี นาวาอากาศตรี อาคม อรรถเวทวรวุฒิ เป็นผู้บังคับฐานบินเชียงใหม่คนแรก อยู่ภายใต้การบัญชาการของกองบิน 2 โดยมีการส่งเครื่องบินโจมตีแบบที่ 5 โอวี-10 บรองโก มาประจำการที่ฐานบินพิษณุโลกและฐานบินเชียงใหม่[6]

ฐานบินเชียงใหม่โอนไปขึ้นกับกองบิน 4 ตาคลีและเปลี่ยนชื่อหน่วยเป็นฝูงบิน 41 กองบิน 4 เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2519[5] และยกฐานะฝูงบิน 41 ขึ้นเป็นกองบิน 41 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2520[6]

ในปี พ.ศ. 2525 ได้มีการเวนคืนที่ดินทางตอนใต้ของฐานบินเพิ่มเติมเพื่อขยายทางวิ่งและเพิ่มลานจอดอากาศยาน และมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2527 ให้แยกสนามบินเชียงใหม่ออกจากความดูแลของกรมการบินพาณิชย์ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2531 โดยแบ่งการดูแลออกเป็น 2 ส่วนคือ กองบิน 41 รับผิดชอบทางด้านการทหารของฐานบินเชียงใหม่ และการท่าอากาศยานเป็นผู้รับผิดชอบด้านพลเรือนในการบินพาณิชย์[5]

บทบาทและปฏิบัติการ[แก้]

กองทัพอากาศไทย[แก้]

ฐานบินเชียงใหม่ เป็นฐานบินหลักสำหรับกองบิน 41 กองทัพอากาศไทยในการปฏิบัติงานในภาคเหนือรวมถึงเป็นฐานบินปฏิบัติการหน้า ซึ่งไม่มีเครื่องบินขับไล่ประจำการอยู่ถาวร แต่สามารถเคลื่อนย้ายมาวางกกำลังได้โดยมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกได้อย่างครบครัน[4] ซึ่งฐานบินเชียงใหม่ประกอบไปด้วยเครื่องบินโจมตีเบา 1 ฝูงบิน คือ

และส่วนสนับสนุนอื่น ๆ ได้แก่ สำนักงานผู้บังคับบัญชา, กองบังคับการ, แผนกการเงิน, แผนกสนับสนุนการบิน, กองเทคนิค, โรงพยาบาลกองบิน, แผนกช่างโยธา, แผนกขนส่ง, แผนกพลาธิการ, แผนกสวัสดิการ, กองร้อยทหารสารวัตร และฝูงบิน 416 (เชียงราย)[8]

หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดเชียงใหม่[แก้]

ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือตอนบน กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้ใช้ฐานบินเชียงใหม่ในการปฏิบัติการฝนหลวงในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ สูงสุดจำนวน 8 ลำ[9] หมุนเวียนกันมาประจำการ เช่น คาซา ซี.212 อวิโอคาร์[10][11]

หน่วยในฐานบิน[แก้]

หน่วยบินที่วางกำลังในฐานบินเชียงใหม่ ที่วางกำลังอยู่ในปัจจุบัน ประกอบไปด้วย

กองทัพอากาศ[แก้]

กองบิน 41[แก้]

ส่วนสนับสนุนการปฏิบัติการบินควบคุมไฟป่ากองทัพอากาศ (ส่วนหน้า)[แก้]

ชุดปฏิบัติการบินควบคุมไฟป่ากองทัพอากาศ (ส่วนหน้า) ประกอบไปด้วย[12]

ฐานปฏิบัติการฝนหลวง กองบิน 41[15][แก้]

  • หน่วยบินปฏิบัติภารกิจฝนหลวงกองทัพอากาศ[16]

กรมฝนหลวงและการบินเกษตร[แก้]

ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือตอนบน[แก้]

สิ่งอำนวยความสะดวก[แก้]

ฐานบินเชียงใหม่ประกอบด้วยพื้นที่ 2 ส่วนด้วยกันคือ พื้นที่ฐานบินของกองทัพอากาศ และพื้นที่พลเรือนของท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ การท่าอากาศยาน

ลานบิน[แก้]

ฐานบินเชียงใหม่ประกอบไปด้วยทางวิ่งความยาว 3,400 เมตร (11,155 ฟุต) ความกว้าง 45 เมตร (148 ฟุต) อยู่เหนือจากระดับน้ำทะเล 1,036 ฟุต (316 เมตร) ทิศทางรันเวย์คือ 18/36 หรือ 180° และ 360° พื้นผิวคอนกรีตและแอสฟอลต์คอนกรีต[17]

โรงพยาบาลกองบิน 41[แก้]

โรงพยาบาลกองบิน 41 เป็นโรงพยาบาลในกองบิน 41 อยู่ภายใต้สังกัดกรมแพทย์ทหารอากาศ กระทรวงกลาโหม ประกอบด้วยเตียงผู้ป่วยขนาด 30 เตียง[18] สำหรับตรวจรักษาข้าราชการทหาร ลูกจ้าง พนักงาน ครอบครัว และประชาชนบริเวณกองบิน และดำเนินการด้านเวชศาสตร์ป้องกันและเวชศาสตร์การบิน[8]

ชมรมอนุรักษ์และพัฒนาอากาศยานไทย กองบิน 41[แก้]

ชมรมอนุรักษ์และพัฒนาอากาศยานไทย กองบิน 41 ตั้งขึ้นโดย นาวาอากาศเอก วีระยุทธ ดิษยะศริน เพื่อเก็บรักษาอากาศยานแบบต่าง ๆ ของกองทัพอากาศไทยที่ปลดประจำการแล้ว[8]

สนามฝึกซ้อมกอล์ฟพิมานทิพย์[แก้]

สนามฝึกซ้อมกอล์ฟพิมานทิพย์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2536 เพื่อใช้ในการฝึกซ้อมกอล์ฟขนาด 9 หลุมพร้อมกันกับอาคารสโมสรสำหรับข้าราชการและประชาชนที่สนใจและต้องการฝึกการเล่นกอล์ฟ[8]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. รายชื่อสนามบินในประเทศไทย (โค้ด)
  2. "ประกาศกองทัพอากาศ เรื่อง กำหนดชื่อเรียกฐานที่ตั้งหน่วยบินต่าง ๆ". เอกสารประกอบการบรรยาย วิชา แบบธรรมเนียมทหาร พ.ศ. 2567 (PDF). กรมสารวรรณทหารอากาศ. 2567. p. 329.
  3. "Thailand Launches International Orders For AT-6 | Aviation Week Network". aviationweek.com.
  4. 4.0 4.1 "Royal Thai Air Force | ยุทโธปกรณ์ในกองทัพอากาศไทย". thaiarmedforce. 2019-05-02.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 "สนามบินเชียงใหม่ เมื่อพ.ศ. 2513 - ภาพล้านนาในอดีต | ศูนย์สนเทศภาคเหนือ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่". lannainfo.library.cmu.ac.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 6.6 6.7 6.8 "ประวัติความเป็นมากองบิน ๔๑". wing41.rtaf.mi.th.
  7. 7.0 7.1 "NBT CONNEXT". thainews.prd.go.thnull (ภาษาอังกฤษ).
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 ประวัติหน่วยทหาร (ส่วนราชการในกองทัพอากาศ) (PDF). กองประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร กองบัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ.
  9. "รมช.เกษตรฯ ลุยเชียงใหม่ ขึ้นบินตรวจปฏิบัติการทำฝนหลวงแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 มั่นใจสงกรานต์นี้ปลอดฝุ่น". chiangmai.prd.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. 10.0 10.1 "ฝนหลวงฯ ตั้ง ๔ หน่วยปฏิบัติการ ช่วยเหลือพื้นที่เกษตรต้องการน้ำและบรรเทาปัญหาหมอกควัน-ลดความรุนแรงของพายุลูกเห็บในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ". www.royalrain.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. 11.0 11.1 Nommaneewong, Muttira (2021-02-03). "กรมฝนหลวงฯ เปิดปฏิบัติการสู้ภัยแล้งปี 64 เร็วขึ้น หลังแนวโน้มรุนแรง : อินโฟเควสท์". สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  12. "'ผบ.ทอ. ตรวจเยี่ยมชุดสนับสนุน ทอ.ดับไฟป่าลด PM2.5 จ.เชียงใหม่". bangkokbiznews. 2024-04-12.
  13. 13.0 13.1 13.2 13.3 หนึ่ง (2024-04-12). "'ผอ.ทอ.' ตรวจเยี่ยมหน่วยบิน สนับสนุนกำลังพล ยุทโธปกรณ์ ลุยดับไฟป่า-ฝุ่นพิษเชียงใหม่".
  14. admin (2020-02-14). "กองทัพอากาศทำการฝึกบินค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่การรบ (Combat SAR)". ข่าวเชียงราย หนังสือพิมพ์เชียงรายนิวส์.
  15. "พิธีส่งหน่วยบินปฏิบัติภารกิจฝนหลวงกองทัพอากาศ ประจำปี 2567". welcome-page.rtaf.mi.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  16. "ผบ.ทอ. ส่งหน่วยบิน 7 ลำ ขึ้นปฏิบัติการฝนหลวง เพื่อช่วยเหลือภัยแล้ง". www.thairath.co.th. 2024-03-12.
  17. "Aedrome/Heliport VTCC". aip.caat.or.th (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2020-07-30.
  18. "รหัสหน่วยงานบริการสุขภาพ โรงพยาบาลกองบิน 41". hcode.moph.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)